Brother Bancha Saenghirun Headmaster of the School

To commemorate the 70th anniversary St. Gabriel is preparing to construct a new building but this does not mean we just want to accommodate the rising number of students alone. But the first and foremost objective is to increase the quality of tutorials and expand facilities to the students.

If we look towards the 21st century and ask ourselves what are we doing now to prepare these young boys to face such future. The answer is that we must teach them to teach themselves. This means that even when they leave school they will have the skills to learn and make initiatives by themselves. 

We want to see that our boys become mature citizens which means that their thoughts and expressions are rational and constructive as well as forward looking and not near sighted.

Nevertheless, for education to succeed in moulding these youngster to become a responsible member of society the school must also teach them the practical skills which are appropriate. Every effort is being made to ensure that:-

1. Education now must utilize scientific methodology as well as technological data as heuristic aids in order to keep up with the pace of changes.

2. The school as an establishment must know how to react to the negative impact arising from external changes and pass down these skills to their students. 

Apart from the above guiding principles the school is aware of the tutor-students ratio. We want to give as much individual attention to each student as possible.

However, we cannot succeed in this goal on ourselves alone. The school is having to rely a great deal on parental support and the kind assistance of our old boys network. I, therefore, would like to express my sincere appreciation to them all.

St. Gabriel’s College has come a long way. We have struggled through past difficulties and rejoice in the successes of our students. No doubts, the future will bring more obstacles and we must be vigil and courageously face whatever new and unforeseen difficulties that come our way. But remember the saying Labour Omnia Vincit. These words and the principles that they imply will see to it that we succeed in our strive for the betterment of mankind.

แหล่งที่มา : The Made in Thailand [Vol.4 No.23, 1991] 

ภราดาบัญชา แสงหิรัญ  นัก (บวช) บริหารการศึกษาแห่งเซนต์คาเบรียล

ภราดาบัญชา แสงหิรัญ 

จะมีเด็กอายุแปดเก้าขวบสักกี่คน ที่จะสนใจศาสนาอย่างจริงจังและเริ่มเลื่อมใสมากขึ้นเป็นลำดับถึงขั้นอยากเป็นนักบวชนั้นคงจะเป็นจุดเริ่มต้นของเด็กชายบัญชา แสงหิรัญ ลูกคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 9 คนชาวแปดริ้ว ที่ต่อมาได้อุทิศกายและใจให้กับคริสตศาสนาด้วยการเป็น “นักบวช” ตลอดชีวิตและเป็น “ภราดา” มาครบ 25 ปีแล้วเมื่อปี 2533 ที่ผ่านมา

ณ วันนี้ บราเดอร์บัญชา แสงหิรัญ นอกจากจะเป็นนักบวชแล้วยังเป็นนักบริหารการศึกษาอีกด้วย ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล--โรงเรียนชื่อดังที่มีลูกศิษย์ลูกหาคนดัง ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตหน้าที่การงานอยู่ในหลายวงการ ทั้งแวดวงการเมืองและธุรกิจ 

นัก (บวช) บริหารการศึกษาแห่งเซนต์คาเบรียล

“จริงๆ แล้วเมื่อตอนเด็กๆ ก็ยังไม่ได้คิดจะเป็นนักบวชมากนัก เพียงแต่ว่าทางด้านบราเดอร์ที่สอนอยู่อัสสัมฯ ศรีราชา ที่ดูแลเณรที่จะไปเป็นบราเดอร์นี่ มาพูดอธิบายให้ฟังในทำนองชักชวนว่าใครอยากเป็น บราเดอร์บ้าง แล้วเล่าชีวิตของพวกบราเดอร์ให้ฟัง ซึ่งตอนนั้นก็ยังเป็นเด็กอยู่... เรียนอยู่ในระดับประถมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ เพียงแต่ว่า โอ.เค.ในช่วงเป็นนักเรียนก็ชอบเรียนหนังสืออยู่แล้ว พอเขาชักชวนให้ไปเรียนอยู่ที่ศรีราชา ซึ่งเป็นสถานที่อบรมคนที่จะไปเป็นบราเดอร์ด้วย ก็เลยไปเข้าเรียนในชั้นม.1

เรื่อง : น้ำมนต์ อยู่สกุล ภาพ : สืบพงษ์ สิงหสุต 

ช่วงนั้นก็ปฏิบัติตนเหมือนคนที่จะเตรียมเป็นบราเดอร์ทั่วๆ ไปด้วย แต่การตัดสินใจที่จะบวชเป็นบราเดอร์ยังไม่มี เพียงแต่ได้เห็นพวกบราเดอร์เขาสอนหนังสือ ก็อยาก...คล้ายๆ กับว่าอุปนิสัยนี่ชอบสอน ก็มานั่งคิดดู เอ๊...เราเรียนจบไป ก็ต้องไปสอนใช่มั้ย ก็เลยลองดู เพราะเราถือว่าการเป็นครูเป็นปูชนียบุคคล ก็เลยคิดว่า เราคงจะต้องไปทางด้านการเรียนการสอนแน่นอน”

นั่นเป็นประกายไฟที่ส่องทางชีวิตของบราเดอร์บัญชา แสงหิรัญ กระทั่งมาเข้าเรียนต่อที่เซนต์คาเบรียลชั้นม.7-ม.8 ในสถานะของเณร เรียนหนังสือและกินนอนอยู่ที่โรงเรียน พอถึงวันหยุดบราเดอร์วินเซนต์ซึ่งเป็นผู้ดูแลได้พาไปที่สลัมดินแดง เพื่อสอนหนังสือเด็กที่ยากจน พร้อมกับนำอาหารที่มีอยู่ไปเลี้ยง

“เราก็เลยรู้สึกชอบการกระทำอันนี้ ตั้งแต่นั้นมาก็เลยคิด... ช่วงนั้นพี่ชายก็ส่งเสริมว่า อยากไปเรียนนายร้อยจปร. มั้ย อยากให้ไปเป็นนายร้อย แต่ใจชอบทางนี้มากกว่า ก็เลยเรียนต่อจนจบม.8 จากนั้นทางคณะเซนต์คาเบรียลก็ส่งไปศึกษาความเป็นอยู่และพระวินัยของคณะฯ ที่นวกสถานประเทศอินเดียอยู่ 2 ปี เพื่อดูว่าตัวเองจะมีความสามารถถือกฎระเบียบของคณะได้มั้ย หลังจากนั้นเราเห็นว่าสามารถจะทำได้ จึงปฏิญาณตนเป็นบราเดอร์”

แต่การปฏิญาณตนครั้งนั้นถือเป็นเพียงขั้นแรกแห่งการเป็นบราเดอร์เท่านั้นยังไม่ถาวร เป็นเพียงขั้นทดลองฝึกหัดตนกระทั่งอีก 6 ปีต่อมาจึงได้ปฏิญาณตนตลอดชีวิต นับเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตก็ว่าได้

“การตัดสินใจนี่ต้องใช้เวลา ต้องใช้พลัง ต้องใช้อะไรต่างๆ มาก เพราะว่าชีวิตของเราไม่ได้อยู่กับการเรียนการสอนอยู่กับงานอย่างเดียว มันมีส่วนอื่นที่คล้ายๆ กับเป็นเครื่องให้เราคิดว่า เอ๊... เรามาเป็นบราเดอร์นี่ เรามาเพื่ออะไร คือเหมือนกับเป็นการคิดที่หนักมาก แล้วก็เป็นการตัดสินในด้วยความเป็นผู้ใหญ่แล้วมองโลกแบบผู้ใหญ่

จึงมาตัดสินใจได้ว่า ชีวิตของเราจะต้องเป็นในลักษณะนี้ คือเราจะต้องอยู่กับนักเรียน อุทิศตนให้กับนักเรียน เข้าไปพาตัวของเราเอง และพาเยาวชนไปหาองค์สัจธรรมในชีวิตของตนเองให้ได้”

บราเดอร์บัญชาจบปริญญาตรีเอกคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์จากฟิลิปปินส์ ปริญญาโททางด้านบริหารการศึกษา จากวิทยาลัยเซนต์แมรี่ แคลิฟอร์เนีย ก่อนจะมาเป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และรองอธิการมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (ABAC) กระทั้งปี 2528 ก็มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จนถึงปัจจุบันนับเป็นปีที่ 6 แล้ว “ตอนมาอยู่เซนต์ฯ ใหม่ๆ สิ่งแรกที่คิดก็คือว่า เราต้องศึกษาสถานการณ์ก่อนในเรื่องของการทำงานซึ่งเวลานานพอสมควร เพื่อศึกษาโครงสร้างและระบบของโรงเรียน แล้วดูส่วนที่เป็นหลักขององค์กรก็คือบุคคลซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากที่สุด”

สิ่งที่บราเดอร์บัญชาเริ่มต้นก็คือการวางโครงสร้างของโรงเรียน เพื่อสามารถบังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมๆ กับการจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่

 
 

 “ระบบของโรงเรียนทั้งหมดที่เราจะต้องดูแลก็คือ หนึ่ง...การบริหารบุคลากร สอง... การบริหารหลักสูตร สาม...การบริหารกิจกรรมเสริมหลักสูตร สี่... การบริหารธุรการ การเงิน และการบริหารอาคารสถานที่ซึ่งเป็นหลักๆ ที่เราจะทำอยู่...
ที่สำคัญคือบุคลากร หลักสูตร กิจกรรม แล้วถ้าถามว่าการเงินสำคัญมั้ย... สำคัญ แต่จะสำคัญย่อย เนื่องจากว่าการเงินของทางโรงเรียนนั้น ค่าเทอมต่างๆ ค่าเล่าเรียนต่างๆ ถูกควบคุมโดยกระทรวงศึกษาฯ เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ จะฟิกซ์ตายตัวทุกปี เพียงแต่ว่าเราจะใช้ซอร์สต่างๆ ที่เราได้คือหมายความว่า ทั้งตัวเงินทั้งบุคลากรทั้งอาคาร สถานที่ๆ เรามีอยู่ทั้งหมด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร”

บราเดอร์บัญชาย้ำว่า ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีบทบาทในด้านการเรียนการสอนก้าวหน้าไปได้ ถ้าผู้บริหารไม่เป็นผู้นำทางด้านการเรียนการสอนแล้ว จะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

>“ถ้าถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ผู้ปกครองอยากจะนำบุตรหลานมาเข้าโรงเรียนเซนต์ฯ กันมาก...ประการแรกภาพของโรงเรียนที่ปรากฏในสายตาประชาชนทั่วๆ ไปเป็นภาพที่ดี เนื่องจากผลิตผลที่สำเร็จออกไป ตามสายตาประชาชนจะเห็นว่า โรงเรียนเซนต์ฯ นั้นประสบความสำเร็จ ถึงแม้จะเป็นภาพที่เรียกว่ากว้างๆ เพราะว่านักเรียนเซนต์ฯที่จบออกไปนั้น ในเรื่องของนักการเมืองก็เห็นชัดอย่างในคณะรัฐมนตรีปัจจุบันก็มีรัฐมนตรีถึง 6 ท่าน...”

รัฐมนตรี 6 ท่านที่เป็นศิษย์เก่าก็มี พล.อ.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ โกศล ไกรฤกษ์ รองนายกรัฐมนตรี, กร ทัพพะรังสี รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี และอีก 3 ท่านที่คุมกระทรวงคมนาคมอยู่ตอนนี้ก็มี สมัคร สุนทรเวช ในฐานะเจ้ากระทรวง และรมช.อีก 2 ท่าน ก็คือประทวน รมยานนท์ และสุวัจน์ ลิปตพัลลภ...แถมโฆษกรัฐบาลอีกคนก็ยังไหว--ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล 

“นอกจากนักการเมืองแล้ว นักเรียนโรงเรียนเซนต์ฯที่ประสบความสำเร็จนี่ในแง่ของนักธุรกิจ เป็นอาจารย์ หรือ ในแง่ของการทำงานส่วนตัวล้วนแต่ประสบความสำเร็จเป็นส่วนมาก แต่ถ้ามองภาพให้แคบลงมา เขาต้องมองนักเรียนของเราขณะที่เดินออกไปนอกโรงเรียนมีความประพฤติอย่างไร พูดจากันอย่างไร...

ทีนี้มองแคบเข้ามาในโรงเรียนถ้าเราจะดูวิชาการกันแล้ว ทางด้านหลักสูตรนี่ เราก็บอกแล้วว่า หลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ว่าจะอยู่ที่โรงเรียนเซนต์ฯหรืออยู่ที่โรงเรียนใดก็ตามแต่ ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหลวงหรือชนบทก็ใช้หลักสูตรเดียวกัน ไม่ได้มีการแตกต่างกันเท่าไหร่

ทีนี้...ความต่างมันอยู่ตรงไหน เนื่องจากโรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนของคณะนักบวชเพราะฉะนั้นจุดอันดับแรกก็คือผู้ปกครองก็เห็นว่า ทางคณะนักบวชนี่ไม่ว่าจะเป็นคณะซิสเตอร์หรือคณะบราเดอร์นี่ ทำงานอย่างอุทิศกายและใจ เงินต่างๆ ที่เราด้ากผู้ปกครอง เราก็นำมาใช้ให้กับนักเรียนของเราเพราะฉะนั้น ในส่วนนี้เองที่ทำให้ผู้ปกครองมองเห็นในจุดนี้ เพราะผู้ปกครองจะมีความเชื่อมั่นแน่ว่า เมื่อส่งลูกเข้ามาแล้วทางคณะผู้บริหารหรือคณะครูของโรงเรียนเรานี่ จะต้องดูแลลูกของเขาอย่างเต็มที่ แล้วก็อบรมลูกของเขาให้ได้ดีขึ้นมาให้ได้ เพราะเราทุ่มเทเวลาทั้งหมดของเราที่มีอยู่

และอีกเหตุผลหนึ่งที่อาจถือเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนเซนต์คาเบรียลก็ว่าได้ก็คือ

 

“โรงเรียนของเรามุ่งทางด้านการศึกษามาตั้งแต่เริ่มต้น เพราะในอนาคต...การรู้จักภาษาไทยอย่างเดียวมันไม่พอ ถ้าเราพูดภาษาอังกฤษได้ ภาษาต่างประเทศได้ อ่านหนังสือได้กว้างขึ้น เราจะสามารถติดต่อกับคนได้มากขึ้น โอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตก็จะมีมากขึ้น เมื่อผู้ปกครองมองในจุดนี้แล้ว ก็อยากให้ลูกของตนเองเข้ามาอยู่ในโรงเรียนของ “เรา”

สิ่งสำคัญในวันข้างหน้าอีกประการที่บราเดอร์บัญชาเน้นก็คือ การเข้าเรียนตั้งแต่ชั้นป.1 จนถึง ม.3 เป็นอย่างน้อย จะสร้างความแน่นแฟ้นได้มาก เพราะเด็กเรียนร่วมกันมานาน เมื่อออกสู่สังคมก็จะสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกัน“ชีวิตที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้เป็นชีวิตที่เรียบง่าย

แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดในชีวิตก็คือ การรู้จักตน
และรู้ว่าจุดมุ่งหมายในชีวิตคืออะไร”


 

“กับคำถามว่าเป้าหมายของโรงเรียนคืออะไรนั้น...คือหลักปรัชญาของโรงเรียนเราจะบ่งไว้เลยว่า ส่วนแรกเราเชื่อมั่นว่าคนเราเกิดมาทุกคนต้องมีหลักศาสนาที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว คนไหนที่ไม่มีศาสนายึดเหนี่ยว แสดงว่าเขาไม่มีเป้าหมายในชีวิตของตัวเองเลย เพราะบราเดอร์เชื่อว่าคนเราที่เกิดมาจะต้องแสวงหาองค์สัจธรรมเราต้องรู้ว่า เราเกิดมานี่เกิดมาทำไม แล้วเกิดมาแล้วเรามาทำอะไรกัน แล้วตายแล้วเราจะไปไหนกัน ฉะนั้นเป้าหมายในชีวิต ถ้ามันจบอยู่แค่การดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้แล้วก็มันคงจะไม่มีที่ไปต่อไป เพราะฉะนั้นเราต้องมาศึกษากันดูว่า เป้าหมายของชีวิตคืออะไร เราต้องสอนให้เด็กทุกคนที่เกิดมาแล้ว ค้นพบเป้าหมายของชีวิตให้ได้

บราเดอร์บัญชาเน้นว่า หลักของศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นหลักของศาสนาใดแต่ขณะเดียวกัน 
“จะยึดศาสนาเป็นหลักอย่างเดียวก็ไม่ได้ คนเราจะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องอยู่ที่สติปัญญาด้วย จะต้องพยายามเสริมสติปัญญาเขาให้เป็นคนฉลาด เพื่อที่จะได้ใช้เป็นทางทำมาหากิน และจุดนี้เองที่ได้มีการสอนวิชาความรู้ให้กับเขา แต่ทั้งสองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน จะทิ้งอันใดอันหนึ่งนั้นไม่ได้ เพราะทั้งสองเป็นสิ่งสำคัญ...การอบรมในลักษณะอย่างนี้ทำได้ยากมาก ในขณะที่มันเป็นสิ่งสำคัญมากด้วย”

6 ปีที่เซนต์คาเบรียลโดยการบริหารของบราเดอร์บัญชา ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนนั้น บราเดอร์บัญชาบอกว่า 

“ที่ทำมากที่สุดก็คือการจัดองค์กรให้เข้าสู่ระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน เรื่องของการประสานงาน หรือเรื่องของการบังคับบัญชา เรื่องการวางโครงการวางแผนของโรงเรียนทั้งหมด และทำงานตามแผน ซึ่งมีการเขียนโครงการล่วงหน้า ส่วนนี้ได้พยายามทำอย่างมากที่สุดเลย แล้วคิดว่ามันอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควร พร้อมกับที่เราพยายามสร้างเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนเองว่า ขั้นต่ำจะต้องอยู่ขีดไหนเมื่อเรารู้ว่า ขั้นต่ำจะต้องทำขนาดไหนแล้ว เราก็ทำงานพัฒนาให้มันสูงขึ้นไป

เกณฑ์ของเรามีอยู่สองอย่างคือ เกณฑ์ทางด้านบริหาร กับเกณฑ์ทางด้านวิชาการ แล้วคิดว่ากำลังเดินอยู่ในเส้นทางที่วางไว้นั้น อีกอย่างที่บราเดอร์ทำมากที่สุดก็คือว่า พยายามทำให้บุคลากรเข้ามามีส่วนในการบริหาร โดยที่เราไม่ได้ทำงานคนเดียว และในส่วนนี้คิดว่าประสบความสำเร็จ เนื่องจากว่าการทำงานนั้นได้ให้บุคลากรเข้ามามีส่วนในการบริหาร เพราะฉะนั้นการตัดสินใจหลาย ๆ อย่างใช้คณะกรรมการตลอด ให้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ”

แต่อะไรที่จะเป็นสิ่งบ่งชี้ความสำเร็จทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนนั้นก็ได้รับคำตอบว่า

“สำหรับโรงเรียนเซนต์ฯ ถ้าจะมองความสำเร็จ เราก็ดูที่หลาย ๆ อย่าง หนึ่ง..เราก็ดูจากความสำเร็จทางด้านวิชาการเราเอาอะไรเป็นเครื่องวัด การวัดนั้นจะดูที่เด็กเก่งอย่างเดียวไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันก็วัดได้พอสมควรมั้ย เราดูเด็กของเราเมื่อออกไปแล้ว ถ้าจะดูทางด้านผลของการสอบเข้าเราก็มีผลพอที่จะคุยกับชาวบ้านเขาได้ แล้วก็ไปเช็คดูได้ เด็กที่สำเร็จจากโรงเรียนของเรานั้น สอบเข้าแพทย์ สอบเข้าวิศวะ อะไรต่าง ๆ เด็กของเราก็ประสบความสำเร็จพอสมควร

จะดูทางด้านเด็กของเราที่จบและเข้าสังคมไปแล้ว เราก็ดูผลผลิตของตัวเราเองคนที่ประสบความสำเร็จ เห็นชัดๆ ที่เป็นนักการเมืองก็มี ที่เป็นนักธุรกิจก็มี ที่เป็นนักวิชาการก็มี แต่จะถามว่าอัตราส่วนสักเท่าไหร่นั้น ก็ต้องดูจากที่ใจของเรา สิ่งที่เรามองเห็นที่มันวัดไม่ได้ก็คือ ทางด้านการอบรมสั่งสอนเด็ก ทางด้านการดัดแปลงนิสัยความประพฤติของตัวนักเรียน ตัวสิ่งนี้นี่แหละที่ทำให้เห็นว่า ถ้านักเรียนคนใดคนหนึ่งเข้ามาเรียนในโรงเรียนแล้ว ถึงแม้ว่าเขาจะมีความรู้ไม่ค่อยดีเท่าไหร แต่เขาสามาถรเอาความรู้เท่าที่ได้ไปดำรงตนอย่างมีความสุขในสังคมได้แล้ว เราก็ถือว่านั่นคือความสำเร็จของเขา”
ปัญหาของโรงเรียนเอกชนที่มีเสียงเรียกร้องกันอยู่มากในขณะนี้เห็นจะเป็นเรื่องค่าเทอม ที่กระทรวงศึกษาฯ ควบคุมอยู่ไม่ให้มีการเก็บเพิ่ม ก็ไม่เว้นแม้แต่เซนต์คาเบรียล

“คือไม่ใช่เฉพาะตัวของบราเดอร์เองที่เป็นคนพูดว่า ค่าเทอมไม่พอ แม้กระทั่งทางคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติยังได้ทำการวิจัยออกมาแล้ว และได้มองเห็นว่าส่วนใหญ่นั้นไม่พอ... เมื่อมองค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนรัฐบาลก็จะเห็นแล้วว่า ค่าใช้จ่ายต่อหัวนั้นมันสูงกว่าค่าเทอมที่เราได้มา เมื่อของโรงเรียนรัฐบาลได้สูงกว่าแต่โรงเรียนเอกชนได้น้อยกว่า ในการบริหารงานทางด้านของประสิทธิภาพย่อมได้น้อยกว่า การที่จะมาส่งเสริมให้เด็กเรียนได้ดีย่อมไม่มี การบริหารงานย่อมเป็นไปได้ยาก ถ้าเทียบกับโรงเรียนของรัฐบาลนั้น ค่าใช้จ่ายในเรื่องของที่ดินในเรื่องของการลงทุนนั้น...ไม่มี เนื่องจากที่ดินมีอยู่แล้ว และงบประมาณก็แยกต่างหากอยู่แล้ว”

ส่วนความเห็นที่ว่ารัฐบาลควรมีนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาของโรงเรียนเอกชนอย่างไรนั้นบราเดอร์บัญชาบอกว่า

“นโยบายของรัฐบาลต้องชัดเจนเพื่อที่ว่าคนที่ลงทุนนั้นควรจะลงต่อไปมั้ย หรือว่า...ควรจะต้องหยุดการลงทุนดีมั้ย ตรงจุดนี้สำคัญมาก... เพราะการลงทุนการด้านการศึกษานั้น เป็นการลงทุนที่การตอบแทนไม่ค่อยมีมากเท่าไหร่ไม่เหมือนกับวงการธุรกิจ ดังนั้นจึงควรจะต้องมีการส่งเสริมกันพอสมควร”

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เด็กที่จะสอบเข้าเซนต์คาเบรียลนั้นต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างมาก เพราะจำนวนผู้สมัครนับพันนับหมื่นคน ขณะที่โรงเรียนรับได้เพียง 400 คนในแต่ละปี จึงเกิดคำว่า ‘แป๊ะเจี๊ยะ’ หรือเงินกินเปล่า 

“เราจะไม่เรียกว่าเป็นเงินแป๊ะเจี๊ยะเพราะคำว่าเงินแป๊ะเจี๊ยะก็หมายความว่า เราเอาเงินนั้นเป็นการบีบบังคับผู้ปกครองให้ชำระกับทางโรงเรียน แต่ของโรงเรียนเรา เราจะไม่มีการบังคับผู้ปกครอง แต่เราขอให้ผู้ปกครองนั้นช่วยเพราะถือว่าผู้ปกครองที่นำลูกเข้ามาในโรงเรียนนี้ มีส่วนที่จะต้องรับผิดชอบในการศึกษาของบุตรของตัวเอง ถ้าผู้ปกครองอยากให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดีแล้ว สมควรที่จะต้องช่วยโรงเรียน เพื่อที่โรงเรียนจะได้นำเงินนั้นไปพัฒนาการศึกษาของลูก เพราะเงินที่เราได้มานั้นผู้ปกครองก็ให้ด้วยความเต็มใจ...และลูกจะต้องอยู่ในโรงเรียนก่อนแล้ว ถึงจะให้เงินกับทางโรงเรียนด้วยความเต็มใจและยินดี”

สำหรับ “โรงเรียนที่ดีที่สุด” ในสายตาของบราเดอร์บัญชานั้น...

