onwin
18. ACC ก้าวสู่พัฒนาการทางการศึกษาระดับใหม่ : Towards a New Degree of Excellence

ACC ก้าวสู่พัฒนาการทางการศึกษาระดับใหม่ : Towards a New Degree of Excellence

     ACC School of Commerce เป็นโครงงานร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (AU) และโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ (ACC) เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์ สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เริ่มปีการศึกษา 2553
มีการให้ทุนการศึกษารุ่นแรก 40 ทุน ทุนละ 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ซึ่งนักศึกษาที่ได้รับทุนจะเรียนฟรีตลอดจนจบปริญญาตรี

     นอกจากนี้ ACC School of Commerce ยังมีโครงการสหกิจศึกษา คือให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เทอมแรกทุกคนจะต้องไปทำงานกับบริษัทต่างๆ และจะมีหน่วยกิต 9 หน่วยกิต โดยในวันแถลงข่าวมีบริษัทชั้นนำของศิษย์เก่า 12 บริษัทฯ ได้แสดงเจตจำนงเข้าร่วมโครงการแล้ว (ภาพบน)

     นายเจริญ อุษณาจิตต์ ศิษย์เก่า ACC ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ ACC กล่าวว่า เมื่อ ACC เป็นศูนย์การศึกษาที่มีชื่อว่า ACC School of Commerce ภายใต้การจัดการศึกษาเอกสถานที่ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญแล้ว ศิษย์เก่าตระหนักดีว่า การที่จะให้ ACC School of Commerce ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีนั้น

     “เราจะต้องมีหลักสูตรที่ดี เหมาะสมกับสภาวะตลาดปัจจุบัน สามารถเอื้อให้นักศึกษาหางานทำได้ในธุรกิจต่างๆ หลังจากที่สำเร็จการศึกษา จะต้องมีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิและเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพสูง ซึ่ง ACC School of Commerce เตรียมพร้อมเสมอเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย” นายเจริญกล่าว

     นายเจริญ อุษณาจิตต์ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการ บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า 12 กลุ่ม นักธุรกิจซึ่งเป็นเจ้าของกิจการระดับแนวหน้าในเมืองไทยในปัจจุบัน ทั้งหมดเป็นศิษย์เก่าของ ACC มาก่อน มาถึงวันนี้ได้ร่วมผนึกกำลังกัน เพื่อผลักดันให้ ACC มีหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นระดับปริญญาตรี      ทุกคนในฐานะที่เป็นศิษย์เก่ามองว่า การศึกษาในปัจจุบันอย่างน้อยต้องจบปริญญาตรีจึงจะสามารถหางานทำได้ ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่จบสายอาชีพเพียงปวช. หรือ ปวส. ก็หางานทำได้ง่ายแล้ว     ด้วยเหตุนี้ จึงได้ร่วมกันผลักดัน โดยใช้เวลาทั้งหมด 11 ปี โดยเริ่มจากสถิติ มีนักศึกษามาเข้าเรียนที่นี่ลดลงกว่าเดิมถึง 40 เปอร์เซ็นต์ จึงได้มีการประชุมกันระหว่างคณะจารย์ในโรงเรียน ภราดา และ คณะศิษย์เก่า เพื่อหาข้อสรุป และได้คำตอบว่า ต้องยกระดับการศึกษาขั้นต่ำถึงระดับสำเร็จปริญญาตรีจึงจะมีงานทำ     หลังจากนั้น คณะศิษย์เก่าได้ว่าจ้าง บริษัททำรีเสิร์ท สำรวจข้อมูล โดยสัมภาษณ์นักเรียนที่จะมาเรียนที่ ACC และ ผู้ปกครอง แล้วสำรวจโรงเรียนที่เคยเปิดเป็นพาณิชยการแต่ปิดตัวไปแล้ว และข้อมูลสถิติทางโรงเรียน ย้อนหลังไปอีก 5 ปี

