ABAC STEP FORWARD TO GLOBAL UNIVERSITY : 40 ปีเอแบค ทุกย่างก้าวแห่งการพัฒนา เพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพ
“เอแบค แหล่งบ่มเพาะกล้าพันธุ์ทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณภาพ สู่สังคม สถาบันการศึกษาที่ยืนยัด มุ่งมั่น ในเรื่องความเข้มข้น ด้านวิชาการ ควบคู่จริยธรรม คุณธรรม ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 40 อย่าง แข็งแกร่ง”

จากคำพูดที่ว่า การศึกษาเป็นรากฐานแห่งชีวิตนั้น เป็นคำที่พูดกันมานาน และยังมีความ ทันสมัยอยู่ทุกยุคสมัย เพราะผู้ที่มีการศึกษาที่ดีนอกจากจะมีโอกาสมากมายในชีวิตแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาของประเทศชาติบ้านเมือง ซึ่งโดยระบบการศึกษาของไทยนั้น ถือได้ว่า เปิดกว้างทางการศึกษาอย่างอิสระ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การศึกษาสถาบันต่างๆ เกิดการแข่งขันกันขึ้นดังกล่าว นอกจากจะทำให้เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพแล้วนั้น ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้ธุรกิจด้านการศึกษาของไทย มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน รวมไปถึงหลักสูตรใหม่ๆ ที่ทันสมัย และก้าวทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอดังเช่นทุกวันนี้

นอกเหนือไปจากองค์กรความรู้ด้านวิชาการแล้ว มหาวิทยาลัยยังเป็นเหมือนสถานที่บ่มเพาะด้านคุณธรรมและจริยธรรมของทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้ ให้เป็นผู้ที่มีวิชาความรู้ กอปรกับการเป็นคนดีของสังคม ดังนั้นในภาพรวมของการบริหารของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งให้มีสมบูรณ์พร้อมรอบด้านนั้น จึงเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่

 เปิดศักราชสถานับการศึกษานานาชาติ

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบค เปิดดำเนินการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1969 หรือ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว โดยคณะนักบวชเซนต์คาเบรียลซึ่งได้รับการสถาปนาจากนักบุญหลุยส์มารีย์ เดอะมงฟอร์ต ประมาณ 300 ปีมาแล้ว นับถึงวันนี้ได้ผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ออกรับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก ซึ่งความเป็นมาอันยาวนานเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมั่นคงแน่วแน่ทางการศึกษา และความเชี่ยวชาญ ในการอบรมสั่งสอนเยาวชนให้เป็นผู้มีคุณธรรม เป็นทรัพยากรมนุษย์ผู้ทรงคุณวุฒิและมากด้วยจริยธรรมคุณธรรมอีกด้วย

อธิการบดีกิตติคุณ ภราดา ดร.ประทีป ม.โกมลมาศ กล่าวว่าปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่ว่า “Labor Omnia Vincit” หรือ “ความอุตสาหวิริยะ เป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จ” ถือเป็นฐานสำคัญของความเป็นเอแบค อันเป็นสถาบันการศึกษาที่คณะนักบวชเซนต์คาเบรียลก่อขึ้นมาโดยมีพันธกิจเป็นผู้แสวงหาความจริง และความรู้ คติพจน์ของเอแบค คือ การแสวง หาพระเจ้า และความรู้      

    

เอแบคเป็นสังคมนานาชาติ นักบวชเองมีหลายชาติ อาทิ  ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐฯ แต่มีพื้นฐานมาจากที่เดียวกันมีนโยบายการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันช่วยเหลือกัน มีความเป็นนานาชาติ เอแบคก็เช่นกัน เป็นศูนย์รวมของนักศึกษาจากนานาชาติที่จะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และจากนี้ก็จะทำให้มั่นคงแข็งแรงต่อไปทำให้นักศึกษาซาบซึ้ง และเข้าไปในบรรยากาศที่ว่านี้


