ABAC The International University

ABAC 

It’s a must

ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ที่จะต้องปลูกฝังและฝังลึก ให้อยู่ในจิตใจให้กับผู้เรียน คือ ในความเป็นโลกาภิวัฒน์จะต้องเคารพและยอมรับความแตกต่าง ทั้งค่านิยมความคิด ตลอดจนเรียนรู้ พร้อมเติบโต และท้ายสุดเพื่อเข้าใจความเป็น “ปัจเจกบุคคล” ABAC กำลังสอนสิ่งนี้ให้กับผู้เรียน! 

จะว่าไปแล้วมหาวิทยาลัยในบ้านเรามีนับร้อยแห่ง แต่ละแห่งล้วนแล้วแต่มีเอกลักณ์เฉพาะตัวเรียกว่า “ทางใครทางมัน” เป็นเอกอุในแต่ละด้าน นับเป็นจุดเด่นไม่น้อยให้กับประเทศ เพราะถ้าใครอยากเก่งด้านไหนก็เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่เป็นหนึ่งในด้านนั้นไปเลย ประหนึ่งว่า อยากเรียนบริหารธุรกิจไปที่ Standford Graduate School of Business. Harvard Business School อยากเก่งด้านดนตรีก็ไปที่ Yale School of Music

เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ ABAC แต่ไหนแต่ไรมาแล้วชื่อเสียงของเอแบคโดดเด่นเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษ ด้วยหลักสูตรการเรียนการสอนของที่นี้เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด บัณฑิตที่จบไปจึงขึ้นชื่อด้านการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว

ความสำคัญของภาษานับวันยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นทุกขณะ ยิ่งเมื่อโลกกว้างข้ามมาสู่ยุคแห่งความเป็นสากลเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ และท้ายที่สุดเมื่อทุกอย่างเป็นหนึ่งเดียวกันจะก้าวไปสู่ความเป็นนานาชาติ ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงแบบนี้เอง มหาวิทยาลัยที่สั่งสมประสบการณ์และมีความแข็งแกร่งย่อมได้เปรียบเป็นธรรมดา

ไม่ปฎิเสธว่าความเป็น International ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นมาโดยสายเลือดหรืออยู่ในดีเอ็นเอตั้งแต่แรกก่อตั้ง ความเป็นมือฉมังทำให้แม้วันนี้ กระแสเรื่องการเปิดตลาดเสรีอาเซียนหรือ AEC ก็ไม่ส่งผลกระทบหรือทำให้มหาวิทยาลัยประหวั่นพรั่นพรึงแต่ประการใด กลับยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของคณะผู้บริหารที่มีอุดมการณ์มาแต่แรกแล้วว่าเอแบคเกิดมาเพื่อเป็น International University

ภราดาบัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เล่าย้อยให้ฟังถึงเมื่อแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยโดยจุดหมายเพื่อก้าวไปสู่ความเป็น International และในความเป็นอยากให้มหาวิทยาลัยเป็นดินแดนที่เรียกว่า The Land of Tradition and Innovation นัยว่าแม้ว่าจะมีความทันสมัย ก้าวล้ำนำเทรนด์แค่ไหน แต่เอแบคจะยังคงวัฒนธรรมอันดีงามเป็นเสมือนรากฐานของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเอแบคจึงเป็นมหาวิทยาลัยที่น้อมรับความเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ไม่ว่าเศรษฐกิจหัวขบวนจะย้ายจากฝั่งอเมริกามาอยู่ที่เอเชียหรือกระแสAEC ที่กำลังงวดเข้ามาทุกขณะ

การปรับตัวคือสิ่งสำคัญที่ภราดาบัญชามักย้ำให้ฟังเสมอ ไม่ว่ากระแสจะมาอย่างไรสิ่งสำคัญคือการปรับตัวให้ไหลลื่นไปตามสถานการณ์ และพยายามมองหาทิศทางโดยต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลกว่าคนอื่น

ไม่แปลกที่เมื่อไปถามคณาจารย์ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยถึงเรื่องกระแส AEC ที่เกิดขึ้น คำตอบที่ไดัรับกลับเป็นเพียงว่า เอแบคเข้าสู่ความเป็นนานาชาติไปเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นแม้ว่าพันธสัญญาของ AEC ใน 10 ประเทศที่จะรวมเป็นตลาดเดียวกัน ก็เป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวเท่านั้น

ภราดาบัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ให้นิยามของความเป็นนานาชาติไว้อย่างน่าฟังว่า

     "ความเป็นนานาชาติ คือ กระบวนการ การนำเอามิติต่างๆ ที่เป็นเรื่องในระดับสากลมาบูรณาการเข้ากับจุดมุ่งหมายและพันธกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาหรือการนำเอาเรื่องเหล่านี้รวมเข้าไว้ในหลักสูตรเพื่อคนจะได้เข้าใจและสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้"

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาถึง 43 ปี ภราดาบัญชาบอกว่า สิ่งที่เป็น “ของเก่า” ของที่นี่ ก็คงความมีเสน่ห์ ส่วน “ของใหม่” ที่เข้ามาตามกระแส เป็นเรื่องที่สถาบันต้องเรียนรู้และปรับให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ทั้งแนวคิด วิธีการ ค่านิยมใหม่ ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนที่หลากหลายเชื้อชาติ ต่างวัฒนธรรม

ความหลากหลาย “diversity” จึงเป็นเสน่ห์ของที่นี่ ไม่แปลกที่เมื่อเหยียบย่างเข้ามาในมหาวิทยาลัย ผู้ที่ได้เข้ามาจะได้สัมผัสกับบรรยากาศของความเป็นไทยและต่างชาติไปพร้อมกัน อาคารเรียนสไตล์โรมัน ดูมั่นคง เหมือนกับความแข็งแกร่งทางวิชาการ

ความเป็นนานาชาติ สะท้อนผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาอังฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร อาจารย์ต่างประเทศ ผู้เรียนจากหลากหลายเชื้อชาติ และผลพลอยได้ คือ บรรยากาศแวดล้อม

 “ขณะนี้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ก้าวเดินมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว สิ่งที่เราสั่งสมประสบการณ์มากพอสมควร เราเป็นมหาวิทยาลัยคาทอลิก ในการก้าวย่างของเราจะเข้าไปในส่วนที่ใช้ทุนสูงไม่ได้ อย่าลืมว่าคณะบราเดอร์มีขีดจำกัดของเราอยู่เพราะเราไม่ได้ร่ำรวยมาจากไหน เราจึงต้องไปสู่ในสิ่งที่คนอื่นเขาไม่ทำ”

แกนหลักจึงอยู่ที่กระบวนการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ภูมิทัศน์ คณาจารย์ ผู้เรียน ตลอดจนหลักสูตรที่โดดเด่นและที่สำคัญเน้นให้เกิดการบูรณาการหลักสูตรในทุกแขนง โดยนำความรู้ด้านการจัดการเข้าไปสอดแทรกในวิชาการต่างๆ

“เราพยายามสร้างองค์กรที่มีรากฐานด้านการบริหารธุรกิจ Based on หมายความว่าไม่ว่าจะเรียนสาขาไหนก็ตามต้องมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการด้วย”

“ทุน” ที่ผู้เรียนจะได้รับกลับไปนอกจากความเชี่ยวชาญในแขนงวิชาหลักแล้ว สิ่งที่ติดไม้ติดมือกลับไปคือ การบริหารจัดการที่ดี เหมือนอย่างที่ภราดาบัญชาบอกไว้ว่า เอแบคเตรียมคนให้พร้อมไว้สำหรับศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเป็นคนมีทักษะรอบด้าน รอบรู้ และรู้ทันกับความเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหนนั่นเอง

“จริงๆ แล้วเราเตรียมคนของเราให้พร้อมสำหรับโลกอยู่แล้ว เด็กของเราออกไปอยู่ที่ไหนก็ได้ ทำงานได้ทั่วโลกเพราะความรู้ของเราเข้าสู่สากลไปเรียบร้อยแล้ว แม้ว่า AEC จะเข้ามาเราก็พร้อมและสิ่งที่เราจะทำคือพยายามดูว่าโลกขยับไปสู่ทิศทางไหน”