    ได้ข้อสรุปว่า ความต้องการนักเรียนที่จบปวช. ในวงการพาณิชย์ไม่มีอีกแล้ว อย่างน้อยต้องจบปริญญาตรี เท่านั้น กลุ่มศิษย์เก่า ACC จึงได้เกิดแนวคิดที่ร่วมกันผลักดันเพื่อให้ ACC ได้สอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาหรือ มหาวิทยาลัย ซึ่งกว่าจะผ่านกระบวนการต่างๆ มาได้ก็ต้องใช้เวลานานถึง 11 ปี มีทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมเป็นผู้ร่างหลักสูตร คณะศิษย์เก่าร่วมกันออกแบบหลักสูตรให้มีความแตกต่างในหลักสูตรที่เน้นเรื่องจริยธรรม โลจิสติกส์ สอนภาษาจีน การโต้ตอบทางจดหมายทางธุรกิจ     ACC School of Commerce มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดสอนหลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ โดยเน้นหนักสหกิจศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าทำงานจริงกับองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เพื่อสัมผัสประสบการณ์สำหรับการทำงานในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีศักยภาพอย่างรอบด้าน ที่จะได้งานทำจนประสบความสำเร็จในอาชีพ หรือมีความสามารถที่จะริเริ่มธุรกิจของตนเอง อันส่งผลถึงพัฒนาการอย่างยั่งยืนของประเทศชาติโดยรวม

12 บริษัท ร่วมโครงการสหกิจศึกษา
คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาจัดการศึกษา
ระดับปริญยาตรีที่ ACC (Advisory Board)
1. โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ
    คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหาร
1. ภราดาศิริชัย ฟอนซีกา
11. นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์
2. กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์
    คุณประสิทธิ์ ดำรงชิตานนท์ ประธานคณะผู้บริหาร
2. ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย
12. นายกิตติ อิสริยะประชา
3. บริษัท คอม-ลิงค์ จำกัด
    คุณศิริธัช โรจนพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
3. นายสนั่น อังอุบลกุล 
    (ประธาน)
13. นายเจริญ อุษณาจิตต์
4. บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด
    คุณเอก สยามวาลา
4. นายเอก สยามวาลา
14. นายโยธิน เนื่องจำนง
5. บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย)
    จำกัด คุณสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล ประธานกรรมการ
5. นายนิสสัย เวชชาชีวะ
15. ดร.แสงชัย อภิชาตธนพัฒน์
6. บริษัท เอเวอร์กรีน ชิปปิ้ง เอเยนซี่ (ไทยแลนด์)
    จำกัด คุณนิวัฒน์ แจ้งอริยวงศ์ ประธานกรรมการ
6. นายอมเรศ ศิลาอ่อน
16. คุณหญิงวิภา มณีไพโรจน์
7. บริษัท ฟาติมา บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
    ดร.แสงชัย อภิชาตธนพัฒน์ ประธานกรรมการ
7. มาสเตอร์สุชาติ คริสธานินทร์
17. นายวีระพล โชควิทยารัตน์
8. บริษัท โมเดอร์ฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
    คุณทักษะ บุษยโกคะ ประธานกรรมการบริหาร
8. นายวิรุฬห์ ปริวุฒิพงศ์
18. นายปรีชา สนั่นวัฒนานนท์
9. บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
    คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานกรรมการ
9. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
19. นายทรงพล ชัญมาตรกิจ
10. บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด
      คุณนิชาภา ยศวีร์ กรรมการผู้จัดการ
10. นายนิวัฒน์ แจ้งอริยวงศ์
20. นายชลิต ลิมปนะเวช
11. บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
     คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ
 
 
12. บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด
      คุณทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
 
 

 

12 องค์กรรวมแสดงเจตน์จำนงโครงการสหกิจศึกษา (ฝึกงาน)