ภราดา บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาของการดำเนินการมหาวิทยาลัยนั้นภารกิจสำคัญยิ่งคือมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมีวิชาความรู้ที่ทันสมัยและมีคุณธรรมสามารถนำวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาตลอดหลักสูตรไปใช้ในการดำรงชีพอย่างมีจริยธรรม เป็นคนเก่งและคนดีของสังคมดังนั้นระหว่างหลักสูตรการศึกษานั้นมหาวิทยาลัยได้พยายามสอดแทรกการปลูกฝังให้นักศึกษาของเราค่อยฯ ซึมซับวิถีแห่งการเป็นคนดีทีละน้อยๆ โดยวิธีการนี้จะทำให้เกิดประสิทธิผลที่มากกว่าเพราะอย่าลืมว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น การที่จะสอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรมกับคนวัยนี้จะต้องมีกลวิธีที่ดี เพราะเราต้องการให้ผลผลิตที่เกิดจากเอแบค เป็นทรัพยากรที่ทรงคุณภาพของประเทศและของโลก” 

 ก้าวสู่ปีที่ 40 กับความเป็นเลิศด้านการศึกษา

“คณะแรกที่เราเปิดคือ คณะบริหารธุรกิจ ต่อมาเราก็พยายามดูที่พื้นฐานของทุกอย่างว่ามาจากศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทุกสาขาวิชา มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการที่จะทำให้คนเป็นคนต้องอาศัยวิชาเหล่านี้ไปช่วยไม่ใช่คนเราเกิดมาเพื่อมีอาชีพอย่างเดียวหลายคนคิดว่าเรียนหนังสือเพื่อไปใช้หากินทำไมถึงต้องมาเรียนวิชาเหล่านี้ เราต้องสามารถสร้างคนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขเราต้องดูประเทศชาติว่าประเทศชาติต้องการอะไรโลกนี้ต้องการอะไรแล้วประชาชนของเราต้องการอะไร เราได้จัดการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจมาระยะหนึ่งและได้เห็นแนวโน้มความต้องการของประเทศในด้านเทคโนโลยีมากขึ้น” ภราดา บัญชา กล่าว 

การแข่งขันเชิงธุรกิจที่มีสูงขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยต่างต้องค้นหาจุดขายให้กับตัวเอง ซึ่งจะต้องเป็นจุดเด่นที่สนับสนุนให้เกิดคุณภาพและทักษะแก่บัณฑิตให้เป็นที่ต้องการของตลาดและแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรม และด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารทำให้เอแบคได้วางแผนระยะยาวในการนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้สนับสนุนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อสนับสนุนพันธกิจดังกล่าว 

 เสริมสร้างทักษะการสอนให้อาจารย์ 

ภราดา บัญชากล่าวเสริม “ปัจจุบันเอแบคมี 2 แห่ง คือ ที่หัวหมากและวิทยาเขตบางนา โดยมีนักศึกษารวมทั้ง 2 แห่งราว 20,000 คนเรามีการนำเทคโนโลยีด้านต่างๆ เข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยเอแบคได้ออกแบบการพัฒนาศักยภาพในส่วนนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของการพัฒนาศักยภาพและทักษะของอาจารย์ และส่วนของนักศึกษา ซึ่งทั้งสองส่วนจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในการยกระดับการศึกษาในภาพรวมของมหาวิทยาลัย”  โดยในส่วนของภาคการสอนนั้น เอแบคมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนด้านการเรียนการสอนและการวิจัยว่า ทั้งสองอย่างนี้เป็นของคู่กันต้องเดินหน้าไปด้วยกัน เมื่อมีอาจารย์ที่มีมาตรฐาน มีการเรียนการสอนที่ดีแล้วก็ต้องมีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยด้วยเป็นงานที่ควรดำเนินควบคู่กัน เนื่องจากงานของอาจารย์นั้นจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาข้อมูลทั้งที่อยู่ภายใต้หลักสูตรและนอกเหนือจากหลักสูตร โดยอาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก แต่สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากคุณวุฒิคือ ความพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ที่มีสู่นักศึกษา       

    

การคัดเลือกอาจารย์ของเอแบคจึงเป็นรูปแบบ เคสบายเคส เพราะต้องยอมรับว่า อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ไม่ไช่อาชีพที่มีรายได้สูงนัก ดังนั้นคนที่จะทำงานในด้านนี้ได้จะต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมทั้งกายและใจ กล่าวคือ มีคุณวุฒิที่ตรงกับหลักสูตรและมีความพร้อมด้านจิตวิทยาด้วย ดังนั้นอาจารย์จำนวนมากของเอแบคจึงถูกคัดเลือกมาจากอาจารย์ผู้ช่วยสอน (TA) และสนับสนุนให้การศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ก่อนบรรจุเป็นอาจารย์ประจำ

