onwin
23. ผ้าอัดแน่น นวัตกรรมใหม่ รางวัลระดับโลก คุณสมบัติเหมือนไม้ ตกแต่งบ้าน : Assumption University Innovation Creativity and Enterprise Center

ผ้าอัดแน่น นวัตกรรมใหม่ รางวัลระดับโลก คุณสมบัติเหมือนไม้ ตกแต่งบ้าน :

Assumption University Innovation Creativity and Enterprise Center

แผ่นอัดผ้ายีนส์ GARMENTO คว้ารางวัลนวัตกรรมของ สนช.

ยุทธนา อโนทัยสินทวี
รองชนะเลิศ ออกแบบผลิตภัณฑ์
การออกแบบชิงนวัตกรรมระดับนักออกแบบรุ่นใหม่

ผลงานของ นายยุทธนา อโนทัยสินทวี นักธุรกิจรุ่นใหม่ เพิ่งได้รับรางวัล การออกแบบเชิงสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ด้วยแนวคิดเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นำเศษผ้ามาอัดแน่น ผ่านกระบวนการจากโรงงานผลิตจนมีคุณสมบัติเหมือนกับไม้ที่ใช้ตกแต่งประดับ ปูพื้นบ้าน แทนไม้อัดที่สร้างบ้านได้จริง

ความพิเศษของสิ่งที่เขาคิดขึ้นมาใหม่นี้ คือ นอกจากจะใช้งานได้จริงแล้ว ยังลวดลายที่สวยงามจากลวดลายของเศษผ้าที่เอามาใช้เป็นวัสดุเพื่อการอัด จึงกลายเป็นของตกแต่ง หรือ ประดับบ้านได้ด้วย ขึ้นอยู่กับว่า เจ้าของบ้านจะต้องการเอามาใช้เพื่อส่วนไหนของบ้าน

นอกจากนั้น ยังเป็นการช่วยลดขยะที่เป็นเศษผ้าจากอุตสาหกรรมทอผ้าที่มีอยู่ในเมืองไทยจำนวนมาก เพราะ ถ้ามีการผลิตเพื่อจำหน่ายในอนาคต ก็จะต้องเอาเศษผ้าที่เหลือใช้ตามโรงงานทอผ้ามาเป็นวัสดุในการทำ โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อไม่ให้มีสารปนเปื้อนของสารเคมีที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดมะเร็ง และผ่านกระบวนการตามขั้นตอนการผลิตไม้อัดจากโรงงาน ก็จะออกมาเป็นชิ้นงานที่สามารถเอามาจากจำหน่ายได้

จากประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับด้านดีไซด์เสื้อผ้าร่วมกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น พบว่า ในการออกแบบเสื้อผ้าแต่ละครั้งมีเศษผ้าเหลือจำนวนมาก ขณะที่ประเทศไทยมีโรงงานเกี่ยวกับการเย็บผ้าอยู่กว่า 2000 โรงงาน ในแต่ละเดือนต้องมีเศษขยะจากผ้าจำนวนมหาศาล จึงเริ่มมีความคิด อยากจะกำจัดขยะเศษผ้า จึงเริ่มต้นด้วยการเอาเศษผ้า หรือ เสื้อผ้ามือสองมาทำเป็นหมวก กระเป๋า ก่อน แต่ขณะที่ทำก็พบว่าเมื่อตัดผ้าเพื่อสร้างชิ้นงานใหม่ ก็ยังมีขยะจากเศษผ้าเพิ่มขึ้นอยู่ดี กลายเป็นว่า ลดขยะจากชิ้นหนึ่ง แต่ไปเพิ่มขยะใหม่อีกหลายชิ้น

จึงคิดว่า ถ้าต้องการลดขยะจริงๆ ก็ต้องเอาเศษเล็กๆ เหล่านี้มาทำประโยชน์อย่างอื่น จึงมองดูจาก ไม้อัดธรรมดาที่ใช้เศษแกลบ ขี้เลื่อย ยังสามารถเอามาอัดได้ ผ้าก็น่าจะทำได้ จึงได้ทดลอง และค้นคว้าข้อมูล ใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่เป็นปีจนพบว่า ผ้าก็สามารถเอามาบีบอัดแน่นได้ และเมื่อบีบอัดจนแน่นแล้ว หากมีน้ำหยดใส่ น้ำจะกลิ้งเหมือนอยู่บนใบบอน ไม่มีการซึมเข้าไปในเนื้อผ้า เพราะ ผ้าที่อัดผ่านกระบวนการที่ว่ามาแล้ว จะมีคุณสมบัติใช้งานจริงแทนไม้ได้