“จะต้องดูเป้าหมายของโรงเรียนของเขาว่า ทำไปเพื่ออะไร แล้วเขาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้น ถ้าเขาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่เขาวางไว้ แสดงว่าใช้ได้...

ภราดาบัญชา แสงหิรัญ
(ต่อจากหน้า 116) 

นอกจากนี้ผู้บริหารและครูต้องมีคอมมิทเมนท์ไปสู่ความเป็นเลิศในด้านวิชาการ โรงเรียนต้องจัดทำโครงการต่างๆ สนองต่อความต้องการของนักเรียน เพราะเราถือว่าเป้าหมายหลักคือ...ตัวนักเรียนและจบออกไปแล้วเขาได้อะไร...ทางโรงเรียนจะต้องมีความสามารถสอนเด็กของตนเองให้เป็นคนที่อยากรู้อยากเห็นให้เป็นคนที่อยากค้นพบอะไรใหม่ๆ ด้วยตัวของเขาเอง ถ้าเขาไม่มีเลยในส่วนนี้...จะไม่ดี
ที่สำคัญโรงเรียนจะทิ้งในส่วนของระเบียบวินัย ความมีจริยธรรม ศีลธรรมในตัวของเด็กไม่ได้เลย เด็กบางคนเก่ง... แต่ไม่มีความเป็นระเบียบวินัย ไม่มีคุณธรรมสังคมจะเกิดปัญหา เพราะเขาจะใช้ความเก่งของเขา ความฉลาดของเขาไปโกงชาวบ้าน เพราะฉะนั้น... เราต้องสร้างความมีระเบียบวินัย ถ้าโรงเรียนสามารถทำในส่วนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้ นับว่าเป็นโรงเรียนที่เลิศ”
คราวนี้มามองดูโลกส่วนตัวของนักบริหารที่เป็นนักบวช ซึ่งต้องสละตัวเองให้แก่พระเป็นเจ้า ไม่มีครอบครัวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ...และไม่มีทรัพย์สมบัติเป็นของส่วนตัว ไม่ยึดมั่นถือมั่น สิ่งที่เป็นของตัวเองจะมีก็แต่เพียงเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่เท่านั้น.

“ถ้าถามว่านึกเสียดายมั๊ยที่ไม่มีชีวิตครอบครัวเหมือนคนทั่ว ๆ ไป ไม่นึกเสียดาย แต่อาจจะเป็น...บางช่วงของชีวิตที่มองเห็นเพื่อนฝูงหรือคนที่อยู่รอบข้างเรา เขามีความสุขดี เราอยู่อย่างนี้ทำแต่งาน เพื่อนฝูงเราก็ไม่ค่อยจะมี ก็มาคิดๆ เหมือนกัน...มีอยู่บ้าง ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ว่า ใครๆ ก็ต้องมีลักษณะอย่างนั้น เพราะคนในโลกปกติก็อาจจะมองว่า...เอ๊ะ เขาแต่งงานกันแล้วนะ เราทำไมยังไม่ได้แต่ง

แต่เมื่อเราคิดว่า เรามาบวชแล้วมีเป้าหมายอย่างนี้แล้ว เราก็ต้องสละสิ่งนี้ไป คนเรานั้นจะเอาทุกอย่างในโลกนี้เป็นไปไม่ได้ ได้อะไรมาอย่างก็ต้องเสียอะไรบางอย่าง มันขึ้นอยู่กับตัวเราว่า เราจะเลือกอย่างไร” ในแต่ละวันบราเดอร์บัญชาจะตื่นนอนราวตี 5 เพื่อสวดภาวนาซึ่งเป็นการทำกิจวัตรทางด้านของการเป็นนักบวชจนถึง 6.30 น. จึงทานอาหารเช้าแล้วจะเข้าที่ทำงานราว 7 โมง ซึ่งนอกจากจะต้องทำหน้าที่บริหารงานแล้ว ยังสอนนักเรียนชั้นมัธยมปลายอีกด้วย วิชาที่สอนก็คือภาษาอังกฤษ
“ช่วงเย็นก็ออกกำลังกายวิ่งนิดๆ หน่อยๆ บ้าง หรือไม่ก็เล่นเทนนิส พอว่างก็อ่านหนังสือทางด้านโซซิโอโลจี้ หรือบุคคลสำคัญอย่างมหาตมคานธี หรือไอน์สไตน์”
ส่วนปรัชญาการดำเนินชีวิตของบราเดอร์บัญชาก็คือ
“จะทำอะไรก็แล้วแต่ ทำให้ดีที่สุดแล้วพยายามดูเป้าหมายอยู่เสมอ... ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายของการเป็นนักบวช เป้าหมายของการบริหารงาน หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งถ้าเผื่อเราดูอยู่เสมออย่างนี้ เราจะไม่ผิดพลาด ต้องมองดูตัวเองอยู่เสมอ”
“ชีวิตที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้เป็นชีวิตที่เรียบง่าย แต่ส่วนสำคัญที่สุดในชีวิตก็คือ การรู้จักตน และรู้ว่าจุดมุ่งหมายในชีวิตมีอะไร ความสุขที่ได้รับก็ต่อเมื่อสามารถทำให้ผู้อื่นมีความสุข และจะรู้สึกไม่สบายใจเมื่อทำให้ผู้อื่นเกิดทุกข์ ความภูมิใจของตนเองมิใช่อยู่ที่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่อยู่ที่สามารถเอาชนะตนเองได้”
และนี่คือบางแง่มุมของนักบริหารการศึกษาผู้ดำรงตนเป็นนักบวช –ภารดาบัญชา แสงหิรัญ แห่งเซนต์คาเบรียล.

กว่าจะถึงวันนี้... ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ : ABAC and the new tasks of the President

กว่า 4 ทศวรรษ ที่ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญได้ทุ่มเทอุทิศแรงกาย แรงใจอย่างเต็มสติปัญญาและความสามารถในการปฏิบัติภารกิจในฐานะนักบวชของคณะเซนต์คาเบรียล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของการเป็นนักศึกษาและนักพัฒนาของท่าน ทำให้เราประจักษ์ในความรู้ความสามารถ ตลอดจนวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านการพัฒนาระบบการศึกษาของสถาบันต่างๆ ในเครือคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยในส่วนที่ท่านรับผิดชอบอยู่ และวันนี้สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีความยินดีและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับภาระหน้าที่ใหม่ที่สำคัญยิ่งของท่าน ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ...

สืบสาน ABAC สู่ความเป็นสากล World Class University…

“งานโดยส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานที่ต่อเนื่องจากท่านอธิการบดีคนเก่าคือ ภราดา ดร.ประทีป ม.โกมลมาศ ซึ่งตอนนี้สภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งอธิการบดีกิตติคุณ คือเราต้องพยายามทำให้มหาวิทยาลัยของเราไปสู่ระดับมาตรฐานสากล หากถามว่าตรงนี้สำเร็จครบถ้วนเมื่อไหร่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งในการปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยจะค่อยเป็นค่อยไปตามวิถีทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย รวมถึงหลักปรัชญาของคระเซนต์คาเบรียลด้วย ปัจจุบันมีนักศึกษาทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศเข้ามาศึกษาต่อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการเป็น World Class University จึงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม และในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยก็สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในสาขาวิชาต่างๆ ได้ทุกปี โดยเฉพาะในปี 2002 นี้ สามารถเข้าศึกษาต่อ MBA ที่ HARVARD University ได้ถึง 2 คน และ MBA ที่ MIT ได้อีก 1 คน นั่นย่อมเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยว่าได้เข้าสู่ระดับ World Class แล้วนอกจากนี้บัณฑิตของเรายังสามารถเข้าทำงานในบริษัทข้ามชาติ (multinational corporations) ได้เป็นจำนวนมาก สิ่งที่เราให้ความสำคัญคือการมีอาจารย์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอนและการวิจัย สองอย่างนี้เป็นของคู่กันต้องไปด้วยกัน ในเมื่อเรามีอาจารย์ที่มีมาตรฐาน มีการเรียนการสอนที่ดีแล้วก็ต้องมีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยด้วย เราจะอยู่อย่างแออัดเหมือนสมัยก่อนไม่ได้ เราจึงต้องสานต่องานของท่านอธิการบดีคนเก่า โดยมุ่งมั่นให้วิทยาเขตบางนานี้เสร็จสมบูรณ์ให้ได้ ขณะนี้ได้ก่อสร้างไปแล้วประมาณ 40 % ต้องทำส่วนที่เหลือให้เสร็จสมบูรณ์ แต่ก่อนนักศึกษาอยู่ที่วิทยาเขตหัวหมากประมาณ 18,000 กว่าคนในที่ 16 ไร่ มันแออัด ถ้าเรามีพื้นที่บริเวณและสิ่งแวดล้อมที่ดี มีบรรยากาศดี นักศึกษาของเราจะเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ”

สร้างสรรค์บัณฑิต...ให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม

“เรามีจุดเด่นตรงที่เราใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารและภาษาธุรกิจ หลักสูตรของเรามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น มีเนื้อหาของการบริหารจัดการเป็นพื้นฐานในทุกโปรแกรม พูดง่ายๆว่าเด็กของเราที่จบไปเราจะต้องให้เขาไปเป็นผู้ประกอบการไม่ใช่ให้แต่ทฤษฎีอย่างเดียว ต้องมีภาคปฏิบัติให้กับเด็กด้วย เรามีการจัดการเรียนการสอนด้านจริยธรรมวิชาชีพ (Professional Ethics and Service Learning) เพื่อสร้างนักศึกษาให้เป็นคนที่มีคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ หากถามว่าที่อื่นมีหลักสูตรอย่างนี้หรือเปล่า ตอบได้ว่ามี แต่สิ่งที่คนอื่นไม่มีคือ เราเป็นมหาวิทยาลัยคาทอลิก คำว่า คาทอลิก ไม่ได้อยู่ทีชื่ออย่างเดียว เรามีผู้บริหารเป็นนักบวช ดังนั้นในบริบทของมหาวิทยาลัยคาทอลิกที่มีผู้บริหารเป็นนักบวชจึงต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในด้านศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการให้การศึกษาอบรมแกนักศึกษา และในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในภาพรวมด้วย มหาวิทยาลัยอื่นก็มีหลักสูตรนานาชาติ ตึกอาคารเรียนใหญ่ มีนักศึกษาต่างชาติเหมือนกัน แต่คุณค่า (Value) ทางด้านการเรียนการสอน การสื่อสาร ความสัมพันธ์ต่อกัน มันเป็นคุณค่าทางศาสนาที่เรายึดถือปฏิบัติติดต่อกัน นั่นคือ ศาสนาคริสต์สอนเรื่องความรัก ความเมตตา การรู้จักเสียสละ การรู้จักรับใช้เพื่อนคนอื่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราต้องพยายามปลูกฝังตัวของนักศึกษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนการสอนอย่างเดียว แต่จะเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรทุกคน ไม่เกิดเฉพาะในห้องเรียนอย่างเดียว แต่เกิดในทุกขณะและเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในมหาวิทยาลัย”

ABAC สอนให้นักศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดชีวิต...

“เด็กจะบอกว่า ABAC เรียนยาก เรียนหนัก ทำให้ไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยเลยอาจจะยากอยู่ตรงที่ภาษา เพราะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง แต่เฉพาะในช่วงแรกเท่านั้นเองที่จะต้องปรับตัว สิ่งที่บราเดอร์เห็นคือ นักศึกษาส่วนใหญ่มีเวลาว่างค่อนข้างมากแต่ไม่รู้จะทำอะไร บางทีเห็นนักศึกษาบางคนนั่งว่างอยู่ไม่ได้ทำอะไร บางคนก็คุยโทรศัพท์บ้าง ซึ่งไม่ได้อยู่ที่เขาไม่มีเวลา แต่ไม่รู้จักจะบริหารเวลาของตัวเองมากกว่า ไม่รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เขาลืมไปว่า “time is money” หรือเขายังไม่ซาบซึ้งในคำกล่าวที่ว่า “time and tide wait for no man” ตรงนี้เป็นจุดที่สำคัญ ถ้าเขาตระหนักในสิ่งเหล่านี้ เขาจะต้องศึกษาและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาตนเอง ความสามัคคีไม่ได้เกิดจากการทำกิจกรรมอย่างเดียว เกิดจากหลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกปลูกฝังในตัวของนักศึกษา แน่นอนกิจกรรมเป็นสิ่งหนึ่งที่มาช่วยสอน ต้องถามตัวเองก่อนว่าเรามาทำอะไรในแต่ละวัน ถ้าเพื่อนั่งฟังอาจารย์สอนแล้วก็กลับบ้าน มันก็ไม่เกิดประโยชน์เหมือนกับการเรียนของเขายังอยู่ในระดับมัธยม ตรงนี้

เคยมีใครคิดที่จะทำ เวลานี้ท่านให้หันมาดูภูมิปัญญาชาวบ้าน ท่านยังบอกเลยว่าแปลเป็นภาษาอังกฤษผิดไม่ใช่คำว่า local wisdom ใช้คำสูงไป อาจจะใช้คำว่า local knowledge มากกว่า ทำไมเราต้องนึกว่าชาวอเมริกัน ชาวยุโรปต้องมาสอน ในแง่ของการใช้ภาษา คนไทยอาจจะมีความรู้พอๆ กับคนอเมริกันหรืออาจจะดีกว่า เพราะในแง่ของความรู้ความสามารถนั้นสอนกันได้ แต่ถ้าพูดถึงสำเนียงเราสามารถเรียนรู้จากนอกห้องได้ด้วยการดูข่าวต่างประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CNN, CNBC, BBC แน่นอนว่าในการที่จะมาเป็นอาจารย์ได้ต้องมีการคัดเลือกว่าสำเนียงเขามาจากระดับนานาชาติหรือเปล่า ไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่งเท่านั้น อย่างตอนนี้ถ้าเราเปิดดู CNN หรือ BBC เราก็จะเห็นนักข่าวหลายคนเป็นชาวเอเชีย ซึ่งเขาสามารถสื่อสารออกมาได้ดี เพราะฉะนั้น ตรงนี้เราอย่าไปทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แต่เราต้องหันไปสร้างมาตรฐานในเรื่องระดับการศึกษาของมหาวิทยาลัยเราให้ได้ และธำรงความเป็นชุมชนนานาชาติเพื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตลอดไป”เขาต้องปรับเปลี่ยนวิถีของเขาให้ได้ เปลี่ยนจากระดับที่เป็นนักเรียน ซึ่งเรียนรู้จากอาจารย์อย่างเดียวมาเป็นนักศึกษาชื่อก็บอกอยู่แล้วต้องเป็นคนที่รู้จักศึกษาค้นคว้าแล้วรู้จักเรียนรู้ตัวเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การเรียนมีหลายแบบ ครูที่ดีต้องสอนให้เด็กยืนบนขาตัวเองให้ได้ ครูเป็นเพียงผู้บริหารจัดการ บั้นปลายแล้วนักเรียน นักศึกษาต้องสามารถเรียนรู้ ค้นคว้าหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เมื่อเขาต้องประสบ เพราะชีวิตในอนาคตไม่มีอาจารย์อยู่ด้วย ตัวเขาเองต้องเป็นคนสอนตัวเอง ต้องขัดเกลานิสัยตัวเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวของกิจกรรมโดยเฉพาะ หลายคนเข้าไปทำกิจกรรมอาจจะทะเลาะกันก็ได้ ความหมายของกิจกรรมในตัวของมันเองนั้นไม่ได้ขัดเกลาคนเสมอไป แต่มันอาจจะทำไหในทางไม่ดีก็ได้ แต่ถ้าเรามีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลานำความรู้มารวมเข้ากับการปฏิบัติ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เรียนรู้มากขึ้น นำสิ่งที่เรียนรู้มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพยายามปฏิบัติเหมือนอย่างสมัยก่อน เมื่อเราเป็นเด็กเรามักจะไม่อยากแปรงฟัน แปรงฟันแล้วมันเจ็บ แปรงแล้วถูกับเหงือก แต่อีกหน่อยพอรู้ว่าการแปรงฟันเป็นสิ่งสำคัญต้องทำให้ได้ ต้องฝึกหัดจนกระทั่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เราต้องทำให้ติดเป็นนิสัย”

ABAC…สอนให้รู้ถึงการเรียนการสอนแบบนานาชาติ

“หลายคนมีคำถามว่า ทำไม ABAC ถึงไม่ใช้อาจารย์เป็นฝรั่งหมด เราต้องมองก่อนว่าการสอนแบบนานาชาติหมายความว่าอย่างไร อาจารย์ที่เข้ามาสอนต้องมีการคัดเลือก โดยเน้นว่าต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่จะสอนจริงๆ ด้วยพิจารณาจากวุฒิปริญญา หลักฐาน หลักฐานการศึกษา และสถาบันที่สำเร็จการศึกษา และมีความสามารถในการใช้ภาษอังกฤษสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นฝรั่งเสมอไป เพราะในชีวิตจริงเมื่อสำเร็จการศึกษาไปเราจะต้องสัมผัสและมีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายชาติหลายภาษาและวัฒนธรรม ดังนั้น เราจึงเลือกอาจารย์จากหลายชาติมาทำงานร่วมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติสิ่งนี้จึงทำให้ ABAC เป็นบรรยากาศของสังคมนานาชาติ (International Society) ที่มีนักศึกษา อาจารย์กว่า 57 ประเทศมาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เราอย่าไปแบ่งแยกว่าอาจารย์มาจากชาติไหน เคยมีสมัยหนึ่งที่คนไทยเรียกว่าบ้าฝรั่ง เราเรียกคนผิวขาวว่าฝรั่ง แล้วเราพยายามพูดถึงฝรั่งว่าเป็นคนยุโรปและยึดมั่นว่า อะไรก็ตามที่เป็นฝรั่งดี แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ของยุโรป แต่ในยุคใหม่เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ถามว่าของที่เราไปซื้อที่ยุโรปเป็นของอะไร ส่วนใหญ่ก็จะ made In China อย่างคอมพิวเตอร์เมื่อเปิดดูชิ้นส่วนข้างในหลายๆ ชิ้นบางชิ้นทำในเกาหลีหรือทำในไทยบ้าง เราไม่สามารถรู้ได้ ทัศนคติเกี่ยวกับฝรั่งว่าดีนั้นฝังอยู่ในตัวของเรา อย่างเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา ในหลวงท่านทรงตรัสว่าหมากลางถนนของเราทำไมไม่เอามาเลี้ยง พาไปฝึกให้เก่งทั้งๆ ที่น่าจะทำได้ แต่ไม่

ABAC…มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีที่เอื้อต่อระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

“คณะแรกที่เราเปิดคือ คณะบริหารธุรกิจ ต่อมาเราก็พยายามดูที่พื้นฐานของทุกอย่างว่ามาจากศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทุกสาขาวิชา มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการที่จะทำให้คนเป็นคนต้องอาศัยวิชาเหล่านี้ไปช่วย ไม่ใช่คนเราเกิดมาเพื่อมีอาชีพอย่างเดียว หลายคนคิดว่าเรียนหนังสือเพื่อไปใช้หากิน ทำไมถึงต้องมาเรียนวิชาเหล่านี้ เราต้องสามารถสร้างคนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เราต้องดูประเทศชาติว่าประเทศชาติต้องการอะไร โลกนี้ต้องการอะไร แล้วประชาชนของเราต้องการอะไร เราได้จัดการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจมาระยะหนึ่ง และได้เห็นแนวโน้มความต้องการของประเทศในด้านเทคโนโลยีมากขึ้นมหาวิทยาลัยจึงได้เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจขึ้นในปี 2522 ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย นับแต่นั้นเป็นต้นมา มหาวิทยาลัยก็ได้ทุมเททรัพยากรในการพัฒนาเทคโนโลยีมาก เพราะฉะนั้นเราจึงได้เตรียมความพร้อมทางด้านการสร้างเทคโนโลยี เรากำลังสร้างตึก IT ที่วิทยาเขตบางนา เราสร้างเพราะเราต้องการส่งเสริมทางด้าน IT มหาวิทยาลัยของเราเป็นสมาชิก (founding member) ของ Internet society แห่งเดียวในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เราพยายามสร้างทางด้านนี้เพราะมันเป็นหนทางไปสู่ชีวิตที่มีความสุขในการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางไม่มีวันสิ้นสุด อย่างเช่น Internet เพื่อให้นักศึกษาหาองค์ความรู้ประกอบการเรียนและบันเทิง อันเป็นการสันทนาการ แต่ต้องใช้ให้ถูกทางเพราะประโยชน์และโทษของ Internet อยู่ที่ผู้ใช้

ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยดูพื้นฐานของเรา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพื้นฐานทางธุรกิจ เพราะในโลกโลกาภิวัฒน์ เราใช้ภาษาไทยอย่างเดียวคนอื่นที่เป็นชาวต่างชาติก็จะไม่เข้าใจ เราต้องมีการเรียนรู้ภาษาอื่นเพื่อมาใช้เป็นตัวสื่อสารทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน หรือภาษาฝรั่งเศส เพราะฉะนั้นนักศึกษาที่มาเรียนกับเราสามารถอยู่ในโลกธุรกิจได้ ในขณะเดียวกันความรู้ทางด้านธุรกิจ ด้านการจัดการ และความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เพื่อนักศึกษาหรือบัณฑิตของเราจะได้อยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีความสุข”

ABAC… สร้างเพื่อน สร้างสังคม สร้างธุรกิจ     

“การมี network ที่ดีสำคัญอย่างยิ่ง พูดถึงคำว่า network หมายถึง องค์กรต่อองค์กร นักศึกษาต่อนักศึกษา network ทั้งระดับแนวนอนและแนวตั้ง ดูอย่าง Internet ก็เป็น network อย่างหนึ่ง เราขาดองค์ความรู้เราก็เปิดหาความรู้จาก Internet ดึงมาใช้ประโยชน์ได้ มีเรื่องเล่าว่ามีคนอยู่คนหนึ่งเป็นโรคหนึ่งรักษามาเป็นสิบปีก็ไม่หาย เขาก็ Post ขึ้น Internet แล้วมีหมอท่านหนึ่งอ่านเจอจึงแนะนำวิธีรักษา ปรากฏว่าสามารถรักษาโรคหายได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา เรื่องของการทำงานหรือ relationship ต่างๆ ยุคใหม่นี้ต้องอาศัย networking ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการที่เรารู้จักคนหลายๆ คน จะช่วยเปิดโลกทัศน์เปิดมุมมองในการติดต่อสื่อสารในการทำธุรกิจ ไปจนถึงการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งมีศิษย์เก่าและผู้ปกครองจำนวนมากเห็นว่าการที่ได้มา

ศึกษาเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญนั้นเป็นโอกาสให้เขาหรือบุตรหลานของเขาได้มีโอกาสพบเพื่อนอันจะเป็น network ในทางธุรกิจต่อไปในอนาคต”

ต้องเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ต้องก้าวหน้าอย่างมีจริยธรรม สิ่งเหล่านี้จะนำพาเราสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน...