นำเทคโนโลยีเข้าสนับสนุนทุกภาคส่วน 

สำหรับในส่วนของนักศึกษานั้นแน่นอนว่า ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น เอแบคเป็นมหาวิทยาลัยในระดับแนวหน้าที่มีความทันสมัยในเรื่องของการเข้าถึงการบริการด้านไอทีภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ในส่วนของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในชั้นเรียนนั้น ได้รับการเตรียมความพร้อมไว้อย่างเสร็จสรรพ เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ภราดา บัญชา กล่าว 

“สำหรับชั้นเรียนของเรานั้น หากว่า บทเรียนใดจำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์สนับสนุนเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทางมหาวิทยาลัยเราจะมีการเตรียมความพร้อมรองรับกับความต้องการดังกล่าว เช่น หากต้องใช้ซอฟต์แวร์บางประเภทเราก็พร้อมที่จะสั่งซื้อมาให้นักศึกษาได้ทำการเรียนรู้ ในปริมาณที่มากเพียงพอสำหรับนักศึกษาทุกคน นอกจากนั้นแล้วในเรื่องของสภาพแวดล้อม ก็เป็นอีกส่วนที่เอแบคได้กำหนดให้เป็นมาตรฐานพื้นฐานที่ต้องใส่ใจ ทั้งในส่วนของบรรยายกาศโดยรอบมหาวิทยาลัยที่จะสร้างให้เกิดบรรยายกาศแห่งการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับนักศึกษาทั้งในส่วนของ ระบบอินเตอร์เน็ต การเข้าถึงข้อมูลด้านวิชาการ การติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และข้อมูลบทเรียนย้อนหลัง เป็นต้น 

ที่เอแบคทั้งสองแห่ง มีการนำไอทีมาใช้ในทุกๆ ด้าน ทุกพื้นที่ของเอแบคเป็นแบบไร้สายทั้งหมด มีทั้งที่นั่งเล่นพักผ่อน มีโน๊ตบุ๊ก เวลาไปไหนก็ต้องมีการเชื่อมต่อ เช่นเดียวกับยุคใหม่ที่ใช้ไอแพดในการดูเรื่องการเรียนการสอน ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้นี้อยากให้ก้าวหน้าต่อไป อยากให้ใช้เครื่องมือไร้สายมากขึ้น อาจารย์ก็ใช้สื่อสารการสอนจากที่บ้านได้ วันไหนมีประกาศฉุกเฉิน อาจารย์สามารถสอบผ่านออนไลน์ได้ การหยุดต้องมีการเรียน เป็นการเรียนแบบไร้สายจะได้ไม่เสียเวลาและโอกาสในการศึกษา  

“เทคโนโลยีสมัยใหม่ใช้เป็นก็เป็นประโยชน์ ใช้ไม่เป็นก็เสียเวลา การมองในแง่ของการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่จะเปลี่ยนกันง่ายๆ การเรียนคือการเปลี่ยนแปลง สมัยก่อนไม่มีใครเคยคิดว่าการศึกษาเปลี่ยนคนเราเอาการศึกษาเป็นเครื่องมือของการเปลี่ยนแปลง ภาษาอังกฤษถ้าเราไม่รู้เลยก็จะไม่มีโอกาสก้าวหน้า เรามาเรียนภาษาอังกฤษเพราะเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ เชื่อมต่อกับข้อมูลทั้งหลาย วิชาความรู้ ใครเก่งก็ถาม ใครมีให้สอน ไม่ต้องกลัวว่าจะว่าโง่เง่า” ภราดา ดร. ประทีป กล่าว 

              

