ทิศทางที่ 2
เพิ่มคุณธรรม 
(Ethic and Moral) 

ความรวดเร็วในการทำธุรกิจ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในการดำเนินงานมากขึ้น วิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อสถาบันการเงินระดับใหญ่ของโลก นำเงินไปลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพ เมื่อความเป็นจริงปรากฏ ผลกระทบจึงตกกับคนทั้งโลก

การตัดสินใจที่ผิดพลาดขาดความยับยั้งชั่งใจการปกปิดข้อมูลสำคัญอย่างในกรณีของเอนรอนที่กลายเป็นกรณีศึกษาของนักศึกษาเอ็มบีเอทั่วโลก เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้มีต้องมีการสอดแทรกแนวคิดด้านคุณธรรมและจริยธรรมทางธุรกิจเข้าไปในการเรียนการสอน

สถาบันการศึกษาในประเทศไทยทุกสถาบันล้วนเห็นตรงกันว่าการสอดแทรกเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญในการอบรมบ่มเพาะคนที่มีคุณภาพสู่สังคม ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ให้ความเห็นว่า สถาบันการศึกษามีความสำคัญ สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมที่ตัวเองอยู่ได้ เนื่องจากเป็นแหล่งความรู้ เป็นแหล่งผลิตองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ

“สมมติเราเป็นหมอมีโรคเอดส์ มีโรคซาร์ส เราก็ต้องไปวิจัย เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เพราะสมัยก่อนโลกไปช้า ยุคใหม่โลกวิวัฒนาการเร็วมาก เราก็ต้องเอาคนมีปัญญาไปแก้ไข” ดร.บัญชากล่าว

สิ่งที่สถาบันการศึกษาต้องทำคือ การนำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ อาทิ งานวิจัย หรือความรู้ทางวิชาการที่มีอยู่แล้วนำเข้าไปสู่สังคม หรือในบางเรื่องก็สามารถช่วยสร้างจิตสำนึกให้กับคนในสังคมด้วยการเขียนบทความ ร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นได้

ดร.บัญชา อธิบายเพิ่มว่า “สร้างจิตสำนึกว่า เราแคร์สังคมนะ ไม่อย่างนั้นแล้ว อย่างห้องน้ำตามปั้มสมัยก่อนไม่กล้าเข้า เพราะอะไรไม่แคร์คนอื่น ใช้เสร็จแล้วก็ทิ้งไป ไม่สนใจคนอื่น ของเหล่านี้จะค่อยๆ เกิดขึ้น ถ้าทุกคนทำ อย่างความสะอาดถ้าเห็นคนทิ้งทุกคนจะจ้องเลย ทำให้คนเกิดจิตสำนึกได้

“สังคมคนไม่ได้อยู่คนเดียวโดดๆ มีอิทธิพลต่อกัน แม้ไม่มีจิตสำนึกในตัวเองแต่ก็ช่วยได้ อย่างเด็กแต่งตัวมาไม่นุ่งทับมาเห็นคนอื่นเขานุ่ง ก็ต้องทำ แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้โตขึ้นไปก็จะค่อยๆ เรียนรู้ไปว่า ตอนที่เขาว่าเราตอนนั้น ถูกนะ จะเกิดมาทีหลัง ของอย่างนี้ไม่ได้เกิดง่าย การสอนให้เกิดปุ๊บปั๊บไม่มี เด็กจะเรียนรู้ด้วยตัวเขาเอง เด็กอาจจะเข้าใจแต่ไม่ทำก็ได้ ต้องปลูกฝัง เหมือนเมล็ด บางคนหย่อนลงหลุมน้ำลงแตกเลย แต่บางคนอีกนาน เราจะไปว่าใครไม่ได้ การสอนคนถึงลำบาก ไม่เหมือนบริษัท บริษัทตั้งเป้าหมายอย่างนี้ เป็นตัวเลขเด่นชัด”

วิธีการของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญคือ ให้นักศึกษาทุกคนต้องลงเรียนวิชาจริยธรรมด้านวิชาชีพ ทุกเทอมตลอด 4 ปี เป็นการสอดแทรกความคิดผ่านเนื้อหาวิชาที่เรียน พร้อมกับการควบคุมระเบียบต่างๆ ที่เป็นตัวช่วยสร้างความมีระเบียบวินัยให้กับนักศึกษา