“เราเดินทางมาถูกทางแล้ว” คือคำพูดทิ้งท้ายของบราเดอร์บัญชา แสงหิรัญ

Inter Academic Excellence

แน่นอนว่าประเด็นหลักสำคัญของการศึกษาคือ การมุ่งสู้ความเป็นเลิศทางวิชาการ “คุณภาพ” ต้องคับแก้ว หลักสูตรทุกหลักสูตรของเอแบคเปิดขึ้นมาเพื่อรองรับการทำธุรกิจในทุกด้าน และมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะไม่ครบรอบของการปรับก็ตาม เพราะเห็นทิศทาง แนวโน้มที่มาแรงด้านเศรษฐกิจหรือความนิยมในขณะนั้น

ดร.สมพิศ ป.สัตยารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวถึงหลักสูตรที่ปรับเปลี่ยนก่อนครบรอบเทอม เช่น หลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดหลักสูตรการบินใหม่ซึ่งเป็นหลักสูตรร่วมระหว่างการบินไทยกับ Aviation เพราะมองเห็นทิศทางที่ไทยจะก้าวไปเป็นฮับด้านการบินในระดับภูมิภาคได้ไม่อยาก หรือหลักสูตร MBA เช่น Retail Management, Entrepreneurship ซึ่งต่างเป็นหลักสูตรที่เปิดขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับกับการทำธุรกิจและการผันตัวไปเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่มากขึ้น

อีกทั้งความเป็นวิชาการต้องเป็นไปตามมาตรฐาน TQF (Thailand Qualifications Framework for Higher Education) โดยวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 5 ด้านด้วยกัน ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

ยิ่ง AEC จะเข้ามา กรอบมาตรฐานของการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อให้บัณฑิตของเอแบคเข้าไปทำงาน ในระดับภูมิภาคและสู่ความเป็นสากลได้ และในอีกไม่กี่ปีจะมีมาตรฐาน AQF (Asean Qualifications Framework for Higher Education) ซึ่งเป็นกรอบของอาเซียน เอแบคพร้อมรองรับมาตรฐานนี้ ซึ่งหมายความว่าผลการเรียนรู้ของบัณฑิตในประเทศอาเซียน จะอยู่ในระดับเดียวกัน สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้

7 สาขา ที่จะเป็นตลาดแรงงานไหลเข้ามาอย่างเสรี ได้แก่ วิศวกร แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ สถาปนิก การสำรวจ นักบัญชี หลักสูตรของเอแบคตอบสนองความต้องการอาเซียนได้ครอบคลุม “เราไม่ได้ทำเฉพาะในประเทศอาเซียนเท่านั้น โอกาสของเราในประเทศอาเซียนเพิ่มมากขึ้น มีโอกาสเข้าไปแข่งขันได้มากขึ้น โดยนำความรู้ของเราเข้าไปทำให้เป็นบัณฑิตของเราไปแข่งขันต่างประเทศมากขึ้น”

งานวิชาการที่มีความเป็นนานาชาติ หลักสูตรหรือเนื้อหาจึงอิงกับบริบทที่อยู่ในแวดวงนานาชาติและเกี่ยวข้องกับ AEC เช่น Thai Culture and Traditions, Buddhism Asean Law อีกทั้งข้อตกลงทางการศึกษา (MOU) ที่มหา-วิทยาลัยอัสสัมชัญ มีอยู่กับหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ที่อยู่ในประเทศอาเซียนสะท้อนให้เห็นถึงการขยายพรมแดนทางการศึกษาที่ไม่ใช่เฉพาะบุกเบิกแต่ประเทศในแถบตะวันตกเพียงเท่านั้น

“ในแง่งานวิชาการของเอแบคเป็นเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่ต้องรอให้ครบรอบและทำได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน”

ความได้เปรียบของการเป็นผู้บุกเบิกย่อมได้เปรียบที่จะก้าวหน้าไปก่อนใครเพื่อนก็เหมือนกับการตลาดนั่นแหละ สินค้าไหนที่แตกต่างหรือยังไม่มีใครคิดค้นได้โดยอาศัยนวัตกรรมใหม่มารองรับ เมื่อออกสู่ตลาดก็ย่อมเก็บส่วนแบ่งทางการตลาดได้มาก จนเมื่อมีคู่แข่งหน้าใหม่โผล่เข้ามา