    E-Library ห้องสมุดออนไลน์ เพื่อการค้นคว้าแบบทุกที่ทุกเวลา 

การนำระบบไอทีมาใช้กับการบริหารจัดการส่วนต่างๆ ของเอแบคนั้น เป็นไปอย่างมีขั้นตอนและมีการวางแผนที่ชัดเจน ตัวอย่าง เช่น ในส่วนของวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างง่ายดายนั้นจึงได้ทำการปรับปรุงระบบการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีในห้องสมุด ดังนั้น ขั้นตอนการดำเนินการ คือ การจัดการระบบฐานข้อมูลบุคคล เชื่อมต่อกับระบบข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดและที่อื่นๆ 

สำหรับห้องสมุดของเอแบคนั้น นอกเหนือไปจากปริมาณหนังสือตำราที่มีอยู่อย่างมากมายนั้น ความทันสมัยของข้อมูลก็เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงสำหรับห้องสมุดแห่งนี้ อีกทั้งในขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำเป็น E-Library อย่างเต็มรูปแบบ โดยในอนาคต นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย จะสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสือทั้งหมดที่มีอยู่ในห้องสมุดจะถูกจัดเก็บในรูปแบบของไฟล์ข้อมูล ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไปอ่านเพื่อการค้นคว้าได้อย่างสะดวก ภราดา บัญชา กล่าว 

“ในอนาคต รูปแบบการอ่านหนังสือของคนจะต้องเปลี่ยนไป การอ่านหนังสือเป็นเล่มๆ จะยังไม่ได้หายไป แต่อาจจะลดปริมาณลงส่วนหนังสือและข้อมูลต่างๆ จะอยู่ในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น คนจะอ่านข้อมูลผ่านอุปกรณ์โมบาย ผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมากขึ้น ดังนั้น ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ ที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากจำเป็นต้องได้รับการเผยแพร่และเปิดกว้างสู่ประชาชนทั่วไป ดังนั้น โครงการ e-library จึงเกิดขึ้น และเราคาดหวังว่าในอนาคต ห้องสมุดของเราจะเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญของประเทศและของโลก เพราะใครๆ ก็สามารถที่จะเข้ามาค้นคว้าวิจัย และใช้ข้อมูล อ่านหนังสือตำราต่างๆ ที่มีอยู่ภายในห้องสมุดเอแบคได้” ภราดา บัญชา กล่าว 

นอกเหนือไปจาก การนำข้อมูลจากหนังสือและตำราขึ้นสู่ระบบออนไลน์นั้น ระบบการยืม-คืน หนังสือแบบเดิม ก็ได้รับการปรับปรุงด้วยเช่นกัน โดยมีการใช้ระบบบันทึกข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และส่งเป็นรายงาน การเข้าใช้ห้องสมุดของนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัย ซึ่งข้อมูลในจุดนี้จะทำให้มหาวิทยาลัยทราบถึงความต้องการใช้งานที่แท้จริง เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปปรับปรุงการเพิ่มเติมประเภท และปริมาณหนังสือ ให้ตรงตามความต้องการใช้งาน 

ห้องเรียนออนไลน์ e-learning แบบเต็มรูปแบบ

ด้วยหนึ่งในเป้าหมายของมหาวิทยาลัย คือ การเป็น World Class University นั้น ทำให้เอแบคจำเป็นต้องทำการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมออีกทั้งรูปแบบการเรียนการสอนที่บางครั้งต้องมีการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยยิ่งขึ้น 

“เอแบคมีนักศึกษาจำนวนมากที่เป็นชาวต่างชาติ นอกเหนือจากความโดดเด่นในเรื่องของหลักสูตรนานาชาติ ที่เปิดโอกาสให้กับนักศึกษาจากประเทศต่างๆ ได้เข้ามาเรียนแล้วนั้นเรายังมีหลักสูตร e-learning ที่เป็นหลักสูตรออนไลน์ กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้ตั้งแต่การเริ่มต้นหลักสูตรจนถึงจบหลักสูตรเลยทีเดียว โดยชั้นเรียนแบบออนไลน์นี้ นักศึกษาสามารถคอนเน็กกับอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนแบบเรียลไทม์ รวมทั้งสามารถทบทวนบทเรียนย้อนหลังได้อีกด้วยซึ่งหลักสูตรดังกล่าวเหมาะสำหรับนักศึกษาที่ไม่มีเวลาเข้าสู่ชั้นเรียนปกติหรือมีระบบเวลาที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มอาชีพ แอร์โฮสเตส หรือผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศบ่อยๆ” ภราดา บัญชา กล่าวเสริม 

