WHAT THE FUTURE WILL BE LIKE IN 2000 A.D. ?

By Bro. Bancha Saenghiran 

I. GENERAL BACKGROUND AND TRENDS:

Alvin Toffer, in his 'The Third Wave' has said: 'In probing the future in the pages that follow, therefore, we must do more than identify major trends. Difficult as it may be, we must resist the temptation to be seduced by straight lines. Most people - including many futurists - conceive of tomorrow as a mere extension of today, forgetting that trends, no matter how seemingly powerful, do not merely continue in a linear fashion. They reach tipping points at which they explode into new phenomena. They reverse direction. They stop and start. Because something is happening now, or has been happening for three hundred years, is no guarantee that will continue.' The general idea is that the actual future of the society will probably not be a straight-line path. What the writer wants to do, is to make a future projection of life style into the 2000 A.D. basing his judgment on the present American standard of living.

In the year 2000 A.D. the following areas can be considered: 

1. Eoonomic: The basic needs are generally satisfied. Production, distribution, communication, and transportation systems are essentially global. They require and depend upon, the resources of the entire planet and, more importantly, the global interchange of research, development, and technical and managerial expertise.

As a reaction to such economic development of the world, it is to be marked by profound resolutions of rising expectations, disharmony. and social discontent.

2. Scientific-Technological: There will be much progress in scientific and technological areas. There will be, on one hand improvement in industrialization, better transportation, and communication. Computers will be utilized in every home or by every person. Medicine will be more effective. More equipments will be manufactured and used, and so forth. With these improvements, there comes the problem attached to each improvement which men never foresee. Two major problems can be cited as examples:
(i) There is a loss of control of the management of human affairs. In the areas of nuclear power, the destruction may be unimaginable. The nuclear warfare in the future may be in terms of Psychological warfare instead of actual blasting of them. In terms of medicine, the side effects may create someting unheard of, etc. 
(ii) The gap between the industrialized and under developed nations will be worsened. This will go according to social principle in that the poor will become poorer and the rich will be richer, Thus in the prosperous nations, there will be an acceleration of technological and industrial development, while there will occur the staggering problems in the overbreeding and underdeveloped countries.

3. Cultural-Psychological. Since the basic needs of man are satisfied, and according to Maslow, man mav in the future tend to be 'growth-motivated, instead of 'deficiency-motivated. This shift, even right now, is showing itself in the higher valuations placed on the feeling and subjective side of life, on self realization, and on finding meaning and significance in work.

Psychologically, there will be increasing stress on personal level, producing forces on the individual. The future will be characterized by a good deal of fear of change, fear of powerlessness, fear of loss of privacy and independence, fear of insecurity, etc.

4. Social-Ecological: In the existing society, there exists already the gap between the rich and the poor. With the increase in affluence, there will also be the increase in self-consciousness of the under-class. Thus there will be increasing imbalance between the haves and the have-nots. Family unit which is already loosened, will be in the future deteriorated up to the point of no formation of family. The social web that can pull the people in the society together will be just individual security and survival.

5. Beliefs and Values: Since man will become 'growth-motivated, therefore awareness of self and of his relations to others will come to the front. Man will discover values which are wholesome in terms of promoting his growth toward the most fully human state and his actualization of his highest potentialities. His basic needs will be towards growth and becoming. Deep personal relationship will be highly valued, again because in experiencing them, one more fully will experience himself.

6. Educational: In the year 2000 A.D., schools in the forms we have known will virtually disappear. Instead, education will take place via combined systems of machines and human assistants located in homes, neighborhood centers, specialized learning centers, museums, and industrial and business locations. A diversity of educational paths will be available, and men will not be judged on the basis of single uniform academic standard, Education will center on developing self-learning habits and skills, problem-solving and decision-making abilities, individuality, sound valuing capabilities, capability of continuous self-renewal, and self-understanding. Furthermore, there will also be an increasing involvement of education with other social institutions.

On the whole, there will be more years of education per person and a near-hundred-percent literacy rate.

7. Daily-living: Each individual will be provided enough resources, and in such a way, as to enable him to live in dignity. Underlying the economic system will be the proposition that each free man has the right to a full life, which includes useful, rewarding work and self-developing.

New applied technology will have affected life in many ways. New types of household devices, many based on small computers and elaborated communication services, will be available, not only transforming the life of the housewife, but also allowing education and various forms of business to be carried on in the home. For example, before going to work, to avoid the traffic congestion, the person travelling can consult the computer for which route to take and how long it will take to reach the place. And if one desires to take an particular route, when will the traffic be thinned down. The housewife in the future can get any information concerning the availability and prices of the goods from the home-computer. Ordering and paying of money will be done in the same way. The time will come that this society will be turned to person-centered society. Mobility will be less since each one can do everything in his own home, either in terms of food, schooling or business.

Through cybernation and genetic management of plants and animals, the agricultural industry will be made many times more productive in terms of use of land and labor.

Religion will be of lesser value to the new generation. Marriage life will be in a younger age, thus accelerated the generation gap and towards the beginning of 2000 A.D., marriage life may not be necessary for procreation. Family life will be in the form of those who are compatible and can associate with one another to make their life happy.

8. The Generation-Gap: As the acceleration of the advancement in technology, science, etc. are going on, the existing generation gap will become wider. The alienated young will be raising another generation, also alienated. There will be more tension arising from the dissatisfaction, and dissention of the time. 

II. GENERAL IMPLICATIONS FOR EDUCATION:

With the above projection in mind in the year 2000 A.D. trends towards education will be as follows:

There will be an expanding fraction of the population involved in education.

  2. There will be a new conscious role of education.

  3. There will be an increasing involvement of education with, and functional relationship to other social institutions. 

  4. There will be an extension duration of the educational period. 

  5. There will be an extension of educa? tion to industry, community, and home. 

  6. There will be a departure from traditional methods of instruction. 

  7. And consequently, there will be a movement toward an atmosphere of shared learning. 

  8. There will be a current replacing sequential arrangement of educa? tion and work.

 

III. APPLICATIONS:

Consider the programs now going on in the school. They are reading, writing, mathematics, language, social studies, athletics, science, and religion.

 

1. Reading: In the year 2000 A.D., there will be high utility program in reading. Students need to know how to read. This belief can be confirmed by the way the records are kept. Thousand of literature, books, magazines, newspapers, etc., have been written. Writing is one of the major ways of communication. And even the new invention in computer,. In order to use it effectively, one needs to know now to read.The school has to prepare students how to read. As adults in 2000 A.D., they must be able to read variety of books and assimilation has to be made accurately and concisely. Teach them how to make use of the library, how to search for knowledge from various text-books, etc.

2. Writing: There will be high utility program in writing. The communication in the year 2000 A.D., will be global and one means is through writing. From the above mentioned area of educational trend, the writer also mentions about the higher rate of literacy of near hundred-percent.

  The school has to prepare a program 111 such a way that the students in the year 2000 A.D., must be able to express his idea in writing accurately and concisely. They must practice reading and writing together in an efficient manner. The emphasis must also be on fast reading, since in the future it is an era of information. Students must be quick to read to cope with the abundance of news and in formations that flow in daily.

3. Athletics: There will be hight utility program in athletics. The need to keep the body healthy and strong will always be there in the year 2000 A.D. especially when that time comes, due to the introduction of new technologies and sciences, we will be less mobile.

  The school must build In the progTam vanous athletic programs and sports to create a habit in the students for exercises. moveover, in the year 2000 A.D., people will be in stress due to dissatisfaction and desire. Athletics and Sports will help release the tension and they can be a part of their life in their leisure and recreation. The school must train the students to know how to play sports and athletic programs in that spirit.

4. Mathematics: There will be low utility in this area. The reason for my belief is that the technology in computers is accelerating. The computation done by man will be obsolete and computer use will replace it. Inspite of this fact, the school still should maintain the teaching of basic mathematics for the elementary operation of the compu ter and for the indirect effect of logical thinking.

5. Seience:There will be low utility. Science and technology in the modern world has moved at a giant stride. What has been taught in the school now will be irrelevant. Even now, the plaything of a child may be more complicated than what is taught in the school. Man thrives to improve on the existing technology and science to make life better. There will be continuous research In nuclear power, medicine, elcctricit y, industry, energy, etc. According to Tofller in his, 'The Third Wave,' we are right now at the thresh-hold of the 'Info-Techno' phase. Thus by the year 2000 A.D. the experiment or the subject taught in class will not be of any use.

As I have mentioned earlier, there will be an increasing involvement of education with other social institutiolls. Therefore, the school should allow the students to have direct contact with outside institutions in area of science so that they will be able to cope with change. Meanwhile, the school acts as an intermediary and introduces the students to the principles of the subject.

6. Language: There are no high utility or low utility programs. Though language computer-interpreter may act as an in fallible interpreter, yet the writer believes that people do not fed comfortable with the media used. At the other end, travelling in the fu ture will be global, fast and oftener. Interaction between people of various nationalities will be done. Yet language will still move at the middle pace, since language is an art th at takes time to develop and. needs practice and skill on the part of man to do it. Thus the school still has a good role to play in the area of teaching language. In this regards teaching language will be that of presenting real situations.

7. Social Studies: There will be high utility program. By the year 2000 A.D. materially man will be the master of the universe. Personal ralationship, self-growth will be taken up. School must prepare program in such a way to prepare students for an increasingly humans future. To this purpose, it must operate in on ever more humanistic fashion. Concern for individuals, respect for human dignity and integrity, cooperative effort, respect for human rights, caring for others, must be established not only as matters for students to learn but as guidelines for action and criteria for educational assessment in all aspects of schooling. In other words, the school must teach the students to learn to live with themselves and other people. Guidance and conseling programs will play a very great role.

8. Religion: There will be high utility program in the year 2000 A.D. Man runs after material comforts. By the year 2000 A.D., economic as well as other basic meeds are generally satisfied. Man is capable to invent many things. Thus we tend to forget about God. As in years past. religion is the fiber that holds members of society together. Though the school cannot teach religion in the United States, but various activities can be organized to the purpose. Moral class can be offered to instill in the hearts and minds of students a sense of higher value. 

