onwin
8. ทำไม มหาวิทยาลัย...ไม่มี Innovation ไม่ได้??

ทำไม มหาวิทยาลัย...ไม่มี Innovation ไม่ได้?

หากพูดถึงชุมชนการศึกษานานาชาติ ที่แข็งแกร่งที่สุดในเมืองไทย คงต้องยกให้ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือเอแบค ที่เปิดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรแบบนานาชาติเป็นแห่งแรกตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา 

  ทำไม มหาวิทยาลัย... ไม่มี Innovation ไม่ได้?

นอกจากจุดแข็งความเป็น International Community เอแบคยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ปักธงสร้างเอกลักษณ์ทางการศึกษาบนแนวคิด The Land of Tradition and Innovation อย่างจริงจัง           

บราเดอร์บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวถึงการปรับตัวว่ามีสาเหตุมาจากกระแส Globalization และเทคโนโลยีที่มาแรง ทำให้การเรียนการสอน  2 ภาษา   และการมีจุดแข็งด้านองค์ความรู้ Management ของเอแบคไม่เพียงพออีกต่อไป การปรับตัวจึงมีทั้งด้าน Tradition หรือการรักษาคุณภาพการศึกษาที่ดีไว้ดังเดิม ควบคู่ไปกับการสร้าง Innovation           

“เราต้องเป็นองค์กรที่มีอยู่ในอนาคต จะมานั่งรักษาอย่างเดียวไม่ได้ จึงต้องสร้าง Innovation ในทุกเรื่อง เช่น หลักสูตรจะต้องมี Innovation หากยังทำแบบเดิม คนจะไม่สนใจ สังเกตว่าในยุคเก่าการศึกษาจะเน้นการสร้างคน แต่ในยุคใหม่เน้นการสร้างคนให้ออกมาทำงานให้ได้ เทรนด์ของวิชาชีพจึงเติบโตเร็วมาก     การศึกษาจึงต้องมี Innovation ในแง่ของหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน ความยืดหยุ่นในการทำงาน การเข้าเรียนในชั้นเรียน ตัวอย่างของ Innovation ในเอแบค เช่น การก่อตั้งสถาบัน ซิเด้ (CIDE : College of Internet Distant Education) เพราะในอนาคตจะเกิดภาวะแย่งงานกันทำ จึงเกิดคำถามว่าสถาบันจะดึงกลุ่มคนวัยทำงานมาเรียนได้อย่างไร ในเมื่อค่าเล่าเรียนเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงและคนกลุ่มนี้ต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย”

เอแบค ยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่สร้าง U Town หรือ University Town มหาวิทยาลัยเสมือนจริง (Virtual University) บนโลกออนไลน์แห่งแรกของไทย มีการจำลองสถาปัตยกรรมต่างๆ ในเอแบค เช่น ตึก สนามบาส อัฒจันทร์ รูปปั้น ฯลฯ เหมือนผู้ใช้งานเดินเข้ามาในเอแบคจริงๆ นอกจากนี้ใน U Town ยังมีการพัฒนาระบบให้นักศึกษาทำกิจกรรมได้มากมาย เช่น การสนทนาผ่านเครือข่าย การเข้าเรียนในชั้นเรียนที่สอนผ่านระบบ E – Learning และการพัมนาระบบอีคอมเมิร์ซ Virtual Commerce เป็นบริการเสริมสามารถซื้อขายออนไลน์ มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ในรูปแบบสามมิติ และสั่งซื้อสินค้าได้จริงผ่านระบบ Paypal

โปรเจ็กต์ต่อยอดของ U Town คือการเชื่อมโยงกับการศึกษา การท่องเที่ยว เช่น จำลองโบราณ สถานที่สูญหายไป เช่น วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา การสร้างกิจกรรมสมานฉันท์ในสังคม เช่น การจำลองสวนโมกข์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมะ ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์คุณภาพแห่งนี้ได้ด้วย     

ล่าสุดเอแบคยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เปิดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ในระบบ Broadcast ผ่าน Mobile Learning ในระบบ iTouch & Learn เริ่มที่หลักสูตร i M.B.A. เป็นหลักสูตรแรก โดยมีการอัพโหลดเนื้อหาการเรียนการสอนไว้ในระบบที่พัฒนาร่วมกับ Apple นักศึกษาสามารถเข้าไปดาวน์โหลดเนื้อหาต่างๆ ลงมาไว้ใน iPhone, iPad หรือคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊คทั่วไป ทั้ง Platform Mac หรือ Windows เป็นการเผยแพร่เนื้อหาการเรียนสู่สากล และช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าไปดูเนื้อหาก่อนเรียนหรือในกรณีเข้าเรียนไม่ทัน ซึ่งมีส่วนช่วยให้การเรียนของนักศึกษามีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น

ในอนาคตอันไกล้ เอแบคเตรียมการพัฒนาระบบ iTouch & Learn ขยายไปยัง Mobile Devices หรือสมาร์ทโฟน เช่น BlackBerry หรือ Android เพิ่มเติม    

แหล่งที่มา : The Company (ปีที่ 14 ฉบับที่ 161 เมษายน 2554) หน้า 104