onwin
35. ABAC 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทย

ABAC 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทย

  
  

งานเสวนา Right Attitude Towards Work

เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมใหญ่ วิทยาเขตหัวหมาก สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABACA) ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์จริยธรรมวิชาชีพฯ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดโครงการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “Right Attitude towards Work” ให้แก่นักศึกษาปี 4 ที่จะเรียนจบในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2547 เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนด้านอาชีพเสริมสร้างจิตสำนึกทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานในอนาคต

  
 
  

โครงการประกวดธุรกิจ Think Big 

ศูนย์สนเทศและแนะอาชีพ ฝ่ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดอบรมพิเศษในหัวข้อเรื่อง “Think Big เถ้าแก่รุ่นใหม่ คิดใหญ่ๆ ไม่คิดเล็ก” โดยได้รับเกียรติจากคุณทวี จงควินิต กรรมการสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมาเป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องเทวานิเวศน์ วิทยาเขตบางนา เมื่อวันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2547

 
 
 
 

U-Mate Super Convenience Store    

เมื่อวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2547 ณ ห้องวิมานบางพลี มหาวิทยาลัยอัส-สัมชัญวิทยาเขตบางนา ศูนย์สนเทศและแนะแนวอาชีพ ฝ่ายกิจการนักศึกษามหา-วิทยาลัยอัสสัมชัญเปิดโครงการร้านสะดวกซื้อ U-Mate Super Convenience Store พร้อมจัดบรรยาย “การแข่งขันและแนวทางการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน” โดยมี ฯพณฯ วัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติมาเป็นผู้บรรยาย

   
 
 
 
 

ABAC 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทย

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม ภราดา ดร.ประทีป ม.โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ, ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี, ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาจารย์ชลิต ลิมปนะเวช (ศิษย์เก่ารุ่นที่ 3) คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จัดงานแถลงข่าว “ABAC 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทย”

   
 

เอแบค 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทยนอกจากจะเป็นสถาบันการศึกษาที่ต่างชาติแห่เข้าเรียนปีละ 3,000 คน สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละ 700 ล้านบาท แล้ว ณ วันนี้ทีมผู้บริหารภายใต้การนำของ ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีคนปัจจุบัน ยังวาดฝันก้าวไปสู่การจัดตั้ง “วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต” อีกด้วย

เอแบค 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทยนอกจากจะเป็นสถาบันการศึกษาที่ต่างชาติแห่เข้าเรียนปีละ 3,000 คน สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละ 700 ล้านบาท แล้ว ณ วันนี้ทีมผู้บริหารภายใต้การนำของ ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีคนปัจจุบัน ยังวาดฝันก้าวไปสู่การจัดตั้ง “วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต” อีกด้วย

ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) กล่าวว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมี 3 วิทยาเขต คือ หัวหมาก บางนา และเอแบค ซิตี้ แคมปัส เปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งสิ้น 24 คณะ และมี 81 หลักสูตร มีอาจารย์ชาวต่างประเทศ 389 คน ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ มีอาจารย์ทั้งชาวไทย และต่างชาติรวม 1,229 คน และมีนักศึกษาไทย และต่างประเทศรวม 20,000 คน ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาต่างชาติจาก 60 ประเทศอยู่ 2,200 คน 

“ชาวจีนเข้ามาเรียนมากที่สุด รองลงมาเป็นไต้หวันและอินเดีย ที่นิยมเข้ามาเรียนปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 10.5 และโดยเฉลี่ยมีชาวต่างชาติเข้ามาเรียนปีละ 3,000 คน ทำให้เงินรายได้ ภาพรวมปีละกว่า 700 ล้านบาท และจากการสำรวจพบว่า เด็กที่จบออกไปร้อยละ 60 เป็นผู้ประกอบการและมีธุรกิจเป็นของตัวเอง” ภราดา ดร.บัญชา กล่าว

ด้วยจุดเด่นของเอแบค คือ การเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษทุกวิชายกเว้นกฎหมายไทยใช้ตำราภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหลักสูตรเทียบเท่ากับนานาชาติ เมื่อเรียนจบสามารถไปทำงานหรือเรียนต่อมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เป็นต้น

ว่ากันว่า หลังทุ่มทุนกว่า 6,000 ล้านบาท เนรมิตวิทยาเขตบางนา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เพียบพร้อมเทียบฟอร์มนานาชาติด้วยระบบอำนวยความสะดวกกับผู้เรียนนานาประการได้แล้ว นัยว่าเวลานี้ “เอแบคบางนา” ได้กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาติ แวะมาเยี่ยมชมมากที่สุดในจำนวนมหาวิทยาลัยด้วยกัน และในอนาคตจะจัดโครงการท่องเที่ยวในลำคลองโดยจัดเรือล่องไปตามคลองรอบๆ เอแบคบางนา เพื่อให้นักท่องเที่ยวชื่นชมวิถีชาวบ้านริมคลอง 

 

“ส่วนก้าวต่อไปมหาวิทยาลัยจะเปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาที่เป็นจุดแข็งคือ บริหารธุรกิจ ไอที ภาษาต่างประเทศและขยายการจัดการศึกษาสาขาดนตรี นิเทศศาสตร์ กฎหมายมหาชน” ภราดา ดร.บัญชา กล่าว

ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน รองอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เอแบค เสริมว่าขณะนี้เอแบคได้เปิดสอนหลักสูตรด้านไอที และคอมพิวเตอร์ 26 หลักสูตร แต่ละปีผลิตบัณฑิตปริญญาโทด้านไอทีกว่า 250 คน อีกทั้งจะจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตเปิดสอนระดับปริญญาโทและเอก โดยตั้งเป้าว่าภายใน 4 ปี จะมีผู้เรียน 100,000 คน คาดว่าจะเปิดได้ในปี 2548 ขณะนี้รอเรื่องอยู่ในระหว่างการขออนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ

“เอแบคได้ใช้งบกว่า 185 ล้านบาท จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น (อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยี) ภายในมีคอมพิวเตอร์กว่า 2,000 เครื่อง และมีห้องอบรมเกรดเอ ที่มีคอมพิวเตอร์ 408 เครื่องที่ติดตั้งอินเทอร์เน็ตฟรีตลอด 24 ชั่วโมง” ดร.ศรีศักดิ์ กล่าว

กระนั้น นายกมล กิตสวัสดิ์ ผอ.ฝ่ายทะเบียน และประมวลผลมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยังเสริมว่า เอแบคมีทุนการศึกษาให้แก่เด็กยากจน แยกเป็นทุนเรียนดีจะส่งจดหมายไปยังโรงเรียนรัฐ และเอกชนทั่วประเทศให้คัดเด็กที่ได้เกรดเฉลี่ย 3.50 เข้ามาเรียน โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนปีละ 300 – 400 คน ซึ่งในปีนี้ได้จัดสรรทุนเพิ่มอีก 200 ทุน เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปัจจุบันมีเด็กกลุ่มนี้ถึง 1,000 คน

“ส่วนทุนเรียนดีแต่ได้เกรดเฉลี่ย 3.85 ให้เทอมละ 50 ทุน และทุนเด็กยากจนหรือพ่อแม่ประสบภาวะวิกฤติ เช่น ป่วย เจอปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเอแบคจะไม่ให้เด็กกลุ่มนี้ออกกลางคัน แต่จะให้ทุนเรียน ส่วนทุนเรียนปริญญาโทและเอก มีปีละ 6 ทุน และทุนอบรมความรู้ภาษาอังกฤษโดยร่วมกับรายการ “สำรวจโลก” ให้ปีละ 50 ทุน” นายกมล กล่าว