     ACC School of Commerce มีเป้าหมายสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่พร้อมด้วยคุณภาพและศักยภาพ มุ่งปลูกฝังจิตวิญญาณของการเป็นนักธุรกิจและนักบริหารผู้เชี่ยวชาญ ประกอบขึ้นด้วยภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ทำการสอนโดยความร่วมมือระหว่างคณาจารย์และผู้ประกอบการจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำ เพื่อเป็นการตอบแทนต่อสถาบันการศึกษา ACC ที่ให้ความรู้ความสามารถ คุณธรรมและจริยธรรมจนประสบความสำเร็จในชีวิต     ขณะนี้ หลักสูตรใหม่นี้ พร้อมเปิดตัวและมีความพร้อมเปิดการเรียนการสอน ในรุ่นแรกเปิดรับนักศึกษาจำนวน 120 คน มีทุนการศึกษาให้นักศึกษาเป็นทุนเรียนฟรี 40 คน ผู้ที่ได้รับทุนเรียนฟรีนี้ ต้องเป็นเด็กที่เรียนดี เก่งภาษาอังกฤษ มีความตั้งใจที่จะศึกษาในคณะบริหารธุรกิจนี้อย่างจริงจัง    คณะกรรมการฯ จะพิจารณาคุณสมบัติของนักศึกษาที่เข้ามาขอรับทุน โดยคณะศิษย์เก่า ACC จะร่วมพิจารณา และให้ความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน ก็ได้พร้อมใจกันทำ

     หน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษเพื่อนำประสบการณ์จริงๆ ของผู้บริหาร มาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาโดยตรง   พร้อมกันนั้นทุกบริษัทฯ ก็พร้อมที่จะรับนักศึกษาที่เรียนที่นี่ไปฝึกงานเพื่อหาประสบการณ์จริงในบริษัทต่างๆ ด้วย โดยไม่มีข้อแม้ และถ้านักศึกษาฝึกงานแล้วมีผลงานดี หลังจากเรียนจบแล้ว บริษัทก็พร้อมที่จะรับเข้าทำงานด้วย ถ้ามีตำแหน่งงานว่างและต้องการรับสมัครในขณะนั้น     นักศึกษาที่เรียนที่ ACC School of Commerce นี้ จะได้รับความแตกต่างจากหลักสูตรในมหาวิทยาลัยอื่น ทั้งเรื่องของทุนที่ไม่มีข้อผูกมัดเพียงแต่เรียนดี และตั้งใจเรียนก็จะได้เรียนฟรีไปจนจบปริญญาตรีไม่ต้องมาชดใช้ทุน นอกจากนั้น ก็ยังได้ฝึกงานบริษัทชั้นนำ และ มีอาจารย์พิเศษที่เป็นเจ้าของธุรกิจมาสอนโดยตรง