“การที่เราจะประสบความสำเร็จในชีวิตต้องมี 3 สิ่งนี้คือ 1. ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าอาจารย์สอนจบในห้องก็เลิก เราเรียนจบปริญญาตรีเราก็เลิกที่จะเรียนรู้ แต่จริงๆ ไม่ใช่ คนเราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา แม้กระทั่งจบไปแล้วก็ต้องเรียนรู้ตลอด ต้องหาหนังสืออ่านเพราะว่า เราจะต้องแก้ไขปัญหาตลอด 2. ต้องรู้จักปรับเปลี่ยน ต้องทันต่อเหตุการณ์ของโลก โลกมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่เปลี่ยนเราก็จะเหมือนกับช้าง ตอนนี้ไดโนเสาร์มันตายไปแล้ว ช้างกำลังจะเริ่มตายแล้ว เพราะมันเริ่มหาที่อยู่ไม่ได้ ไม่มีอะไรให้กิน จึงต้องมาเดินตามถนนอย่างนี้ ทุกคนต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้ทันต่อเหตุการณ์ของโลกให้ได้ถ้าไม่ทันก็จะกลายเป็นผู้แพ้ส่วนใหญ่ถ้าเรามีเทคโนโลยี แล้วเราไม่รู้เราก็จะไปไมทัน 3.จะต้องเป็นคนที่มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมในตัวเอง ไม่งั้นโลกจะยุ่งเหยิงไปหมด 3 สิ่งนี้เป็นส่วนที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีคุณธรรม ไม่อย่างนั้นแล้วศาสนาต่างๆ ก็ไม่มีประโยชน์ มนุษย์เราอยู่ด้วยกันต้องรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด ต้องรู้จักเลือก ต้องรู้จักเสียสละ เราอยู่ในสังคมต้องพึ่งพากัน รักกัน เราต้องเป็นคนเก่งด้วย ดีด้วยและต้องมีสุขด้วย เก่งเพื่ออยู่ให้รอดทันโลกทันเหตุการณ์ ดีด้วยคุณธรรมประจำใจ ความสุขก็จะสถิตอยู่กับเราชั่วนิรันดร์” 

ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ
อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ประวัติการศึกษา :

พ.ศ. 2540

  • Post Doctoral Studies in Higher Education Management Programme ณ Universities of Warwick and Oxford ประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2538

  •  ปริญญาเอก (การบริหารการศึกษา) ณ Linois University ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2524 

  • ปริญญาโท (การบริหารโรงเรียน) ณ St.Mary’s College of California ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2514 - 2517

  • ปริญญาตรี (Malthematics) ณ Saint Louis University ประเทศฟิลิปปินส์

ประสบการณ์การทำงาน :

1 พ.ย. 2545          

  • ปัจจุบัน อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

พ.ศ. 2537

  • ปัจจุบันรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

พ.ศ. 2544

  • ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

  • ปัจจุบันที่ปรึกษาสภาวิทยาลัยเมืองหาดใหญ่

พ.ศ. 2543

  • ปัจจุบัน อุปนายกสภาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

พ.ศ. 2541

  • ปัจจุบัน รักษาการคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

พ.ศ. 2517

  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

พ.ศ. 2534 - 2537

  • รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

พ.ศ. 2528 - 2533

  • ผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล

พ.ศ. 2522 - 2526

  • ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญสำโรง

พ.ศ. 2521 - 2527

  • รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ

พ.ศ.2517 - 2520

  • อธิการโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

พ.ศ. 2510 - 2513

  • ครูสอนประจำ โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง

สมาชิกสมาคมวิชาชีพ :

พ.ศ.2543 - ปัจจุบัน

  •  นายกสมาคมเกียรตินิยมการศึกษาแห่งประเทศไทย (PDK)

พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน

  •  กรรมการคณะกรรมการบริหารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2544

  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการฝ่ายวิชาการของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

  • รองประธานคณะกรรมการฝ่ายมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษาของสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

  • กรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)

  • คณะทำงานเตรียมการจัดการประชุมทางวิชาการของสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำประเทศไทย (สออ.ประเทศไทย)

 

พ.ศ.2540 - 2544

  • ประธานคณะกรรมการฝ่ายวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

  • ผู้แทนสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในคณะทำงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย

  • ผู้แทนสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะทำงานแนวทางความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำประเทศไทย (สออ.ประเทศไทย)

พ.ศ. 2527 - 2542

  • ผู้แทนสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ทบวงมหาวิทยาลัย)

  • กรรมการคณะกรรมการบริหารสมาคมเกียรตินิยมการศึกษาแห่งประเทศไทย (PDK)

For over 40 years, Reverend Brother Dr. Bancha Saenghiran has dedicated his physical strength and mental powers to fulfilling his duties as a Brother of the St. Gabriel’s Foundation of Thailand. He has developed confidence in his knowledge, talent and vision, thanks to his vast experience working at various institutions operated by the Order. Today ABAC Alumni Association proudly welcomes his recent appointment as President of Assumption University and has requested an interview with him. Here is what he has to say about his visions and his responsibilities.

The establishment of AU as world - class university:

“The duty before me is mainly to continue the work begun by the former Rector, Reverend Brother Dr. Prathip Martin Komolmas, who has, at this moment, been appointed President Emeritus by the University Council. Our mission is to continue to develop our university into a global institution. If anyone should ask at this point when this will be achieved, the answer is that it will take time to effect changes for the better. We must move forward, step by step, in accordance with the university’s vision and mission, working methodically and patiently to realize the philosophy of the Brothers of St. Gabriel. At present we have students coming from within the country and overseas to pursue studies here, and their numbers have been growing steadily. But most of all, we can regard the successes of our graduates as proof of the quality and high standard of our university. In the last five to six years, Assumption University graduates have enrolled in leading universities around the world to study in different fields. In particular, in the year 2002, two graduates have been admitted to the MBA program at Harvard University, and one student at MIT. Besides this, many of our graduates were able to obtain jobs at multinational corporations.”

“AU attaches great importance to the quality of its teachers, the methodology of teaching, learning and research. These go hand in hand. But in addition to attracting qualified teachers, and to providing a good teaching and learning environment, we must improve facilities for our students. It is not possible to continue in the crowded conditions we have at Hua Mak Campus. Where more than 18,000 students were crowded within a 16 –rai plot, we must continue the work of the former Rector to develop the Bang Na Campus. Forty percent of this has now been completed. With more space and better surroundings, our students can achieve quality, knowledge and develop their potential.”

 The education of graduates who possess knowledge and integrity:

“One special characteristic is that we use English as the language of instruction. Our courses are also unique because business management is at the base of every program we teach, and our graduates are trained as managers, with solid theoretical knowledge as well as a practical background. Moreover, professional ethics and community service will ensure that they are graduates with integrity. This may not sound so different from other institutions, but we regard these as unique features of a Catholic university. It means that, in the context of the Catholic university, the administrators must pay attention to morality, ethics and good behavior, all important elements of our education. Other universities are known to have international programs, large facilities and students from overseas, but our values are defined by the Christian concepts of love, kindness, and sacrifice which we, endeavour to instill in our students. The continuous interaction between administrators, faculty, personnel and students, not only in the classroom but in all aspects of university life are significant.”

Teaching students how to learn about new things throughout their lives:

“Students often say it’s hard to study at AU, therefore they don’t have time for other activities, It may be true that studying here is difficult because English is the medium of instruction. But this is only in the beginning when students need to adjust to a new language. However, I often that students are free and don’t know what to do so they simply do nothing or use the telephone a lot. It’s not that they don’t have free time. But they don’t know how to mange their time and use it to their advantage. They forget that “Time is Money,” or simply that “Time and Tide Wait for No Man.” If they learn the importance of time management, they will always acquire new ideas. Unity, for example, is not the result of activity alone, it is the result of many things. Attending classes, and going home, is a basic activity of students and they have known this since high school. But at university level, they have to adjust to life and their ways of thinking, and change from students who learn from teachers, to students who know how to look for knowledge and learn how to learn by themselves. There are different methods of learning how to depend on oneself. The teacher becomes the manager who encourages students to study and look for solutions to problems, because in the future there will be no teacher to stand by them. Students must learn to teach themselves, and adjust their behavior to their surroundings. All these things cannot be learned through specific programs, however carefully they may be chosen. On the contrary, activities often lead to lights and quarrels, and the effect can be adverse to its real aim. But if we acquire knowledge, and apply this to our lives, we have learned and gained something. Simply think of how much we had to adjust when we were young. Nobody wants to brush their teeth because it hurts, but knowing that it is necessary as well as important we keep it up, we adjust, and it becomes a regular habit and a part of our lives.”



The creation of an international teaching learning environment:

“Many people keep asking why AU does not have a faculty entirely of foreigners. In order to answer this question, let us first look at what it means to study at an international level. Faculty at this university is selected according to their expertise in their fields; their educational qualifications and the universities where they have studied; as their ability to teach in English and use English efficiently. It is not necessary to look for foreign teachers only, because in the world arena, graduates will meet with people of various nations and cultures. Therefore, we choose teachers without discrimination. We have a truly international atmosphere here with both teachers and students form some 58 countries. At one time in Thailand we went crazy about foreigners, who were understood to be from Europe, and considered as good as their products. But in this global society, when we buy goods from Europe, they are likely to be made in China, or Korea, or Thailand, but we don’t know it, and believe that everything foreign is good. On December fourth, His Majesty the King suggested that Thai people should breed Thai dogs and train them. Before that nobody ever thought about it. His Majesty also praises Thai wisdom, but the word “local wisdom” should be more appropriately translated as “local knowledge.” Americans and Europeans are competent in their own languages, but Thai people can acquire the skill and the pronunciation of native speakers by practicing outside class, by watching news such as CNN, CNBC and BBC. One thing required of our teachers is international intelligibility. If we watch CNN or BBC we see many Asian newscasters who speak perfect English. Therefore, let us not create false values, but let us look toward to creating a world-class standard of education and to fulfilling the need for knowledge to serve our international community.”

     The development of technology to facilitate the teaching-learning process:

“Our first faculty was Business Administration, and then when we look at the foundation of all our studies, we discern that it is Liberal, an essential part of education if we aim to develop human beings, because we are not born just to work. Some may think that studying means the acquisition of skills to be able to work, but we also need people in society who are able to build a happy and harmonious life. This is what people need, what the nation needs and what the world needs. When Business Administration and Arts had developed to a certain point, the university saw the need for teaching computer management, which was the first course of its kind in Thailand, Since then, the university has concentrated on building technology resources because the world gives so much attention to technology. The construction of the new IT Building at Bang Na campus is proof of the progress we have made with information technology, in particular since we are the founders of the Internet Society, the only one in the Asia Pacific region. Whether IT is beneficial or harmful depends on the user, of course.”

“Language is important at the university, because in an international world we cannot use Thai, For this reason, English, French, Chinese and Japanese are major language courses so that our students can communicate efficiently in the business world. With their background in business, management and information technology, the students can enter the current of globalization without fear.”

Helping to create a network of friends, societies and business:

“A good network is important, such as a network of organizations and a network of students. It works horizontally and vertically. Just like the Internet, which we can hook up if we are looking for information. Students should form a network to consult with each other. There is the story of an ailing person who had been looking for a cure for a long time. Then one day he posted his symptoms on the Internet, and a doctor who read it was able to suggest a successful cure. There may be may such important matters, whether it is a problem at work, or a problem with a relationship. In this age networking is important. It can open up the world for both business and a happy way of life. Both students and parents share the opinion that studying at Assumption University has enormous benefits, for here they will meet friends and create opportunities for future networking.”

 The development of ethics to maintain happiness and success:

“In order to sustain continuous happiness, three things are very important, First, keep learning all the time. The completion of your studies at a certain level is not an ending. Many stop learning after they have obtained their degrees, but in reality, we must keep learning all of the time. We should continue reading and solving problems. Second, learn to adjust. The world keeps changing all the time, so we must keep up with events and adjust ourselves to new circumstances. If we do not change we will be like elephants. The dinosaur is already dead, and now the elephants are in danger of becoming extinct because they are being driven from their habitats. If we cannot adjust we will lose. Also, with technology, if we do not know how to use it , we cannot keep abreast of progress.Third, we must have morality and ethics, otherwise the world will be in trouble. These three things are important, in particular ethics, otherwise religion will be eliminated and life will become meaningless. As men live together they must know what is right and wrong, they must make ethical decisions and be able to sacrifice. In society we depend on each other and must love one another. Then we will be clever and good and happy: clever to survive in this changing world, good at heart and with integrity, so that we will always be happy.” 

Rev. Bancha Saenghiran, f.s.g., Ph.D.
President, Assumption University

 
Education Background:

 1997 

  •  Post doctoral studies in the Higher Education Management Programme, Universities of Warwick and Oxford, England

 1995 

  •  Ph.D.(Educational Administration), Illinois State University, U.S.A.

 1981 

  •  M.A.(School Administration), Saint Mary’s College of California, U.S.A.

 1971 - 1974

  •  B.S.(Mathematics), Saint Louis University, Philippines

Professional Background:

Nov.1, 2002 – present

  • President, Assumption University

1994 - present

  • Vice President for Academic Affairs, Assumption University

2001

  • Director, Center for Excellence, Assumption University

  • Advisor to the College Council, Hadyai City College

2000 - present

  • Member of College Council, North Bangkok College

1998 - present

  • Acting Dean, Faculty of Communication Arts, Assumption University

1974 - present

  • Member of University’s Council, Assumption University

1991 - 1993

  • Vice President for Student Affairs, Assumption University

1985 - 1990

  • Principal, Saint Gabriel’s College

1979 - 1983

  • Principal, Assumption College Samrong

1978 - 1984

  • Vice President for Student Affairs, Assumption Business Administration College

1974 - 1977

  • Principal, Assumption college Thonburi

1967 - 1970

  • Teacher, Assumption College Rayong

Professional Membership:

2000 - present   

  • The President of Phi Delta Kappa, Thailand Chapter (PDK)

1997 - present

  • Member of the Executive Committee, the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand (ZAPHEIT)

2001

  • Advisor to Academic Committee, the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand (APHEIT)

  • Deputy Chairman, Education Quality Assurance, the Association of Private Higher Education Institution of Thailand (APHEIT)

  • Member of a Committee for Department of Evaluation Systems of Higher Education. The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization)

1997 - 2001

  • The Committee for State and Private University Cooperation, the Association of Southeast Asian Institution of Higher Learning (ASAIHL)

  • Chief for Academic Affairs, Executive Committee, the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand (APHEIT)

  • Member of the Committee for Higher Education Standards and Quality Assurance under the Ministry of University Affairs

  • Member of the Committee for State and Private University Cooperation, the Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL)

1984 - 1999

  • Member of Academic Development Committee of the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand under the Ministry of University Affairs 

  • Member of Phi Delta Kappa, Thailand Chapter (PDK)

 

แหล่งที่มา : ABACA PROFILE (October-December 2002)

ABAC and the new tasks of the President*

(*reproduced from ABACA PROFILE of October-December 2002.)

For over 40 years, Reverend Brother Dr. Bancha Saenghiran has dedicated his physical strength and mental powers to fulfilling his duties as a Brother of the St. Gabriel's Foundation of Thailand. He has developed confidence in his knowledge, talent and vision, thanks to his vast experience working at various institutions operated by the Order. Today ABAC Alumni Association proudly welcomes his recent appointment as President of Assumption University and has requested and interview with him. Here is what he has to say about his visions and his responsibilities. 

The establishment of AU as a world-class university: 

" The duty before me is mainly to continue the work begun by the former Rector, Reverend Brother Dr.Prathip Martin Komolmas, who has, at this moment, been appointed President Emeritus by the University Council. Our mission is to continue to develop our university into a global institution. If anyone should ask at this point when this will be achieved, the answer is that it will take time to effect changes for the better. We must move forward, step by step, in accordance with the university’s vision and mission, working methodically and patiently to realize the philosophy of the Brothers of St. Gavriel. At present we have students coming from within the country and overseas to pursue studies here, and their numbers have been growing steadily. But most of all, We can regard the successes of our graduates as proof of the quality and high standards of our university. In the last five to six years, Assumption University graduates have enrolled in leading universities around the year 2002, two graduates have been admitted to the MBA program at Harvard University, and one student at MIT. Besides this, many of our graduates were able to obtain jobs at multinational corporations. "

" AU attaches great importance to the quality of its teachers, the methodology of teaching, learning and research. These go hand in hand. But in addition to attracting qualified teachers, and to providing a good teaching and learning environment, we must improve facilities for our students. It is not possible to continue in the crowded conditions we have at Hua Mak Campus, where more than 18,000 students were crowded within a 16-rai plot. Therefore, we must continue the work of the former Rector to develop the Bang Na Campus. Forty percent of this has now been completed. With more space and better surroundings, our students can achieve quality, knowledge and develop their potential. " 

The education of graduates who possess knowledge and integrity: 

" One special characteristic is that we use English as the language of instruction Our courses are also unique because business management is at the base of every program we teach, and our graduates are trained as managers, with solid theoretical knowledge as well as a practical background. Moreover, professional ethics and community service will ensure that they are graduates with integrity. This may not sound so different from other institutions, but we regard these as unique features of a Catholic university. It means that, in the context of the Catholic university, the administrators must pay attention to morality, ethics and good behavior, all important elements of our education. Other universities are know to have international programs, large facilities and students from overseas, but our values are defined by the Christian concepts of love, kindness, and sacrifice which we, endeavour to instill in our students. The continuous interaction between administrators, faculty, personnel and students, not only in the classroom but in all aspects of university life are significant. "

Teaching students how to learn about new things throughout their lives: 

" Students often say it’s hard to study at AU, therefore they don’t have time for other activities. It may be true that studying here is difficult because English is the medium of instruction, but this is only in the beginning when students need to adjust to a new language. However, I often see that students are free and don’t know what to do so they simply do nothing or use the telephone a lot. It’s not that they don’t have free time. But they don’t know how to manage their time and use it to their advantage. They forget that “Time is Money,” or simply that “Time and Tide Wait for No Man.” If they learn the importance of time management, they will always acquire new ideas. Unity, for example, is not the result of activity alone, it is the result of many things. Attending classes, and going home, is a basic activity of students and they have known this since high school. But at university level, they have to adjust to life and their ways of thinking, and change from students who learn from teachers, to students who know how to look for knowledge and learn how to learn by themselves. There are different methods of learning how to depend on oneself. The teacher becomes the manager who encourages students to study and look for solutions to problems, because in the future there will be no teacher to stand by them. Students must learn to teach themselves, and adjust their behavior to their surroundings. All these things cannot be learned through specific programs, however carefully they may be chosen. On the contrary, activities often lead to fights and quarrels, and the effect can be adverse to its real aim. But if we acquire knowledge, and apply this to our lives, we have really learned and gained something. Simply think of how much we had to adjust when we were young. Nobody wants to brush their teeth because it hurts, but knowing that it is necessary as well as important we keep it up, we adjust, and it becomes a regular habit and a part of our lives. "

 The creation of an international teaching learning environment: 

" Many people keep asking why AU does not have a faculty entirely of foreigners. In order to answer this question, let us first look at what it means to study at an international level. Faculty at this university is selected according to their expertise in their fields; their educational qualifications and the universities where they have studied; as well as their ability to teach in English and use English efficiently. It is not necessary to look for foreign teachers only, because in the world arena, graduates will meet with people of various nations and cultures. We have a truly international atmosphere here with both teachers and students from some 58 countries. At one time in Thailand we went crazy about foreigners, who were understood to be from Europe, and considered as good as their products. But in this global society, when we buy goods from Europe, they are likely to be made in China, or Korea, or Thailand, but we don’t know it, and believe that everything foreign is good. On December fourth, His Majesty the King suggested that Thai people should breed Thai dogs and train them. Before that nobody ever thought about it. His Majesty also praises Thai wisdom, but the word “local wisdom” should be more appropriately translated as “local knowledge.” Americans and Europeans are competent in their own languages, but Thai people can acquire the skill and the pronunciation of native speaker by practicing outside class, by watching news such as CNN, CNBC and BBC. One thing required of our teachers is international intelligibility. If we watch CNN or BBC we see many Asian newscasters who speak perfect English. Therefore, let us not create false values, but let us look toward to creating a world-class standard of education and to fulfilling the need for knowledge to serve our international community. "

The development of technology to facilitate the teaching-learning process: 

" Our first faculty was Business Administration, and then when we look at the foundation of all our studies, we discern that it is Liberal Arts, an essential part of education if we aim to develop human beings, because we are not born just to work. Some may think that studying means the acquisition of skills to be able to work, but we also need people in society who are able to build a happy and harmonious life. This is what people need, what the nation needs and what the world needs. What Business Administration and Arts had developed to a certain point, the university saw the need for teaching computer management, which was the first course of its kind in Thailand. Since then, the university has concentrated on building technology resources because the mew IT Building at Bang Na campus is proof of the progress we have made with information technology, in particular since we are the founders of the Internet Society, the only one in the Asia Pacific region. Whether IT is beneficial or harmful depends on the user, of course. " 

" Language is important at the university, because in an international world we cannot use Thai. For this reason, English, French, Chinese and Japanese are major language courses so that our students can communicate efficiently in the business world. With their background in business, management and information technology, the students can enter the current of globalization without fear. " 

Helping to create a network of friends, societies and business: 

" A good network is important, such as a network of organizations and a network of students. It works horizontally and vertically. Just like the Internet, which we can hook up if we are looking for information. Students should form a network to consult with each other. There is the story of an ailing person who had been looking for a cure for a long time. Then one day he posted his symptoms on the Internet, and a doctor who read it was able to suggest a successful cure. There may be many such important matters, whether it is a problem at work, or a problem with a relationship. In this age networking is important. It can open up the world for both business and a happy way of life. Both students and parents share the opinion that studying at Assumption University has enormous benefits, for here they will meet friends and create opportunities for future networking. "

The development of ethics to maintain happiness and success: 

" In order to sustain continuous happiness, three things are very important. 

First, keep learning all the time. The completion of your studies at a certain level is not an ending. Many stop learning after they nave obtained their degrees, but in reality, we must keep learning after they nave obtained their degrees, but in reality, we must keep learning all of the time. We should continue reading and solving problems. 

Second, learn to adjust. The world keeps changing all the time, so we must keep up with events and adjust ourselves to new circumstances. If we do not change we will be like elephants. The dinosaur is already dead, and now the elephants are in danger of becoming extinct because they are being driven from their habitats. If we cannot adjust we will lose. Also, with technology, if we do not know how to use it, we cannot keep abreast of progress. 