การประกันคุณภาพจากประสบการณ์ 
บัญชา แสงหิรัญ 

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ และมาตรา 49 กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถาบันศึกษานั้น

ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา

จากการที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (กพอ.) และได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดสร้างเครื่องมือการประเมิน การจัดหาผู้ประเมิน และการเข้าร่วมสังเกตการณ์การประเมิน ทำให้มองเห็นภาพของการประเมินชัดเจนขึ้น ขณะนี้เครื่องมือสำหรับใช้ในการประเมินได้ทำเสร็จและนำไปใช้ประเมินสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ แล้ว ถึงแม้จะไม่ใช้เครื่องมือที่ดีที่สุดแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการประเมินคุณภาพการศึกษาตามหลักการแห่งพระราชบัญญติการศึกษาแห่งชาติ ขณะที่ดำเนินการประเมินสถาบันต่างๆ คณะกรรมการฯ พยายามที่จะรับฟังข้อมูลย้อนกลับจากผู้ประเมินและผู้ประถูกประเมิน เพื่อจะนำไปพัฒนาเครื่องมือการประเมินให้มีความเหมาะสมกับสังคมไทยและได้มาตรฐานสากลในท้ายที่สุด

การประเมินในรอบแรก (ช่วง 6 ปีแรก) ปรากฏว่าสถาบันต่างๆ ตื่นตัวที่จะจัดสร้างรูปแบบของการประกันคุณภาพภายในสถาบันขึ้นถึงแม้จะรู้สึกว่าการประกันคุณภาพเป็นสิ่งใหม่เป็นภาระ และการถูกตรวจสอบคุณภาพก็ยังไม่คุ้นกับวัฒนธรรมไทยเท่าไร แต่เท่าที่ดำเนินการมาและได้รับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์แล้ว พอจะบอกได้ว่า ราบรื่นพอสมควรแต่จะบังเกิดผลมากน้อยเพียงใดนั้น คงต้องรอดูรายงานสำรวจผลการประกันคุณภาพต่อไป การสร้างคุณภาพมิได้สร้างกันในกระดาษ แต่ต้องปฏิบัติจริงและจะไม่ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาอันสั้น ต้องอาศัยความอดทนความพยายามจากจิตสำนึกของบุคลากรทุกคนในแต่ละสถาบัน ตลอดจนการทำงานร่วมกันในอันที่จะพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ภายใต้สมมติฐานที่ว่าคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาขีดความสามารถของตน การบูรณาการกิจกรรมทุกอย่างในสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็น Total and Complete Man จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

ขณะนี้ทุกสถาบันมักจะมุ่งจุดสนใจไปที่ตัวชี้วัดที่ สมศ. กำหนดและพยายามจะทำให้ได้ตามที่ สมศ. คาดหวังในประเด็นนี้ผู้เขียนมีความเห็นเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ทางสถาบันน่าจะให้ความสนใจเป็นพิเศษควรเป็นเรื่องรายละเอียดต่างๆ ภายในสถาบัน โดยเฉพาะสิ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจและเป็นภารกิจหลักของสถาบัน กรณีเช่นนี้อุปมาอุปไมยเปรียบสุขภาพของคนกับคุณภาพการศึกษาแล้ว การวัดชีพจรการเต้นของหัวใจ การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะเป็นเสมือนกับการดูแลสุขภาพโดยทั่วๆ ไปของตน แต่การดูแลสุขภาพนั้น แต่ละคนจะต้องมุ่งไปที่ความเป็นอยู่ของชีวิต ต้องเอาใจใส่การกินอาหารครบตามหมวดหมู่อย่างสมดุล มีการออกกำลังกายที่พอเหมาะสม่ำเสมอ มีการทำงานมีการพักผ่อนเพียงพอ และพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ ต้องทำอยู่จนเป็นวิถีชีวิตประจำวันฉันใด การดูแลคุณภาพของก็ฉันนั้น สถาบันต้องดูจากกิจวัตรที่ทำเป็นประจำของสถาบันว่ามีอะไรบ้างที่มีส่วนทำให้คุณภาพดีขึ้นหรือไม่ สมศ. จึงเปรียบเหมือนกับแพทย์ที่มาตรวจร่างกาย ถ้ามีโรคก็ให้ยาและทำการรักษา แต่ถ้าทุกอย่างปกติดีก็จะเสนอแนะให้ดูแลสุขภาพพลานามัย ดูแลเรื่องอาหารหรือแนะนำวิตามิน ที่ส่งเสริมบำรุงกำลังให้ร่างกายเข้มแข็งยิ่งขึ้น

สถาบันจึงควรให้ความสนใจกิจกรรมต่างๆ ภายในสถาบันเป็นสำคัญกิจกรรมในที่นี้ หมายถึง กิจกรรมทุกเรื่องที่สถาบันการศึกษาต้องทำเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ได้วางเอาไว้อย่างมีบูรณาการ โดยจุดเน้นในแต่ละปีความมุ่งไปที่องค์ประกอบสำคัญ (Critical Factors) ที่มีนัยต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องพัฒนาจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งของสถาบัน

กระบวนการพัฒนาคุณภาพจึงเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ต้องได้รับความสนใจจากทุกคนที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ทุกคนในสถาบันต้องมีจิตสำนึกและมองเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ กระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการที่ยาวนานต้องใช้เวลาอย่างไม่มีวันจบสิ้น การพัฒนาให้ดีขึ้นมีคุณภาพสูงต้องทำอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในท่ามกลางการแข่งขันและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีพลวัต เพื่อให้องค์การนั้นเข้มแข็งมีสมรรถนะที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันกับชาวโลกได้

ก้าวแรกของการประเมินคุณภาพการศึกษาในทัศนะของผู้เขียนเป็นก้าวที่เร่งรีบเพื่อทำงานให้ทันกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คำถามที่เราต้องถามตัวเองว่า ก้าวต่อไปควรจะเป็นเช่นไร? การประเมินรอบแรก (2543-2548) คงจะช่วยสร้างจิตสำนึกในตัวบุคลากรของสถาบันการศึกษาถึงความจำเป็นในการประเมินคุณภาพเรียนรู้ถึงวิธีในการประเมินตนเองของสถาบันไม่มากกก็น้อย พร้อมกันนี้ได้มีการนำเครื่องมือการประกันคุณภาพพร้อมกับกระบวนการในการประเมินมาใช้ งานที่ยิ่งใหญ่ของชาติจะต้องมีการดำเนินต่อไปหลายๆ เรื่องและที่สำคัญ ดังนี้:

  1. บุคลากร (Peopleware) ต้องมีการเตรียมบุคลากรให้พร้อม บุคลาการในที่นี้ หมายถึง ประเมินและผู้ถูกประเมิน ผู้ประเมินจะต้องเข้าใจวิธีการประเมิน และประเมินให้ได้ผลตามที่เป็นจริง ขณะเดียวกันที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ ต้องเตรียมผู้ถูกประเมิน บุคลากรภายในสถาบันให้พร้อมที่จะทำงานอย่างมีคุณภาพ ทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพ

  2. เครื่องมือ (Software) มีการทบทวนเครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณภาพภายนอกว่ามีความเหมาะสมเพียงใด จะต้องมีการปรับตัวบ่งชี้ตัวใดหรือไม่โดยดูที่เนื้อหาสาระ ขณะเดียวกันต้องดูเครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณภาพภายในว่าเหมาะสมกับสถาบันเพียงใดด้วย

  3. กระบวนการ (Processware) การนำเครื่องมือใดๆ มาใช้ต้องมีการพิจารณาถึงกระบวนการในการประเมินด้วยว่ามีความเหมาะสมและสามารถใช้เครื่องมือได้อย่างเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหน กระบวนการสลับซับซ้อนและยาวเกินความจำเป็นหรือไม่

  4. การเก็บข้อมูล (Dataware) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาควรต้องเริ่มสร้างฐานข้อมูลที่ช่วยในการประเมิน เช่น รายชื่อของผู้ประเมิน ประธานคณะกรรมการประเมิน ประเภทของสถาบันการศึกษาที่ต้องได้รับการประเมิน และข้อมูลอื่นๆ ที่มีความจำเป็นในการประเมิน รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันและผลของการประเมินเพื่อนำไปใช้ในการเปรียบเทียบ เพื่อการพัฒนาของสถาบันเอง นอกจากนี้ฐานข้อมูลที่สถาบันการศึกษาต้องเตรียมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์การประเมินจะต้องรีบจัดทำขึ้น

  5. การสร้างเครือข่าย (Networking) สร้างเครือข่ายภายในประเทศ เพื่อจะได้นำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่นๆ มาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา

การสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศก็มีความจำเป็น เพื่อจะได้มีการเทียบเคียง (Benchmark) การประเมินคุณภาพของประเทศไทยกับสถาบันอื่นๆ ในต่างประเทศจะได้มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันจะช่วยทำให้เราสามารถที่จะก้าวกระโดไปได้อย่างรวดเร็ว

อีกประเด็นหนึ่งที่สถาบันการศึกษาควรตระหนัก คือ ถ้าเราพิจารณาดูระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา หรือระบบการรับรองมาตรฐานการศึกษา (Accreditation) จะเห็นได้ว่า การประเมินคุณภาพภายในของสถาบันการศึกษาในต่างประเทศนั้น จะเน้นหนักไปที่ระดับโปรแกรม หรือสาขาวิชา (Discipline) และถ้าจะมีการเทียบเคียง ก็จะเทียบเคียงกันในสาขาวิชาเดียวกัน

วิกฤตการณ์อาหารโลก 

มนุษยชาติมีแหล่งอาหารมากมายมหาศาลบนโลกใบนี้ ทำไมประชากรกว่า 850 ล้านคนถึงยังหิวโหย
และประสบภาวะทุพโภชนาการ ทำให้เด็กกว่า 18,000 คน ต้องอดตายในทุกๆ วัน ? 