ศิษย์เก่า - (คนที่ 1 จากทางซ้าย) คุณนิสสัย เวชชาชีวะ

- (คนที่ 2) คุณเอก สยามวาลา

- (คนที่ 3) คุณบำรุง จินดาผล

     จากวัตถุประสงค์และประโยชน์ของสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยจึงได้นำสหกิจศึกษาเข้ามาผนวกเป็นกลุ่มวิชาเอกเลือกของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2515 และเป็น 1 ใน 4 สาขาวิชาแรกของมหาวิทยาลัย หลักสูตรได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมาตลอดเพื่อให้ทันสมัย ทันต่อความก้าวหน้าด้านวิชาการและตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน โดยปรับปรุงทั้งในด้านความรู้และทักษะที่พัฒนาให้กับนักศึกษาและวิธีการสอนที่หลากหลายโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จุดเด่นของหลักสูตรการจัดการ คือ เป็นหลักสูตรที่เน้นพัฒนาให้นักศึกษามีความรู้ ความชำนาญที่หลากหลาย ครอบคลุมด้านต่างๆ โดยหลักสูตรได้บูรณาการความรู้และทฤษฎีที่เป็นหลักสำคัญในการบริหารธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย การบริหารจัดการด้านการเงิน การตลาด เทคโนโลยีสารสนเทศ และที่สำคัญคือ การบริหารการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ไว้ในหลักสูตร    สำหรับการปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ซึ่งจัดให้มีสหกิจศึกษานี้ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2552 และจะเริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ภาคการศึกษา ที่ 1 ปีการศึกษา 2553 คือ มิถุนายน 2553 หลักสูตรนี้ได้เพิ่มกลุ่มวิชาเลือก 1 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์ นักศึกษาที่เลือกกลุ่มวิชานี้จะมีการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการในภาคการศึกษา ที่ 1 ปีการศึกษาที่ 4 มีจำนวนหน่วยกิต รวม 142 หน่วยกิต การฝึกงานของสหกิจศึกษาจะต้องเป็นการปฏิบัติงานเต็มเวลาเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาหรือ 15 สัปดาห์ โดยในขณะที่ฝึกงานนี้ นักศึกษาจะไม่มีการเรียนวิชาอื่นใดๆ จะต้องใช้เวลาปฏิบัติงานเท่านั้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานตามหลัก Learning by Doing   เป้าหมายสูงสุดของสหกิจศึกษาไม่ใช่เพียงการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการและกลับไปมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่คือการเข้าสู่ระบบการทำงานของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา (Employability) หมายความว่าเมื่อปฏิบัติงานและผ่านการประเมินแล้ว นักศึกษาจะได้เข้าทำงานในสถานประกอบการนั้นๆ ทันทีที่สำเร็จการศึกษา ซึ่งจะเป็นการประกันการได้งานทำของบัณฑิต

 

     ในวันนี้ปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือการที่ ACC School of Commerce จะต้องมีนักศึกษารุ่นแรก หรือรุ่นบุกเบิกที่มีคุณภาพจากทั่วประเทศพร้อมที่จะเข้ามาสู่รั้วสถาบัน ด้วยความมุ่งมั่น เต็มไปด้วยความหวังและความไว้วางใจต่อคุณภาพและอนาคตเมื่อจบออกจาก ACC School of Commerce แต่การค้นหานักศึกษาที่มีคุณภาพเข้ามาศึกษาที่ ACC School of Commerce รุ่นแรกเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ง่ายเลย เครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยได้ดีคือ การมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษารุ่นแรก ให้ได้เรียนฟรีตลอดหลักสูตร 4 ปี

       เพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้ ศิษย์เก่าจึงมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดมทุนพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ ACC (Fundraising Committee) ขึ้น เพื่อช่วยดำเนินการรณรงค์ระดมทุนไว้สำหรับการมอบทุนการศึกษา (Scholarship) แก่นักศึกษาเรียนดีและมีความประพฤติดี ตลอดจนการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอน การจัดสถานที่เพิ่มเติมรวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

     สำหรับจำนวนทุนที่ตั้งเป้าหมายไว้ คิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 70 ทุน โดยแบ่งเป็น นักศึกษารุ่นที่ 1 จำนวน 40 ทุน นักศึกษารุ่นที่ 2 จำนวน 20 ทุน และนักศึกษารุ่นที่ 3 จำนวน 10 ทุน มูลค่าทุนละ 500,00 บาทสำหรับนักศึกษา 1 คน ตลอดระยะเวลาการศึกษา 4 ปี     “อนาคตของ ACC School of Commerce ขึ้นอยู่กับศิษย์เก่า ACC ทุกๆ รุ่น ผมหวังว่าท่านจะให้การสนับสนุนทุนการศึกษาตามกำลังและศรัทธาของท่าน และขอวานท่านช่วยบอกต่อเรื่องราวนี้ถึงเพื่อนศิษย์เก่าทุกคนด้วย ให้ได้รับรู้ถึงกุศลครั้งสำคัญที่เราจะได้ทำร่วมกันครั้งนี้” นายธนาชัยกล่าว

 

  แหล่งที่มา : Study Tour Education (11-24 กุมภาพันธ์ 2553) หน้า 12-15