ทางด้าน ดร.ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ก็มองภาพการเพิ่มพูนกลไกจริยธรรมไปในหลักสูตรว่า ปัจจุบันมีมากขึ้น “ที่เป็นกลไก

หน่อยไม่ใช่จริยธรรมแต่เป็นการจัดการที่ดีที่เรียกว่า Good Governance ก็ไม่ได้ลงไปถึงเรื่องจริยธรรม เป็นลักษณะของการควบคุมการกำกับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง แต่จริยธรรมเป็นเรื่องของภายใน เกิดจากตัวคนมากกว่าที่จะมีการจำกัดหรือเหนี่ยวรั้งตัวเอง เพราะฉะนั้นก็ต้องมีควบคู่กันไป”

ดร.ชัยอนันต์มองว่า การสอนจริยธรรมในทางวิชาการทำได้ยาก ที่สามารถทำได้คือการศึกษากรณีศึกษา ที่เป็นเรื่องราวความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ของสาธารณะกับองค์กรและผลประโยชน์ส่วนตัว โดยสามารถนำกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นที่ใดในโลกมาดู เพื่อให้รับรู้ว่าสิ่งนี้ผิดและไม่ควรทำ แม้จะไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดในเชิงจริยธรรมอย่างไร

แนวคิดนี้สอดคล้องกับที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อรรณพ เล่าให้ฟังว่า ในอดีตเคยมีวิชา Business Ethic และทางคณะฯ พบว่า การเปิดสอนเป็นรายวิชา มีการสอบ มีการให้เกรด ทำให้เกิดความคิดขัดแย้งว่า คนนี้มีจริยธรรมมากกว่าอีกคนหนึ่ง ทางคณะฯ จึงเปลี่ยนแปลงไม่แยกทำเป็นรายวิชาเช่นก่อน หากแต่สอดแทรกลงไปในทุกวิชา เช่น การทำบัญชีให้ถูกต้องการเก็บข้อมูล และการแสดงข้อมูลที่ถูกต้อง 

พร้อมกันนี้ ดร.อรรณพยังแสดงความเห็นด้วยว่า “สมัยก่อนเราไม่เคยมีคำว่า Ethic เลย ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไร ต้องเป็นอย่างไร ผมก็เห็นนักธุรกิจสมัยก่อนร่ำรวยก็บริจาคเงินทอง ทำบุญกุศล แต่ปัจจุบันต้องมีการเขียนว่า Ethic คืออะไร แสดงว่าสังคมไม่ได้มองจุดนี้ คือต้องไปแก้ตั้งแต่เด็กเลย ไม่ใช่มาแก้ตอนนี้”

ไปดูที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดร.ทิพยรัตน์ ให้รายละเอียดในการสอดแทรกแนวคิดคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษาว่า “จริงๆ ต้องแทรกตั้งแต่เด็กแต่อย่างไรก็ตามเราเป็นสถาบันอุดมศึกษาจะไป

โทษว่าแต่เด็กไม่สอนไม่ได้ เราต้องรับผิดชอบสังคม เราก็ทำตั้งแต่ปริญญาตรีไปจนปริญญาเอก การสอดแทรกจะต่างกัน ปริญญาเอกเขาเป็นผู้ใหญ่ เราจะไปสอนสอดแทรกแบบปริญญาตรีคงไม่ได้ ของปริญญาตรีอาจารย์บางคนใช้เทคนิคว่า เด็กนี่ต้องดูทีวีอยู่แล้ว เขาให้ 10 นาทีหลังจากที่เขาสอนเสร็จให้เด็กออกมาเล่าเรื่องในทีวี โดยยกตัวอย่างว่า สิ่งที่เขาดูเมื่อวานนี้มีอะไรที่บ่งบอกถึงคุณธรรมจริยธรรมออกมาวิเคราะห์”

“สำหรับปริญญาเอกเนื่องจากเน้นวิจัยเราจะมองเรื่องคุณธรรมของการทำวิจัยเป็นจรรยาบรรณที่ไม่ทำให้ใครเขาเดือดร้อนต้องระวังเป็นคุณธรรมประจำใจที่ว่า ไม่ใช่ทำวิจัยแล้วไปทำให้ใครเดือนร้อน