Third, we must have morality and ethics, otherwise the world will be in trouble. These three things are important, in particular ethics, otherwise religion will be eliminated and life will become meaningless. As men live together they must know what is right and wrong, they must make ethical decisions and be able to sacrifice. In society we depend on each other and must love one another. Then we will be clever and good and happy: clever to survive in this changing world, good at heart and with integrity, so that we will always be happy. "

ABAC 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทย

  
  

งานเสวนา Right Attitude Towards Work

เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมใหญ่ วิทยาเขตหัวหมาก สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABACA) ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์จริยธรรมวิชาชีพฯ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดโครงการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “Right Attitude towards Work” ให้แก่นักศึกษาปี 4 ที่จะเรียนจบในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2547 เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนด้านอาชีพเสริมสร้างจิตสำนึกทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานในอนาคต

  
 
  

โครงการประกวดธุรกิจ Think Big 

ศูนย์สนเทศและแนะอาชีพ ฝ่ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดอบรมพิเศษในหัวข้อเรื่อง “Think Big เถ้าแก่รุ่นใหม่ คิดใหญ่ๆ ไม่คิดเล็ก” โดยได้รับเกียรติจากคุณทวี จงควินิต กรรมการสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมาเป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องเทวานิเวศน์ วิทยาเขตบางนา เมื่อวันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2547

 
 
 
 

U-Mate Super Convenience Store    

เมื่อวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2547 ณ ห้องวิมานบางพลี มหาวิทยาลัยอัส-สัมชัญวิทยาเขตบางนา ศูนย์สนเทศและแนะแนวอาชีพ ฝ่ายกิจการนักศึกษามหา-วิทยาลัยอัสสัมชัญเปิดโครงการร้านสะดวกซื้อ U-Mate Super Convenience Store พร้อมจัดบรรยาย “การแข่งขันและแนวทางการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน” โดยมี ฯพณฯ วัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติมาเป็นผู้บรรยาย

   
 
 
 
 

ABAC 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทย

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม ภราดา ดร.ประทีป ม.โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ, ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี, ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาจารย์ชลิต ลิมปนะเวช (ศิษย์เก่ารุ่นที่ 3) คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จัดงานแถลงข่าว “ABAC 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทย”

   
 

เอแบค 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทยนอกจากจะเป็นสถาบันการศึกษาที่ต่างชาติแห่เข้าเรียนปีละ 3,000 คน สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละ 700 ล้านบาท แล้ว ณ วันนี้ทีมผู้บริหารภายใต้การนำของ ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีคนปัจจุบัน ยังวาดฝันก้าวไปสู่การจัดตั้ง “วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต” อีกด้วย

เอแบค 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทยนอกจากจะเป็นสถาบันการศึกษาที่ต่างชาติแห่เข้าเรียนปีละ 3,000 คน สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละ 700 ล้านบาท แล้ว ณ วันนี้ทีมผู้บริหารภายใต้การนำของ ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีคนปัจจุบัน ยังวาดฝันก้าวไปสู่การจัดตั้ง “วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต” อีกด้วย

ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) กล่าวว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมี 3 วิทยาเขต คือ หัวหมาก บางนา และเอแบค ซิตี้ แคมปัส เปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งสิ้น 24 คณะ และมี 81 หลักสูตร มีอาจารย์ชาวต่างประเทศ 389 คน ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ มีอาจารย์ทั้งชาวไทย และต่างชาติรวม 1,229 คน และมีนักศึกษาไทย และต่างประเทศรวม 20,000 คน ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาต่างชาติจาก 60 ประเทศอยู่ 2,200 คน 

“ชาวจีนเข้ามาเรียนมากที่สุด รองลงมาเป็นไต้หวันและอินเดีย ที่นิยมเข้ามาเรียนปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 10.5 และโดยเฉลี่ยมีชาวต่างชาติเข้ามาเรียนปีละ 3,000 คน ทำให้เงินรายได้ ภาพรวมปีละกว่า 700 ล้านบาท และจากการสำรวจพบว่า เด็กที่จบออกไปร้อยละ 60 เป็นผู้ประกอบการและมีธุรกิจเป็นของตัวเอง” ภราดา ดร.บัญชา กล่าว

ด้วยจุดเด่นของเอแบค คือ การเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษทุกวิชายกเว้นกฎหมายไทยใช้ตำราภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหลักสูตรเทียบเท่ากับนานาชาติ เมื่อเรียนจบสามารถไปทำงานหรือเรียนต่อมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เป็นต้น

ว่ากันว่า หลังทุ่มทุนกว่า 6,000 ล้านบาท เนรมิตวิทยาเขตบางนา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เพียบพร้อมเทียบฟอร์มนานาชาติด้วยระบบอำนวยความสะดวกกับผู้เรียนนานาประการได้แล้ว นัยว่าเวลานี้ “เอแบคบางนา” ได้กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาติ แวะมาเยี่ยมชมมากที่สุดในจำนวนมหาวิทยาลัยด้วยกัน และในอนาคตจะจัดโครงการท่องเที่ยวในลำคลองโดยจัดเรือล่องไปตามคลองรอบๆ เอแบคบางนา เพื่อให้นักท่องเที่ยวชื่นชมวิถีชาวบ้านริมคลอง 

 

“ส่วนก้าวต่อไปมหาวิทยาลัยจะเปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาที่เป็นจุดแข็งคือ บริหารธุรกิจ ไอที ภาษาต่างประเทศและขยายการจัดการศึกษาสาขาดนตรี นิเทศศาสตร์ กฎหมายมหาชน” ภราดา ดร.บัญชา กล่าว

ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน รองอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เอแบค เสริมว่าขณะนี้เอแบคได้เปิดสอนหลักสูตรด้านไอที และคอมพิวเตอร์ 26 หลักสูตร แต่ละปีผลิตบัณฑิตปริญญาโทด้านไอทีกว่า 250 คน อีกทั้งจะจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตเปิดสอนระดับปริญญาโทและเอก โดยตั้งเป้าว่าภายใน 4 ปี จะมีผู้เรียน 100,000 คน คาดว่าจะเปิดได้ในปี 2548 ขณะนี้รอเรื่องอยู่ในระหว่างการขออนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ

“เอแบคได้ใช้งบกว่า 185 ล้านบาท จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น (อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยี) ภายในมีคอมพิวเตอร์กว่า 2,000 เครื่อง และมีห้องอบรมเกรดเอ ที่มีคอมพิวเตอร์ 408 เครื่องที่ติดตั้งอินเทอร์เน็ตฟรีตลอด 24 ชั่วโมง” ดร.ศรีศักดิ์ กล่าว

กระนั้น นายกมล กิตสวัสดิ์ ผอ.ฝ่ายทะเบียน และประมวลผลมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยังเสริมว่า เอแบคมีทุนการศึกษาให้แก่เด็กยากจน แยกเป็นทุนเรียนดีจะส่งจดหมายไปยังโรงเรียนรัฐ และเอกชนทั่วประเทศให้คัดเด็กที่ได้เกรดเฉลี่ย 3.50 เข้ามาเรียน โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนปีละ 300 – 400 คน ซึ่งในปีนี้ได้จัดสรรทุนเพิ่มอีก 200 ทุน เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปัจจุบันมีเด็กกลุ่มนี้ถึง 1,000 คน

“ส่วนทุนเรียนดีแต่ได้เกรดเฉลี่ย 3.85 ให้เทอมละ 50 ทุน และทุนเด็กยากจนหรือพ่อแม่ประสบภาวะวิกฤติ เช่น ป่วย เจอปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเอแบคจะไม่ให้เด็กกลุ่มนี้ออกกลางคัน แต่จะให้ทุนเรียน ส่วนทุนเรียนปริญญาโทและเอก มีปีละ 6 ทุน และทุนอบรมความรู้ภาษาอังกฤษโดยร่วมกับรายการ “สำรวจโลก” ให้ปีละ 50 ทุน” นายกมล กล่าว

 

Gabrielite in Bangkok 

Brother Bancha Saenghiran, a member of the Catholic Brotherhood of Saint Gabriel religious order, is dedicated to upholding the quality of the Assumption University educational experience and infusing it with compassion 

By : JEN HAU YANG 

Brother Bancha: Education should be aimed at forming the total person, and not just filling them with knowledge. 

Heading a prestigious university is a monumental and a daunting task for anyone, but Brother Bancha Saenghiran, f.s.g., PhD, seems to have been born for such a fate. The present rector of Assumption University spent his early years in the province of Chachoengsao, just outside Bangkok. Born into a family with a large number of siblings, when he was young he was quite attached to his parents, especially his father, who encouraged him to dedicate his life to a religious cause. 

Brother Bancha was a novitiate in the Catholic Church of India, and did his pre-degree studies at Loyola College in Chennai, in South India. 

In his high school years Brother Bancha was a classmate of Mr Korn Dabbarangsi, a former deputy prime minister in the Thaksin cabinet, and also of Dr Supachai Panitchpakdi, the former WTO chief and present secretary-general of the United Nations Commission on Trade and Development (UNCTAD). 

Later he obtained a Bachelor's degree from St Louis University in the Philippines, and then got a Master of Arts degree in School Administration at St Mary's California College in California.

After completing his doctorate in Education Administration from Illinois State University in the USA, Brother Bancha returned to Thailand and taught at several schools, including Assumption College in Rayong, Thon Buri and Samrong.  

Chosen as successor to Reverend Brother Pratheep Martin Komolmas, Brother Bancha was appointed by the Assumption University Council as president of Assumption University on November 1, 2002. 

Assumption University was the brainchild of Brothers Phillip Amnuay and Bernard, both Brothers of Saint Gabriel, and was one of the private institutions of higher education pioneering the international curriculum in Thailand. The university has been in existence since 1969, name and location changes notwithstanding. Assumption University currently has an enrolment of about 20,000 students. 

DRIVEN BY QUALITY 

Brother Bancha sees himself first and foremost in the context of his Roman Catholic religion. His decision to join the Brotherhood of St Gabriel was based on the brotherhood's dedication to the improvement of education. There is a phrase he is particularly fond of which goes a long way toward explaining his philosophy in life and in teaching: "Do extraordinary things in simple everyday, ordinary ways." 

In his job as an education administrator, Brother Bancha has always been driven by quality. He believes that education is best and most effective when it is student-centred, and feels it should be aimed at forming the total person, and not just filling them with knowledge. 

A testament to the success of his philosophy that quality is at the core of education service is the award for achievement in quality education during Brother Bancha's tenure as principal at St Gabriel School from 1985-1990.

At Assumption University he has set in place a programme of service for students. He explained that he sees caring for less fortunate, marginalised people in society as an essential learning experience for students, which enriches their lives in many ways. As they compete academically and choose their pathways for success in business, the arts, etc, it gives them a sense of balance to simultaneously experience compassion and purpose in caring for others. 

"Life, at every stage, is a process of education," said Brother Bancha. 

In addition to his role as President of Assumption University, Brother Bancha is concurrently the adviser of the College Council in Hatyai City University in southern Thailand. He is a member of the College Councils of the North Bangkok and Mission College. He is on the board of trustees of Assumption College, Darasamutr School, St Mary's Sathorn School and St Gabriel's College. 

Brother Bancha has been on the Council of Assumption University since 1983. Currently he is the president of the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand (APHEIT), and adviser of Phi Delta Kappa (PDK) Thailand Chapter of which he was president in 2000-2002. Brother Bancha also serves on committees with the Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAHIL) and the Office for National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA). 

One positive impact of the economic crisis, Brother Bancha has observed, is a wiser set of attitudes towards spending and consumerism in the general public. Students and their parents increasingly demand a stronger correlation between cost, course, and outcome. They also recognise the need for better structuring of operations across the board. They are becoming greater stakeholders in the educational enterprise than in the past. 

On the national level, a greater stress upon quality assurance and good governance comes not only from reflection on failed practices, but also from the new national constitution in effect since 1997. Its stress upon the timely values of transparency, accountability, and participation is leading to a shift in models in society that will also affect every aspect of education.

Brother Bancha says that Thai education has improved a lot but it could be more structured in such a way as to maintain quality while allowing more freedom and decentralisation. He would like to see Thailand rise up the ladder of UNESCO's global educational qualification rankings.  

Brother Bancha has big plans for Assumption University in the future. Firstly, he wishes to complete the Bang Na campus so that it is a closed, independent system. While the main buildings are completed, some buildings that cater to the leisure and recreation of students are not. Brother Bancha says the latter are crucial for interaction among students, and also for building and enriching the characters of the students. The campus is expected to be completed in five to ten years. 

Secondly, he wants to see more student organisations, which are important as vehicles for students to prepare for managerial roles in the future. 

Thirdly, he wishes to further develop the university's departments, and in some cases create new ones, especially research departments, to better prepare the university's students for globalisation. 

As a Gabrielite, Brother Bancha is dedicated to education, to obedience, to chastity and to poverty, living a simple and hardworking life. He doesn't place value in material wealth, but rather in spiritual and educational wealth. He enjoys playing badminton in his leisure time for exercise.

Bro.บัญชา แสงหิรัญ หัวเรือใหญ่ของเอแบค

บราเธอร์ บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีผู้ดำรงตำแหน่งหัวเรือใหญ่ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือที่รู้จักกันดีในนามของ เอแบค สถาบันที่ผลิตผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติที่มีคุณภาพมายาวนาน วันนี้ บราเธอร์บัญชา ได้ให้โอกาส Media Thai Post มาสัมภาษณ์ถึงแนวทางของมหาวิทยาลัยในอนาคต และมุมมองในด้านการศึกษาของไทยภาพรวมของสถาบันในปัจจุบันปัจจุบัน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบค ได้มีโครงการโอนนักศึกษาจาก "วิทยาเขตหัวหมาก มายัง วิทยาเขตบางนา ได้ 13,000 กว่าคนแล้ว จากทั้งหมด 20,000 คน แบ่งเป็นปริญญาตรี 17,000 คน บัณฑิตวิทยาลัย ประมาณ 2,500 คน ในอนาคตคิดว่านักศึกษาจะย้ายจากที่หัวหมากมาที่ บางนา ซึ่งถือเป็น แคมปัสหลัก ที่นี่ใกล้สนามบิน และเรามีพร้อมทุกอย่างให้ บรรยากาศดีกว่า รวมทั้งเทคโนโลยี การศึกษามหาวิทยาลัยของเราเปรียบเสมือน “เหมืองทอง”ซึ่งได้แก่แหล่งความรู้ ผู้ที่ผ่านเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกจะสังเกตเห็นว่าอักษรย่อที่เราใช้จงใจให้เป็น Au ไม่ใช้ตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด ซึ่งอ้างอิงกับศัพท์ทางเคมีว่า Aurium แปลว่า แร่ทอง ดังนั้นคอนเซปการตกแต่งของมหาวิทยาลัยจึงออกมาโดยใช้สีทองเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งคือมหาวิทยาลัยจะมีป่าล้อมรอบ เหมือนกับสถาบันการศึกษาในวนอุทยาน ให้ธรรมชาติรักษาไม่ให้นักศึกษาหลงระเริง จึงต่างกับวิทยาเขตที่หัวหมากซึ่งมีแต่อบายมุขอยู่รอบมหาวิทยาลัยปรัชญาของบราเธอร์เปลี่ยนแปลงไปจากอธิการบดีรุ่นอื่นๆ หรือไม่ ปรัชญาคือความเชื่อถือ แต่สิ่งที่เราทำคือวิสัยทัศน์ที่มีความคงเส้นคงวา ตั้งแต่ปี 2000 เราได้วางปรัชญาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเอาไว้ใหม่ ในอดีต ถึงแม้เราวางไว้ตั้งแต่ต้นแต่ความเป็นนานาชาติยังไม่เกิด ปัจจุบันเราจึงวางวิสัยทัศน์ไว้ว่า เราต้องการทำให้ชุมชนนี้เป็นอินเตอร์เนชั่นแนลคอมมูนิตี้ ชุมชนของคนนานาชาติที่เป็น “ชุมชนนักวิชาการ” เป็นที่อยู่ขององค์ความรู้ทั้งของเก่าและของใหม่ เพื่อสืบทอดแก้ปัญหาของสังคม และต้องหาความรู้ใหม่อยู่ต่อเนื่อง โดยการทำวิจัยทั้งอาจารย์และนักศึกษา และเมื่อทำแล้วก็ต้องกระจายความรู้สู่สังคมให้เค้าได้นำไปใช้ เช่น เอแบคโพลล์ ที่มีมากว่า 10 ปีแล้ว โดยมีเป้าหมายคือการเผยแพร่ความรู้ให้แก่สังคม ตอนนั้นเราจ่ายสตางค์มากทุ่มเงินไปหลายล้าน ทุ่มที่จะสร้างกันเอง ขณะนี้สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง และก็ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

มองว่ารูปแบบการศึกษากับเศรษฐกิจบ้านเราไปด้วยกันอย่างไร

การศึกษากับเศรษฐกิจมันเป็นของคู่กัน การศึกษาดี เศรษฐกิจจะดี เพราะว่าถ้าคนมีการศึกษาดีก็จะมาช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันเศรษฐกิจต้องดีเพื่อจะทำการศึกษาให้ดีขึ้น เพราะถ้าไม่มีเงินการพัฒนาด้านการศึกษาก็จะยากมาก ถามว่าถ้าเอแบคไม่มีเงิน จะสร้างตึกได้มั๊ย? จะจ้างอาจารย์ดีๆ ก็ไม่ได้ ถามว่าอาจารย์ในประเทศไทยนี่ดีมั๊ย? อาจารย์เราดี แต่มีหลายคนถามว่าทำไมไม่จ้างอาจารย์จาก ฮาร์วาร์ด สแตนฟอร์ด มาเลยแบบนี้ ใครเค้าจะมาประเทศไทย สมมุติอาจารย์ที่นั่นได้เงินเดือน 3 แสน เราให้ได้มั๊ย? ที่นี่มันไม่ใช่ธุรกิจ มันเป็นการศึกษา ที่นี่ประเทศไทยใครจะให้ได้ขนาดนั้น การศึกษาไทยกับเศรษฐกิจจะไปด้วยกันถ้าการศึกษาโตขึ้น คุณภาพของบุคลากรของชาติจะถูกยกสูงขึ้นมาเศรษฐกิจของชาติจะดีขึ้น เพราะว่าในการสร้างบรรยากาศสิ่งใหม่ๆ การที่มีแนวความคิด อย่างเช่น คนในระดับรากหญ้าควรจะมีความคิดในการจัดการธุรกิจของตัวเอง สมมุติว่า ถ้าชาวสวนไม่มีความรู้ก็จะทำอยู่อย่างเดิมๆ แต่หากมีองค์ความรู้ รู้จักนำไปประยุกต์ใช้ก็สามารถพัฒนาเป็นสตางค์ต่อไปได้ มันมีหลายส่วนในการสร้างสรรค์ ต้องให้ความรู้ของเราสูงขึ้น ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศชาติก็จะต้องดีขึ้นเพื่อมาขยายการศึกษาด้วย หลังๆ มานี่การศึกษาเราไม่พัฒนาเพราะอะไร? ส่วนมากเงินเดือนจะเอาไปให้เงินเดือนของครูอาจารย์สูงมาก แต่การพัฒนา การเอาไปวิจัยมันน้อยมาก แต่อีกส่วนหนึ่งที่คนเราไม่ค่อยมองก็คือ ลักษณะนิสัยของคนไทยเอง เรายึดอยู่แต่รูปแบบเดิมๆ การเปลี่ยนแปลงมันทำแบบรวดเร็วไม่ได้ ต้องค่อยเป็นค่อยไป เราอยู่ดีกินดีมามาก เราไม่เดือดร้อน เลยดูเหมือนว่าการอยู่เฉยๆ มันสบายอยู่แล้ว มันไม่มีการแข่งขัน แต่ทีนี้การแข่งขันมากเกินไปมันก็ไม่ดี มันต้องพอดีๆ ถ้ามันมากเกินไปก็ไม่มีความสุข อย่างประเทศสิงคโปร์ที่บ้านเค้าเจริญ แต่ผลวิจัยออกมาแล้วว่าคนบ้านเค้าไม่ค่อยมีความสุข มันจึงต้องดูหลายๆ ด้าน ถ้าถามว่าประเทศไทยตอนนี้จะพัฒนาแบบไม่รีบเร่งได้หรือไม่ ส่วนตัวบราเธอร์ก็ยังคิดว่าทฤษฏีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้นยังใช้ได้เสมอ 

พูดถึงเด็กนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอแบค เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง บราเธอร์มองเด็กเราอย่างไรบ้าง คำว่า “พอเพียง” หมายความว่า มีเท่าไรก็ใช้เท่านั้นไม่ใช่หมายความว่าใช้น้อยๆ ถ้าเค้ามีก็ให้เค้าใช้ แต่ก็ยังต้องพอมีเก็บไม่เกินตัว แต่ทีนี้บางคนไม่ใช่อย่างนั้น เห็นเพื่อนมีมือถือ มีกระเป๋าหลุยส์ ก็นำไปสู่การลักขโมย ซึ่งเป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาที่ต้องสอนให้เค้ารู้ หลักสูตรของเอแบคแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนที่หนึ่งคือองค์ความรู้ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธ แต่ความรู้อย่างเดียวไม่สามารถทำให้คนเป็นคนดีได้ เราจึงต้องเพิ่มส่วนที่สองเข้ามานั่นคือการพัฒนาคนให้เป็นคนที่สังคมพึงประสงค์ เราถือเป็นส่วนหนึ่งของวิชาซึ่งวิชานี้ห้ามนักศึกษาขาดเรียนเลย ไม่อย่างนั้นเราไม่ให้จบ

นอกจากนี้ เรายังมีวิชาที่สอนข้างนอกห้องอีก มีการจัด Service Learning คือเราจัดให้เด็กของเราออกไปสอนคนที่อยู่ในคุก ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ แฟชั่น มาร์เก็ตติ้ง เพราะว่าพวกเขาจะออกจากคุกแล้วเค้าจะมาทำอะไรกิน เราก็จะส่งเด็กไปสอนเค้า เวลานี้เราก็กำลังสร้างศูนย์การเรียนรู้ให้ชาวมอแกนที่ประสบภัยสึนามิในภาคใต้ด้วย โครงการพัฒนาสังคมของนักศึกษาเอแบคเราได้มีการส่งโครงงานเข้าประกวดแล้วก็ได้รางวัลกลับมามากมาย ตรงนี้ล่ะที่เขาเรียกว่า Service Learning นักศึกษาปีสุดท้ายเราจะต้องผ่านวิชานี้ทุกคน เพื่อการสร้างความเป็นคนที่สมบูรณ์แบบไม่ใช่เห็นแก่ตัวอย่างเดียว

พูดถึงเด็กที่จบไปแล้วมีภาพสะท้อนกลับมาอย่างไรบ้าง

มีอยู่หลายเสียงเหมือนกันจากผู้ปกครองหรือจากผู้ประกอบการ เค้าจะบอกว่าเด็กเอแบคเนี่ยเก่ง ดูสมาร์ท แต่... “ออกจากงานเร็ว” เราจึงพยายามสอนเด็กเราเสมอว่า การถีบตัวเองให้ขึ้นไปสูงนั้นทำได้ แต่ต้องให้เป็นที่รักของที่ทำงานจากไปให้เค้าคิดถึง การถีบตัวเองหรือย้ายงานเป็นสิทธิ์ของเขา แต่อย่าทำแบบไม่มีจริยธรรม เช่นกำลังทำงานตัวนี้ อยู่ๆ ก็ทิ้งไปเฉยๆ โดยที่ไม่แจ้งล่วงหน้ากับบริษัท หรือทำให้บริษัทเสียหาย ดังนั้นจะทำอะไรควรต้องคิดก่อน เมื่อสถาบันได้ทราบดังนี้ เอามาคิดแล้วก็ปรับปรุงแก้ไขอบรมสอนเค้า

อย่างเด็กสมัยนี้ ซึ่งไม่ใช่แค่เอแบคเท่านั้น เราต้องยอมรับว่า คนยุคนี้เกิดมาจากพ่อแม่ที่ร่ำรวย มีฐานะมีอะไรก็ช่วยลูกเพราะตัวเองเคยลำบากมาแล้ว อีกทั้งความรู้ของเด็กไม่ค่อยแน่น เวลาไปทำงานแล้วแทนที่จะคิดแล้วทำไม่ค่อยมี เราเลยต้องแก้โดยการสอนให้เค้ารู้จักคิดด้วยตัวเอง อยากเรียนรู้ พอเค้าออกไปข้างนอกจะได้พัฒนาต่อได้ ในทุกๆ วิชาไปเรียกเค้ามาสั่งไม่ได้ ให้เค้ารู้จักใช้กับชีวิตจริง ถ้าถามกันตรงๆ ว่าการเรียนต้องเรียนในห้องเรียนหรือไม่? ไม่จำเป็นเลย อ่านหนังสือที่บ้านก็ได้ แต่ทำไมต้องเข้าระบบล่ะ? เพราะการจัดการนิสัยบางอย่างนี่ละที่เป็นหลัก บางครั้งเรามองข้ามกันไปหมด ตัวอย่างเช่นการเรียงคิวเข้าแถวขึ้นลิฟท์ การขับรถให้มีมารยาท เราต้องสอนคนให้มีระเบียบวินัย สังเกตเรื่องการเมืองไทยในขณะนี้อ่อนไหวมาก สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะ ประชาชนอ่อนไหวตามกระแส ไม่ทำไปตามระบบ แล้วแต่ว่าใครจะเสนอสื่อได้ดีกว่า คนไทยก็เอนไปทางนั้นเพราะสังคมยังไม่มีความรู้พอที่ตนเองจะตัดสินใจได้

เรื่องอุปสรรคตั้งแต่ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของเอแบค

อุปสรรคที่เคยผ่านๆ มาบราเธอร์ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรค ถือเป็นเรื่องปรกติ แต่อาจจะไปไม่ได้ดั่งใจที่คิด เพราะฉะนั้นก็ตามที่เค้าบอกว่านิ้วมือ 5 นิ้วยังไม่เท่ากัน ผลไม้ต้นเดียวกันยังมีลูกขนาดไม่เท่ากัน เราต้องทำความเข้าใจกับมันแล้วก็จะผ่านไปได้เอง ตามกาลเวลาของมันเอง อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมันเยอะเหลือเกิน อย่างคอมพิวเตอร์นี่สามปีต้องเปลี่ยนแล้วเปลืองเงินมาก แต่เราก็เอาไปบริจาคโรงเรียนตามหัวเมืองต่างๆ ให้เค้าใช้กัน

พูดถึงเรื่องไอทีในปัจจุบัน ในฐานะที่บราเธอร์เป็นคนยุคแรกๆ ต้องปรับตัวมากหรือไม่กับสื่ออินเตอร์เน็ตหรือวงการไอทีขณะนี้ บราเธอร์เรียนคอมพิวเตอร์มา (ยิ้ม) ที่จริงบราเธอร์เป็นโปรแกรมเมอร์นะ แต่ไม่ค่อยได้ใช้แล้ว เพราะเมื่อก่อนตอนบราเธอร์เรียนที่ฟิลิปปินส์เนี่ยจะเรียนด้านนี้ ชอบคอมพิวเตอร์มาก สมัยนั้นยังไม่มีเครื่องพีซีเลย มีแต่เมนเฟรมใหญ่ๆ (หัวเราะ) จะทำอะไรทีหนึ่งมันยุ่งยากไปหมด

ด้วยการที่มีความรู้ทางด้านนี้โดยเฉพาะทำให้เราเป็นนักพัฒนาที่ได้เปรียบในโลกยุคปัจจุบัน?