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาราคาน้ำมันที่แพงขึ้นและทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารสำหรับคนและสัตว์มีราคาพุ่งสูงขึ้นโดยมิได้คาดการณ์มาก่อนและนำไปสู่การเกิด “วิกฤตการณ์อาหารโลก” ( World Food Crisis ) ขึ้น ก่อให้เกิดกระแสความตึงเครียดไปทั่วโลก เนื่องจากประชาคมโลกล้มตายด้วยความอดอยากและหิวโหย จะเห็นว่า ไม่มีสงครามใดในโลกนี้จะทำให้ประชาชนต้องเสียชีวิตทุกๆ นาที และทุกๆ วันได้มากเท่า

จากราคาอาหารที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ทำให้บางประเทศเริ่มขาดแคลนอาหารหลัก (Food-deficit) ต้องนำเข้าอาหารและโภคภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันหลายๆ ประเทศถึงกับต้องวางมาตรการห้ามส่งออก และมีการเรียกเก็บภาษีส่งออกทั้งข้าวและอาหาร เช่น ประเทศ อินเดีย ยูเครน รัสเซีย คาซัคสถาน รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านของเรา ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และ เขมร เป็นต้น แม้แต่ประเทศฟิลิปปินส์เอง ยังประสบปัญหาภาวะขาดแคลนข้าวอย่างหนัก ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้องค์กรระหว่างประเทศ ต่างหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว โดยต่างเห็นพ้องต้องกันว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องเร่งหามาตรการที่เหมาะสม มาแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ปัญหาวิกฤตการณ์อาหารโลกครั้งนี้ นับเป็นปัญหาระดับโลกที่คุกคามทั้ง ทางสังคม และ การเมืองไปทั่ว จนเป็นเหตุให้ผู้นำของโลกถกเถียงกันในเวทีการประชุมสุดยอด “เรื่องความปลอดภัยด้านอาหารของโลก” ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ถึงวิธีจัดการกับเรื่องที่ราคาอาหารแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อหาวิธีปรับปรุงด้านการจัดหาอาหารให้ประชากรโลกผู้อดอยากและหิวโหยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ขณะนี้มีถึง 37 ประเทศ ที่กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์อาหารโลกอย่างแท้จริง ซึ่ง ปัญหาราคาอาหารแพงขึ้นทั่วโลกนี้ ทางสหประชาชาติเรียกว่าเป็น “Perfect storm of conditions”

ตามรายงานขององค์การอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สรุปภาพรวมของวิกฤตการณ์อาหารโลกว่า ราคาอาหารได้เพิ่มขึ้นจากปี 2006 ถึงสิ้นปี 2007 แล้ว 23% เมล็ดพันธุ์ต่างๆ ราคาเพิ่มขึ้น 42% น้ำมันประกอบอาหาร ราคาเพิ่มขึ้น 50% และผลิตภัณฑ์จากนม 80% จากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารดังกล่าว คงต้องใช้ระยะเวลาอีกยาวนานกว่าจะปรับสู่สภาพที่สมดุลได้ ปัจจัยเหล่านี้กระตุ้นให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประกาศจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิกฤติอาหารโลก เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์โดยเร่งด่วน

ราคาอาหารที่แพงสูงขึ้นและคาดว่าจะยังคงอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง เกิดจากปัจจัยสำคัญที่ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง สวนทางกับความต้องการบริโภคที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และเกิดจากปัจจัยแทรกซ้อนหลายๆ ปัจจัยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ คือ

  1. การเก็งกำไรและสภาวะเงินดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกาที่ตกต่ำ 

  2. นโยบายเรื่องการส่งเสริมพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

  3. สภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน

  4. ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นและดูจะต่อเนื่องยาวนาน จนต้องหันไปใช้ไบโอดีเซลทดแทน

  5. การบริโภคสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากของบรรดากลุ่มประเทศตลาดใหม่ 

วิกฤตการณ์อาหารในวันนี้ มาจากปัญหาภาคการเกษตรที่ถูกปรับเปลี่ยนจากการเพาะปลูกเพื่อการส่งออก มาแทนการเพาะปลูกเพื่อการบริโภคภายในประเทศ การเปลี่ยนมาเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่ที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ต้องสิ้นเปลืองปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และแหล่งน้ำ เบียดเบียนวิถีเกษตรเพื่อชุมชน สู่ภาค “ธุรกิจการเกษตร” อย่างไร้เหตุผล นอกจากจะไม่บรรเทาความอดอยากแล้ว ยังทำให้ประชาชนหลายล้านคนในประเทศที่ส่งออกอาหาร เช่น ประเทศอินเดีย ประชากร 1 ใน 5 ต้องอดมื้อกินมื้อ แม้แต่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อีก 48% ยังต้องประสบภาวะทุพโภชนาการ และในประเทศโคลัมเบีย ประชากรถึง 13% ก็ประสบภาวะนี้ เช่นกัน

แนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วนอีกทางหนึ่งก็คือ การประชุมสุดยอดของสหประชาชาติว่าด้วย “วิกฤตอาหาร” ที่จัดขึ้น ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้นำของโลกได้ให้คำมั่นว่า จะลดอุปสรรคทางการค้าและจะส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตรให้มากขึ้น เพื่อสู้กับวิกฤตการณ์อาหารที่ทำให้เกิดภาวะอดอยากและนำไปสู่การก่อความไม่สงบรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก ที่ประชุมได้ผ่านความเห็นชอบในปฏิญญาร่วมกันที่จะแก้ปัญหาวิกฤตอาหารแพงและส่งเสริมการลงทุนในภาคการเกษตรให้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างความสมดุลในประเด็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันในเรื่องของเชื้อเพลิงชีวภาพ และการเรียกร้องให้ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยในประเทศยากจนที่มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และอาหารสัตว์ในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาวิกฤตอาหารที่โลกกำลังเผชิญอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม องค์การสหประชาชาติเคยจัดการประชุมสุดยอดอาหารโลกมาแล้วเมื่อปี ค.ศ. 1996 เพื่อสร้างอธิปไตยทางอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เน้นการบริโภคภายในประเทศ การคุ้มครองปกป้องสิทธิมนุษยชน และสร้างหลักประกันให้ประชาคมโลกเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยมีคุณค่าและเหมาะสมทางวัฒนธรรม

วิกฤตการณ์อาหารโลกไม่ใช่ ปัญหาระยะสั้นๆ เพราะประชาคมโลกต่างให้ความสนใจและตระหนักถึงประเด็นปัญหาเหล่านี้ด้วยความวิตกกังวล บ้างก็วิเคราะห์ว่าเกิดจากการนำเอาพลังงานทดแทน (Biofuel) มาใช้ ทำให้ธัญพืช (Grains) ลดปริมาณลงและเกิดการขาดแคลนอยู่ตลอดเวลา เช่น บรรดาประเทศในแถบทะเลทรายซาฮารา เป็นต้น

ปัญหานี้ คือ ปัญหาฉุกเฉินที่ต้องการการแก้ไข แต่อุปสรรคสำคัญอยู่ที่ เงินทุนช่วยเหลือด้านการวิจัย ที่มีงบประมาณน้อยมาก การพัฒนาด้านการเกษตรดูเหมือนจะถูกละเลย การบริหารจัดการก็เป็นไปภายใต้กรอบของกระบวนการ โลกาภิวัตน์ เนื่องจากนานาประเทศหันมาพึ่งการค้า มากกว่าการพึ่งพาตนเอง ผลกระทบจากการใช้พลังงานทดแทนที่เห็นได้ชัดก็คือ กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้พื้นที่เพื่อพลังงานทดแทนมากขึ้น ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารคน และ สัตว์กว่า 30% ถูกแปรเปลี่ยนไป จากกรณีดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบกับแหล่งผลิตอาหารแน่นอน เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก      

แม้แต่ในยุโรปเองก็ยังสนับสนุนนโยบายด้านการผลิต เอทานอล โดยกำหนดให้มีส่วนผสมของเอทานอล อย่างน้อย 10% ดังนั้นพื้นที่เพาะปลูกอาหารเพื่อบริโภค จึงกลายมาเป็นการปลูกปาล์มน้ำมัน อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง เพื่อเป็นพลังงานทดแทน เช่นกัน

องค์การอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (WFP) ได้ตั้งชื่อวิกฤตการณ์นี้ว่า เป็น “Silent Tsunami” หรือ “สึนามิเงียบ” ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้เตรียมการรับมือไว้ก่อน นับว่าท้าทายความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องในการวางนโยบายเพื่อความอยู่รอดของประชาคมโลกเป็นอย่างยิ่ง

จากนี้ไป ประชาคมโลกคงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดว่า องค์กรต่างๆ ระดับโลก จะใช้มาตรการและยุทธศาสตร์ใดเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์นี้

สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รับรู้ของประชาคมโลกว่า อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพราะเราเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าภาคเกษตรรายใหญ่ของโลก ย่อมหนีไม่พ้นกับผลกระทบด้านราคาอาหารแพง ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงไม่พ้นประชาชนผู้ยากจน รวมไปถึงชนชั้นกลาง ซึ่งถือว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลต้องกำหนดมาตรการเพื่อวางนโยบายและดำเนินการอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันความเดือดร้อนจากราคาอาหารที่แพงสูงขึ้น แต่ไม่สอดรับกับรายได้ของประชาชน โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ขณะนี้ คงต้องเน้นที่ความสำคัญของการบริหารจัดการ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ของประเทศ เพื่อส่งเสริมผู้ที่เป็นเกษตรกรและผู้ผลิต ให้คงได้รับผลประโยชน์จากภาคการตลาด ส่วนประชาชน ผู้บริโภคทั้งหลาย ก็ต้องเข้าถึงอาหารทั้งโอกาสและการกระจายรายได้ที่เพิ่มขึ้น เช่นกัน

แต่ถึงอย่างไรก็ตามน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยมากกว่า ที่ได้เกิด “วิกฤตการณ์อาหารโลก” ขึ้น เนื่องจากเราเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารส่งออกที่สำคัญของโลก มีปริมาณอาหารเพียงพอทั้งการบริโภคภายในประเทศ และส่งออกได้พร้อมๆ กัน อีกทั้งเรายังมีพื้นที่นิเวศน์อันอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์เลี้ยงที่เป็นอาหารมากมายนานาชนิด “ข้าว” ซึ่งนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้และแปรวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ ภายใต้แผนพัฒนาด้านศักยภาพของความเป็นแหล่งอาหารโลกเพื่อรองรับแนวโน้มทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพราะอาหารก็คือทรัพยากรที่มีความสำคัญมากขึ้นทุกๆวัน

รัฐบาล ควรกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศที่เป็นระบบ ทำให้เรากลายเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีเอกภาพ เน้นการเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขยายพื้นที่ภาคการเกษตรควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำ และร่วมกันส่งเสริมทุกภาคส่วน โดยเน้นการจัดแบ่งพื้นที่เพาะปลูก พืช ธัญญาหารให้มากกว่าพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทน แม้ไทยเราจะเป็นผู้นำเข้าด้านพลังงานสุทธิ แต่ก็ควรให้ความสำคัญกับการปลูกพืชพลังงานทดแทนเสมอกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุปัจจัยจากความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันทั่วโลกที่ยังไม่หยุดนิ่ง

       การปลูกพืชพลังงานทดแทน เช่น อ้อยและมันสำปะหลังสามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอล ได้อย่างพอเพียง เนื่องจากพื้นที่สำหรับการเกษตรของเรามีเป็นจำนวนมาก