“คุณธรรมเหมือนนามธรรม ต้องมีจริยธรรม คือการปฏิบัติ ในปริญญาโท ปริญญาเอก เราจะเน้นให้เขาคิดด้วยตัวเอง”

ดร.ทิพรัตน์ สรุปว่า ยังไม่ทราบว่าสิ่งที่ทำอยู่ขณะนี้ถูกหรือผิด แต่มีความหวังว่า นักศึกษาที่ผ่านการเรียนการสอน จะสามารถมีคุณธรรมจริยธรรม สามารถแยกแยะเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างถูกต้องดีงามยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ความต้องการของผู้ประกอบการด้านธุรกิจที่มีเพิ่มมากขึ้นจากความตื่นตัวในปรากฎการณ์โลกร้อนส่งผลให้แต่ละสถาบันต้องเปิดสอนวิชา เช่น ธรรมาภิบาล CSR ซึ่งนอกจากเป็นส่วนช่วยในการสร้างจิตสำนึกทางอ้อมแล้ว ยังสามารถนำแนวคิดด้านคุณธรรม จริยธรรม ไปส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้มีความโปร่งใส เป็นมิตรกับชุมชนและสังคมรอบข้างได้มากขึ้น รวมถึงช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรในระยะยาว

แนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรม จึงเป็นอีกประเด็นที่ถูกสอดแทรกลงไปในหลักสูตรอย่างแนบเนียน ขณะเดียวกันคณาจารย์ก็ให้ความเห็นว่า

เรื่องดังกล่าวต้องมีการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก การมาบ่มเพาะในช่วงที่เรียนระดับปริญญาโทอาจจะไม่ทันการณ์ เพราะคนที่คิดดีอยู่แล้วนั้นแทบไม่ต้องไปบอกอะไรก็สามารถมีคุณธรรมจริยธรรมได้ อย่างไรก็ตามการเพิ่มแนวคิดดังกล่าวอาจช่วยทำให้เกิดฉุกคิดและเปลี่ยนแปลงตนเองได้ต่อไป

ทิศทางที่ 3
ภาษาและวัฒนธรรม(Language & Culture)

 “มีห้าสิ่งที่ต้องหาอยู่ตลอด ทางด้านวิชาการ

“หนึ่ง" เราต้องปรับวิชาการให้ทันสมัย ตัวนี้ต้องปรับตลอดเวลา จะบอกว่าไม่มีอะไรใหม่ไม่ได้

“สอง" โลกนี้รวมกันแล้ว ไปงานไหนก็จะเห็นคนมาจากหลายๆ ชาติ ต้องศึกษาเรื่อง Culture ต้องมีประสบการณ์ จะได้ปรับตัวให้เข้ากับเขาได้ สังเกตอย่างคนไทยไม่ค่อยกล้าพูดกล้าทำ เราต้องรู้ต้องมีประสบการณ์

“สาม" การพัฒนาตัวเอง การเรียนหนังสือพ่อแม่เน้นที่วิชาการ ความรู้จะหาเมื่อไหร่ก็ได้ อ่านเองก็ได้ แต่การพัฒนาตัวเอง คาแร็กเตอร์สำคัญ Social Skill ลักษณะนิสัยต่างๆ 

“สี่" คือภาษา ในยุโรปจบมหาวิทยาลัยต้องได้สี่ภาษา ของเราไม่

“ห้า" Thinking Skill ทักษะการคิดต้องหาทางพัฒนา ยุคใหม่ เราเปลี่ยนจากเกษตรมาอุตสาหกรรม มายุค Knowledge base ต้องมายุค Creativity Innovation ดูอย่างมือถือสวีเดน นาฬิกาสวิสเรือนหนึ่ง เราขายข้าวแทบตาย อยู่ที่ Innovation เวลานี้มีบ้างแล้วเริ่มคิดแล้ว เรามีของเยอะแต่ไม่ค่อยมี Innovation พ่อแม่ครูก็ต้องสอนให้เด็กคิด ไม่ใช่ทำให้เลย เด็กไม่เรียนรู้ ที่บ้านและโรงเรียนต้องเชื่อมกัน

“มิติต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำจะเป็นเอ็มบีเออย่างไรก็แล้วแต่เราต้องสร้างคนที่เป็น Global อยู่ที่ไหนก็ได้ ภาษาสำคัญมาก”