ใช่เราได้เปรียบในแง่ของการมอง เพราะบราเธอร์เป็น System Analyst ได้ สามารถที่จะมองระบบมองอะไรต่างๆ ได้ บราเธอร์ก็เริ่มกับดร.ศรีศักดิ์ (จามรมาน) ในด้านไอทียุคแรกๆ แต่สมัยนี้อะไรๆ ก็สบายขึ้นเยอะ อุปสรรคของเราจริงๆ คือเรื่องอาจารย์ เราต้องหาคนที่เหมาะสมมาสอนโดยเฉพาะคณะบริหารธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด ของเรา ซึ่งเป็นคณะแรกๆ เลย คนที่จบด้านธุรกิจมาแล้วถ้าคิดว่าจะหาเงินก็อย่ามาเป็นอาจารย์เลย เวลาสัมภาษณ์ผมจะถามเสมอว่ามาหาเงินหรือเปล่า ถ้ามาหาเงินก็อย่าเป็นอาจารย์เลยไปทำธุรกิจดีกว่า แต่มาเป็นอาจารย์เนี่ย มันเป็นเกียรติ ถามว่าจนมั๊ย? ไม่จน ถ้านำคำสอนของในหลวงมาใช้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ใช้อย่างพอเพียง ตัวเค้าเองก็ต้องรู้

สำหรับอาจารย์ภาษาต่างประเทศเราก็ต้องพยายามหาอาจารย์ที่อยู่ในประเทศเรา เลือกคนที่อยู่ในสายอาจารย์ที่อยู่ในไทยมาก่อนแล้ว ไม่ใช่เป็นพวกท่องเที่ยวมาแล้วมาทำงาน แต่ก็ยังดีกว่ายุคก่อนเพราะคนต่างชาติในไทยน้อย คนไทยก็จบภาษาต่างชาติน้อย สมัยนี้เยอะขึ้นเพราะเรามีหลักสูตรอินเตอร์รองรับ

อาจารย์ต่างชาติที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เป็นคนชาติไหน?

ส่วนใหญ่จะเป็นคนเอเชียเพราะว่าเราสามารถหาบุคคลากรได้ง่าย แต่ว่าความรู้หรือการพูดต้องเป็นระดับสากล ไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่ง เราจะมาดูถูกคนเชื้อชาติเอเชียไม่ได้ แม้ว่าสำเนียงแต่ละชาติจะแตกต่างกัน ถ้าเราฟังบ่อยๆ เข้ามันก็จะชินไปเอง เราต้องฝึกเองหัดดูหนังดูภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องไปยึดติดกับภาพลักษณ์ที่คนสอนจะต้องเป็นฝรั่งหรือมาจากอังกฤษแท้ๆ เสมอไป เราต้องสร้างและทำให้ได้ อย่านึกว่าอย่างคนไทยเองจะเก่งกว่าคนอเมริกาไม่ได้

คนภายนอกนั้นมองเอแบคว่าอย่างไร

เราเคยทำวิจัยมาก็จะสะท้อนภาพว่า เอแบคแพง ภาพลักษณ์นี้เรามีตั้งแต่ต้นๆ เพราะเราสอนเป็นภาษาอังกฤษ แต่สมัยนี้ถึงสอนภาษาไทยแต่เก็บค่าเทอมแพงกว่าเราก็มีนะ ภาพลักษณ์ตรงนี้มันเลยติดเรามาตั้งแต่แรก จนกระทั่งเราเก็บถูกเค้ายังมองว่าแพง

อย่างที่สองจุดอ่อนของเด็กเรา คือออกจากงานง่าย เราต้องมองที่โปรดักส์เราด้วย อย่างที่สามตัวอาจารย์ยังมีคนพม่าที่สอนอยู่เยอะ แต่ถ้ามองในความเป็นนานาชาติแล้วเรามีความหลากหลายที่สุด อาจารย์ทั้งหมดประมาณ 1,400 คน แบ่งเป็นชาวต่างชาติกว่า 40% ทั้งจากอเมริกา ยุโรป รัสเซีย แม้แต่ ภูฏานก็ยังมี ถ้าเทียบกับอัตราส่วนของนักศึกษาของเราประมาณ 20,000 คน ก็เทียบได้ในอัตราส่วน 1:20 ถือว่ายังดีอยู่ เรียนสบายๆ

วัฒนธรรมของเอแบคที่โดดเด่นคืออะไร?

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาเราเป็นสถาบันที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในองค์กร และทุกวิชาทุกหลักสูตรจะเป็น Entr epreneurship ในตัวของมันเอง นักศึกษาเมื่อจบออกไปแล้วจะต้องสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ด้วยตัวเค้าเอง มีหลายๆ คนจบไปแล้วสามารถสร้างกิจการของตัวเอง หรือสามารถทำงานในระดับกลางขึ้นไปในบริษัทของเขาได้ ไม่ใช่ไปเริ่มต้นที่ระดับรากหญ้าใหม่ และอีกอย่างที่เราเน้นมากคือเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมซึ่งจะขาดไม่ได้

คณะที่ยังคงโดดเด่น เน้นมากที่สุดยังคงเป็นคณะบริหารธุรกิจอยู่หรือไม่?

ไม่ใช่แค่บริหารธุรกิจอย่างเดียวแล้ว ขณะนี้เราได้เน้นอยู่ 3 จุดใหญ่ๆ คือ Business Management Education, IT ซึ่งรองรับโลกยุคปัจจุบัน และ Arts ภาษาศาสตร์ ซึ่งวิชาเหล่านี้จะเป็นรากฐานหลัก นอกจากนี้เรายังได้สร้าง College of Internet and Distance Education คือไม่ว่าใครจะอยู่ที่ไหนก็ยังสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โปรแกรมนี้รองรับบุคคลที่ไม่สะดวกจะมาเข้าเรียนในห้องเรียน นักศึกษาสามารถถามปัญหากับอาจารย์ทางอีเมล์ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ทางเรากำลังพัฒนาการสอนแบบข้ามประเทศ Tele-conference กรณีมีอาจารย์จากต่างประเทศซึ่งจะสอนแบบผ่านดาวเทียมได้ และยังมีระบบต่างๆ อีกมากที่เรากำลังสร้างเป็นตึกไอที คงอีกประมาณ 3 ปีกว่าจะสมบูรณ์ เราลงทุนตึกนี้ และซอฟท์แวร์ต่างๆไปแพงมาก ไม่ต่ำกว่า 8 ร้อยล้านบาท แพงมากเราไม่กลัว เรากลัวเรื่องคนเราไม่พร้อมมากกว่า หลังจากทีมบรรณาธิการข่าวMedia Thai Postได้มาสัมภาษณ์ท่านอธิการบดีของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ บราเธอร์บัญชา แสงหิรัญ จึงได้รับทราบว่าท่านเป็นหนึ่งในนักบริหารการศึกษาที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลเพื่อการรองรับสังคมแห่งอนาคตมากขึ้น และมุ่งหวังจะขยายองค์ความรู้ของคนไทยให้เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการปลูกฝังการเป็นคนดีในสังคมให้กับนักศึกษา เพื่อให้คนรุ่นใหม่ช่วยกันพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติได้อย่างแท้จริง...

Mission & Vision 2007 and Beyond


ABACA Profile เริ่มบทสัมภาษณ์ท่านอธิการบดีด้วยการขอให้ท่านเล่าถึงความแตกต่างในการบริหารงานมหาวิทยาลัย ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่ง Vice President for Academic Affairs ในช่วงปี ค.ศ. 1991 กับช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่ง Vice President for Academic Affairs ในช่วงปี ค.ศ. 1994 จนกระทั่งปัจจุบัน

ประเด็นที่ถามมีมิติด้านช่วงเวลา บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในแต่ละมิติจะมีความแตกต่างกันอยู่ในตัวของมันเอง สำหรับบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในแต่ละช่วงเวลาก็แตกต่างกันและตั้งแต่ ค.ศ. 2002 ถึงปัจจุบัน ต้องรับผิดชอบในฐานะอธิการบดีด้วย จึงขอเล่าในลักษณะมองย้อนอดีตและฉายภาพอนาคตในแบบภาพรวม ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับองค์การแห่งนี้ในระยะแรกๆ มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งก็เหมาะสมและสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่ในขณะนั้น แต่ในระยะหลังๆ จนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือที่เราเรียกว่า ‘การเปลี่ยนแปลงอย่างพลวัต’ (dynamic change) เพราะสภาพแวดล้อมภายนอกมหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมาก เช่น มีการแข่งขันสูงมากทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ มีความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา อิทธิพลของโลกาภิวัตน์ การไหลบ่าของข้อมูล ข่าวสาร (information explosion) และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นต้น แรงกดดันต่างๆ เหล่านี้ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วด้วย

“การพัฒนาของมหาวิทยาลัยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของอุดมศึกษาทั้ง 4 ประการ คือ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว มหาวิทยาลัยจะต้องดำเนินการในหลายๆ กิจกรรมไปพร้อมๆ กัน คือ

 ด้านวิชาการ ได้แก่ การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลาย ทันสมัย สามารถสนองความต้องการส่วนบุคคลของนักศึกษา และความต้องการของประเทศได้อย่างมีคุณภาพ การพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาอาจารย์ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น การจัดการเรียนการสอนจากเดิมที่มีคณะบริหารธุรกิจเพียงคณะเดียว ปัจจุบันมีถึง 10 คณะ วิชาในระดับปริญญาตรี และมีบัณฑิตศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับปริญญาโทมากกว่า 35 หลักสูตร และปริญญาเอกมีถึง 10 หลักสูตร

ด้านอาคารสถานที่ ได้มีการพัฒนาพื้นที่อาณาบริเวณให้มีความสะอาดสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย มีการบริหารจัดการพื้นที่ (space management) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากเดิมมีพื้นที่เฉพาะที่หัวหมากเพียง 16 ไร่ 3 งานเศษ มีอาคาร 3-4 อาคาร แต่ปัจจุบันมีถึง 12 อาคาร และยังมีวิทยาเขตบางนาที่มีพื้นที่มากกว่า 374 ไร่ มีอาคารสวยงามใหญ่โตมากมาย และกำลังก่อสร้างอีก 3 อาคาร เพื่อรองรับการขยายตัวและการย้ายจากวิทยาเขตหัวหมากไปในอนาคตอันใกล้ กล่าวโดยเฉพาะที่วิทยาเขตบางนามีอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนการสอนมาก บรรยากาศทางวิชาการ (academic atmosphere) ดีมาก เป็นการพัฒนาขึ้นมาตามแนวคิด ‘มหาวิทยาลัยในวนอุทยาน’ (university in a park) อันจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมและกล่อมเกลาให้นักศึกษาสามารถพัฒนาบุคลิกภาพ ความรู้สึกนึกคิดเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างดี

 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยได้ทุ่มเทงบประมาณจำนวนมากในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งเพื่อจัดการเรียนการสอน และการบริหารงานทั่วไปมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกในการจัดการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแห่งแรกทำให้ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกรวมกันมากกว่า 30 หลักสูตร ทำให้มหาวิทยาลัยต้องลงทุนและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดมา มหาวิทยาลัยได้ลงทุนก่อสร้างอาคาร IT ขึ้นเป็นการเฉพาะโครงการนี้ต้องลงทุนเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 800 ล้านบาท อันประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 2,000 เครื่อง ห้อง studio และห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่ทันสมัยล่าสุดเรากำลังพัฒนาระบบ College of Internet and Distance Education เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านอินเตอร์เน็ต นักศึกษาสามารถติดต่อกับอาจารย์ทางอี-เมล์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การพัฒนาห้องสมุด หอสมุดเป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษามาก ดังนั้น หอสมุดจึงต้องมีความทันสมัยมีความพอเพียงในการเป็นแหล่งค้นคว้าสรรพวิชาความรู้ที่หลากหลาย มหาวิทยาลัยจึงได้พัฒนาหอสมุดให้มีความสวยงาม โอ่โถง มีหนังสือและสื่อต่างๆ ที่ทันสมัยมากมาย เพียงพอกับการค้นคว้าของนักศึกษาและอาจารย์ทุกระดับ ทั้งที่หัวหมาก และบางนา มีการจัดให้มี Digital and Electronic Library ขึ้น ประกอบด้วยฐานข้อมูล Online จำนวนมาก นักศึกษา อาจารย์ สามารถค้นคว้าหาความรู้ได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด

การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษา ตลอดเวลาที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมีเป้าหมายชัดเจนในการดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อไปให้ถึงซึ่ง ‘ความเป็นเลิศทางวิชาการ’ (academic excellence) ในขณะเดียวกันก็มุ่งที่จะพัฒนาศึกษาให้บรรลุถึง ‘การเป็นคนทั้งครบ’ (total and complete man) คือ มีความรู้ ความสามารถ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และในขณะเดียวกันก็เป็นบุคคลที่มีจิตใจที่ดีงาม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี เห็นแก่ประโยชน์ของสังคมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน การที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ จะต้องมีกิจกรรมที่ต้องสร้างต้องทำอีกมากมายที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการมาแล้ว คือ การสร้างศูนย์กีฬา และสนามกีฬาที่ทันสมัย ทั้งในร่มและกลางแจ้ง โดยเฉพาะการสร้างสระว่ายน้ำ มาตรฐานโอลิมปิกที่ทันสมัย สนามเทนนิสที่ได้มาตรฐาน สนามกีฬาต่างๆ เหล่านี้จะช่วยพัฒนานักศึกษาให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง อันจะทำให้เป็นคนที่มีสติปัญญาฉับไว (sound mind in a healthy body) นอกจากนี้ยังทำให้เป็นคนที่มีระเบียบวินัยในตนเอง มีอารมณ์ที่มั่นคง จิตใจบานอีกด้วย การส่งเสริมกิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อการพัฒนานักศึกษา นอกเหนือจากการเรียนการสอน และการกีฬา มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้นักศึกษารวมกลุ่ม จัดตั้งเป็นทีม เป็นชมรมที่หลากหลายตามความสนใจของนักศึกษา ซึ่งจะช่วยทำให้นักศึกษามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การรู้จักทำงานเป็นทีม รู้จักการนำความรู้ที่เล่าเรียนมาประยุกต์อันจะทำให้นักศึกษามีการพัฒนาเชิงวุฒิภาวะได้อย่างดี โดยเฉพาะกิจกรรมเชิงวิชาการหรือที่มีลักษณะประเทืองปัญญา มหาวิทยาลัยจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งงบประมาณและการอำนวยความสะดวกต่างๆ

การพัฒนาความเป็นนานาชาติ (internationalization) มหาวิทยาลัยได้ชื่อว่าเป็น The First International University in Thailand เพราะเราได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระบบนานาชาติมากว่า 35 ปี ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ทำให้มีอาจารย์และนักศึกษาจากนานาประเทศมาศึกษา และเรียนรู้ร่วมกันที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนมาก คือ มีอาจารย์ต่างชาติจำนวน 381 คน จาก 38 ประเทศ และมีนักศึกษาต่างชาติจำนวน 2,360 คน จาก 77 ประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า “มหาวิทยาลัยเป็น International Community of Scholars” จุดเด่นของการพัฒนาความเป็นนานาชาตินี้มีผลทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมกันเป็นอย่างดีทุกคนสามารถใช้ชีวิตและทำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ร่วมกันอย่างสันติ และสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยได้ปีละกว่า 500 ล้านบาท

หลังจากท่านอธิการบดีได้กล่าวถึงภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่เกิดขึ้นในอดีตมาจนถึงปัจจุบันแล้ว ท่านยังได้กรุณาฉายภาพอันเป็นการมุ่งหวังในอนาคตที่น่าสนใจอีกหลายประเด็น ดังนี้

แผนงานหรือโครงการที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคตอันใกล้นี้ที่คิดไว้มีหลายประเด็นซึ่งจะขออนุญาตไม่ลงไปในรายละเอียดมากนัก เพราะเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา และยุทธศาสตร์การแข่งขัน เช่น การเพิ่มขีดความสามารถในความเป็นนานาชาติ ซึ่งได้กล่าวไปบ้างแล้ว ยังมีประเด็นที่จะต้องทำต้องพัฒนาอีกต่อไป โดยเฉพาะในปีนี้มหาวิทยาลัยจะมีกิจกรรมระดับโลก 2 กิจกรรม คือ

  • มหาวิทยาลัยร่วมจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ในเดือนสิงหาคม 2550

  • มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันโต้วาทีโลกในเดือนธันวาคม 2550

สำหรับเรื่องที่จะทำต่อไปคือ

  • การเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้มากขึ้นทุกปี

  • การจัดกิจกรรมระดับนานาชาติ

  • การสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับสถาบันและองค์กรต่างประเทศ

  • การมุ่งสู่ความเป็นสากลในทุกมิติของการเป็นมหาวิทยาลัยยอดนิยม

การส่งเสริมงานวิจัย ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เราเน้นการเป็น Teaching University ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป จะให้น้ำหนักงานวิจัยมากขึ้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และนำมาใช้ในการเรียนการสอน การเพิ่มพูนความรู้ของอาจารย์ รวมถึงการวิจัยเพื่อเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยจึงต้องวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสนับสนุนการวิจัยอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะด้านงบประมาณและทรัพยากรการวิจัยอื่นๆ อันจะทำให้การส่งเสริมการวิจัยนี้เป็นรูปธรรม โดยกลุ่มเป้าหมายที่มุ่งเน้น คือ การศึกษาวิจัยของอาจารย์และของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

การส่งเสริมให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นอีกแผนงานหนึ่งที่มหาวิทยาลัยมุ่งส่งเสริมให้มากยิ่งขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า อันจะเป็นผลพลอยได้ต่อเนื่องมาจากการส่งเสริมการวิจัย โดยมุ่งให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์เป็นอันดับแรก รองลงมาคือในระดับรองศาสตราจารย์ และศาตราจารย์เป็นลำดับสุดท้าย

การพัฒนาบุคลากร บุคลากรถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงจะต้องทำทุกวิถีทางในการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ และทักษะให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของมหาวิทยาลัยทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้ได้ และเพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นเป็น ‘สินทรัพย์’ (human assets) ที่ทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัย

การพัฒนาระบบ เมื่อมีการพัฒนาบุคลากรแล้วจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบด้วย ซึ่งถือเป็นโครงสร้างทางการบริหารที่สำคัญ ถ้าระบบต่างๆ ของมหาวิทยาลัยไม่ชัดเจน ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่มีคุณภาพ ผลลัพธ์ที่คาดหวังจะให้เกิดก็อาจจะไม่เกิด ระบบต่างๆ ที่จะต้องพัฒนาประกอบด้วย

  • ระบบการวางแผน การจัดทำและการประเมินผลงบประมาณ

  • ระบบการตรวจสอบภายในทางด้านการบริหารจัดการ และด้านคุณภาพ (QA)

  • ระบบการบริหารงานบุคคล

  • ระบบการสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ ระบบ ICT อุปกรณ์และสื่อทัศนูปกรณ์ทางการศึกษา

  • การสร้างวัฒนธรรมองค์การ ที่มีอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย การมีธรรมาภิบาล การดำเนินชีวิตและการบริหารตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่พร้อมถึงด้วยคุณธรรมและจริยธรรม การมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย

การพัฒนาด้านวิชาการ เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และจะต้องดำเนินการต่อไปในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยมีนวัตกรรมใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและประเทศ การยุบรวม และยกเลิกหลักสูตรที่ซ้ำซ้อน และไม่ทันสมัย

การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยจะเน้นเทคนิควิธีการเรียนการสอน (pedagogical techniques and methodologies)

การพัฒนาวิทยาเขตหัวหมาก ขณะนี้อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายการจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีทั้งหมดไปที่วิทยาเขตบางนา ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้เสร็จภายใน 5 ปี หลังจากนั้น วิทยาเขตหัวหมากจะถูกพัฒนาให้เป็น ‘วิทยาเขตในเมือง’ (downtown campus) ที่มีความพร้อมและทันสมัยสำหรับการจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา การฝึกอบรม และการศึกษาในหลักสูตรพิเศษต่างๆ เพื่อตอบสนองการศึกษาตลอดชีพ (life-long education) ต่อไป

นี่คือ Mission & Vision 2007 ของ ท่านอธิการบดี ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ ในการบริหารมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งคงช่วยให้เกิดความกระจ่างแก่ศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไป เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี 

 แหล่งที่มา : ABACA Profile (January – April, 2007) หน้า 20-22

ทิศทางที่ 2
เพิ่มคุณธรรม 
(Ethic and Moral) 

ความรวดเร็วในการทำธุรกิจ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในการดำเนินงานมากขึ้น วิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อสถาบันการเงินระดับใหญ่ของโลก นำเงินไปลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพ เมื่อความเป็นจริงปรากฏ ผลกระทบจึงตกกับคนทั้งโลก

การตัดสินใจที่ผิดพลาดขาดความยับยั้งชั่งใจการปกปิดข้อมูลสำคัญอย่างในกรณีของเอนรอนที่กลายเป็นกรณีศึกษาของนักศึกษาเอ็มบีเอทั่วโลก เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้มีต้องมีการสอดแทรกแนวคิดด้านคุณธรรมและจริยธรรมทางธุรกิจเข้าไปในการเรียนการสอน

สถาบันการศึกษาในประเทศไทยทุกสถาบันล้วนเห็นตรงกันว่าการสอดแทรกเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญในการอบรมบ่มเพาะคนที่มีคุณภาพสู่สังคม ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ให้ความเห็นว่า สถาบันการศึกษามีความสำคัญ สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมที่ตัวเองอยู่ได้ เนื่องจากเป็นแหล่งความรู้ เป็นแหล่งผลิตองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ

“สมมติเราเป็นหมอมีโรคเอดส์ มีโรคซาร์ส เราก็ต้องไปวิจัย เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เพราะสมัยก่อนโลกไปช้า ยุคใหม่โลกวิวัฒนาการเร็วมาก เราก็ต้องเอาคนมีปัญญาไปแก้ไข” ดร.บัญชากล่าว

สิ่งที่สถาบันการศึกษาต้องทำคือ การนำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ อาทิ งานวิจัย หรือความรู้ทางวิชาการที่มีอยู่แล้วนำเข้าไปสู่สังคม หรือในบางเรื่องก็สามารถช่วยสร้างจิตสำนึกให้กับคนในสังคมด้วยการเขียนบทความ ร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นได้

ดร.บัญชา อธิบายเพิ่มว่า “สร้างจิตสำนึกว่า เราแคร์สังคมนะ ไม่อย่างนั้นแล้ว อย่างห้องน้ำตามปั้มสมัยก่อนไม่กล้าเข้า เพราะอะไรไม่แคร์คนอื่น ใช้เสร็จแล้วก็ทิ้งไป ไม่สนใจคนอื่น ของเหล่านี้จะค่อยๆ เกิดขึ้น ถ้าทุกคนทำ อย่างความสะอาดถ้าเห็นคนทิ้งทุกคนจะจ้องเลย ทำให้คนเกิดจิตสำนึกได้