เมื่อวิกฤตการณ์พลังงานแผ่ขยายไปทั่วโลก นโยบายด้านการผลิตเอทานอลจึงเป็นนโยบายในระยะยาวที่ต้องจัดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเตรียมการแก้ไขและป้องกันไปพร้อมๆ กับการแก้ไขวิกฤตการณ์พลังงานและวิกฤตการณ์อาหาร ประเทศไทยมีพื้นที่ภาคการเกษตรถึง 7 ล้านไร่เศษ ดังนั้น นับเป็นความจำเป็นที่ต้องจัดสรรงบประมาณ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภาครัฐควรส่งเสริมและมีมาตรการให้กู้ยืม ในอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ เพิ่มศักยภาพด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ วางแผนจัดการทรัพยากรน้ำ จำกัดและควบคุมราคาปุ๋ย ตลอดจนช่วยลดรายจ่ายให้พี่น้องเกษตรกรในทุกๆ ด้าน อันจะเป็นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ ภายใต้นโยบายที่เข้มแข็ง อาทิ

อ้อยที่เรานำมาผลิตเป็นน้ำตาล ใช้บริโภคภายในประเทศ นอกจากนั้นยังสามารถส่งออกได้เป็นส่วนใหญ่ เพราะเรามีพื้นที่ปลูกอ้อยที่ไม่กระทบต่อพื้นที่นา ในภาคอีสานเราก็ปลูกพืชพลังงานได้มากกว่าภาคอื่นๆ อาศัยบรรดาผู้ประกอบการเป็นผู้ส่งเสริม โดยแบ่งแยกสัดส่วนให้ชัดเจน ผู้ผลิตน้ำตาลจะไม่เกี่ยวข้องกับโรงงานผลิตเอทานอล การอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนนั้น ต้องจัดสัมมนาขึ้น เพื่อระดมสมองและสรรพกำลังต่างๆ ทำการวิเคราะห์ค้นคว้า วิจัย อันจะนำไปสู่ผลทางการแก้ไขที่มีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล

จะเห็นได้ว่า เราต้องใช้ทุนจากกระทรวงการคลังจำนวนถึง 25,000 ล้าน เพื่อลดต้นทุนด้านผลผลิตอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางภาคเกษตร สร้างความมั่นใจให้แก่ประเทศที่เป็นพันธมิตรทางการค้า โดยยึดหลักความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้ที่รับผลประโยชน์และผู้ที่เสียผลประโยชน์

แม้ในหลายประเทศทั่วโลกจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก โดยไม่สามารถจะคาดเดาได้ว่าอนาคตข้างหน้านั้นจะเป็นอย่างไร แต่สำหรับประเทศไทย คงต้องเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เช่น ไม่ควรจำกัดการส่งออก ไม่บิดเบือนราคาตลาด แสวงหาพันธมิตรที่เป็นประเทศผู้ผลิตภาคการเกษตรเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และการตลาดซึ่งกันและกัน แม้ว่าวิกฤตการณ์อาหารทำให้เกษตรกรไทยได้รับผลประโยชน์มากขึ้นก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันผลกระทบยังคงตกอยู่กับคนจนในเมือง เพราะยังคงต้องจ่ายค่าอาหารในราคาที่สูงขึ้นถึง 43% และในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ที่กรุงอักกรา สาธารณรัฐกานา ยังแสดงความเห็นเช่นเดียวกันว่า ในระยะยาวนั้น การเจรจาเปิดตลาดการค้านับเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ส่งผลให้บรรดาเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะราคาพืชผลทางการเกษตรจะได้ราคาดีตามผลผลิตที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น อันนับว่าเป็นผลประโยชน์ที่ดี แก่ประเทศไทยทั้งสิ้น

นับว่าเป็นความโชคดีของเราที่เป็นประเทศส่งออกอาหารสุทธิที่สำคัญของโลก จึงได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์อาหารน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกหลายๆ ประเทศ การบริโภคภายในประเทศจึงไม่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลน และยังได้รับอานิสงส์จากราคาสินค้าภาคเกษตรที่สูงขึ้นด้วย

เพราะอาหารไม่ใช่เพียงโภคภัณฑ์ แต่อาหารเป็นหัวใจของการอยู่รอดของประชากรโลก ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้น ณ ที่หนึ่งที่ใด หากแต่กลายเป็นปัญหาใหญ่ทางสังคม และ การเมือง ที่แผ่ขยายไปทั่วโลก     

สถาบันการศึกษาต้องสร้างสามัญสำนึก : หน้าที่ & ความรับผิดชอบต่อสภาวะโลกร้อน (Global Warming) 

     สภาวะโลกร้อน ไม่ใช่ประเด็นปัญหาที่ไกลตัว แต่เป็นวาระโลกที่ไทยต้องตระหนักถึงปัญหานี้ให้มากยิ่งขึ้น และต้องปรับตัวเร่งหาหนทางหยุดยั้งหันตภัยทั้งหลายทั้งปวงอันเกิดจากภาวะโลกร้อนนี้ให้ได้ ไม่ว่าเราจะอยู่ในภูมิภาคใดของประเทศ ทุกคนต่างก็มิอาจจะหลีกหนีปัญหาจากสภาวะโลกร้อนไปได้.....

     สภาวะที่โลกร้อนขึ้นในช่วง 50 กว่าปีมานี้ ทำให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน แผ่ขยายสู่ทุกภาคพื้นโลกประมาณ 1.4-5.8 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวเกิดจากน้ำมือของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศส่งผลให้การผลิตเพื่อการบริโภคในด้านต่างๆ ลดลง เกิดการกระทบกันเป็นลูกโซ่ อันเป็นเหตุให้ประชากรโลกอาจจะต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนเป็นจำนวนมหาศาล

        อนาคตของโลกนี้จะเดินไปสู่จุดไหน มนุษย์ชาติจะมีวิถีชีวิตกันอย่างไร ถ้าสภาวการณ์ของสภาพดินฟ้าอากาศเลวร้ายลงไปอีก…?

     สำหรับสถาบันการศึกษาควรแสดงเจตนารมณ์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ไขปํญหาสภาวะโลกร้อน โดยอาศัยบทบาทและวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสภาวะโลกร้อนที่จะเกิดผลร้ายแรงในอนาคตเพื่อให้ประชาคมร่วมรับรู้ เช่น

  1. จัดให้มีการสัมมนาในกลุ่มผู้บริหารสถาบันการศึกษาทุกระดับ ให้ร่วมกันจัดทำโครงการรณรงค์คืนสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อจะทำให้โลกพลิกฟื้นสู่สมดุลทางธรรมชาติ

  2. ส่งเสริมการบูรณาการศาสตร์ในสาขาวิชาต่างๆ สู่การแก้ปัญหาแบบยั่งยืน นำความรู้จากการค้นาคว้าวิจัยทุกสาขา มาร่วมกันหาทางออกที่เป็นรูปธรรม นำขยายสู่สังคมโดยรวม

  3. จุดประกายให้แก่ประชาคมในสถาบันร่วมรณรงค์สร้างสรรค์กิจกรรมและให้มีการสานต่ออย่างต่อเนื่องเพื่อให้เห็นความสำคัญของธรรมชาติที่มีต่อสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ เรียนรู้ความเป็นไปของโลก และร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต

  4. ให้มีการบรรจุหลักสูตรทีเกี่ยวกับนิเวศวิทยาทางธรรมชาติ โดยส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเรียนรู้และสร้างวิสัยทัศน์มองการณ์ไกลไปสู่อนาคต ให้เป็นผู้พิทักษ์มิใช่เพื่อตนเอง แต่เพื่อสิ่งที่มีชีวิตทุกๆ ชีวิตบนโลกใบนี้

  5. หัวใจสำคัญก็คือการสร้างสามัญสำนึก เพื่อเหตุเดียวกัน (Common Sense for Common Cause) ในที่นี้คือ ความเชื่อมั่นในแนวทางที่จะร่วมมือกันรับผิดชอบรักษาดูแลโลก เพราะเราคือผู้ที่พึ่งพาเริ่มที่ตนเองก่อน

     มนุษย์ในฐานะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งบนโลกใบนี้ควารใช้สติสัมปชัญญะด้วยการสร้างกฎระเบียบในการดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละคนภายใต้ข้อปฏิบัติ เช่น ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการใช้งาน เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ปรับและติดตั้งตัววัดอุณหภูมิในเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับอุณหภูมิขณะนั้น เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟแบบประหยัดแทนหลอดไฟอื่นๆ เพื่อช่วยลดคาร์บอนไดออกไซค์ปลุกจิตสำนึกสมาชิกในองค์กร ขยายสู่ชุมชน สังคม เมือง และประเทศ ปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซค์ได้ดี ร่วมรณรงค์ให้พยายามใช้พลังงานมนุษย์แทนพลังงานอื่นๆ บ้างตามความจำเป็น 

                                                      ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี
                                                       มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค)

      แหล่งที่มา หนังสือพิมพ์บ้านเมือง วันพุธที่ 24 กันยายน 2551

 

สภาวะโลกร้อน (Global Warming) : บทบาทของสถาบันการศึกษา โดย ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ 

อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค)

 สถาบันการศึกษา มีวิธีสร้างสามัญสํานึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อโลกปัจจุบัน 

เกี่ยวกับปัญหาสภาวะโลกร้อนอย่างไร... 

       ปัจจุบันสภาวะโลกร้อนไม่ใช่ประเด็นปัญหาที่ไกลตัว แต่ถือได้ว่าเป็นวาระโลกที่ไทยเราต่างต้องตระหนักถึงปัญหานี้ให้มากยิ่งขึ้น โดยจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาวะดังกล่าว ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งหาหนทางหยุดยั้งมหันตภัยทั้งหลายทั้งปวงอันเกิดจากภาวะโลกร้อนนี้ให้ได้

      ดังจะเห็นได้จาก ในวันที่ 29 มีนาคม 2551 เวลา 20.00 น. ตรงตามเวลาท้องถิ่นของแต่ละประเทศได้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้เมืองใหญ่ๆทั่วโลกกว่า 20 เมืองช่วยกันปิดไฟตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อรณรงค์ปลูกจิตสำนึกร่วมกันแก้ไขปัญหาโลกร้อน

   ปรากฏการณ์ของภาวะความเสื่อมโทรมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกปัจจุบัน ก่อให้เกิดเป็นวัฏจักรที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด สภาวะโลกร้อน (Global Warming) และส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล สัญญาณเตือนภัยเหล่านี้ปรากฏเด่นชัดขึ้น บ่อยครั้งและในเวลาใกล้เคียงกัน ความแปรปรวนของภูมิอากาศ รวมถึงภัยพิบัติต่างๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้น แผ่ขยายไปทั่วภูมิภาคของโลก... ดังเช่น