นี่คือบทสรุปของ ภราดา ดร.บัญชา จากมหาวิทยาลัยอัสสัม-ชัญ ที่มองว่า ทักษะด้านภาษาและการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโลกยุคใหม่ๆ การสร้างบุคลากรเพื่อรองรับจึงต้องเน้นหนักให้มีทักษะความรู้ด้านภาษาติดตัวออกไปด้วย ในหลายสถาบันเปิดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเห็นความจำเป็นดังกล่าว เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียน

พร้อมกับการเรียนการสอนเรื่องวัฒนธรรมของแต่ละชาติแต่ละทวีปที่มีความเชื่อวิธีการทางสังคมที่แตกต่างกันโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทั้งในรายวิชาและการไปทัศนศึกษาดูงานในต่างประเทศที่น่าสนใจอีกทั้งในบางมหาวิทยาลัยมีอาจารย์จากต่างประเทศมาเป็นผู้สอนทำให้นักศึกษาสามารถรับรู้ และสอบถามเรื่องราวทางวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น

เช่นที่มหาวิทยาลัยชินวัตร ผศ.ดร.ชาญชัย บัญชาพัฒน-ศักดา ผู้อำนวยการหลักสูตร MBA ให้ข้อมูลการเปิดสอนเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษว่า แม้ผู้เรียนชาวไทยจะไม่สันทัด แต่ทางสถาบันก็เล็งเห็นว่าจำเป็นโดยการใช้อาจารย์จากต่างประเทศ ร่วมกับอาจารย์ชาวไทยเป็นการบังคับให้นักศึกษาต้องสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ช่วยเสริมให้ผู้เรียนสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้นพร้อมกับการได้ศึกษาความแตกต่างของวัฒนธรรมจากที่ต่างๆ ของโลก 

ขณะที่มีอีกหลายมหาวิทยาลัยคิดโปรแกรมการเรียนแบบใหม่ เช่นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อรรณพ เปิดเผยว่า จะมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมากขึ้น โดยมีแนวคิดว่าจะจัดทำหลักสูตรที่ “เทอมที่หนึ่งเรียนจุฬาฯ เทอมที่สองเรียนยุโรป แต่ตรงนั้นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น จะได้คอนเน็กชั่น ได้เห็นวัฒนธรรม เพราะการทำธุรกิจต้องมองภาพกว้าง ต้องทำระดับปริญญาโท ปริญญาเอก เป็นพวกท็อปสัก 20 คน เพราะการทำงานธุรกิจไม่จำกัดอยู่แค่ในประเทศ ต้องมองภาพกว้าง”

นอกจากภาษาอังกฤษที่สามารถสื่อสารกับคนได้ทั่วโลกแล้ว ภาษาจีนและญี่ปุ่น ก็กำลังเป็นที่สนใจของผู้เรียนจำนวนมาก เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และความยิ่งใหญ่ทางธุรกิจของญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้มีทักษะทางภาษานั้นๆ มีแต้มต่อที่ดีกว่าในการติดต่อประสานงานทางธุรกิจ

หากมองว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ เริ่มจากในองค์กรที่ทุกวันนี้มีพนักงานนานาชาติมากขึ้น การติดต่อภายนอกองค์กรคู่ค้าและลูกค้า ทำให้หลีกเลี่ยงการติดต่อกับชาวต่างชาติได้ยาก การเพิ่มการศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรมซึ่งเป็นตัวช่วยที่สามารถเสริมสร้างทักษะในการสื่อสารระดับโลกให้กับบุคลากร จึงมีความตื่นตัวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างเห็นชัดเจน 

ทิศทางที่ 4
เน้นงานวิจัย (Research) 

งานด้านวิชาการที่สถาบันการศึกษาเป็นผู้ผลิต มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการของโลก กระบวนการวิธีการบริหารจัดการรูป แบบใหม่ๆ ได้รับการสังเคราะห์ วิเคราะห์ จนกลายเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงในชีวิตการทำงาน

แนวคิดการบริหารจัดการก็เช่นกันที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กูรูทางด้านการบริหารจัดการส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย คิดค้นหาคำตอบการจัดการใรรูปแบบต่างๆ กลายเป็นแบบเรียนให้นักศึกษาและนักธุรกิจทั่วโลกนำไปปรับใช้