ปัจจุบัน เอแบคสามารถผลิตมหาบัณฑิตจากหลักสูตรออนไลน์ได้จำนวนหนึ่งแล้ว และมีแผนที่จะขยายไปยังหลักสูตรอื่นๆ ต่อไป ซึ่งอธิการบดีเอแบคได้ขยายความเพิ่มเติมว่า ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยไม่ได้วัดที่จำนวนของบัณฑิตที่ผลิตออกสู่ตลาดแรงงานหรือภาคธุรกิจเท่านั้น หากแต่อยู่ที่ว่า บัณฑิตที่จบออกไปแล้วเมื่อเข้าสู่โลกของธุรกิจแล้ว สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพเพียงใด ซึ่งที่ผ่านมานั้น บัณฑิตจากเอแบคได้รับการยอมรับจากทุกวงการว่าเป็นบุคลากรที่ทรงประสิทธิภาพและคุณภาพ ส่วนหนึ่งของบัณฑิตมักจะออกไปดำเนินธุรกิจของตนเองหรือสืบทอดธุรกิจของครอบครัว 

ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า นอกเหนือจากองค์ความรู้ด้านวิชาการแล้ว บุคลากรเหล่านี้ต้องมีความรู้คู่คุณธรรมด้วย เพื่อนำพาองค์กร และประเทศชาติสู่การพัฒนาแบบยั่งยืนและมั่งคง  

     นอกจากนี้บัณฑิตของเอแบคสามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ชั้นนำของโลกในสาขาวิชาต่างๆ ได้ทุกปี “เด็กของเราจะต้องเข้าเรียนต่อที่ไหนก้อได้ที่อยากจะเรียน ซึ่งนั้นหมายถึง ความสามารถของบัณฑิตจากเอแบคจะต้องอยู่ในระดับที่ได้มาตรฐาน หรือสูงกว่ามาตรฐาน” ภราดา บัญชากล่าวเสริม

เรียนรู้วิถีแห่งชีวิต ภายในรั้วเอแบค

“เด็กๆ มักจะพูดกันว่า ที่เอแบคนั้นเรียนยาก เรียนหนัก ทำให้ไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยเลย แต่ในความเป็นจริงนั้น คืออาจจะยากอยู่ตรงที่ภาษา เพราะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง แต่เฉพาะในช่วงแรกเองที่จะต้องปรับตัว สิ่งที่บราเดอร์เห็นคือ นักศึกษาส่วนใหญ่มีเวลาว่างค่อยข้างมากแต่ไม่รู้จะทำอะไร บางทีเห็นนักศึกษาบางคนนั่งว่างอยู่ไม่ได้ทำอะไร บางคนก็โทรศัพท์บ้าง ซึ่งไม่ได้อยู่ที่เขาไม่มีเวลา แต่ไม่รู้จักจะบริหารเวลาของตนเองมากกว่า ไม่รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เขาลืมไปว่า “time is money” หรือเขายังไม่ทราบซึ่งในคำกล่าวที่ว่า “time and tide wait for no man” ตรงนี้เป็นจุดที่สำคัญ ถ้าเขาตระหนักในสิ่งเหล่านี้เขาจะต้องศึกษาและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาตนเอง ความสามัคคีไม่ได้เกิดจากการทำกิจกรรมอย่างเดียว เกิดจากหลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกปลูกฝังในตัวของนักศึกษา แน่นอนกิจกรรมเป็นสิ่งหนึ่งที่มาช่วยสอน ต้องถามตัวเองก่อนว่าเราทำอะไรในแต่ละวัน ถ้าเพื่อนั่งฟังอาจารย์สอนแล้วก็กลับบ้าน มันก็ไม่เกิดประโยชน์เหมือนกับการเรียนของเขาอยู่ในระดับมัธยม 