       การเกิดฤดูกาลที่ผิดปกติในหลายประเทศ 

      การเกิดหิมะตกแบบบางเบาในกรุงแบกแดด ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน การเกิดคลื่นความร้อนในทวีปยุโรป         การเกิดพายุเฮอร์ริเคน แคทรินา ที่ถล่มเมืองนิวออร์ลีนของสหรัฐอเมริกาจนเสียหายอย่างมหาศาล        แม้แต่ประเทศไทยเองก็เกิดผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวเช่นกัน คือ ได้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นเผชิญกับคลื่นยักษ์ สึนามิ ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายๆ ปี...ที่ผ่านมา       บรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงภาวะโลกร้อนว่า ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ทั้งสิ้นและโลกของเรากำลังเดินสู่กับดักของสถานการณ์ที่ล่อแหลมอย่างน่าวิตก เรา คือ ส่วนหนึ่งของมนุษย์โลกที่ต้องพึงตระหนักถึงหน้าที่สำคัญ คือ ต้องศึกษาและเข้าใจปัญหาที่เผชิญอยู่นี้ อันจะนำไปสู่แนวทางยับยั้งและการแก้ไขปัญหาที่จริงจังร่วมกัน

      สภาวะโลกร้อน (Global Warming) คือ สภาวะที่โลกในระดับเหนือพื้นผิวโลกมีอุณหภูมิที่สูง เพิ่มขึ้น โดยนับจากค่าเฉลี่ยจากช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.7 องศาเซลเซียส และมี แนวโน้มว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก เนื่องจาก โลกที่เราอยู่ทุกวันนี้ ห่อหุ้มด้วยชั้นของบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซต่างๆ มีสัดส่วนตามปริมาตรตามธรรมชาติ แต่มีก๊าซประเภทที่มีปฏิกิริยากับพลังงานแสงอาทิตย์ และความร้อนที่เกิดจากโลกเพียงไม่กี่ประเภท เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ และก๊าซโอโซน ต่างมีคุณสมบัติกักเก็บและส่งผ่านรังสีความร้อนที่เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์สู่ชั้นของบรรยากาศจึงเรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก หรือ Greenhouse Gas (GHG) ก๊าซนี้อาจเกิดได้ตามกระบวนการทางธรรมชาติ และจากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในโลกยุคใหม่ และการบริโภคสิ่งอำนวยความสะดวกของประชากรโลก ที่ทำให้ภาวะเรือนกระจกรุนแรงขึ้นทุกวัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหินและเชื้อเพลิงต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกสูงขึ้นอย่างน่าวิตก ปัญหาภาวะเรือนกระจกรุนแรงขึ้นทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในลำดับต้นๆ ล้วนแต่เป็นประเทศที่มีระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปรวมกัน     
 
     กระแสการตื่นกลัวในครั้งนี้ นำไปสู่การกำหนดข้อผูกพันทางกฎหมาย ที่ให้ดำเนินการตามพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการร่วมมือกันรับมือกับ สภาวะโลกร้อน อันเป็นที่มาของพิธีสารเกียวโต (Kyoto- Protocol) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ลงนามกันในปี พ.ศ. 2540 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยให้นับหลังการให้สัตยาบันของรัสเซีย ซึ่งปล่อยก๊าซถึง 17% ของโลก
 
        ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโตแล้ว เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 ซึ่งดำรงสถานะเป็นประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 ที่อยู่ในกลุ่มกลไกการพัฒนาที่สะอาด สามารถเลือกเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจ โดยไม่มีข้อบังคับใดๆ เป้าหมายของพิธีสารเกียวโต คือ ต้องการให้ประเทศเหล่านี้ร่วมลงนามยินยอมลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศลง ก่อนพิธีสารเกียวโตจะหมดอายุในปี 2555 แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สหรัฐฯ และ จีน ยังไม่ตระหนักถึงภาวะวิกฤติของโลกร้อนอย่างจริงจัง

       จากการคาดการณ์ของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (2537) พบว่าในทุกๆ ปีระหว่างเดือนพฤศจิกายน– มกราคม ประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 2.5 – 6 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสานจะแล้งหนัก ปัจจุบันประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเพียงแค่ 2.6 ตัน / คน / ปี ถึงแม้จะยังไม่เกินค่ามาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ แต่เราก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อการปลุกจิตสำนึกให้คนไทยหันมาห่วงใย ตระหนักถึงธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น แม้จะเป็นเพียงการคาดการณ์ของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยก็ตาม ผลของความเสียหายจะขยายไปบริเวณกว้างเพียงใด ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนภาคธุรกิจ ต่างต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันหาแนวทาง เพื่อวางมาตรการให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

        ไม่ว่าเราจะอยู่ในภูมิภาคใดของประเทศ ทุกคนต่างก็มิอาจจะหลีกหนีปัญหาจากสภาวะโลกร้อน ไปได้... 

       สภาวะที่โลกร้อนขึ้นในช่วง 50 กว่าปีมานี้ ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน แผ่ขยายสู่ทุกภาคพื้นโลกประมาณ 1.4 - 5.8 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวเกิดจากน้ำมือของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้การผลิตเพื่อการบริโภคในด้านต่างๆ ลดลง เกิดการกระทบกันเป็นลูกโซ่ อันเป็นเหตุให้ประชากรโลกอาจจะต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนเป็นจำนวนมหาศาล

        สังคมไทยมีลักษณะเป็น สังคมการบริโภคเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำแหล่งป่าไม้แหล่งอาหาร แหล่งพลังงาน หรือแม้แต่สารประกอบต่างๆ ในดิน

      ปัญหาเหล่านี้... แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงห่วงใย โดยทรงโปรดฯพระราชทานแนวพระราชดำริทุกขั้นตอน เพื่อจะให้สิ่งแวดล้อมกลับคืนมา... อันถือได้ว่า เป็นสิ่งที่สร้างสมดุล และเกื้อประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หากเราต่างพร้อมใจกัน ดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการป้องกันปัญหาโลกร้อนที่ใกล้ตัวเรามาทุกขณะ ได้อีก

      ผลจากภาวะโลกร้อน ยังทำลายระบบนิเวศน์บริเวณชายฝั่งทะเลของเราอีกด้วย เนื่องจากไทยเรามีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,490 กิโลเมตร ซึ่งเป็นทั้งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติกับแหล่งเศรษฐกิจสำคัญๆ ของ ไทยมากมาย ถ้าหากอุณหภูมิในทศวรรษหน้ายังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะมีผลกระทบกันเป็นวงจร ทั้งทางด้านธุรกิจ ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพอนามัย ฯลฯ แม้แต่กรุงเทพมหานคร ก็ต้องเผชิญกับปัญหาอันสืบเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น อย่างยากจะหลีกเลี่ยง

        อนาคตของโลกนี้จะเดินไปสู่จุดไหน มนุษย์ชาติจะมีวิถีชีวิตกันอย่างไร ถ้าสภาวการณ์ของสภาพดินฟ้าอากาศเลวร้ายลงไปอีก...

      คงไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้อย่างชัดเจน หากเพียงแต่ทุกคนต้องพยายามศึกษาและเข้าใจในประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง อันจะนำไปสู่แนวทางแก้ไขและสร้างโอกาสให้มากที่สุด สำหรับสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติที่เหลืออยู่ให้เกิด การปกป้อง คุ้มกัน มีความปรองดองกันระหว่างเชื้อชาติ ทั้งนี้เพื่อร่วมมือกันในทุกๆ ด้าน

     โลกยุคปัจจุบัน ความรอบรู้ของมนุษย์ก่อให้เกิดวิทยาการใหม่ๆ เพื่อพัฒนาด้านความเป็นอยู่ และสนองความต้องการด้านบริโภค เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ตนเอง นับตั้งแต่ตื่นนอนในตอนเช้าจวบจนเสร็จสิ้นภารกิจในแต่ละวัน ดังเช่น เช้าอาบน้ำอุ่นด้วยเครื่องทำน้ำร้อน ทำอาหารจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนถนอมอาหาร ในตู้เย็น ใช้ยวดยานพาหนะส่วนตัวไปประกอบอาชีพ กลับบ้านพบสิ่งบันเทิงต่างๆ ทีวี เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ และท่ามกลางบรรยากาศที่เย็นด้วยเครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

       อนึ่ง ที่กล่าวมานี้ล้วนมาจากพลังงานทั้งสิ้น ในกระบวนการผลิตที่มาจากทรัพยากรทางธรรมชาติ มนุษย์โลกไม่ได้ตระหนักถึงผลร้ายในอนาคตที่ยาวไกลว่า วิทยาการใหม่ๆ ภายใต้กรอบแห่งความคิดนั้นทำให้มนุษย์บริโภคจนเกินความจำเป็น พลังงานหากมีการใช้ย่อมสูญสลายกลายเป็นขยะและมลภาวะตามมาไม่มีวันจบสิ้น เมื่อต้นทุนทางธรรมชาติที่สะสมมาช้านานค่อยๆ หมดไป โลกจึงจำเป็นต้องส่งสัญญาณเตือนภัยมาสู่โลกเช่นกัน

       แม้ว่า สภาวะโลกร้อน (Global Warming) จะไม่ใช่ปัญหาของประเทศไทยเท่านั้น หากแต่เป็นความหวาดวิตกของมนุษยชาติที่ถูกจับตามอง คำถามก็คือ มนุษย์ในฐานะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งบนโลกใบนี้เป็นหน่วยหนึ่งของสังคมจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง...