ในประเทศไทย แม้ตลาดวิชาการยังไม่สามารถสร้างงานที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกให้เห็นเด่นชัด แต่ความจำเป็นในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้น ให้เหมาะกับบริบททางธุรกิจของสังคมไทยยังคงมีอยู่ วิชาหลายวิชาที่นำมาจากสหรัฐอเมริกาเมื่อมาถึงประเทศไทยอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นด้วยขนาดของตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก แต่บางวิชาก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เนื้อหามีความสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม

งานวิจัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น ดังที่เกิดขึ้นในทุกสถาบัน

 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดร.จีรเดช ให้ความเห็นว่า การเรียนการสอนในรูปแบบเดิมเปลี่ยนไปแล้วสำหรับการศึกษาของไทย “เพราะระบบที่เราสอนอยู่นี้ล้าหลังต่างประเทศ 5-10 ปี สาเหตุเพราะอาจารย์ที่มาสอนไม่ทำวิจัย เมื่อไม่ทำวิจัยก็ต้องกางหนังสือสอน และหนังสือที่สอนกว่าอาจารย์ไทยจะมาอ่าน มาแปลแล้วขึ้นเว็ปก็ตกไป 5 ปี เพราะฉะนั้นทุกวันนี้เป็นการเอาเรื่อง 10 ที่แล้วมาสอน ตรงนี้ผมรับไม่ได้ ผมจึงให้อาจารย์หันมาทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง”

ดร.บัญชา จากมหาวิทยา-ลัยอัสสัมชัญ ให้ความเห็นตรงกันว่า วิวัฒนาการของโลกอุดมศึกษา เริ่มจากการเรียนการสอน ต่อมาจึงมีการทำวิจัย โดยปกติแล้วอาจารย์ในรั้วมหาวิทยาลัยก็ทำงานวิจัยอยู่ด้วยแล้ว แต่ไม่ค่อยออกมาบอกกล่าวต่อสังคม

ปัจจุบันนี้งานวิจัยมีบทบาทมากขึ้น ถือเป็นภาระหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาอีกประการหนึ่ง แต่ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมอุดมศึกษาของประเทศไทยคือ “ประเทศไทยถามว่ามีหน่วยงานไหนไหมที่เป็นสถาบันการวิจัย ให้ใครทำสูงที่สุดในประเทศไทย ก็ยังนับไม่ได้ เพราะหลักเกณฑ์ของสถาบันวิชาการทางวิจัยต้องทำวิจัยกี่เปอร์เซ็นต์ แล้ววิจัยต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสามารถเอามาใช้ได้ ของไทยเราวิจัยเสร็จแล้วก็ขึ้นหิ้ง เอามาทำเป็นตำแหน่งทางวิชาการ” 

ทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงเน้นการสร้างจิตสำนึกทางวิชาการให้กับอาจารย์ ให้ทำวิจัยด้วยตัวเองจากการสังเกตปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องรอให้ทางผู้บริหารสั่งการ ทั้งนี้ทางสถาบันจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ ให้กับอาจารย์เอง

ขณะที่ ดร.ชัยอนันต์ จากวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล มองเรื่องการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการบริหารจัดการว่า การสร้างทฤษฎีใหม่เป็นเรื่องที่ยาก เพราะสาขาวิชานี้เป็นฐานความคิดจากตะวันตก และประเทศไทยยังไม่มีนักคิดหรือนักทฤษฎีที่ไปพัฒนาแนวคิดให้สู่ระดับทฤษฎี

อย่างไรก็ตาม หากจะมีสาขาที่นักวิชาการไทยน่าจะสร้างทฤษฎีใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ตามทัศนะของ ดร.ชัยอนันต์ชี้ว่า “ได้ก็คงเป็นด้านของจริยธรรม ที่เรียกว่า Corporate Social Responsibility (CSR) ความรู้นี้น่าจะทำได้ เพราะของเรามีพื้นฐานจากสังคม การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันและการให้กับสังคม ให้กับวัดหรือตั้งแต่ครอบครัวการอยู่กันมีปู่ย่าตายาย ดูแลคนที่ไม่ได้ให้อะไรต่อผู้ดูแล ไม่ได้เป็นลูกค้า ก็ยังมีการดูแลกันอยู่”