ตรงนี้เขาต้องปรับเปลี่ยนวิถีของเขาให้ได้ เปลี่ยนจากระดับที่เป็นนักเรียนซึ่งเรียนรู้จากอาจารย์อย่างเดียว มาเป็นนักศึกษาชื่่อก็บอกอยู่แล้วต้องเป็นคนที่รู้จักศึกษาค้นคว้าแล้วรู้จักเรียนรู้ตัวเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การเรียนมีหลายแบบ ครูที่ดีต้องสอนให้เด็กยืนบนขาตัวเองให้ได้ ครูเป็นเพียงผู้บริหารจัดการ บั้นปลายแล้วนักเรียนนักศึกษาต้องสามารถเรียนรู้ ค้นคว้าหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ 

เมื่อเขาต้องประสบปัญหา เพราะชีวิตในอนาคตไม่มีอาจารย์อยู่ด้วย ตัวเขาเองต้องเป็นคนสอนเขาเอง ต้องขัดเกลานิสัยตัวเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวของกิจกรรมโดยเฉพาะ หลายคนที่เข้าไปทำกิจกรรมอาจจะทะเลาะกันก็ได้ ความหมายของกิจกรรมในตัวของมันเองนั้นไม่ได้ขัดเกลาคนเสมอไป อาจจะนำสู่ทางไม่ดีก็ได้ แต่ถ้าเรามีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลานำความรู้มารวมเข้ากับการปฎิบัติ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น นำสิ่งที่เรียนรู้มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพยายามปฎิบัติเหมือนอย่างสมัยก่อน เมื่อเราเป็นเด็กเรามักจะไม่อยากแปรงฟัน แปรงฟันแล้วมันเจ็บ แปรงแล้วถูกับเหงือก แต่อีกหน่อยพอรู้ว่าการแปรงฟันเป็นสิ่งสำคัญต้องทำให้ได้ ต้องฝึกจนกระทั้งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เราต้องทำให้ติดเป็นนิสัย” 

“ขณะนี้เราไม่คิดว่าเราเป็นเบอร์หนึ่งของมหาวิทยาลัยเอกชน แต่เราคิดว่าเราทำดีเสมอไปเรามองอีกแบบหนึ่ง การอบรมคนของเราอาจจะไม่เหมือนใคร เราเน้นมโนธรรมในจิตใจที่ทำอะไรก็รู้อยู่ในตัวของตัวเอง การอบรมคนไม่ใช่ง่ายๆ เรายอมขาดทุน เรายอมให้เขาบ้าง แต่ถ้าสร้างความยุติธรรมได้ก็ถือว่าคุ้มและอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ คนทุกคนพิการทั้งนั้น ถ้าคนทุกคนเหล่านั้นไม่รู้จักการต่อสู้ชีวิต” ภราดา ดร.ประทีป กล่าวเสริม 

กลูกฝังรากฐานแห่งการเป็นคนดี 

“เรามีจุดเด่นตรงที่เราใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารและภาษาธุรกิจ หลักสูตรของเรามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมีเนื้อหาของการบริหารจัดการเป็นพื้นฐานในทุกโปรแกรม พูดง่ายๆ ว่าเด็กของเราที่จบไปเราจะต้องให้เขาไปเป็นผู้ประกอบการไม่ใช่ให้แต่ทฤษฎีอย่างเดียวต้องมีภาคปฏิบัติให้กับเด็กด้วย เรามีการจัดการเรียนการสอนด้านจริยธรรมวิชาชีพ (Professional Ethics and Service Learning) เพื่อสร้างนักศึกษาให้เป็นคนที่มีคุณธรรมในการปฎิบัติหน้าที่ หากถามว่าที่อื่นมีหลักสูตรอย่างนี้หรือเปล่า ตอบได้ว่ามี แต่สิ่งที่คนอื่นไม่มีคือ เราเป็นมหาวิทยาลัยคาทอลิก คำว่า คาทอลิก ไม่ได้อยู่ที่ชื่ออย่างเดียว

      