ด้วยความที่เอแบคมีฐานจากความเป็นนานาชาติอยู่แล้ว การบุกเบิกตลาดต่างๆ ประเทศจึงแซงหน้าไปก่อนมหาวิทยาลัยอื่น ปี 1986 เริ่มทำ joint Program ร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือกับประเทศอังกฤษเป็นที่แรก และขยับขยายไปสู่สหรัฐอเมริกา เมื่อมีความร่วมมือเช่นนี้ การดึงเอา Professor คนดังจากเมืองนอกเข้ามาสอนก็ย่อมเป็นจุดแข็งใหกับทั้งมหาวิทยาลัย ผู้เรียน คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

“จริงๆ แล้ว จุดประสงค์ของการมีนักศึกษาต่างชาติเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ มีความเป็นนานาชาติ ที่นี้เด็กไทยถ้าไม่ได้มีการสัมผัสภาษาก็ไม่ได้ พอมีเด็กต่างชาติมาเรียนก็ต้องพูดภาษาอังกฤษโดยอัตโนมัติและเป็นเรื่องของสีสัน ทำให้ความเป็นนานาชาติสมบูรณ์” นายกมล กิจสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล กล่าว

นักศึกษาต่างชาติเป็นส่วนที่เพิ่มสีสันให้กับมหาวิทยาลัยไม่น้อย เดินไปเดินมา ก็จะได้เจอกับเด็กเนปาล อังกฤษ สวีเดน อเมริกา ออสเตรเลีย จีน พม่า แคนาดา ฝรั่งเศส เกาหลี รัสเซีย ไต้หวัน ตรุกี บังคลาเทศ อียิปต์ เยอรมัน ฮังการี บางประเทศไม่น่าเชื่อว่าจะมาเรียนถึงเอแบค หรือเด็กจากประเทศ UAE มาเรียนถึงนี่ ดร.กมลบอกว่ามีเด็กจากประเทศที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมาเรียนที่เอแบคน่าจะได้ยินชื่อเสียงของเอแบคจากสื่อ หรือมาเที่ยวในเมืองไทย

นับไปนับมามีผู้เรียนต่างชาติถึง 83 ชาติ 3,048 คน “สิ่งที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้ระหว่างกันเช่น การทำกิจกรรม การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประเทศต่างๆ โดยองค์กรนักศึกษาและมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุน มีความเป็นบริบทนานาชาติและเป็น Gift ให้กับเด็กไทยได้เรียนรู้ถึงความหลากหลาย”

เชื่อว่า เอแบคเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้เรียนต่างชาติมากและอาจารย์จากต่างประเทศมากที่สุดของประเทศ บริบทความหลากหลายช่วยให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และที่สำคัญเปิดมุมมองต่อการมองโลกให้แก่ผู้เรียนเอง

Cool MBA

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของเอแบคไม่ว่าจะเป็น i.M.B.A., M.B.A. Professional, S-M.B.A. Mini M.B.A. และอีกหลากหลายหลักสูตรที่เปิดขึ้นมาเพื่อรองรับกับการทำธุรกิจ ตลอดจนหลักสูตรที่เป็น Double Degree ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศเรียนที่เอแบค 1 ปี และไปเรียนมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ดังนี้ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ( Stanford University ), City University of Seattle ประเทศอเมริกา, University of Applied Sciences Mainz ประเทศเยอรมนี หรือจะเลือกไปเรียนที่ De Montfort University, London South Bank University และ University West of England อังกฤษ