งานวิจัยที่สถาบันอุดมศึกษาจัดทำขึ้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่งานวิจัยทางวิชาการเพื่อทำเป็นทฤษฎีแต่การศึกษาธุรกิจแขนงต่างๆ ก็สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ประกอบการรุ่นหลังสามารถนำไปปรับใช้ได้ เช่น มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ผศ.ดร.วิชัย รัตนา - กีรณวร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เปิดเผยว่า งานวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระของนักศึกษามีเป็นจำนวนมาก ทางสถาบันพยายามกระตุ้นให้นักศึกษาทำงานให้เกิดประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุด ถือเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับสังคมธุรกิจในภาคใต้ไปพร้อมกัน

หรือในกรณีของ สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ โดย ผศ.ดร.รัตนา ประเสริฐสม อธิการบดี โดยความเห็นเกี่ยวกับการทำวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการค้าปลีกว่า ผู้ประกอบการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้งานวิจัยเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจในการวางกลยุทธ์ต่างๆ ศูนย์วิจัยฯ สามารถช่วยสังคมหรือหน่วยงานภายนอกได้ในจุดนี้ เพราะทางสถาบันมีแผนแม่บทงานวิจัยที่จะรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ค้นคว้า

ดร.รัตนามองว่า สิ่งที่สถาบันจะได้ประโยชน์จากการทำงานวิจัยคือ ชื่อเสียงของสถาบัน และเป็นแรงบันดาลใจให้อาจารย์ทำงานวิจัยมากขึ้น และอนาคตหากมีผู้สนใจมาว่าจ้างให้สถาบันทำงานวิจัยก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมและหารายได้

ตัวอย่างงานวิจัยของนักศึกษาที่ทำขณะทำการศึกษาและได้รับการยอมรับตัวอย่างหนึ่งเกิดที่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผศ.ดร.จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา ให้ข้อมูลว่า ในการทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาอยากสร้างองค์ความรู้เรื่องอะไรต้องศึกษาวิจัยในเรื่องนั้น เช่น ต้องการสร้างองค์ความรู้เรื่องการบริหารอุตสาหกรรมที่ทำอยู่ ผู้ทำวิจัยต้องนำเอาความรู้จากต่างประเทศมาปรับปรุงให้ตรงกับที่เขาต้องการทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่

“คือ มีนักศึกษาทำงานอยู่ที่โรงงานใหญ่แห่งหนึ่งเขาวิจัยเทคนิคการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ พอเขาวิจัยเสร็จ ผลปรากฎว่างานวิจัยเขาสามารถไปใช้งานในโรงงานได้จริง และเขาก็ได้รับรางวัล จากผู้บริหารต่างประเทศ นั่นเป็นผลจากการสร้างองค์ความรู้ของนักศึกษาเอง”

ดร.จิระเสกข์ บอกอีกว่า ทุกวันนี้งานวิจัยของนักศึกษาโดยส่วนใหญ่ เมื่อวิจัยเสร็จแล้ว ทางโรงงานก็จะขอดูเพื่อนำไปปรับปรุงโรงงานต่อไป

การสร้างงานวิชาการใหม่ๆ จึงไม่จำกัดวงอยู่เพียงแค่คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาหากแต่ตัวนักศึกษาเองก็สามารถเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นมาได้ ทั้งนี้โดยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาของผู้สอน การร่วมมือกันเช่นนี้ส่งผลดีต่อทั้งนักศึกษาและอาจารย์ ที่จะมีโอกาสได้แบ่งปันสิ่งที่ตนมีอยู่ และนำสิ่งที่ตนขาดมาประยุกต์ปรับปรุงให้เกิดวิธีคิดใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมาได้

โลกที่แข่งกันด้วยความเร็ว ความรู้จำเป็นอย่างยิ่งที่งานวิจัยของประเทศไทยต้องมีการพัฒนา 
ให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นของเราเอง เพราะในสภาพการแข่งขันระดับโลก หากมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือเปลี่ยนแปลงหลักวิธีคิดที่มีพื้นฐานจากแหล่งใด ประเทศต้นตำรับหรือผู้ที่ยึดครององค์ความรู้พื้นฐานในเรื่องดังกล่าว ก็สามารถประยุกต์เอาพื้นฐานที่มีนั้นมาใช้ได้โดยง่าย ต่างจากผู้ที่ไม่มีความรู้เป็นของตนเอง ใช้การนำเข้าองค์ความรู้และมาปรับใช้ การปรับตัวต้องใช้เวลานานกว่าที่จะสามารถทำได้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง

และเรื่องนี้สอดคล้องกับแนวคิดภาครัฐต้องการเน้นให้ประเทศไทยผลิตชุดความรู้ด้านต่างๆ ของตนเองขึ้นมาให้ได้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันในระดับโลกต่อไป

วัดกันที่คุณภาพ

นับวันความนิยมศึกษาต่อด้านบริหารธุรกิจของคนไทยจะมีมากขึ้นสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีการปรับปรุงหลักสูตรวีธีการเรียนการสอนรวมถึงการเปิดสถานที่เรียนใหม่ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้มาเรียนมากขึ้น

สิ่งที่ผู้เรียนคาดหวังจะได้จากการเรียนย่อมต้องเป็นความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาการที่นำมาสอนอีกทั้งเน็ตเวิร์กที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนกับเพื่อนร่วมห้องและคณาจารย์การเพิ่มทักษะความสามารถใหม่ๆ สำหรับการทำงานของแต่ละคนความคาดหวังจะได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นการย้ายที่ทำงานใหม่ ได้รับค่าตอบแทนมากกว่าเดิม หรือบางคนอาจจะอยากมาเรียนเพราะอยากได้ปริญญาอีกสักใบไว้ประดับฝาบ้าน

ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นได้จากการเรียนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงคือคุณภาพทางการศึกษาที่แต่ละสถาบันมอบให้กับมหาบัณฑิตเหล่านี้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตร MBA ในประเทศไทยที่มีจำนวนมากมายจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการควบคุมดูแลคุณภาพการเรียนการสอนให้ดี

ขณะที่ผู้เรียนคงต้องทบทวนตัวเองว่า ที่สมัครเข้าเรียนนั้นตามแฟชั่นหรือไม่ เรียนแล้วจะนำไปใช้งานจริงหรือไม่ เพราะต้องไม่ลืมว่า การเรียน MBA ก็เป็นโอกาสแบบหนึ่ง หากเรียนแล้วไม่นำไปใช้นับเป็นการสูญเสียโอกาสของสังคมของประเทศ

ผู้บริหารสถาบันการศึกษาหลายท่านให้ความเห็นกับ MBA ว่าต่อไปผู้ประกอบการคงต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกรับบุคคลเข้าทำงานที่เรียนจบ MBA มากขึ้นเพราะจำเป็นที่มีมากขึ้นของสถาบันที่สอน จำนวนนักเรียนที่จบมาปีละกว่าหมื่นคน การคัดเลือกอย่างพิถีพิถันจึงเป็นสิ่งจำเป็น

เพราะการแข่งขันเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา คำว่าคุณภาพ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการคัดสรรบุคคลเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ทั้งสถาบันอุดมศึกษาและตัวผู้เรียนเองจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาคุณภาพของตนเองไว้ให้ได้ 

แหล่งที่มา : วารสาร MBA (Vol.10 No.115 October 2008) 

  • https://aceh.lan.go.id/wp-content/giga/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/file/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/files/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/mail/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/pay/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/wp-content/giga/
  • https://rsudngimbang.lamongankab.go.id/
  • https://dasboard.lamongankab.go.id/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/plugins/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/storage/
  • https://islamedia.web.id/
  • https://fai.unuha.ac.id/disk/
  • https://fai.unuha.ac.id/post/
  • https://fai.unuha.ac.id/plugins/
  • https://fai.unuha.ac.id/draft/
  • https://fai.unuha.ac.id/giga/
  • slot gacor hari ini
  • slot pulsa
  • slot pulsa
  • nuri77
  • gemilang77
  • slot deposit pulsa
  • slot gacor hari ini
  • slot luar negeri
  • slot pulsa
  • situs toto
  • situs toto
  • toto slot
  • slot pulsa tanpa potongan
  • situs toto
  • situs toto
  • slot pulsa
  • situs toto slot
  • slot deposit pulsa
  • Situs toto macau