    คงได้รับคำตอบในทิศทางเดียวกัน คือ ต้องเริ่มที่ตนเองก่อน อาจต้องพึ่งพาพลังงานมนุษย์ และใช้สติสัมปชัญญะด้วยการสร้างกฎระเบียบในการดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละคน ภายใต้ข้อปฏิบัติ เช่น : -

 

  • ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการใช้งาน เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ 

  • ปรับและติดตั้งตัววัดอุณหภูมิในเครื่องปรับอากาศ ให้เหมาะสม กับอุณหภูมิขณะนั้น 

  • เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟแบบประหยัดแทนหลอดไฟอื่นๆ เพื่อช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ 

  • ปลุกจิตสำนึกของสมาชิกในองค์กร ขยายสู่ชุมชน สังคม เมือง และประเทศ 

  • ปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี 

  • ร่วมรณรงค์ ให้พยายามใช้พลังงานมนุษย์แทนพลังงานอื่นๆ บ้างตามความจำเป็น 

        แม้ในวันนี้ จะมีผู้แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากมาย ถึงมูลเหตุที่มาของปัญหาสภาวะโลกร้อน แต่หากทุกคนตระหนักถึงภาระและความรับผิดชอบร่วมกันปกป้อง คุ้มกัน เพื่อให้โลกนี้ได้พลิกฟื้นคืนสู่ความสมดุลตามธรรมชาติกลับมาได้อีกครั้ง โลกที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ย่อมมีความหวัง 

        สำหรับสถาบันการศึกษา ซึ่งถือเป็นองค์กรสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ ให้แก่สังคม ประเทศชาติควรแสดงเจตนารมณ์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ไขปัญหา สภาวะโลกร้อน โดยแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการทำภารกิจนี้ให้สำเร็จลุล่วง จึงควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในอันดับต้นๆ โดยอาศัยบทบาทและวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ ที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อ สภาวะโลกร้อน ที่จะเกิดผลร้ายแรงในอนาคต เพื่อให้ประชาคมร่วมรับรู้ เช่น

  1. จัดให้มีการสัมมนาในกลุ่มผู้บริหารสถาบันการศึกษาทุกระดับ ให้ร่วมกันจัดทำโครงการรณรงค์คืนสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อจะทำให้โลกพลิกฟื้นสู่สมดุลทางธรรมชาติ

  2. ส่งเสริมการบูรณาการศาสตร์ในสาขาวิชาต่างๆ สู่การแก้ปัญหาแบบยั่งยืน นำความรู้จากการค้นคว้าวิจัยทุกสาขา มาร่วมกันหาทางออกที่เป็นรูปธรรม นำขยายสู่สังคมโดยรวม

  3. จุดประกายให้แก่ประชาคมในสถาบันร่วมรณรงค์ สร้างสรรค์กิจกรรมและให้มีการสานต่ออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นความสำคัญของธรรมชาติที่มีต่อสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ เรียนรู้ความเป็นไปของโลก และร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต

  4. ให้มีการบรรจุหลักสูตรที่เกี่ยวกับนิเวศวิทยาทางธรรมชาติ โดยส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเรียนรู้และสร้างวิสัยทัศน์มองการณ์ไกลไปสู่อนาคต ให้เป็นผู้พิทักษ์มิใช่เพื่อตนเอง แต่เพื่อสิ่งที่มีชีวิตทุกๆ ชีวิตบนโลกใบนี้

  5. หัวใจสำคัญก็คือการสร้างสามัญสำนึก เพื่อเหตุเดียวกัน (Common Sense for Common Cause) ในที่นี้ คือ ความเชื่อมั่นในแนวทางที่จะร่วมมือกันรับผิดชอบรักษาดูแลโลก เพราะเรา คือ ผู้ที่พึ่งพา 

อาศัยโลก เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมชนิดอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องพึ่งพาซึ่งกันและกันสถาบันการศึกษา คือ สถาบันที่ให้บริการสังคม ในด้านการศึกษา ย่อมมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บรรดานักศึกษา นักวิจัย คณาจารย์ของทุกภาควิชาตลอดจนคณะผู้บริหาร ฯลฯ ต่างมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะรับรู้ เพื่อมีส่วนร่วมค้นหาหนทางสู่การแก้ปัญหา สภาวะโลกร้อนแสดงวิสัยทัศน์ผู้นำเป็นแบบอย่างของการวางรากฐานสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีได้ในอนาคตในสภาวการณ์เช่นนี้ ถ้าทุกๆ คน พร้อมที่จะผลักดันให้เกิดการปฏิบัติการในด้านต่างๆ จนเกิดเป็นรูปธรรมย่อมสามารถลดกระแสแห่งความวิตกกังวลและภาวะวิกฤตไม่ให้รุนแรงไปมากกว่านี้

       

แหล่งที่มา

Dicaprio, L., Petersen, L. C., Castleberg, C. & Gerber, B. (Producer). (2008). The 11th hour: Turn mankind’s darkest hour into its finest

[Motion Picture]. Burbank, CA: Warner Independent Pictures. 

ขวัญชัย กุลสันติธำรงค์. (2549, พฤศจิกายน). สภาวะโลกร้อน : สัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติก่อนที่โลกจะถึงกาลอวสาน. Update, (230), 37-43. 

ดาณุภา ไชยพรธรรม. (2550). โลกร้อน สัญญาณแห่งหายนะ. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย. 

ไทยระอุ “โลกร้อน” วิกฤตแล้งถล่มอีสาน 22 ล.ไร่. (2550, เมษายน 16-18). ประชาชาติธุรกิจ, หน้า 1, 17. 

ประชุมภาวะโลกร้อนที่บาหลี “ไปไม่ถึงดวงดาว” อีกตามเคย. (2550, ธันวาคม 14-20). สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 55(12), 27. 

สุวัฒน์ เทพอารักษ์. (2550, พฤศจิกายน 30-ธันวาคม 6). การแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริ. สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 55(10), 12-13. 

อภิชา สืบสามัคคี. (2551). โลกร้อน : ปรากฏการณ์ธรรมชาติเข้าขั้นวิกฤติ? กรุงเทพฯ : มายิก. 

พระผู้ทรงครองดวงใจไทยทุกดวง
เช้าตรู่วันที่ 2 มกราคม 2551
ข่าวการสิ้นพระชนม์

ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 
มิได้นำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจแก่ประชาชนชาวไทย ทั่วทั้งประเทศเท่านั้น
หากแต่นานาประเทศ ต่างก็รู้สึกถึงความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในครั้งนี้
องค์กรสื่อร่วมใจกันเทิดพระเกียรติคุณถวายความอาลัย
เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณแห่งพระองค์ ผ่านทางภาพพระจริยาวัตร อันกอปรด้วย
พระกรณียกิจนานัปการ จนเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า พระองค์ทรงเป็น “เจ้าฟ้าฯ แห่งพระราชวงศ์”
พระผู้ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อบำเพ็ญพระกรณียกิจ อันทรงมีคุณูปการแก่บ้านเมือง
และประชาชน อย่างหาที่สุดมิได้

“... ในครอบครัวเรา ความรับผิดชอบเป็นของไม่ต้องคิด เป็นธรรมชาติ
สิ่งที่สอนกันเป็นอันดับแรก คือ เราจะทำอะไรให้เมืองไทย ...”
(จากหนังสือ เฉลิมขวัญกัลยาณิวัฒนา หนังสือกตัญญกตเทวี มูลนิธิโรคไต แห่งประเทศไทย) 

อันเนื่องมาจาก “พระดำรัส” ที่อัญเชิญมานี้ ทำให้ได้เข้าใจในพระเจตจำนงที่ทรงอุทิศพระองค์ในการทรงงานกอปรกับได้รับการปลูกฝังจากสมเด็จพระราชมารดามาเป็นอย่างดีในเรื่อง “ให้ทรงปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ด้วยพระองค์เองให้มากที่สุด โดยไม่ถือพระองค์ว่าเป็นราชนิกูลชั้นสูง” (จากหนังสือพระพี่นาง ในพระราชหฤทัย สามดวงใจแห่งความผูกพัน, สุวิสุทธิ์)

นับแต่เสด็จนิวัตสู่ประเทศไทย พระภารกิจมากมายเริ่มปรากฎในพระหฤทัยของพระองค์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วยทรงมีพระประสงค์ดำเนินรอยตามพระยุคลบาทของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่จะทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติให้ดีที่สุดให้มากที่สุด

อนึ่ง เมื่อครั้งที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อยังทรงเจริญพระชนม์ชีพ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ด้านสังคมสงเคราห์และการสาธารณสุขไว้มากมาย เพื่อพรราชทานแกราฏฎรยากไร้ในถิ่นทุรกันดาน และห่างไกลในเขตชาตแดน ด้วยทรงทอดพระเนตรเห็นความยากไร้ ทั้งด้านการศึกษา ฐานะอาชีพตลอดจนการสุขอนามัย ทำให้เกิดโครงการในพระราชดำริมากมาย เพื่อชุบชีวิตราษฎรยากไร้เหล่านั้น ด้วยการพัฒนา จวบจนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะเป็น “พระผู้สานต่อรอยพระกรุณา” แห่งสมเด็จพระบรมราชชนนีให้ดำรงสืบไปได้อย่างมั่งคงทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์และทรงก่อตั้งองค์กรเพื่อการกุศลและมูลนิธิต่าง ๆ รวมถึง 63 มูลนิธิ

หากแต่โครงการตามแนวพระราชดำริใดใดก็ตาม จะอยู่ภายใต้พระนามาภิไธยในสมเด็จพระศรีนครินทรราบรมราชชนนีหรือในพระนามว่า “สมเด็จย่า” แห่งปวงชนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติคุณ ประทับไว้ในแผ่นดินตลอดมา อันได้แก่

ทุนส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคมนพิการในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, ชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่แจ่ม, โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า ฯลฯ

อนึ่ง เช่นที่ ศูนย์การเรียนรู้ชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง ทรงประทานโอกาสทางการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ภายใต้การดำเนินงานของครูอาสาสมัคร พระองค์ทรงให้ความสนพระทัยและประทานความห่วงใยต่อผู้ปฏิบัติงานทุกคน ทรงซักถามปัญหาและทรงร่วมรับฟังข้อคิดเห็นเพื่อนำสู่แนวทางแก้ไข อันนำมาซึ่งความปลื้มปีติและมีกำลังใจในผู้ปฏิบัติงานทุกคน

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงผ่านการศึกษาทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ในสาขาวิชาต่างๆ จึงทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านการคิดเป็นรูปแบบที่มีระบบตามความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ สำหรับนำมาบริหารจัดการโดยเฉพาะการพัฒนาด้านการศึกษา ทรงตระหนักดีว่า การให้การศึกษาแก่ผู้พิการยากไร้นี้ควรยึดถือหลักสำคัญการให้โอกาสที่จะได้เรียนร่วมกับคนปกติได้ต่อมาจึงมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้พิการและบกพร่องในการรับรู้ เพื่อมิให้ผู้พิการตกเป็นภาระและปัญหาของสังคมแต่กลับพัฒนาสู่การพึ่งพาตนเองได้ ทรงให้ความอนุเคราะห์อย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสม พระเมตตาแห่งปพระเงค์ได้แผ่ขยายไปถึงชุมชนชาวไทยภูเขาในท้องถิ่นห่างไกล ทรงประทานพระอนุเคราะห์แก่ผู้พิการชาวไทยภูเขาที่มีความมุมานะด้านการศึกษา เข้าเรียน ณ วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง ด้วยทุนส่วนพระองค์ จนถึงระดับปริญญาตรี ปัจจุบันมีนักศึกษาชาวเขาถึง 21 คน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่างได้ศึกษาในคณะต่าง ๆ ตามศักยภาพการเรียนรู้ได้อย่างสูงสุด