เรามีผู้บริหารเป็นนักบวช ดังนั้นในบริบทของมหาวิทยาลัยคาทอลิกที่มีผู้บริหารเป็นนักบวช จึงต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในด้านศิลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการให้การศึกษาอบรมแก่นักศึกษา และในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในภาพรวมด้วยมหาวิทยาลัยอื่นก็มีหลักสูตรนานาชาติ ตึกอาคารเรียนใหญ่ มีนักศึกษาต่างชาติเหมือนกัน แต่คุณค่า (Value) ทางด้านการเรียนการสอน การสื่อสาร ความสัมพันธ์ต่อกัน มันเป็นคุณค่าทางศาสนาที่เรายึดถือปฎิบัติติดต่อกัน นั่นคือ ศาสนาคริสต์สอนเรื่องความรัก ความเมตตา การรู้จักเสียสละ การรู้จักรับใช้เพื่อนคนอื่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราต้องพยายามปลูกฝังตัวของนักศึกษาซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนการสอนอย่างเดียว แต่จะเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรทุกคน ไม่เกิดเฉพาะในห้องเรียนอย่างเดียว แต่เกิดในทุกขณะ และเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในมหาวิทยาลัย” 

แหล่งบ่มเพาะกล้าพันธุ์ชั้นดี 

ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา เอแบคได้พิสูจน์ให้สังคมเห็นแล้วว่า สถานศึกษาแห่งนี้เป็นแหล่งเพาะกล้าพันธุ์ทรัพยากรมนุษย์คุณภาพดีออกรับใช้สังคม “หากให้ระบุนิยามของเอแบค เราคงต้องกล่าวว่า เราเป็นสถาบันแห่ง Transition & Innovation ซึ่งการที่เราจะเป็นเช่นนั้นได้จะต้องเดินตาม แนวทาว ปฎิบัติ 3 อย่างคือ by Design ซึ่งเราตั้งเป้าหมายว่าที่แห่งนี้จะเป็นสังคมนานาชาติ เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้และนักศึกษา นักวิชาการ อาจารย์จากหลายประเทศ ถัดมาคือ by Commitment ด้วยความเป็นนักบวช เราจึงมุ่งมั่นตั้งในการศึกษาด้านศาสนา เพราะทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดีและสุดท้ายคือ by Innovation หมายถึงเราจะเติบโตโดยอาศัยนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งการใช้นวัตกรรมนี้เองที่จำเป็นต้องปลูกฝังจิตสำนึกของการใช้งานให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกที่ควร” ภราดา บัญชา กล่าวเสริม 

ด้วยเป้าหมายและความมุ่งมั่นที่จะสร้างบัณฑิตซึ่งมีวิชาความรู้ที่ดี และต้องรู้จักการให้ การแบ่งปัน ความรู้ความสามารถให้ผู้อื่นได้รับรู้ และสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นจากความรู้ความสามารถที่มีดังนั้น ก่อนที่นักศึกษาทุกคนจะเรียนจบหลักสูตร มหาวิทยาลัยจะมีการจัดโครงการที่เรียกว่า Service Learning แนะนำให้ว่าที่บัณฑิตทุกคนได้เรียนรู้และวางแผนสู่การงานในอนาคต 

“เอแบคเป็นสถาบันที่ซึ่งให้ความรู้ สามารถทำให้คนที่เข้ามาศึกษาสามารถอยู่รอด และมีความสุขในสังคมและชีวิตของตนเอง ได้ค้นพบศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองและสร้างประโยชน์แก่สังคม” ภราดา บัญชา กล่าวทิ้งท้าย 

แหล่งที่มา : E-Leader [Vol.21 No.261 November 2010] page: 44-51

 

  • https://aceh.lan.go.id/wp-content/giga/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/file/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/files/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/mail/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/pay/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/wp-content/giga/
  • https://rsudngimbang.lamongankab.go.id/
  • https://dasboard.lamongankab.go.id/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/plugins/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/storage/
  • https://islamedia.web.id/
  • https://fai.unuha.ac.id/disk/
  • https://fai.unuha.ac.id/post/
  • https://fai.unuha.ac.id/plugins/
  • https://fai.unuha.ac.id/draft/
  • https://fai.unuha.ac.id/giga/
  • slot gacor hari ini
  • slot pulsa
  • slot pulsa
  • nuri77
  • gemilang77
  • slot deposit pulsa
  • slot gacor hari ini
  • slot luar negeri
  • slot pulsa
  • situs toto
  • situs toto
  • toto slot
  • slot pulsa tanpa potongan
  • situs toto
  • situs toto
  • slot pulsa
  • situs toto slot
  • slot deposit pulsa
  • Situs toto macau