ผลงานนี้ จึงกลายเป็นผลงานต้นแบบที่คิดขึ้นมาแล้วก็ส่งเข้าประกวด จนได้รางวัล Design Innovation Contest 2009 

“ผมดีใจกับรางวัลที่ได้รับ เพราะไม่เคยคิดมาก่อนว่าตัวเองจะมาได้ไกลขนาดนี้ จะได้มายืนอยู่บนเวทีนี้เพื่อรับรางวัล และที่ผมดีใจมากกว่านั้น คือ การได้มีส่วนร่วมทำให้ชาวต่างชาติยอมรับฝีมือคนไทย และยอมให้มีคำว่า เมดอินไทยแลนด์ ติดอยู่บนเสื้อผ้าที่ผมออกแบบ ซึ่งจะวางอยู่ในงานแสดงสินค้าแฟชั่นที่จะมีขึ้นที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในต้นปีหน้า”

จากความพยายามนี้ ทำให้ทางกรมส่งเสริมการส่งออกส่งรายชื่อไปให้กับทางดีไซน์เนอร์ที่ประเทศฝรั่งเศสที่ต้องการคนออกแบบเสื้อผ้ามือสองให้ และก็ได้รับการติดต่อเพื่อขอให้ทำงานส่งให้กับทางฝรั่งเศส โดยที่ครึ่งหนึ่ง ยอมให้ผมใช้แบรนด์ตัวเอง The ReMaker by Yuttana และมีคำว่า เมดอินไทยแลนด์ ติดอยู่บนกระเป๋า เสื้อผ้า หรือสิ่งของต่างๆ ที่ผมออกแบบได้ 

“นั่นเป็นอีกหนึ่งสิ่งผลภูมิใจมาก เพราะที่ผ่านมาชาวต่างชาติมักจะมองว่า คนไทยไม่สามารถออกแบบได้ แต่สินค้าที่ผมส่งไปให้ทั้งหมดจะถูกวางอยู่ที่งานแสดงสินค้าแฟชั่นที่จะมีขึ้นที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนมกราคมปีหน้า (2553) หมายถึงว่า เป็นการได้รับการยอมรับจากชาวต่างชาติว่า คนไทยก็มีฝีมือในด้าการออกแบบไม่แพ้ชาติอื่น”

ทั้งหมดที่ทำให้มีวันนี้ได้ ก็เพราะ ศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ หรือ Innovation Creativity and Enterprise (ICE) Center จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เพราะหลังจากที่เข้ามาอบรมที่นี่ ทำให้เรียนรู้ทางด้านการตลาด เปิดตัวเองมากขึ้น เปิดตลาดได้กว้างขึ้น จากเมื่อก่อนจะดีไซน์อยู่เพียงคนเดียว มองมุมเดียว มีลูกค้าเดิมๆ แต่ที่นี่สอนให้คิด และมองในมุมที่กว้างขึ้น ช่วยเหลือและดูแลตั้งแต่วิธีการคิด ช่วยหาแหล่งผลิต ช่วยหาเงินทุน ช่วยส่งเสริมให้รู้วิธีการก้าวกระโดดและมีส่วนผลักดันให้สินค้าที่ผลิตออกมาก้าวสู่ตลาดอินเตอร์

ถ้าไม่ได้รับการบ่มเพราะจาก ICE แนะนำวิธีคิด หรือช่วยผลักดันทุกด้าน ก็คงไม่มีวันนี้ ยังคงเป็นนายยุทธนาที่ออกแบบธรรมดาๆ ไม่มีวันที่แบรนด์ The ReMaker by Yuttana ไปโชว์อยู่ในงานแสดงสินค้าแฟชั่นที่ปารีส 

แหล่งที่มา : เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 911 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2552 [หน้า 23]