เหล่านักศึกษาชาวเขาทั้งผู้พิการยากไร้ ต่างสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีพระเมตตาเป็นล้นพ้น ขอเทิดทูนพระกรุณานี้ไว้เหนือเกล้าฯ ต่างร่วมกันกล่าวคำปฎิญาณ ขอประพฤติตนกระทำความดีตามแนวพระดำริ ในการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ชนรุ่นหลัง โดยจะกลับไปเป็น “ครู” ประจำชุมชนของตนต่อไป

นอกจากจะทรงเป็นพระธุระด้านจัดหาทุน ยังทรงสนับสนุนจัดหากายอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อผู้พิการให้มีความสมบูรณ์ต่อการดำรงชีพเป็นผลดีต่อสุขภาพจิตของผู้พิการทั้งหลาย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงทรงเป็นทั้ง พระผู้ให้และพระผู้แบ่งปัน

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงอุทิศชีวิตส่วนพระองค์ส่วนใหญ่เพื่อทรงงานด้านสังคมสงเคราะห์ต่างๆ เสมอมา ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ตามแนวทางพระราชดำริสืบมาจยถึงปัจจุบันอันได้แก่ โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า ที่จังหวัดเชียงใหม่, ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ฯลฯ เป็นการดำเนินงานโดยจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับวิถีชุมชน สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาเพื่อการดำรงชีพแบบพอเพียงและพึ่งพาตนเอง

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงเป็นเจ้าฟ้าฯ นักสังคมสงเคราะห์อย่างแท้จริง ด้วยมิทรงย่อท้อต่อการเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในที่ต่าง ๆ แม้ในที่กันดารแสนไกลในภูมิลำเนาที่หลายคนในเมืองกรุงแม้จนวันนี้ยังไม่เคยไปถึง ทรงอุทิศกำลังพระวรกายในการเสด็จทรงงานเพื่อประชาชนได้อยู่ดีมีสุขให้มากที่สุด

แม้จะทรงยากลำบากเพียงใด ก็ทรงมีพระวิริยะไม่ย่อท้อต่อการเสด็จไปทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นทุกข์ยากของเด็กอ่อนในสลัม จึงทรงรับมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมไว้ในพระอุปถัมถ์ โดยได้รับจากทุนการกุศลสมเด้จย่า ทุก ๆ ปี ทรงตระหนักถึงปัญหาและความต้องการของเด็กเล็ก ๆ ในสลัม ทรงมีรับสั่งแก่คณะกรรมการมูลนิธิฯ อยู่เสมอว่า

         “การเริ่มต้นที่ดีของเด็กนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุด” (สถานีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติผ่านดาวเทียม)

ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทรงพบเสมอ คือ การขาดแคลนการศึกษาและทั่วถึง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงสนพระทัยด้านการพัฒนาการศึกษาตั้งแต่ระดับพื้นฐาน โปรดที่ใช้โอกาสเมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเยี่ยมราษฎรในถิ่นห่างไกลและทุรกันดาร ได้นำสื่อการศึกษาเหล่านั้นไปทรงใช้ร่วมกับนักเรียนในถิ่นห่างไกลอันเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ให้แก่เด็กเหล่านั้น จึงได้ประทานพระอนุเคราะห์แก่มูลนิธิสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมถ์ จัดทำโครงการสอนอ่านแก่เด็กเล็กในชั้นเตรียมความพร้อมทั่วประเทศ (จากมติชน สุดสัปดาห์ ฉบับที่ 11-17 มกราคม) ทรงรับเป็นผู้ดำเนินการทดลองสร้างสื่อการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มเสริมทักษะในรูปแบบของเกมต่าง ๆ ขึ้น อาทิ เกมต่อบัตรภาพ-คำ ระดับอนุบาล, เกมต่อบัตรภาพ-คำ ระดับประถมศึกษา ฯลฯ จากนั้นนำไปสู่การวิเคราะห์แก้ไข เหมาะสมกับที่ประเทศไทยเริ่มปรับปรุงระบบการศึกษาใหม่ ณ ขณะนั้น

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงคำนึงถึงประเทศชาติและราษฎรอยู่ตลอดเวลา ที่จะทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจโดยรอบคอบ ด้วยพลังพระวรกายกอปรด้วยพลังพระสติปัญญา ภาพที่คุ้มตาประชาชนชาวไทยมากที่สุด คือ ภาพพระจริยาวัตรอันเรียบง่ายและงดงามที่ตามเสด็จไปในถิ่นทุรกันดารพร้อมหน่วยงานแพทย์ พอ.สว. ซึ่งเป็นหน่วยแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์และสร้างความมั่นคงให้แก่องค์กรนับแต่เริ่มก่อตั้ง พ.ศ. 2512 เพื่อให้การบริการด้านการแพทย์แก่ประชาชน ปฏิบัติงานด้วยอาสาสมัครในด้านการแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครทั่วไป โดยร่วมกันทำงานเป็นหมู่คณะแบ่งแยกหน้าที่เพื่อเป้าหมายเดียวกัน คือเข้าไปให้การช่วยเหลือรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามารักษาตัวถึงในเมือง

การทำงานของมูลนิธิ พอ.สว. นี้ เป็นงานอาสาด้านสาธารณสุขต้องปฏิบัติงานแบบต่อเนื่อง แบ่งปันความรับผิดชอบร่วมกัน เป็นสถาบันอันเป็นแบบอย่างของการทำงานด้านการสาธารณกุศล เป็นแบบหมู่คณะอันนำมาซึ่งประโยชน์ทางสังคม อีกทั้งเป็นความหวังของผู้เจ็บป่วยทุกข์ทรมาน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้พิการ หรือผู้ชรา

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงให้ความสนพระทัยในด้านสุขอนามัยของชาวบ้านที่อยู่ห่างไกล ด้วยทรงเห็นว่าหากชาวบ้านต่างมีสุขาพที่ดี มีความแข็งแรงแล้ว จึงจะสามารถปฏิบัติงานและการมีอาชีพที่ดีได้

        “ขอให้เรามีสุขภาพแข็งแรงดีก่อน และจึงช่วยเหลือผู้อื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ” (จาก เก็จแก้วกัลยา, ปรีดี พิศภูมิวิถี หน้า 139)

ตลอดพระชนม์ชีพแห่งสติปัญญา ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้แก่พสกนิกรไทยในท้องถิ่นต่าง ๆ ภาพแห่งสมเด็จสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ท่ามกลางคณะอาสาสมัครประจำแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี หรือ พอ.สว. ด้วยพระจริยวัตรที่เรียบง่าย ไม่ถือพระองค์ คงยังประทับในจิตใจชาวไทยเสมอมา หน้าที่ของหน่วยแพทย์อาสาที่ปฏิบัติงานอันเป็นสาธารณกุศล นอกจากจะทรงชุบชีวิตให้ผู้เจ็บไข้พ้นจากโรคภัย ด้านทันตอนามัยก็ทรงโปรดฯ ประทานให้แก่ทุกๆ คน ในกรณีที่มีผู้ป่วยร้ายแรง ก็ทรงประทานพระอนุเคราะห์อย่างต่อเนื่องด้วยทรัพย์ส่วนพระองค์ หรือทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์

ทุกครั้งที่เสด็จออกเยี่ยมหน่วยแพทย์ พอ.สว. ในแต่ละภาคจะทรงมีปฏิสันถารกับบรรดาอาสาสมัครทั้งเก่าและใหม่ถึงความเป็นไปของการปฏิบัติงาน ปัจจุบันหน่วยแพทย์ พอ.สว. มีอยู่ 51 เขตจังหวัดจำนวนอาสาสมัครเพิ่มขึ้นทุกปี

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงมีน้ำพระทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตตาพระกรุณา หลั่งล้นสู่ชาวประชามิขาดสายทุกก้าวพระบาทที่พระองค์เสด็จไป จึงนำมาซึ่งความอบอุ่นใจ ทรงช่วยบรรเทาทุกข์ภัย อีกทั้งทรงโอบเอื้อ เพื่อให้ความผาสุกร่มเย็น จนเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนดังปรากฏอยู่เป็นอเนกปริยาย

แม้ ณ วันนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จสู่สวรรคาลัยแล้วก็ตาม แต่ความโศกเศร้าอาลัยในพระองค์ยังคงปรากฎอยู่มิเสื่อมคลาย ขอเทิดพระเกียรติคุณนี้ไว้ เหนือเกล้าฯ เหล่าพสกนิกรชาวไทย ภายใต้ร่มพระบารมี ด้วยความจงรักภักดีในพระองค์

 

        “พระผู้ทรงครองดวงใจ ไทยทุกดวง ตราบนาน เท่านาน”

โดย ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ
อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

แหล่งที่มา คมชัดลึก ประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551

 

หน้าที่ & ความรับผิดชอบต่อสภาวะโลกร้อน (Global Warming) 

  • สภาวะโลกร้อน ไม่ใช่ประเด็นปัญหาที่ไกลตัว

แต่เป็นวาระโลกที่ไทยต้องตระหนักถึงปัญหานี้ให้มากยิ่งขึ้น และต้องปรับตัวเร่งหาหนทางหยุดยั้ง มหันตภัย ทั้งหลายทั้งปวงอันเกิดจากภาวะโลกร้อนนี้ให้ได้

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโตแล้ว เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 ซึ่งดำรงสถานะเป็นประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 ที่อยู่ในกลุ่มกลไกการพัฒนาที่สะอาด สามารถเลือกเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจ โดยไม่มีข้อบังคับใดๆ เป้าหมายของพิธีสารเกียวโต คือ ต้องการให้ประเทศเหล่านี้ร่วมลงนามยินยอมลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศลง ก่อนพิธีสารเกียวโตจะหมดอายุในปี 2555 แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สหรัฐฯ และจีน ยังไม่ตระหนักถึงภาวะวิกฤติของโลกร้อนอย่างจริงจัง

จากการคาดการณ์ของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (2537) พบว่าในทุกๆ ปี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย2.5-6 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสานจะแล้งหนัก ปัจจุบันประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเพียงแค่ 2.6 ตัน/คน/ปี ถึงแม้ยังไม่เกินค่ามาตรฐานที่ได้กำหนดไว้แต่เราก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อการปลุกจิตสำนึกให้คนไทยหันมาห่วงใย ตระหนักถึงธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น แม้จะเป็นเพียงการคาดการณ์ของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยก็ตาม ผลของความเสียหายจะขยายไปบริเวณกว้างเพียงใด ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนภาคธุรกิจ ต่างต้องอาศัยความร่วมใจกันหาแนวทาง เพื่อวางมาตรการให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

  • ไม่ว่าเราจะอยู่ในภูมิภาคใดของประเทศ ทุกคนต่างก็มิอาจจะหลักหนีปัญหาจากสภาวะโลกร้อน ไปได้...