“สังคมคนไม่ได้อยู่คนเดียวโดดๆ มีอิทธิพลต่อกัน แม้ไม่มีจิตสำนึกในตัวเองแต่ก็ช่วยได้ อย่างเด็กแต่งตัวมาไม่นุ่งทับมาเห็นคนอื่นเขานุ่ง ก็ต้องทำ แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้โตขึ้นไปก็จะค่อยๆ เรียนรู้ไปว่า ตอนที่เขาว่าเราตอนนั้น ถูกนะ จะเกิดมาทีหลัง ของอย่างนี้ไม่ได้เกิดง่าย การสอนให้เกิดปุ๊บปั๊บไม่มี เด็กจะเรียนรู้ด้วยตัวเขาเอง เด็กอาจจะเข้าใจแต่ไม่ทำก็ได้ ต้องปลูกฝัง เหมือนเมล็ด บางคนหย่อนลงหลุมน้ำลงแตกเลย แต่บางคนอีกนาน เราจะไปว่าใครไม่ได้ การสอนคนถึงลำบาก ไม่เหมือนบริษัท บริษัทตั้งเป้าหมายอย่างนี้ เป็นตัวเลขเด่นชัด”

วิธีการของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญคือ ให้นักศึกษาทุกคนต้องลงเรียนวิชาจริยธรรมด้านวิชาชีพ ทุกเทอมตลอด 4 ปี เป็นการสอดแทรกความคิดผ่านเนื้อหาวิชาที่เรียน พร้อมกับการควบคุมระเบียบต่างๆ ที่เป็นตัวช่วยสร้างความมีระเบียบวินัยให้กับนักศึกษา

ทางด้าน ดร.ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ก็มองภาพการเพิ่มพูนกลไกจริยธรรมไปในหลักสูตรว่า ปัจจุบันมีมากขึ้น “ที่เป็นกลไก

หน่อยไม่ใช่จริยธรรมแต่เป็นการจัดการที่ดีที่เรียกว่า Good Governance ก็ไม่ได้ลงไปถึงเรื่องจริยธรรม เป็นลักษณะของการควบคุมการกำกับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง แต่จริยธรรมเป็นเรื่องของภายใน เกิดจากตัวคนมากกว่าที่จะมีการจำกัดหรือเหนี่ยวรั้งตัวเอง เพราะฉะนั้นก็ต้องมีควบคู่กันไป”

ดร.ชัยอนันต์มองว่า การสอนจริยธรรมในทางวิชาการทำได้ยาก ที่สามารถทำได้คือการศึกษากรณีศึกษา ที่เป็นเรื่องราวความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ของสาธารณะกับองค์กรและผลประโยชน์ส่วนตัว โดยสามารถนำกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นที่ใดในโลกมาดู เพื่อให้รับรู้ว่าสิ่งนี้ผิดและไม่ควรทำ แม้จะไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดในเชิงจริยธรรมอย่างไร

แนวคิดนี้สอดคล้องกับที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อรรณพ เล่าให้ฟังว่า ในอดีตเคยมีวิชา Business Ethic และทางคณะฯ พบว่า การเปิดสอนเป็นรายวิชา มีการสอบ มีการให้เกรด ทำให้เกิดความคิดขัดแย้งว่า คนนี้มีจริยธรรมมากกว่าอีกคนหนึ่ง ทางคณะฯ จึงเปลี่ยนแปลงไม่แยกทำเป็นรายวิชาเช่นก่อน หากแต่สอดแทรกลงไปในทุกวิชา เช่น การทำบัญชีให้ถูกต้องการเก็บข้อมูล และการแสดงข้อมูลที่ถูกต้อง 

พร้อมกันนี้ ดร.อรรณพยังแสดงความเห็นด้วยว่า “สมัยก่อนเราไม่เคยมีคำว่า Ethic เลย ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไร ต้องเป็นอย่างไร ผมก็เห็นนักธุรกิจสมัยก่อนร่ำรวยก็บริจาคเงินทอง ทำบุญกุศล แต่ปัจจุบันต้องมีการเขียนว่า Ethic คืออะไร แสดงว่าสังคมไม่ได้มองจุดนี้ คือต้องไปแก้ตั้งแต่เด็กเลย ไม่ใช่มาแก้ตอนนี้”

ไปดูที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดร.ทิพยรัตน์ ให้รายละเอียดในการสอดแทรกแนวคิดคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษาว่า “จริงๆ ต้องแทรกตั้งแต่เด็กแต่อย่างไรก็ตามเราเป็นสถาบันอุดมศึกษาจะไป

โทษว่าแต่เด็กไม่สอนไม่ได้ เราต้องรับผิดชอบสังคม เราก็ทำตั้งแต่ปริญญาตรีไปจนปริญญาเอก การสอดแทรกจะต่างกัน ปริญญาเอกเขาเป็นผู้ใหญ่ เราจะไปสอนสอดแทรกแบบปริญญาตรีคงไม่ได้ ของปริญญาตรีอาจารย์บางคนใช้เทคนิคว่า เด็กนี่ต้องดูทีวีอยู่แล้ว เขาให้ 10 นาทีหลังจากที่เขาสอนเสร็จให้เด็กออกมาเล่าเรื่องในทีวี โดยยกตัวอย่างว่า สิ่งที่เขาดูเมื่อวานนี้มีอะไรที่บ่งบอกถึงคุณธรรมจริยธรรมออกมาวิเคราะห์”

“สำหรับปริญญาเอกเนื่องจากเน้นวิจัยเราจะมองเรื่องคุณธรรมของการทำวิจัยเป็นจรรยาบรรณที่ไม่ทำให้ใครเขาเดือดร้อนต้องระวังเป็นคุณธรรมประจำใจที่ว่า ไม่ใช่ทำวิจัยแล้วไปทำให้ใครเดือนร้อน

“คุณธรรมเหมือนนามธรรม ต้องมีจริยธรรม คือการปฏิบัติ ในปริญญาโท ปริญญาเอก เราจะเน้นให้เขาคิดด้วยตัวเอง”

ดร.ทิพรัตน์ สรุปว่า ยังไม่ทราบว่าสิ่งที่ทำอยู่ขณะนี้ถูกหรือผิด แต่มีความหวังว่า นักศึกษาที่ผ่านการเรียนการสอน จะสามารถมีคุณธรรมจริยธรรม สามารถแยกแยะเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างถูกต้องดีงามยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ความต้องการของผู้ประกอบการด้านธุรกิจที่มีเพิ่มมากขึ้นจากความตื่นตัวในปรากฎการณ์โลกร้อนส่งผลให้แต่ละสถาบันต้องเปิดสอนวิชา เช่น ธรรมาภิบาล CSR ซึ่งนอกจากเป็นส่วนช่วยในการสร้างจิตสำนึกทางอ้อมแล้ว ยังสามารถนำแนวคิดด้านคุณธรรม จริยธรรม ไปส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้มีความโปร่งใส เป็นมิตรกับชุมชนและสังคมรอบข้างได้มากขึ้น รวมถึงช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรในระยะยาว

แนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรม จึงเป็นอีกประเด็นที่ถูกสอดแทรกลงไปในหลักสูตรอย่างแนบเนียน ขณะเดียวกันคณาจารย์ก็ให้ความเห็นว่า

เรื่องดังกล่าวต้องมีการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก การมาบ่มเพาะในช่วงที่เรียนระดับปริญญาโทอาจจะไม่ทันการณ์ เพราะคนที่คิดดีอยู่แล้วนั้นแทบไม่ต้องไปบอกอะไรก็สามารถมีคุณธรรมจริยธรรมได้ อย่างไรก็ตามการเพิ่มแนวคิดดังกล่าวอาจช่วยทำให้เกิดฉุกคิดและเปลี่ยนแปลงตนเองได้ต่อไป

ทิศทางที่ 3
ภาษาและวัฒนธรรม(Language & Culture)

 “มีห้าสิ่งที่ต้องหาอยู่ตลอด ทางด้านวิชาการ

“หนึ่ง" เราต้องปรับวิชาการให้ทันสมัย ตัวนี้ต้องปรับตลอดเวลา จะบอกว่าไม่มีอะไรใหม่ไม่ได้

“สอง" โลกนี้รวมกันแล้ว ไปงานไหนก็จะเห็นคนมาจากหลายๆ ชาติ ต้องศึกษาเรื่อง Culture ต้องมีประสบการณ์ จะได้ปรับตัวให้เข้ากับเขาได้ สังเกตอย่างคนไทยไม่ค่อยกล้าพูดกล้าทำ เราต้องรู้ต้องมีประสบการณ์

“สาม" การพัฒนาตัวเอง การเรียนหนังสือพ่อแม่เน้นที่วิชาการ ความรู้จะหาเมื่อไหร่ก็ได้ อ่านเองก็ได้ แต่การพัฒนาตัวเอง คาแร็กเตอร์สำคัญ Social Skill ลักษณะนิสัยต่างๆ 

“สี่" คือภาษา ในยุโรปจบมหาวิทยาลัยต้องได้สี่ภาษา ของเราไม่

“ห้า" Thinking Skill ทักษะการคิดต้องหาทางพัฒนา ยุคใหม่ เราเปลี่ยนจากเกษตรมาอุตสาหกรรม มายุค Knowledge base ต้องมายุค Creativity Innovation ดูอย่างมือถือสวีเดน นาฬิกาสวิสเรือนหนึ่ง เราขายข้าวแทบตาย อยู่ที่ Innovation เวลานี้มีบ้างแล้วเริ่มคิดแล้ว เรามีของเยอะแต่ไม่ค่อยมี Innovation พ่อแม่ครูก็ต้องสอนให้เด็กคิด ไม่ใช่ทำให้เลย เด็กไม่เรียนรู้ ที่บ้านและโรงเรียนต้องเชื่อมกัน

“มิติต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำจะเป็นเอ็มบีเออย่างไรก็แล้วแต่เราต้องสร้างคนที่เป็น Global อยู่ที่ไหนก็ได้ ภาษาสำคัญมาก”

นี่คือบทสรุปของ ภราดา ดร.บัญชา จากมหาวิทยาลัยอัสสัม-ชัญ ที่มองว่า ทักษะด้านภาษาและการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโลกยุคใหม่ๆ การสร้างบุคลากรเพื่อรองรับจึงต้องเน้นหนักให้มีทักษะความรู้ด้านภาษาติดตัวออกไปด้วย ในหลายสถาบันเปิดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเห็นความจำเป็นดังกล่าว เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียน

พร้อมกับการเรียนการสอนเรื่องวัฒนธรรมของแต่ละชาติแต่ละทวีปที่มีความเชื่อวิธีการทางสังคมที่แตกต่างกันโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทั้งในรายวิชาและการไปทัศนศึกษาดูงานในต่างประเทศที่น่าสนใจอีกทั้งในบางมหาวิทยาลัยมีอาจารย์จากต่างประเทศมาเป็นผู้สอนทำให้นักศึกษาสามารถรับรู้ และสอบถามเรื่องราวทางวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น

เช่นที่มหาวิทยาลัยชินวัตร ผศ.ดร.ชาญชัย บัญชาพัฒน-ศักดา ผู้อำนวยการหลักสูตร MBA ให้ข้อมูลการเปิดสอนเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษว่า แม้ผู้เรียนชาวไทยจะไม่สันทัด แต่ทางสถาบันก็เล็งเห็นว่าจำเป็นโดยการใช้อาจารย์จากต่างประเทศ ร่วมกับอาจารย์ชาวไทยเป็นการบังคับให้นักศึกษาต้องสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ช่วยเสริมให้ผู้เรียนสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้นพร้อมกับการได้ศึกษาความแตกต่างของวัฒนธรรมจากที่ต่างๆ ของโลก 

ขณะที่มีอีกหลายมหาวิทยาลัยคิดโปรแกรมการเรียนแบบใหม่ เช่นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อรรณพ เปิดเผยว่า จะมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมากขึ้น โดยมีแนวคิดว่าจะจัดทำหลักสูตรที่ “เทอมที่หนึ่งเรียนจุฬาฯ เทอมที่สองเรียนยุโรป แต่ตรงนั้นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น จะได้คอนเน็กชั่น ได้เห็นวัฒนธรรม เพราะการทำธุรกิจต้องมองภาพกว้าง ต้องทำระดับปริญญาโท ปริญญาเอก เป็นพวกท็อปสัก 20 คน เพราะการทำงานธุรกิจไม่จำกัดอยู่แค่ในประเทศ ต้องมองภาพกว้าง”

นอกจากภาษาอังกฤษที่สามารถสื่อสารกับคนได้ทั่วโลกแล้ว ภาษาจีนและญี่ปุ่น ก็กำลังเป็นที่สนใจของผู้เรียนจำนวนมาก เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และความยิ่งใหญ่ทางธุรกิจของญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้มีทักษะทางภาษานั้นๆ มีแต้มต่อที่ดีกว่าในการติดต่อประสานงานทางธุรกิจ

หากมองว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ เริ่มจากในองค์กรที่ทุกวันนี้มีพนักงานนานาชาติมากขึ้น การติดต่อภายนอกองค์กรคู่ค้าและลูกค้า ทำให้หลีกเลี่ยงการติดต่อกับชาวต่างชาติได้ยาก การเพิ่มการศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรมซึ่งเป็นตัวช่วยที่สามารถเสริมสร้างทักษะในการสื่อสารระดับโลกให้กับบุคลากร จึงมีความตื่นตัวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างเห็นชัดเจน 

ทิศทางที่ 4
เน้นงานวิจัย (Research) 

งานด้านวิชาการที่สถาบันการศึกษาเป็นผู้ผลิต มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการของโลก กระบวนการวิธีการบริหารจัดการรูป แบบใหม่ๆ ได้รับการสังเคราะห์ วิเคราะห์ จนกลายเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงในชีวิตการทำงาน

แนวคิดการบริหารจัดการก็เช่นกันที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กูรูทางด้านการบริหารจัดการส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย คิดค้นหาคำตอบการจัดการใรรูปแบบต่างๆ กลายเป็นแบบเรียนให้นักศึกษาและนักธุรกิจทั่วโลกนำไปปรับใช้

ในประเทศไทย แม้ตลาดวิชาการยังไม่สามารถสร้างงานที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกให้เห็นเด่นชัด แต่ความจำเป็นในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้น ให้เหมาะกับบริบททางธุรกิจของสังคมไทยยังคงมีอยู่ วิชาหลายวิชาที่นำมาจากสหรัฐอเมริกาเมื่อมาถึงประเทศไทยอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นด้วยขนาดของตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก แต่บางวิชาก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เนื้อหามีความสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม

งานวิจัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น ดังที่เกิดขึ้นในทุกสถาบัน

 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดร.จีรเดช ให้ความเห็นว่า การเรียนการสอนในรูปแบบเดิมเปลี่ยนไปแล้วสำหรับการศึกษาของไทย “เพราะระบบที่เราสอนอยู่นี้ล้าหลังต่างประเทศ 5-10 ปี สาเหตุเพราะอาจารย์ที่มาสอนไม่ทำวิจัย เมื่อไม่ทำวิจัยก็ต้องกางหนังสือสอน และหนังสือที่สอนกว่าอาจารย์ไทยจะมาอ่าน มาแปลแล้วขึ้นเว็ปก็ตกไป 5 ปี เพราะฉะนั้นทุกวันนี้เป็นการเอาเรื่อง 10 ที่แล้วมาสอน ตรงนี้ผมรับไม่ได้ ผมจึงให้อาจารย์หันมาทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง”

ดร.บัญชา จากมหาวิทยา-ลัยอัสสัมชัญ ให้ความเห็นตรงกันว่า วิวัฒนาการของโลกอุดมศึกษา เริ่มจากการเรียนการสอน ต่อมาจึงมีการทำวิจัย โดยปกติแล้วอาจารย์ในรั้วมหาวิทยาลัยก็ทำงานวิจัยอยู่ด้วยแล้ว แต่ไม่ค่อยออกมาบอกกล่าวต่อสังคม

ปัจจุบันนี้งานวิจัยมีบทบาทมากขึ้น ถือเป็นภาระหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาอีกประการหนึ่ง แต่ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมอุดมศึกษาของประเทศไทยคือ “ประเทศไทยถามว่ามีหน่วยงานไหนไหมที่เป็นสถาบันการวิจัย ให้ใครทำสูงที่สุดในประเทศไทย ก็ยังนับไม่ได้ เพราะหลักเกณฑ์ของสถาบันวิชาการทางวิจัยต้องทำวิจัยกี่เปอร์เซ็นต์ แล้ววิจัยต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสามารถเอามาใช้ได้ ของไทยเราวิจัยเสร็จแล้วก็ขึ้นหิ้ง เอามาทำเป็นตำแหน่งทางวิชาการ” 

ทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงเน้นการสร้างจิตสำนึกทางวิชาการให้กับอาจารย์ ให้ทำวิจัยด้วยตัวเองจากการสังเกตปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องรอให้ทางผู้บริหารสั่งการ ทั้งนี้ทางสถาบันจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ ให้กับอาจารย์เอง

ขณะที่ ดร.ชัยอนันต์ จากวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล มองเรื่องการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการบริหารจัดการว่า การสร้างทฤษฎีใหม่เป็นเรื่องที่ยาก เพราะสาขาวิชานี้เป็นฐานความคิดจากตะวันตก และประเทศไทยยังไม่มีนักคิดหรือนักทฤษฎีที่ไปพัฒนาแนวคิดให้สู่ระดับทฤษฎี

อย่างไรก็ตาม หากจะมีสาขาที่นักวิชาการไทยน่าจะสร้างทฤษฎีใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ตามทัศนะของ ดร.ชัยอนันต์ชี้ว่า “ได้ก็คงเป็นด้านของจริยธรรม ที่เรียกว่า Corporate Social Responsibility (CSR) ความรู้นี้น่าจะทำได้ เพราะของเรามีพื้นฐานจากสังคม การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันและการให้กับสังคม ให้กับวัดหรือตั้งแต่ครอบครัวการอยู่กันมีปู่ย่าตายาย ดูแลคนที่ไม่ได้ให้อะไรต่อผู้ดูแล ไม่ได้เป็นลูกค้า ก็ยังมีการดูแลกันอยู่”

งานวิจัยที่สถาบันอุดมศึกษาจัดทำขึ้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่งานวิจัยทางวิชาการเพื่อทำเป็นทฤษฎีแต่การศึกษาธุรกิจแขนงต่างๆ ก็สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ประกอบการรุ่นหลังสามารถนำไปปรับใช้ได้ เช่น มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ผศ.ดร.วิชัย รัตนา - กีรณวร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เปิดเผยว่า งานวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระของนักศึกษามีเป็นจำนวนมาก ทางสถาบันพยายามกระตุ้นให้นักศึกษาทำงานให้เกิดประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุด ถือเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับสังคมธุรกิจในภาคใต้ไปพร้อมกัน

หรือในกรณีของ สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ โดย ผศ.ดร.รัตนา ประเสริฐสม อธิการบดี โดยความเห็นเกี่ยวกับการทำวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการค้าปลีกว่า ผู้ประกอบการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้งานวิจัยเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจในการวางกลยุทธ์ต่างๆ ศูนย์วิจัยฯ สามารถช่วยสังคมหรือหน่วยงานภายนอกได้ในจุดนี้ เพราะทางสถาบันมีแผนแม่บทงานวิจัยที่จะรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ค้นคว้า

ดร.รัตนามองว่า สิ่งที่สถาบันจะได้ประโยชน์จากการทำงานวิจัยคือ ชื่อเสียงของสถาบัน และเป็นแรงบันดาลใจให้อาจารย์ทำงานวิจัยมากขึ้น และอนาคตหากมีผู้สนใจมาว่าจ้างให้สถาบันทำงานวิจัยก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมและหารายได้

ตัวอย่างงานวิจัยของนักศึกษาที่ทำขณะทำการศึกษาและได้รับการยอมรับตัวอย่างหนึ่งเกิดที่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผศ.ดร.จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา ให้ข้อมูลว่า ในการทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาอยากสร้างองค์ความรู้เรื่องอะไรต้องศึกษาวิจัยในเรื่องนั้น เช่น ต้องการสร้างองค์ความรู้เรื่องการบริหารอุตสาหกรรมที่ทำอยู่ ผู้ทำวิจัยต้องนำเอาความรู้จากต่างประเทศมาปรับปรุงให้ตรงกับที่เขาต้องการทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่

“คือ มีนักศึกษาทำงานอยู่ที่โรงงานใหญ่แห่งหนึ่งเขาวิจัยเทคนิคการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ พอเขาวิจัยเสร็จ ผลปรากฎว่างานวิจัยเขาสามารถไปใช้งานในโรงงานได้จริง และเขาก็ได้รับรางวัล จากผู้บริหารต่างประเทศ นั่นเป็นผลจากการสร้างองค์ความรู้ของนักศึกษาเอง”

ดร.จิระเสกข์ บอกอีกว่า ทุกวันนี้งานวิจัยของนักศึกษาโดยส่วนใหญ่ เมื่อวิจัยเสร็จแล้ว ทางโรงงานก็จะขอดูเพื่อนำไปปรับปรุงโรงงานต่อไป

การสร้างงานวิชาการใหม่ๆ จึงไม่จำกัดวงอยู่เพียงแค่คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาหากแต่ตัวนักศึกษาเองก็สามารถเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นมาได้ ทั้งนี้โดยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาของผู้สอน การร่วมมือกันเช่นนี้ส่งผลดีต่อทั้งนักศึกษาและอาจารย์ ที่จะมีโอกาสได้แบ่งปันสิ่งที่ตนมีอยู่ และนำสิ่งที่ตนขาดมาประยุกต์ปรับปรุงให้เกิดวิธีคิดใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมาได้

โลกที่แข่งกันด้วยความเร็ว ความรู้จำเป็นอย่างยิ่งที่งานวิจัยของประเทศไทยต้องมีการพัฒนา 
ให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นของเราเอง เพราะในสภาพการแข่งขันระดับโลก หากมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือเปลี่ยนแปลงหลักวิธีคิดที่มีพื้นฐานจากแหล่งใด ประเทศต้นตำรับหรือผู้ที่ยึดครององค์ความรู้พื้นฐานในเรื่องดังกล่าว ก็สามารถประยุกต์เอาพื้นฐานที่มีนั้นมาใช้ได้โดยง่าย ต่างจากผู้ที่ไม่มีความรู้เป็นของตนเอง ใช้การนำเข้าองค์ความรู้และมาปรับใช้ การปรับตัวต้องใช้เวลานานกว่าที่จะสามารถทำได้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง

และเรื่องนี้สอดคล้องกับแนวคิดภาครัฐต้องการเน้นให้ประเทศไทยผลิตชุดความรู้ด้านต่างๆ ของตนเองขึ้นมาให้ได้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันในระดับโลกต่อไป

วัดกันที่คุณภาพ

นับวันความนิยมศึกษาต่อด้านบริหารธุรกิจของคนไทยจะมีมากขึ้นสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีการปรับปรุงหลักสูตรวีธีการเรียนการสอนรวมถึงการเปิดสถานที่เรียนใหม่ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้มาเรียนมากขึ้น

สิ่งที่ผู้เรียนคาดหวังจะได้จากการเรียนย่อมต้องเป็นความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาการที่นำมาสอนอีกทั้งเน็ตเวิร์กที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนกับเพื่อนร่วมห้องและคณาจารย์การเพิ่มทักษะความสามารถใหม่ๆ สำหรับการทำงานของแต่ละคนความคาดหวังจะได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นการย้ายที่ทำงานใหม่ ได้รับค่าตอบแทนมากกว่าเดิม หรือบางคนอาจจะอยากมาเรียนเพราะอยากได้ปริญญาอีกสักใบไว้ประดับฝาบ้าน

ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นได้จากการเรียนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงคือคุณภาพทางการศึกษาที่แต่ละสถาบันมอบให้กับมหาบัณฑิตเหล่านี้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตร MBA ในประเทศไทยที่มีจำนวนมากมายจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการควบคุมดูแลคุณภาพการเรียนการสอนให้ดี

ขณะที่ผู้เรียนคงต้องทบทวนตัวเองว่า ที่สมัครเข้าเรียนนั้นตามแฟชั่นหรือไม่ เรียนแล้วจะนำไปใช้งานจริงหรือไม่ เพราะต้องไม่ลืมว่า การเรียน MBA ก็เป็นโอกาสแบบหนึ่ง หากเรียนแล้วไม่นำไปใช้นับเป็นการสูญเสียโอกาสของสังคมของประเทศ