“โลกาภิวัตน์ทำให้เราต้องมองอะไรกว้างขึ้น ไม่ใช่เพียงในประเทศอย่างเดียว ฉะนั้นลักษณะการเตียมความพร้อม การจัดการเรียนการสอน ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศจะทวีความเข้มข้นขึ้นและใกล้ชิดกว่าเก่าก่อนมาก” ดร.กิตติ โพธิกิตติ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย บริหารธุรกิจ กล่าว และเชื่อว่าจะมีความร่วมมือกับอีกหลายมหาวิทยาลัยทั่วโลก MBA ต้องเป็น MBA ที่สอดคล้องกับการพัฒนาธุรกิจในสายนั้น และต้องเกิดเป็น Creative เกิดการบูรณาการทั้งเรื่องของการผสมผสานสาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น เรื่องการบริการก็สอดแทรกเรื่องการท่องเที่ยวเข้าไปด้วย เรื่อง Health Care Management บวกกับเรื่อง Supply Chain โดยที่ไม่แยกกันเหมือนแต่ก่อน เรียกว่านำศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันทั้งมาบูรณาการอย่างรอบด้าน “ลักษณะของหลักสูตรจะจับนู่นจับนี่มาผสมกัน เช่น การท่องเที่ยวอาจจะร่วมกับหลักสูตรการแพทย์ หรือ Health Care Management หรือเป็นการตลาดกับโลจิสติกส์ เพื่อที่จะสร้างบุคลากรให้เป็นบัณฑิตที่สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจได้มากขึ้น” ประเทศในแถบบ้านเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นหลักคิดที่ได้จากการเรียนรู้ต้องสามารถเป็นประโยชน์และนำไปสร้างธุรกิจหรืออาชีพได้จริงให้กับผู้เรียน Academic Excellence จึงต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนโดยพัฒนาเนื้อหาสาระของการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจในประเทศของผู้เรียนด้วย เพราะเมื่อตัดสินใจมาเรียนแล้วสิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับไม่ใช่เพียงแค่ว่า อยากมาอยู่ประเทศไทย ประเทศไทยน่าอยู่ แต่มาแล้วต้องได้อะไรกลับไป ทั้งองค์ความรู้ เน็ตเวิร์กต่อยอดทำธุรกิจที่ได้จากเพื่อนในห้อง และสำรวจเศรษฐกิจในบ้านเราและนำไปปรับใช้กับบ้านของเขาได้ หรือธุรกิจตัวไหนที่จะนำกลับไปสร้างได้

“เราไม่ได้สอนว่าทำธุรกิจแบบนี้ทำอย่างไร แต่เขาสามารถบริหารจัดการนำกลยุทธ์แล้วเอาไปประกอบธุรกิจที่ประเทศของเขายังขาดอยู่ นี่คือสิ่งสำคัญของบัณฑิตสมัยใหม่ เอแบคไม่ได้เน้นให้เรียนได้เกรด A หมด แต่จบไปแล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้”

หลักสูตร MBA จึงมีความเป็นพลวัตและเปลี่ยนไปตามสภาพการทำธุรกิจหรือทิศทางธุรกิจที่เล็งแล้วว่าเมื่อผู้เรียนเข้ามาจะได้รับองค์ความรู้สูงสุดกลับไปใช้ประกอบอาชีพเริ่มต้นทำธุรกิจหรือสานต่อกิจการครอบครัวซึ่งไม่แปลกว่าผู้เรียนเอแบคส่วนใหญ่แล้วเป็นลูกเจ้าของกิจการ การสืบทอดธุรกิจของครอบครัวเป็นสิ่งที่อยู่ในมือ และอยู่ที่ว่าจะนำหลักการบริหารจัดการไปใช้พัฒนาธุรกิจครอบครัวอย่างไร หรือหากไม่ได้มีกิจการ MBA ที่เรียนไปก็จะช่วยต่อยอดและเสริมประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยรู้ภาพกว้างของการบริหารทั้งระบบ ทำงานเหมือนกับองค์กรนี้เป็นของตนเอง ไม่ใช่มีความคิดแค่ว่าเป็นพนักงานในองค์กร

In Trend Technology

การเดินหน้าในเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นการทำระบบ Live Learning กับทาง Apple เพื่อก้าวไปสู่ iTunes University หรือการสร้าง ABAC eBookstore ถือเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของสถาบัน เพราะเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาอย่างรวดเร็ว เอแบคมองเห็นทิศทางและแนวโน้มของการต่อยอดเทคโนโลยีเพื่อมาใช้กับการศึกษา จึงเป็นสถาบันแรกๆ ที่เข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัล วันนี้ผู้เรียนในบางโปรแกรมของที่นี่ จึงสามารถเรียนที่ไหนในโลกที่ไร้พรมแดนไม่ว่าจะเป็นบ้าน หอพัก ในรถ หรือแม้แต่เมื่อไม่สบายก็สามารถหยิบบทเรียนออนไลน์ขึ้นมาทบทวนย้อนหลังได้ตลอดเวลา “เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการเข้าถึงข้อมูล การเรียนการสอนแบบออนไลน์ หรือแม้แต่การแปลงคอนเทนต์ทุกอย่างให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัลหรือการสร้าง ABAC App เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IOS หรือ Adnroid” ดร.สุนทร พิบูลย์เจริญสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบัณฑิตศึกษา กล่าวถึงการทวีความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน

“เทคโนโลยี” เปรียบเสมือนถนนแห่งใหม่ในการเข้าถึงข้อมูล ผู้เรียนสามารถใช้อุปกรณ์สื่อสารจำพวก สมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ในการเข้าถึงบทเรียนแบบ Real time หรือ On Demand อีกทั้งเอแบคได้เปิด E-Bookstore ขึ้นมาเฉพาะให้กับนักศึกษาทั่วไป โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นนักศึกษาเอแบค ซึ่งมีทั้งแมกกาซีน หนังสือพิมพ์ และอนาคตก็จะขยายไปยัง Academic Textbook ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนก็ได้จริงๆ ซึ่งมีทั้งบทเรียนในคลาส หนังสือเรียนหรือแม้แต่ การเรียนแบบสดๆ จากห้องเรียน เทคโนโลยีเหล่านี้เองทำให้เอแบคมีดีกรีและความได้เปรียบเป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี

“เทคโนโลยีที่ทำ เริ่มให้นักศึกษาเริ่มเรียนที่ไหนก็ได้ จริงๆ คุณอยู่ข้างนอก คุณไม่มี Text Book คุณพลาดคลาสเรียนนี้สามารถกลับไปดูย้อนหลังได้ อยู่ข้างนอกก็เรียนได้ นี่คือสิ่งที่เรากำลังทำและพยายามต่อจิ๊กซอว์ทุกตัวให้ครบ” ในปีหน้าเองทางเอแบคจะเริ่มปรับปรุงหลักสูตร MBA บางโปรแกรมเป็นแบบ Workshop and Case studies based จะกำหนดการเรียนการสอนเป็นแบบ Hands on Experience and Activities มากกว่า Lecturing Class. “เราเริ่มมองแล้วการเรียนแบบ Workshop จะทำให้นักศึกษาได้ลงมือเรียนแบบปฏิบัติงานจริงๆ และเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนแบบฟังอาจารย์สอนเพียงอย่างเดียว” 

ดร.สุนทร กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในปีหน้า ดังนั้น จากความแข็งแกร่งของเอแบคไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของตลาดแรงงาน สิ่งอำนวยความสะดวกภายในมหาวิทยาลัย ตลอดจนการนำเทคโนโลยีมาใช้ประยุกต์เข้ากับสื่อการเรียนการสอน และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งข้อมูลนอกห้องเรียน ยิ่งทำให้วันนี้ ผู้เรียนของมหาวิทยาลัยมีความพร้อมที่จะออกไปเป็นคนของศตวรรษที่ 21 ที่พรั่งพร้อมไปด้วยทักษะ ความรู้ มุมมองการทำธุรกิจ ตลอดจนแนวคิดการบริหารจัดการระดับนานาชาติ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้เตรียมคนของโลกธุรกิจจริงๆ

แหล่งที่มา : MBA Magazine [No.160 October-November 2012] page: 32-43

  • https://aceh.lan.go.id/wp-content/giga/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/file/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/files/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/mail/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/pay/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/wp-content/giga/
  • https://rsudngimbang.lamongankab.go.id/
  • https://dasboard.lamongankab.go.id/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/plugins/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/storage/
  • https://islamedia.web.id/
  • https://fai.unuha.ac.id/disk/
  • https://fai.unuha.ac.id/post/
  • https://fai.unuha.ac.id/plugins/
  • https://fai.unuha.ac.id/draft/
  • https://fai.unuha.ac.id/giga/
  • slot gacor hari ini
  • slot pulsa
  • slot pulsa
  • nuri77
  • gemilang77
  • slot deposit pulsa
  • slot gacor hari ini
  • slot luar negeri
  • slot pulsa
  • situs toto
  • situs toto
  • toto slot
  • slot pulsa tanpa potongan
  • situs toto
  • situs toto
  • slot pulsa
  • situs toto slot
  • slot deposit pulsa
  • Situs toto macau