สังคมไทยมีลักษณะเป็น สังคมการบริโภคเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ แหล่งป่าไม้ แหล่งอาหาร แหล่งพลังงาน หรือแม้แต่สารประกอบต่างๆ ในดิน 

ปัญหาเหล่านี้... พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงย่วงใย โดยทรงโปรดฯ พระราชทานแนวพระราชดำริทุกขั้นตอน เพื่อจะให้สิ่งแวดล้อมกลับคืนมา... อันถือได้ว่า เป็นสิ่งที่สร้างสมดุล และเกื้อประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หากเราต่างพร้อมใจกัน ดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการป้องกันปัญหาโลกร้อนที่ใกล้ตัวเรามาทุกขณะ ได้อีก

ผลจากภาวะโลกร้อน ยังทำลายระบบนิเวศน์บริเวณชายฝั่งทะเลของเราอีกด้วย เนื่องจากไทยเรามีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,490 กิโลเมตร ซึ่งเป็นทั้งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติกับแหล่งเศรษฐกิจสำคัญๆ ของไทยมากมาย ถ้าหากอุณหภูมิในทศวรรษหน้ายังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะมีผลกระทบกันเป็นวงจร ทั้งทางด้านธุรกิจ ด้านสังคมแวดล้อม ด้านสุขภาพอนามัย ฯลฯ แม้แต่กรุงเทพมหานคร ก็ต้องเผชิญกับปัญหาอันสืบเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น อย่างยากจะหลีกเลี่ยง 
  • อนาคตของโลกนี้จะเดินไปสู่จุดไหนมนุษยชาติจะมีวิถีชีวิตกัน อย่างไร ถ้าสภาวการณ์ของสภาพดินฟ้าอากาศเลวร้ายลงไปอีก...?

สำหรับสถาบันการศึกษา ซึ่งถือเป็นองค์กรสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ ให้แก่สังคม ประเทศชาติ ควรแสดงเจตนารมณ์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ไขปัญหา สภาวะโลกร้อน โดยแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการทำภารกิจนี้ให้สำเร็จลุล่วง จึงควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในอันดับต้นๆ โดยอาศัยบทบาทและวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ ที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อ สภาวะโลกร้อน ที่จะเกิดผลร้ายแรงในอนาคต เพื่อให้ประชาชนร่วมรับรู้ เช่น

  1. จัดให้มีการสัมมนาในกลุ่มผู้บริหารสถาบันการศึกษาทุกระดับ ให้ร่วมกันจัดทำโครงการรณรงค์คืนสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อจะทำให้โลกพลิกฟื้นสู่สมดุลทางธรรมชาติ

  2. ส่งเสริมการบูรณาการศาสตร์ในสาขาวิชาต่างๆ สู่การแก้ปัญหาแบบยั่งยืน นำความรู้จากการค้นคว้าวิจัยทุกสาขา มาร่วมกันหาทางออกที่เป็นรูปธรรม นำขยายสู่สังคมโดยรวม

  3. จุดประกายให้แก่ประชาคมในสถาบันร่วมรณรงค์ สร้างสรรค์กิจกรรมและให้มีการสานต่ออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นความสำคัญของธรรมชาติที่มีต่อสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ เรียนรู้ความเป็นไปของโลก และร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต

  4. ให้มีการบรรจุหลักสูตรที่เกี่ยวกับนิเวศวิทยาทางธรรมชาติ โดยส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเรียนรู้และสร้างวิสัยทัศน์มองการณ์ไกลไปสู่อนาคต ให้เป็นผู้พิทักษ์มิใช่เพื่อตนเอง แต่เพื่อสิ่งที่มีชีวิตทุกๆ ชีวิตบนโลกใบนี้

  5. หัวใจสำคัญก็คือการสร้างสามัญสำนึก เพื่อเหตุเดียวกัน (Common Sense for Common Cause) ในที่นี้ คือ ความเชื่อมั่นในแนวทางที่จะร่วมมือกันรับผิดชอบรักษาดูแลโลก เพราะเรา คือ ผู้ที่พึ่งพาอาศัยโลก เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมชนิดอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องพึ่งพาซีงกันและกัน

สถาบันการศึกษา คือ สถาบันที่ให้บริการสังคม ในด้านการศึกษา ย่อมมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บรรดานักศึกษา นักวิจัยคณาจารย์ของทุกภาควิชาตลอดจนคณะผู้บริหาร ฯลฯ ต่างมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะรับรู้ เพื่อมีส่วนร่วมค้นหาหนทางสู่การแก้ปัญหา สภาวะโลกร้อน แสดงวิสัยทัศน์ผู้นำเป็นแบบอย่างของการวางรากฐานสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีได้ในอนาคต

ในสภาวการณ์เช่นนี้ ถ้าทุกๆ คน พร้อมที่จะผลักดันให้เกิดการปฏิบัติการในด้านต่างๆ จนเกิดเป็นรูปธรรมย่อมสามารถลดกระแสแห่งความวิตกกังวลและภาวะวิกฤตไม่ให้รุนแรงไปมากกว่านี้

มนุษย์ในฐานะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งบนโลกใบนี้ เป็นหน่วยหนึ่งของสังคมจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง...? คงได้รับคำตอบในทิศทางเดียวกัน คือ ต้องเริ่มที่ตนเองก่อน อาจต้องพึ่งพาพลังงานมนุษย์ และใช้สติสัมปชัญญะด้วยการสร้างกฎระเบียบในการดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละคน ภายใต้ข้อปฏิบัติ เช่น :

  • เริ่มที่ตนเองก่อน

  • ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการใช้งาน เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ

  • ปรับและติดตั้งตัววัดอุณหภูมิในเครื่องปรับอากาศ ให้เหมาะสม กับอุณหภูมิขณะนั้น

  • เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟแบบประหยัดแทนหลอดไฟอื่นๆ เพื่อช่วยลดคาร์บอนไดออกไซต์

  • ปลุกจิตสำนึกของสมาชิกในองค์กร ขยายสู่ชุมชน สังคม เมือง และประเทศ

  • ปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซต์ได้ดี 

  • ร่วมรณรงค์ ให้พยายามใช้พลังงานมนุษย์แทนพลังงานอื่นๆ บ้างตามความจำเป็น

 

ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ทั้งสิ้น

ปรากฎการณ์ของภาวะความเสื่อมโทรมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกเราในปัจจุบัน ก่อให้เกิดเป็นวัฏจักรที่เป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิดปรากฎการณ์ “สภาวะโลกร้อน” (Global Warming) และส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล สัญญาณเตือนภัยเหล่านี้ ปรากฎเด่นชัดขึ้น บ่อยครั้ง และในเวลาใกล้เคียงกันความแปรปรวนของภูมิอากาศ รวมถึงภัยพิบัติต่างๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้น แผ่ขยายไปทั่วภูมิภาคของโลก... ดังเช่น

  • การเกิดฤดูกาลที่ผิดปกติในหลายประเทศ

  • การเกิดหิมะตกแบบบางเบาในกรุงแบกแดด ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อน

  • การเกิดคลื่นความร้อนในทวีปยุโรป

  • การเกิดพายุเฮอร์ริเคน แคทรินา ที่ถล่มเมืองนิวออร์ลืนของสหรัฐอเมริกาจนเสียหายอย่างมหาศาล 

แม้แต่ประเทศไทยของเราเองก็เกิดผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวเช่นกัน คือ ได้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงขึ้น จนถึงขั้นเผชิญกับคลื่นยักษ์ สึนามิ ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายๆ ปี... ที่ผ่านมา

สภาวะโลกร้อน (Global Warming) คือสภาวะที่โลกในระดับเหนือพื้นผิวโลกมีอุณหภูมิที่สูงเพิ่มขึ้น โดยนับจากค่าเฉลี่ยจากช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.7 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก เนื่องจาก โลกที่เราอยู่ทุกวันนี้ ห่อหุ้มด้วยชั้นของบรรยากาศ ที่ประกอบไปด้วยก๊าซต่างๆ มีสัดส่วนตามปริมาตรตามธรรมชาติ แต่มีก๊าซประเภทที่มีปฏิกิริยากับพลังงานแสงอาทิตย์ และความร้อนที่เกิดจากโลกเพียงไม่กี่ประเภท เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ และก๊าซโอโซนต่างมีคุณสมบัติกักเก็บและส่งผ่านรังสีความร้อนที่เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์สู่ชั้นของบรรยากาศจึงเรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก หรือ Greenhouse Gas (GHG) ก๊าซนี้อาจเกิดได้ตามกระบวนการทางธรรมชาติ และจากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในโลกยุคใหม่ และการบริโภคสิ่งอำนวยความสะดวกของประชากรโลก ที่ทำให้ภาวะเรือนกระจกรุนแรงขึ้นทุกวัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหินและเชื้อเพลิงต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ปรากฎการณ์ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกสูงขึ้นอย่างน่าวิตก ปัญหาภาวะเรือนกระจกรุนแรงขึ้นทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในลำดับต้นๆ ล้วนแต่เป็นประเทศที่มีระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปรวมกัน

กระแสการตื่นกลัวในครั้งนี้ นำไปสู่การกำหนดข้อผูกพันทางกฎหมาย ที่ให้ดำเนินการตามพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการร่วมมือกันรับมือกับ สภาวะโลกร้อน อันเป็นที่มาของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลงนามกันในปี พ.ศ. 2540 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยให้นับหลังการให้สัตยาบันของรัสเซีย ซึ่งปล่อยก๊าซถึง 17% ของโลก

 

แหล่งที่มา : คมชัดลึก (19 มิถุนายน 2551) หน้า 12

 

 

  • https://aceh.lan.go.id/wp-content/giga/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/file/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/files/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/mail/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/pay/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/wp-content/giga/
  • https://rsudngimbang.lamongankab.go.id/
  • https://dasboard.lamongankab.go.id/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/plugins/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/storage/
  • https://islamedia.web.id/
  • https://fai.unuha.ac.id/disk/
  • https://fai.unuha.ac.id/post/
  • https://fai.unuha.ac.id/plugins/
  • https://fai.unuha.ac.id/draft/
  • https://fai.unuha.ac.id/giga/
  • slot gacor hari ini
  • slot pulsa
  • slot pulsa
  • nuri77
  • gemilang77
  • slot deposit pulsa
  • slot gacor hari ini
  • slot luar negeri
  • slot pulsa
  • situs toto
  • situs toto
  • toto slot
  • slot pulsa tanpa potongan
  • situs toto
  • situs toto
  • slot pulsa
  • situs toto slot
  • slot deposit pulsa
  • Situs toto macau