ผู้บริหารสถาบันการศึกษาหลายท่านให้ความเห็นกับ MBA ว่าต่อไปผู้ประกอบการคงต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกรับบุคคลเข้าทำงานที่เรียนจบ MBA มากขึ้นเพราะจำเป็นที่มีมากขึ้นของสถาบันที่สอน จำนวนนักเรียนที่จบมาปีละกว่าหมื่นคน การคัดเลือกอย่างพิถีพิถันจึงเป็นสิ่งจำเป็น

เพราะการแข่งขันเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา คำว่าคุณภาพ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการคัดสรรบุคคลเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ทั้งสถาบันอุดมศึกษาและตัวผู้เรียนเองจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาคุณภาพของตนเองไว้ให้ได้ 

แหล่งที่มา : วารสาร MBA (Vol.10 No.115 October 2008) 

 

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย และเป็นองค์กรที่มิได้หวังผลกำไรตอบแทน ใน พ.ศ. 2512 มูลนิธิฯ ได้ขยายการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาที่เน้นภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอนแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “Assumption School of Business” (ASB) และ พ.ศ. 2515 สถาบันได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและใช้ชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ” (Assumption Business Administration College-ABAC) ต่อมาใน พ.ศ. 2533 ทบวงมหาวิทยาลัยจึงอนุมัติให้เปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย และใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ” (Assumption University- Au) จนถึงปัจจุบัน เป้าหมายหลักของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คือการมุ่งมั่นที่จะพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนมาตั้งแต่ครั้งในอดีตซึ่งมีเพียงคณะบริหารธุรกิจเพียงคณะเดียวจนกระทั่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญสามารถเปิดสอนในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอน อีกทั้งยังได้ปรับปรุงระบบการศึกษาให้เป็นตามมาตรฐานสากล และเป็นสังคมนานาชาติ (International Community) ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างความหลากหลายทาง

เชื้อชาติ ศาสนา สิลปวัฒนธรรม และประเพณี ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสและชื่นชมสิลปวัฒนธรรมและอารยธรรมทั้งของตะวันตกและตะวันออก ซึ่งปัจจุบันมีนักศึกษาและคณาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากกว่า 80 ประเทศ

ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า รางวัล PM’s Export Award 2008 นี้นับเป็นรางวัลที่ 2 ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่ได้รับจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งครั้งแรกได้รับไปเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา หากมองในแง่ของอุตสาหกรรม การส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ เราก็จะได้เงินดอลลาร์กลับมา แต่สำหรับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ไม่ใช่เพียงแค่ค่าหน่วยกิต เพราะเราเป็นองค์กรที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไร แต่เป็นเรื่องเศรษฐกิจภายในประเทศ การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษาชาวต่างชาติ ที่เข้ามาพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กินอาหารไทย ซื้อสินค้าไทย ธุรกิจต่างๆ เหล่านี้ก็ได้รับประโยชน์ตามไปด้วย ถือเป็นการช่วยเรื่องเศรษฐกิจของประเทศได้ นอกจากนี้นักศึกษาที่เรียนจบไปแล้วก็ได้เรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทย รู้จักอาหารไทย และมีโอกาสนำประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้กลับไปยังประเทศบ้านเกิดอีกด้วย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีระบบการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (International Program) ทั้งหมดมีนักศึกษาหลากหลายชาติ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย รัสเซีย ภูฏาน ทิเบต ฯลฯ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านที่เราให้การช่วยเหลือ เช่น ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา ซึ่งเป็นการสร้างพันธมิตรระหว่างชาติ ถือเป็นการรับใช้ประเทศชาติอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ก็มีส่วนช่วยเหลือมหาวิทยาลัยในเรื่องของการเปิดตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศ มากขึ้น และสิ่งที่เน้นย้ำเสมอคือเราเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร แม้ว่าเราจะทำงานแบบนักธุรกิจ แต่เราไม่ทำธุรกิจกับการศึกษา ดังนั้นเงินทุกบาทที่ได้มาจึงเป็นการนำกลับไปใช้พัฒนาการศึกษา ปรับปรุงสถานที่เพื่อบรรยากาศเรียนที่ดี คุณภาพของบุคลากรเจ้าหน้าที่ และปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ทันยุคสมัยตลอดเวลา ซึ่งนับเป็นการลงทุนทางการศึกษาที่ใช้เงินทุนจำนวนมากมายมหาศาล เพื่อผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพออกสู่สังคมโลก

 

แหล่งที่มา : วารสาร Strategy+Marketing (Vol.7 Issue 81, 2008) หน้า 92

เอแบค-ตลท. เปิดสาขาวิชาตลาดทุน และมอบ 

TSI Investment Simulation และ SET Corner

ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ นายพันธ์ศักดิ์ เวชอนุรักษ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงเปิดสาขาวิชาตลาดทุน เพื่อผลิต Capital Market Professionals สู่ตลาดอุตสาหกรรม โดยมี ดร. กิตติ โพธิกิตติ คณบดีบัณฑิต วิทยาลัยบริหารธุรกิจ และนางจิราพร คูสุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมในพิธีแถลงข่าวพร้อมผู้บริหารทั้งสองฝ่าย ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา 

แหล่งที่มา : วารสาร MBA (Vol. 11 No. 120, March 2009) หน้า 175

As Rector of Thailand’s first International University Doctor Bancha is Determined to keep pace with modern trends while adhering to the values of compassion up on which the school was founded

Reference From:

Traversing The Orient VOL. 3 No. 26 May 2009

 Reverend Brother

Dr. Bancha Saenghiran 

Rector of Assumption University

As Rector of Thailand’s first International University Doctor Bancha is Determined

to keep pace with modern trends while adhering to the values of compassion up on which the 

school was founded. Ben Hopkins steps into the master's office.

Few would argue that technology is transforming the world at a pace never experienced before. Rest on your laurels today and before you know it the next batch of graduates will be pushing you aside with all the latest in technological advancements.

As the rector of Thailand's oldest and largest International school. Assumption University, Dr. Bancha is in no doubt as to the importance of keeping pace with the latest trend s in business technology. 

"Assumption University has long been considered the leader in this field," he explains from his office in Assumption's Ramkhamhaeng campus, "Today, if young people don't understand computers it is like being illiterate. We make sure that all the students become very skilful with computers 10 prepare for life in the modern world." 

Dr. Bancha's long and distinguished career in academia has led him around the world and spanned the decades. Born to Catholic parent age in the small town of Chachoengsau,30km's cast of Bangkok, the young Bancha gained a scholarship from Bangkok's St Gabriel School to study for a Bachelor's at St Louis University in the Philippines.

As a young man four years studying in the Philippines proved to be a memorable experience, "People were very friendly towards me, always smiling and helpful"

The young graduate experienced a sharper contrast after gaining another scholarship that enabled him to further his studies in the US. prior to gaining a post graduate Doctorate at Oxford and Warwick Universities in the UK. 

The experiences gained from studying and teaching in different countries have proved invaluable during his 20 years at Assumption where students from over 80 countries find Common ground in the pursuit of academic excellence. 

Drawing on a long trail of experience Dr. Bancha is aware of how modern times have created new challenges and opportunities in the world of education. "There is much better access to knowledge now. Students have more choice:' 

However. with choice comes the temptation to divert attention from what one should be focusing on. "Because technology is so fast the younger generation find it hard to concentrate. to be patient:' In other words if they get bored studying the temptation is all too easy to zap a few million brain cells playing computer games. 

However, Dr. Bancha is quick to point out that the core role of the teacher remains the same as it did during the days of the ancient Greeks. When I ask him why he chose such a profession the reasons are fundamentally to help people . 

"If you can educate people you can stop poverty, liberate individuals. enlighten them," he enthuses without pausing. ''At Assumption we follow an holistic approach, we aim to form students into good characters so when they enter the world of business they are ethical and honest. These things are invisible but very important."

7 Steps to English Proficiency 


Rev. Bro. Bancha Saenghiran,f.s.g., Ph.D
President of Assumption University

Message from the President

“Learning how to learn is the essence of becoming a learned person.” 

English has become the new world language. So to become a universal learning one must become fluent in both understanding English and expressing one's ideas in English. To master the language,students must come into contact with it daily. They must learn new word each day in a natural context. Masterful students know how to “do first thing first” and become expert users of English. Laying a strong foundation in English skills is the best way to assure further success. Good fortune does not come easily. Our school motto reminds us that we have to work hard to achieve success.“Labor Omnia Vincit” should be your motto.

Introduction

Imitation is a new born child's way of learning its mother's tongue in a natural way. A newborn babyfirst imitates its mother in the language communicated. The ability of a child to communicate to others remains latent till it is developed through daily observation and use. Every minute of the hour, every hour of the day, and every day of the year, that child observes, listens and mumbles so as to learn the language of its mother.

This is the first school a child goes through. The teaching methodology is natural and it is one of the best means employed 
in teaching English to learn the four skills of listening, speaking, reading and writing.

To really master four skills, this natural method can be fostered. A child is always with its mother, and imitates the way she uses the language. A child observes, listens, and records what has been heard. Then, he proceeds to imitate what he observes and listens. 



STEP : 1 

 Reading

Reading Read one passage a day! 

Choose the passage from a piece of English literature, book or magazine you like. Try to master three to five new words a day. Write those new words down in a notebook in the contexts you find them to make sure you understand the meanings and you know how to use them in sentences. Do observe sentence structure. Begin slowly, bit by bit, to read short passages. Read longer passages as you gain more experience. Do review new words you wrote down from time to time and use them in your

STEP: 2 

Listening

Listening Watch a movie on TV

Watch and listen to news or news broad-cast on radio or television. Find a movie or a TV show you like, in English, and study it scene by scene. Spend at least 15 minutes each time listening to an English program on TV beginning with news from CNN, BBC, CNBC, etc. Learn to be patient with yourself and try to understand the dialogue without needing to read subtitles. 

Keep working… 

STEP: 3 

Reading aloud!

Reading aloud! Read aloud one passage a day.

Read one passage aloud from an English text. Try to put proper intonation imitating what you heard from English sound track on TV or radio program. Keep working till you sound more and more like an English native speaker. You can also occasionally listen to yourself by tape-recording your voice or request other person to comment on it. 

 STEP: 4 

Writing

Writing Write one passage a day.

If you have free time, with a pen and a sheet of paper, try to give yourself practice in writing. You can write on any topic beginning with an easy topic relating your daily life. Increase the level of difficulty and also the length of your essay each day. Try to think in English and write in English. Make writing in English a regular habit so that it comes naturally. To make sure that your writing is correct; you must request someone who knows English well to review your writing and to point out mistakes and help you correct the sentences. You must learn from your mistakes but try not to repeat mistakes again. From time to time, compare your present writing to the previous ones to see its improvement. 

STEP: 5 

Speaking and Speech Delivery

Speaking and Speech Delivery Prepare your own speech and deliver it!

This exercise will enable you to write and speak. First, you have to write your speech on any topic of your choice. Make use of the same procedure as in Step 4. Once you have speech ready, then, you try to give yours. If a training in delivering that speech. Be careful not to learn the passage by heart. It is better to remember the key ideas in sequence. Deliver your speech in front of a mirror pretending that you have a large audience before you. Practice twice or thrice or more to acquaint yourself with speech delivery. If possible, you can tape record your speech so that it can be replayed on TV screen. You can observe your performance and you can improve on it. 

STEP: 6 

Learn English from your daily life 

Be inquisitive!

You will come across many new words or phrases each day when you move from one place to the other. The word may be from a signboard, advertisement, newspaper, magazine, posters, etc. Pick up words that interest you and master those words. If you come across these words often, you will absorb these words as a part of your vocabulary unknowingly. In this way, you can sustain your passion for English. 

STEP: 7 Presentation

Do your own presentation at least once or twice a semester or you can prepare paper presentation and deliver it to a class at least once a semester. You have to prepare contents and put it in an essay form. To make content preparation easier, you can summarize the contents from a book, passage from a newspaper, etc. Then, learn to present your work in front of a mirror pretending there is an audience listening to you. Conclusion: Find opportunity to put all the skills in your daily practice. You do not need to spend too long a period of time. Be steady. With self-discipline, you can attain English proficiency through self-study.

 Follow the general saying: Think big ( aim high ) start small but expand fast. 

ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจและกฎหมาย เอแบค 

ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจและกฎหมาย เอแบค

“ยุคนี้เป็นยุคทองของนักกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย” เป็นส่วนหนึ่งของคำกล่าวเปิดศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจและกฎหมาย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดย ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

หากนำคำกล่าวนี้มาเทียบดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเห็นภาพได้ชัดเจนว่าสังคมธุรกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจมีมานานแล้ว เพื่อความเป็นธรรมระหว่างคู่ค้า คู่สัญญาที่ร่วมกันทำธุรกรรมใดๆ 

เนื่องจากกฎหมายเป็นตัวกลางที่สามารถบ่งชี้ถึงข้อจำกัดระหว่างการทำได้และทำไม่ได้การทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงมีบทลงโทษที่ชัดเจนต่อผู้กระทำการขัดขืนกฎเกณฑ์ดังกล่าว ทำให้นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไปลดความกังวลในการติดต่อทำธุรกรรมระหว่างกัน รวมถึงหน่วยงานของรัฐที่สามารถเลือกใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุมกระบวนการทำธุรกิจของภาคเอกชนให้อยู่ในกรอบจริยธรรมอันดีต่อสังคมโดยรวมอีกทางหนึ่ง

ภราดา ดร.บัญชากล่าวว่า ในฐานะสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีหน้าที่สำคัญคือเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ แต่ไม่ใช่เป็นที่เก็บความรู้ไว้แบบเดียวกับพิพิธภัณฑ์ การพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อความรู้ใหม่จากการทำงานวิจัยต่างๆ เป็นสิ่งที่ต้องทำ

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ก่อตั้งมาแล้ว 40 ปี ขณะที่บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจก็เปิดการเรียนการสอนมากกว่า 24 ปี ถือเป็นอีกสถาบันหนึ่งที่สั่งสมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจมายาวนาน สั่งสมองค์ความรู้เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจยุคใหม่ของประเทศไทย

เนื่องจากโลกในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกันในการปฏิบัติงานวางแผนในฐานะสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงมีหน้าที่รับใช้ประเทศชาติโดยการนำความรู้ที่อยู่นำออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และเนื่องจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีความโดดเด่นด้านการศึกษาทางธุรกิจ รวมทั้งมีคณะนิติศาสตร์ จึงมีแนวคิดที่จะนำเอาความรู้ที่จำเป็นของทั้งสองศาสตร์นี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยจัดตั้งเป็น “ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจและกฎหมาย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ” (ABAC Business Legal Advisory Center) 

“เพราะหลายคนรู้เรื่องธุรกิจแต่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายการเปิดศูนย์ฯแห่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยให้อาจารย์ที่มีความชำนาญทางกฎหมายช่วยคนเหล่านี้ ถือเป็นการบริหารจัดการองค์ความรู้ของทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นการนำความรู้ที่มีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม” ภราดา ดร.บัญชาสรุป

อาจารย์ วีรศักดิ์ อนุสนธิวงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจและกฎหมาย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามากขึ้นตั้งแต่เกิด แต่นักธุรกิจบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังขาดความรู้ ความเข้าใจทางด้านกฎหมายธุรกิจ ซึ่งมีส่วนสำคัญ ในการปรับกระบวนการธุรกิจให้อยู่รอดในภาวะผันผวน

                             

                                                                     

     ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการต่อรองธุรกรรมกับธนาคาร ภาษีอากร คู่ค้าต่างๆ เป็นปัญหาสำคัญที่นักธุรกิจต้องเผชิญ ศูนย์ฯ แห่งนี้จึงจะมาทำหน้าที่ให้คำปรึกษา โดยคณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยบริการต่างๆ ที่มีนั้นไม่คิดค่าใช้จ่าย ถือเป็นการบริการที่ทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มอบให้กับสังคม

     ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ให้รายละเอียดการให้บริการของศูนย์ฯ แห่งนี้ว่า สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายแพ่ง การซื้อขาย การผิดสัญญา การปรับโครงสร้างหนี้ หรือจะเป็นเรื่องการถ่ายโอนทรัพย์สินในธุรกิจครอบครัวซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของนักธุรกิจในประเทศไทย ยกตัวอย่างเรื่องการถูกฟ้องล้มละลาย ทางศูนย์ฯ สามารถให้แนวคิดในการผ่อนปรนเรื่องเวลาให้กับธุรกิจ เพราะสำหรับนักธุรกิจแล้ว การมีเวลามากขึ้นก็สามารถช่วยให้เขาหาเงินมาชำระหนี้ได้มากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม คำปรึกษาที่ได้ไปเป็นเสมือนคำแนะนำที่ต้องนำไปปฏิบัติต่อ จึงไม่ใช่เป็นศูนย์ครบวงจรที่สามารถจัดการทุกอย่าง แต่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับที่ปรึกษาทางกฎหมาย หรือเป็นการทบทวนความคิดเห็นสำหรับนักธุรกิจในปัญหาที่เผชิญอยู่

     อ.วีรศักดิ์ กล่าวถึงงานวิจัยทางด้านกฎหมายที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญทำอยู่ว่า เป็นการวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายในประเทศไทย เช่น กฎหมายประกันภัยทางทะเล ที่ประเทศไทยยังไม่มี หากใช้กฎหมายของประเทศอังกฤษอยู่ทางคณาจารย์และนักศึกษาก็จะร่วมกันทำวิจัยถึงข้อดีข้อเสียของการมีกฎหมายดังกล่าวหรืออย่างเช่น กฎหมายล้มละลายที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสมควรแก้ไขตรงจุดใดหรือไม่ หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เรามีโทษจำคุกอยู่ด้วยนั้นผิดวัตถุประสงค์หรือไม่

     โดยงานวิจัยเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์ความรู้ที่ทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมุ่งมั่นพัฒนา รวมถึงใช้เป็นฐานข้อมูลในการให้บริการต่อสังคมในอนาคต

     ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ให้คำแนะนำต่อนักธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายว่า มีกฎหมายที่นักธุรกิจควรรับรู้อยู่ 3 เรื่องคือ เรื่องที่เกี่ยวกับการจ้างงาน การเลิกจ้าง การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง เพราะปัจจุบันมีคดีขึ้นศาลแรงงานมากขึ้น เรื่องที่สองคือ กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ที่ธุรกิจต้องเกี่ยวข้องอยู่แล้ว และ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การทำสัญญานิติกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น การส่งอีเมลคุยกันตกลงว่าจ้างกันถือเป็นสัญญา เป็นสิ่งที่นักธุรกิจควรรับรู้

       นอกจากนี้ ทางศูนย์ฯ ยังมีแผนงานจัดฝึกอบรมให้กับนักธุรกิจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายธุรกิจ โดยอาจจัดเป็นหลักสูตรสั้นๆ ให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ

     สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บริการ สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ได้ที่ เอแบคซิตตี้ แคมปัส ห้างสรรพสินค้าเซ็น เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 14 หรือ โทรไปที่ 02 100 9115-8 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-17.00 น. โดยทางศูนย์ฯ จะนัดวันเชิญผู้เชี่ยวชาญกฎหมายในแต่ละด้านมาให้คำปรึกษากับผู้เข้ามาใช้บริการ

 

แหล่งที่มา : วารสาร MBA (Vol. 11 No. 124 July 2009) หน้า 124-125

ICE Center เอแบค มอบวุฒิบัตรโครงการที่ปรึกษาธุรกิจ SMEs รุ่นที่ 3

     ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัส-สัมชัญ ร่วมกับคุณชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผู้อำนวยการสำนัก-งานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สวว.) มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ ที่ปรึกษาธุรกิจ ซึ่งศูนย์ ICE Center ของเอแบคร่วมมือกับ ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริม SME สสว. ดำเนินฝึกอบรมและให้คำปรึกษาธุรกิจ ใช้ระบบ DAAA’S โดยในปีนี้มี SMEs ผ่านการคัดเลือกและสำเร็จโครงการ 22 ราย

 แหล่งที่มา : วารสาร MBA (Vol. 11 No. 124 July 2009) [หน้า 133]

Conference on the AU UTOWN SIM มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เพิ่มศักยภาพการศึกษา

ดึง UTown ต่อยอดสังคมนักศึกษาออนไลน์ให้สมบรูณ์

Press Conference on the AU UTOWN SIM

On Thursday 9th July 2009 At Salle d'Expo Hua Mak Campus,"A" building

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เพิ่มศักยภาพการศึกษา ดึง UTown ต่อยอดสังคมนักศึกษาออนไลน์ให้สมบรูณ์ 

หากใครที่ติดตามข่าวสารบนเว็บไซด์ OS ของเรามาตั้งแต่ปีที่แล้วอาจจะพอจำกันได้กับการเปิดตัวโครงการ โลกเสมือนจริง UTown ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ Digicraft ค่ายเกมออนไลน์ชื่อดังของประเทศไทยเรา โดยเปิดเป็นโดยจำลองสภาพมหาวิทยาลัยเอแบค และให้ผู้เล่นสามารถเข้ามาใช้งาน และร่วมสร้างคอมมมูนิตี้ในเกมได้ ในรูปแบบ Game on Web

และมาถึงวันนี้ ทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และดิจิคราฟต์เองก็ไม่ยอมหยุดนิ่ง โดยได้จัดงานแถลงข่าวขึ้นที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก เปิดมิติใหม่แห่งโลกการศึกษา โดยจับมือกับ AIS เปิดตัว "AU UTown SIM" ซิมส์เพื่อการเรียนรู้ ที่ผสานนวรรตกรรมไร้สายมาไว้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ด้านการศึกษาแบบครบวงจร พร้อมกับพัฒนาให้ UTown โลกสเมือนจริง สามารถตอบสนองกับความต้องการของนักศึกษาทั้งEducation Lifestyle และ Personal Lifestyle

  ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ได้กล่าวถึงความร่วมมือนี้ว่า "AU UTown SIM ซิมเพื่อการเรียนรู้ รวมถึงเทคโนโลยี ไร้สายต่างๆ ที่จะเป็นช่องทางหลักให้นักศึกษาเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์เข้ามาที่โลกแห่งการเรียนการสอนของม.อัสสัมชัญ ได้อย่างไร้ซึ่งอุปสรรคเรื่องสถานที่และเวลา"

  • บริการจาก AU UTown SIM

  • รับข่าวสารของม.อัสสัมชัญ 

  • รับผลสอบ 

  • รับตารางเรียน 

  • เช็คห้องเรียน 

  • E-Learning ผ่าน TV On Mobile 

  • ใช้ mPAY เป็นช่องทางเติมเงิน ABAC Smart Card

  • ใช้เป็นช่องทางการเงินในบริษัทจำลองของ ABAC UTown

  • เปิดร้าน Telewiz ในโลก Cyber ให้ช็อป ชม ได้เสมือนจริง 

  • ใช้ mPAY ชำระค่าสินค้าและบริการ 

  • บริการอื่นๆ 

     แพ็คเกจโทรหากันฟรีในกลุ่มของนักศึกษาและบุคลากร ม.อัสสัมชัญ รวมถึงแพ็คเกจ Data ราคาพิเศษ Wireless Gadget ให้เชื่อมต่อเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ในราคาพิเศษ อาทิ Super 3G Air card, BlackBerry, ฯลฯ โดยนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สามารถติดต่อรับ AU UTown SIM ได้ที่จุดให้บริการของเอไอเอส ในม.อัสสัมชัญ รวมถึงนักศึกษาทุกสถาบันและผู้ที่สนใจ สมัครสมาชิกของ UTown ได้ที่ www.utown.in.th ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป 

Sources : ABACA News

ผ้าอัดแน่น นวัตกรรมใหม่ รางวัลระดับโลก คุณสมบัติเหมือนไม้ ตกแต่งบ้าน :

Assumption University Innovation Creativity and Enterprise Center

แผ่นอัดผ้ายีนส์ GARMENTO คว้ารางวัลนวัตกรรมของ สนช.

ยุทธนา อโนทัยสินทวี
รองชนะเลิศ ออกแบบผลิตภัณฑ์
การออกแบบชิงนวัตกรรมระดับนักออกแบบรุ่นใหม่

ผลงานของ นายยุทธนา อโนทัยสินทวี นักธุรกิจรุ่นใหม่ เพิ่งได้รับรางวัล การออกแบบเชิงสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ด้วยแนวคิดเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นำเศษผ้ามาอัดแน่น ผ่านกระบวนการจากโรงงานผลิตจนมีคุณสมบัติเหมือนกับไม้ที่ใช้ตกแต่งประดับ ปูพื้นบ้าน แทนไม้อัดที่สร้างบ้านได้จริง

ความพิเศษของสิ่งที่เขาคิดขึ้นมาใหม่นี้ คือ นอกจากจะใช้งานได้จริงแล้ว ยังลวดลายที่สวยงามจากลวดลายของเศษผ้าที่เอามาใช้เป็นวัสดุเพื่อการอัด จึงกลายเป็นของตกแต่ง หรือ ประดับบ้านได้ด้วย ขึ้นอยู่กับว่า เจ้าของบ้านจะต้องการเอามาใช้เพื่อส่วนไหนของบ้าน

นอกจากนั้น ยังเป็นการช่วยลดขยะที่เป็นเศษผ้าจากอุตสาหกรรมทอผ้าที่มีอยู่ในเมืองไทยจำนวนมาก เพราะ ถ้ามีการผลิตเพื่อจำหน่ายในอนาคต ก็จะต้องเอาเศษผ้าที่เหลือใช้ตามโรงงานทอผ้ามาเป็นวัสดุในการทำ โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อไม่ให้มีสารปนเปื้อนของสารเคมีที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดมะเร็ง และผ่านกระบวนการตามขั้นตอนการผลิตไม้อัดจากโรงงาน ก็จะออกมาเป็นชิ้นงานที่สามารถเอามาจากจำหน่ายได้

จากประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับด้านดีไซด์เสื้อผ้าร่วมกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น พบว่า ในการออกแบบเสื้อผ้าแต่ละครั้งมีเศษผ้าเหลือจำนวนมาก ขณะที่ประเทศไทยมีโรงงานเกี่ยวกับการเย็บผ้าอยู่กว่า 2000 โรงงาน ในแต่ละเดือนต้องมีเศษขยะจากผ้าจำนวนมหาศาล จึงเริ่มมีความคิด อยากจะกำจัดขยะเศษผ้า จึงเริ่มต้นด้วยการเอาเศษผ้า หรือ เสื้อผ้ามือสองมาทำเป็นหมวก กระเป๋า ก่อน แต่ขณะที่ทำก็พบว่าเมื่อตัดผ้าเพื่อสร้างชิ้นงานใหม่ ก็ยังมีขยะจากเศษผ้าเพิ่มขึ้นอยู่ดี กลายเป็นว่า ลดขยะจากชิ้นหนึ่ง แต่ไปเพิ่มขยะใหม่อีกหลายชิ้น

จึงคิดว่า ถ้าต้องการลดขยะจริงๆ ก็ต้องเอาเศษเล็กๆ เหล่านี้มาทำประโยชน์อย่างอื่น จึงมองดูจาก ไม้อัดธรรมดาที่ใช้เศษแกลบ ขี้เลื่อย ยังสามารถเอามาอัดได้ ผ้าก็น่าจะทำได้ จึงได้ทดลอง และค้นคว้าข้อมูล ใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่เป็นปีจนพบว่า ผ้าก็สามารถเอามาบีบอัดแน่นได้ และเมื่อบีบอัดจนแน่นแล้ว หากมีน้ำหยดใส่ น้ำจะกลิ้งเหมือนอยู่บนใบบอน ไม่มีการซึมเข้าไปในเนื้อผ้า เพราะ ผ้าที่อัดผ่านกระบวนการที่ว่ามาแล้ว จะมีคุณสมบัติใช้งานจริงแทนไม้ได้

ผลงานนี้ จึงกลายเป็นผลงานต้นแบบที่คิดขึ้นมาแล้วก็ส่งเข้าประกวด จนได้รางวัล Design Innovation Contest 2009 

“ผมดีใจกับรางวัลที่ได้รับ เพราะไม่เคยคิดมาก่อนว่าตัวเองจะมาได้ไกลขนาดนี้ จะได้มายืนอยู่บนเวทีนี้เพื่อรับรางวัล และที่ผมดีใจมากกว่านั้น คือ การได้มีส่วนร่วมทำให้ชาวต่างชาติยอมรับฝีมือคนไทย และยอมให้มีคำว่า เมดอินไทยแลนด์ ติดอยู่บนเสื้อผ้าที่ผมออกแบบ ซึ่งจะวางอยู่ในงานแสดงสินค้าแฟชั่นที่จะมีขึ้นที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในต้นปีหน้า”

จากความพยายามนี้ ทำให้ทางกรมส่งเสริมการส่งออกส่งรายชื่อไปให้กับทางดีไซน์เนอร์ที่ประเทศฝรั่งเศสที่ต้องการคนออกแบบเสื้อผ้ามือสองให้ และก็ได้รับการติดต่อเพื่อขอให้ทำงานส่งให้กับทางฝรั่งเศส โดยที่ครึ่งหนึ่ง ยอมให้ผมใช้แบรนด์ตัวเอง The ReMaker by Yuttana และมีคำว่า เมดอินไทยแลนด์ ติดอยู่บนกระเป๋า เสื้อผ้า หรือสิ่งของต่างๆ ที่ผมออกแบบได้ 

“นั่นเป็นอีกหนึ่งสิ่งผลภูมิใจมาก เพราะที่ผ่านมาชาวต่างชาติมักจะมองว่า คนไทยไม่สามารถออกแบบได้ แต่สินค้าที่ผมส่งไปให้ทั้งหมดจะถูกวางอยู่ที่งานแสดงสินค้าแฟชั่นที่จะมีขึ้นที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนมกราคมปีหน้า (2553) หมายถึงว่า เป็นการได้รับการยอมรับจากชาวต่างชาติว่า คนไทยก็มีฝีมือในด้าการออกแบบไม่แพ้ชาติอื่น”

ทั้งหมดที่ทำให้มีวันนี้ได้ ก็เพราะ ศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ หรือ Innovation Creativity and Enterprise (ICE) Center จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เพราะหลังจากที่เข้ามาอบรมที่นี่ ทำให้เรียนรู้ทางด้านการตลาด เปิดตัวเองมากขึ้น เปิดตลาดได้กว้างขึ้น จากเมื่อก่อนจะดีไซน์อยู่เพียงคนเดียว มองมุมเดียว มีลูกค้าเดิมๆ แต่ที่นี่สอนให้คิด และมองในมุมที่กว้างขึ้น ช่วยเหลือและดูแลตั้งแต่วิธีการคิด ช่วยหาแหล่งผลิต ช่วยหาเงินทุน ช่วยส่งเสริมให้รู้วิธีการก้าวกระโดดและมีส่วนผลักดันให้สินค้าที่ผลิตออกมาก้าวสู่ตลาดอินเตอร์

ถ้าไม่ได้รับการบ่มเพราะจาก ICE แนะนำวิธีคิด หรือช่วยผลักดันทุกด้าน ก็คงไม่มีวันนี้ ยังคงเป็นนายยุทธนาที่ออกแบบธรรมดาๆ ไม่มีวันที่แบรนด์ The ReMaker by Yuttana ไปโชว์อยู่ในงานแสดงสินค้าแฟชั่นที่ปารีส 

แหล่งที่มา : เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 911 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2552 [หน้า 23] 

 

What about your Chapter 40th : Creativity and Enterprise Center

The president of the very first international university in Thailand and one of the best academic institute in the country attracting students from all over the world.
อธิการบดีของมหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งแรกในเมืองไทย ทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของบ้านเรา ที่นัก-ศึกษาต่างชาติจากทั่วโลกให้ความสนใจเดินทางมาศึกษาต่อมากมาย

Bancha Saenghiran, f.s.g., Ph.D
President Assumption University 


     Every book gives some terrific thoughts to the readers. Even reading novels yields some ideas. It depends on individual perspectives to get what book gives or how to harvest anything from a book. I, personally, choose to read the book I like which answers to the life’s quest or some those benefit my professionalism to manage myself, organization, and even to return something back to society.

    หนังสือทุกเล่มล้วนแล้วแต่มอบสิ่งที่ดีให้แก่คนอ่าน บางคนเลือกอ่านนิยาย ก็ยังได้รับแนวคิดบางอย่าง ทั้งนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนว่าจะได้ อะไร หรือ อย่างไร จากหนังสือ แต่โดยส่วนตัวแล้วพ่อจะเลือกอ่านหนังสือที่ตัว พ่อชอบ ตอบโจทย์ชีวิต หรือให้ประโยชน์กับการทำงานได้นับเป็นการอ่านเพื่อบริหารตัวเรา บริหารองค์กร และตอบแทนสังคม


     Although I often pick up THE HOLY BIBLE to read from time to time, somehow each time I interpret differently. This is the book containing the Lessons of God for all Christians which, after all, inspire us doing good. It covers all issues in lives as he teaches rules of the universe which really exist and immortal. It has the meaning in itself and to each one in particular at certain time. After all, it teaches human beings to love each other, reminds and shapes your mindset to try doing good things, and follow his paths.
     แม้จะอ่าน THE HOLY BIBLE อยู่เสมอ ๆ แต่การอ่านแต่ละครั้งไม่เคยเหมือนกัน เหล่านี้คือคำสอนของพระเจ้าที่สื่อถึงคริสตชนทุกคน เป็นแรงบันดาลใจให้ทำในสิ่งดี เป็นคำสอนที่ครอบคลุมทุกเรื่องในชีวิต เพราะสิ่งที่พระองค์สอนคือกฎจักรวาลที่มีอยู่จริงและเป็นอมตะ มีความหมายในตัวเองและมีความหมายต่อแต่ละคนและแต่ละข่าวเวลาต่างกัน หากที่สุดแล้ว ก็สอนให้มนุษย์รักกันและกัน เตือนใจ กำหนดใจให้กระทำดี และเดินตามพระเยซูเจ้า


     THE PRESENT : This is an old book which never aged through time. “The Present” has 2 different meanings: the first meaning is “The Gift” that anyone will be happy to receive and greed for more; the second meaning is “The Now” that reminds us to enjoy the current moment of lifetime and make the most meaningful out of it. It’s right to forget the past but we better learn from it, too, in order to plan the future ahead. Once we optimize the present, it will not only be most valuable to ourselves but also to everyone around us as well

      นับเป็นหนังสือเก่าอีกเล่มที่ไม่เคยล้าสมัย THE PRESENT ซึ่งเป็นชื่อหนังสือในที่นี้ มีสองความหมาย อย่างแรกคือ ‘ของขวัญ’ ใครได้รับย่อมดีใจ มีความสุข และอยากได้รับอีก ส่วนอีกนัยหนึ่งคือ ‘ปัจจุบัน’ ซึ่งคนเราควรมีความสุขกับปัจจุบันใช้ชีวิตขณะปัจจุบันให้มีความหมายที่สุด ให้ลืมอดีตก็ถูก อย่างไรก็ดี ต้องเรียนรู้จากอดีตเสียก่อน เพื่อวางแผนอนาคต หากเราใช้ปัจจุบันให้ดีที่สุด จะเป็นคุณค่ามหาศาลต่อตัวเราเองและต่อคนรอบข้างเช่นกัน

How’s your Chapter 40th?

    “To me 40 is the crossroads to walk either the big and comfortable way but leading towards the unsuitable issues or the small way but leading towards the righteousness. Therefore, we have to conquer our own wills. This is the immortal thought already existed on this earth a long, long time ago.”
   “คงถึงทางแยกที่ต้องเลือก ทางเดินใหญ่โตสะดวกสบาย แต่นำไปสู่สิ่งไม่ควร หรือทางเดินเล็กมีอุปสรรคหากเป็นทางที่ควรจะเดิน เราต้องชนะใจตัวเองให้ได้ นี่ไม่ใช่ทฤษฎีของพ่อ แต่คือความเป็นจริงของโลกที่อยู่ยั้งยืนยงมานานแล้ว”

  

  THE HOLY BIBLE   

  THE PRESENT: The Gift Thai

  Makes You Happy and

  Successful at Work and un Kife 

 by Spencer Johnson

 

    

 แหล่งที่มา : What about your Chapter 40th [หน้า 72-73]

Higher Education: Engaging the Knowledge Economy

     ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ รักษาการประธาน สออ.แห่งประเทศไทย กล่าวเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการ สถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่อง “Higher Education: Engaging the Knowledge Economy” เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร โดย ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง Thailand and the Knowledge Economy” และการอภิปรายทางวิชาการ โดยคุณพรทิพย์ กาญจนนิยต ผู้อำนวยการบริหารฟุลไบรท์ ผศ.ดร.วิศาล บุปผเวส ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร.นิพนธ์ สุรพงษ์รักษ์เจริญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รศ.ดร.วิชัย อุตสาหจิต ผู้ดำเนินการอภิปราย ภาคบ่ายมีการนำเสนอบทความ ณ อาคารสยามบรมราชกุมารี ชั้น 6 และชั้น 7

 

แหล่งที่มา : NIDA NEWS (ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2553) หน้า 7

โทรทัศน์ ABAC Channel เพื่อการศึกษาเท่านั้น

     ด้วยการสื่อสารดาวเทียม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ประกาศเปิดตัว สถานีโทรทัศน์ ABAC Channel เริ่มตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์นี้ เป็นต้นไป
ยุคโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นแล้ว ทุกชุมชนสามารถมีสถานีโทรทัศน์ของตัวเองได้ การสื่อสารดาวเทียมยุคใหม่ ได้เพิ่มทางเลือกและสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม กลายเป็นสื่อใหม่ด้วยระบบดิจิทัล สามารถ ‘สร้างสื่อโทรทัศน์สำหรับการศึกษาและสาธารณชน’ ทั่วไปได้อย่างกว้างขวางยุคต่อไปนี้ อาจจะเรียกได้ว่า ‘ดาวเทียมครองโลก’ ชุมชนทุกชุมชน สามารถที่จะสื่อสารถึงกันอย่างรวดเร็วด้วยดาวดาวเทียม และก้าวถึงขั้นที่ทุกชุมชนสามารถมีสื่อดาวเทียมของชุมชนได้ไม่ต้องพึ่ง ‘สื่อหลัก’ อีกต่อไป
ไม่มีละครดู ก็มีอย่างอื่น ให้เลือกดูได้

ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ยืนยันว่า เจตจำนงของ ABAC Channel เป็นรายการเพื่อการศึกษาเท่านั้น ดำเนินการโดยนักศึกษาคณะสื่อสารมวลชนของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ที่มีความพร้อมในด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ ลงทุนไปแล้วกว่า 800 ล้าน และเรียกได้ว่าทันสมัยที่สุดทั้งในสถาบันการศึกษาและวงการโทรทัศน์ในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ก็มีกลุ่มพันธมิตร ร่วมมือกันในการสร้างสรรค์รายการ เพื่อถึงเป้าหมายผู้ชม ทั้งนักศึกษาและสาธารณชนทั่วไป

เป้าหมายผู้ชมตั้งใจ 1 ล้านคน

อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า เหตุผลที่-อัสสัมชัญต้องมีสถานีโทรทัศน์ เพราะยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี เป็นยุคขององค์ความรู้ เป็นยุคของนวัตกรรม เอแบคต้องอาศัยองค์ความรู้เป็นอย่างมาก จึงมีการพัฒนาสิ่งต่างๆ เหล่านี้เพื่อเสริมองค์ความรู้ หน้าที่หลักของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คือเป็นศูนย์ความรู้และต้องถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาและบุคคลภายนอก ไม่ใช่เปรียบเทียบกับสถานีโทรทัศน์อื่นๆ แต่หลักสำคัญคือเพื่อการศึกษา เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

 อธิการบดีกิตติคุณ ภราดาประทีป ม.โกมลมาศ กล่าวว่า เอแบคมี ABAC Channel ขึ้นเพื่อการศึกษาทฤษฎีต่างๆ มีมากมายทั้งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จะไม่เกิดประโยชน์หากไม่ลงมือทำ เพราะการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องลงมือทำ เพื่อพัฒนาตนเอง นี่เป็นโอกาสหนึ่งที่จะใช้สื่อทันสมัยมาเป็นสื่อในการแสวงหาความรู้ และเป็นสื่อการเรียนการสอนอีกส่วนหนึ่งด้วย

 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ ABAC เปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ABAC CHANNEL ในระบบ (KU-BAND) แพร่ภาพให้ผู้ชมในประเทศและต่างประเทศรับชมกว่า 20 ประเทศในระบบ Free on air ผ่านช่องฟรีทีวี 6 และดาวเทียม Thaicom ช่อง 9 ชี้กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นนักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นักเรียน นักศึกษาสถาบันในเครืออัสสัมชัญ รวมทั้งผู้ปกครองของนักศึกษา เน้นสร้างสรรค์และให้ความรู้ ควบคู่ความบันเทิงผ่านรายการต่างๆ ที่มีเนื้อหาสาระ คาดหวังเป็นสถานีที่สร้างสรรค์ปัญญา นำคุณค่า ควบคู่ความบันเทิงเพื่อคนรุ่นใหม่

ในโอกาสครบรอบ 40 ปี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ABAC CHANNEL สถานีการศึกษาควบคู่ความบันเทิง ผ่านรายการต่างๆ ที่มีเนื้อหาสาระ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ชมโดยเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เยาวชนและประชาชนทั่วไป มี บิลลี่ โอแกน เป็นผู้อำนวยการสถานี

ABAC Channel เป็นสถานีที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และศักยภาพของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในการเป็นผู้นำสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย มีช่องทางให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของสถาบัน ได้แสดงความรู้ความสามารถ ให้ผู้คนทั้งนอกและในมหาวิทยาลัยได้ชม โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของ ABAC Channel ได้แก่ นักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นักเรียน นักศึกษาสถาบันในเครืออัสสัมชัญ รวมทั้งผู้ปกครอง 50% กลุ่มนักศึกษาสถาบันทั่วไปคิดเป็นสัดส่วน 30% ส่วนอีก 20% ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มบริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ หรือเจ้าของสินค้าและบริการ

ทั้งนี้ เนื้อหารายการจะเน้นการให้สาระความรู้ต่อผู้ชมเป็นหลัก เช่น รายการเอแบคโพล รายการข่าวภาคภาษาอังกฤษ สารคดี แนะนำการเรียน รายการสอนภาษา รายการข่าวสารการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา รายการแสดงความสามารถของนักศึกษามหาวิทยาลัย รายการกีฬา และรายการบันเทิงที่สอดแทรกเนื้อหาความรู้

 ประชาชนทั่วไปที่มีจานรับสัญญาณดาวเทียมและประชาชนที่สามารถรับชมผ่านเคเบิลทีวีท้องถิ่น ทางช่องดาวเทียม Thaicom รายการของทางสถานีโทรทัศน์ ABAC CHANNEL สามารถรับชมสัญญาณในช่องที่ 9 

แหล่งที่มา : เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 924 (12 กุมภาพันธ์ 2553) หน้า 44

 

ที่สุดนักกฎหมายต้องทำ 3 สิ่ง

   

อ.นิติ เนื่องจำนง สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ABAC ในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท กฎหมายธุรกิจหลักสูตรอินเตอร์ ซึ่งร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอินเดียน่า และหลังจากนั้นได้ไปศึกษาต่อปริญญาเอกที่ University of Essex

ในระหว่างศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี ได้ร่วม Summer Clerk ที่อินเตอร์ลอว์ฟ์ร์มบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด และหลังจบปริญญาตรีได้ร่วมงานเป็นที่ปรึกษากฎหมาย กับ ILCT บริษัทที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด และเป็นอาจารย์ที่เอแบค ประจำปริญญาโท สาขาระหว่างประเทศ สอนทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท และค้นคว้าทำวิจัยซึ่งเป็นสิ่งที่คณะคาดหวังในตัวอาจารย์ทุกคน

จบการศึกษาระดับประถมที่อัสสัมชัญธนบุรี ถึง ม.2 แล้วจึงเดินทางไปเรียนต่อที่บาสตันประเทศสหรัฐอเมริกาจนจบ ม.6 ในระหว่างกำลังศึกษาชั้น ม.5 รู้สึกชอบด้านกฎหมาย อยากเป็นนักกฎหมาย จึงตั้งใจเรียนต่อด้านกฎหมาย การเรียนกฎหมายที่อเมริกาต้องเรียนจบปริญญาตรีก่อนจึงจะเรียนกฎหมายได้ ก็เลยเลือกเรียนวิชาอะไรก็ได้เพื่อให้จบปริญญาตรี ซึ่งอีกความใฝ่ฝันหนึ่งคือ ต้องการมีรีสอร์ทเป็นของตัวเองเลยไปสมัครเรียน Hotel Management ครอบครัวทราบจึงปรึกษาอาจารย์หลายท่าน และ อ.สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล อดีตคณบดี คณนิติศาสตร์ เอแบค แนะนำว่า ถ้าเรียนกฎหมายต้องกลับมาเรียนที่เมืองไทย จะได้รู้กฎหมายไทย จึงกลับมาเรียนที่เมืองไทย “ซึ่งในช่วงเวลานี้เองคุณพ่อได้แนะนำว่าจะต้องการเริ่มต้นที่ดี การเริ่มต้นที่ดีมาจากการได้รับการอบรม ศึกษาจากสถาบันที่มีหลักสูตร อาจารย์ และสถานที่ที่มีคุณภาพ เพื่อการเป็นนักกฎหมายที่ดีต่อไปในอนาคต จึงได้แนะนำให้เข้าศึกษาคณะนิติศาสตร์ปริญญาตรีและปริญญาโท เมื่อจบและมีโอกาสจะได้ศึกษาต่อที่ฮาร์เวิร์ด ลอว์ สคูล”

จึงได้ตัดสินใจโดยเลือกเรียนเอแบค เพราะคณะนิติศาสตร์ที่นี่มีความแตกต่าง ตรงที่เน้นกฎหมายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและการเรียนการสอนไม่ใช่ภาษาอังกฤษทุกวิชาเหมือนกับคณะอื่นๆ เรียนกฎหมายไทย ต้องเรียนเป็นภาษาไทย แต่วิชาพื้นฐานหรือวิชาอื่นๆ รวมทั้งวิชากฎหมายระดับสูงในชั้นปี 3-4 สอนเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ได้ทั้ง 2 ภาษา เป็นการผสมผสาน 2 ภาษาอย่างลงตัว เนื่องจากครอบครัวทำธุรกิจ จึงได้นำความรู้พื้นฐานทางธุรกิจกับกฎหมายที่ร่ำเรียนมาใช้ในการสอนนักศึกษาและให้คำปรึกษาต่างๆ โดยตั้งใจนำกฎหมายมาเป็นกลไกสำคัญในการทำธุรกิจหลังจบปริญญาตรีทำงานที่บริษัทที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด ILCT และร่วมบรรยายพิเศษที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ต่อมาเอแบคเปิดปริญญาโทสาขากฎหมายระหว่างประเทศ หลักสูตรภาษาอังกฤษจึงมาสมัครเรียนเป็นรุ่นแรกของหลักสูตร ภายหลังจบการปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ก็ได้เข้าศึกษาปริญญาเอกทางด้านกฎหมายต่อที่ประเทศอังกฤษทันที

แท้จริงแล้วนอกจากการเข้าศึกษากับสถาบันที่ดีและได้ร่วมทำงานกับองค์กรชั้นนำแล้วการเป็นนักกฎหมายที่ดีและประสบความสำเร็จจะต้องรับผิดชอบต่อสังคมเพราะนั้นถือว่าเป็นที่สุดของนักกฎหมาย

 

 แหล่งที่มา : Study Tour Education (11-24 กุมภาพันธ์ 2553) หน้า 23

ACC ก้าวสู่พัฒนาการทางการศึกษาระดับใหม่ : Towards a New Degree of Excellence

     ACC School of Commerce เป็นโครงงานร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (AU) และโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ (ACC) เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์ สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เริ่มปีการศึกษา 2553
มีการให้ทุนการศึกษารุ่นแรก 40 ทุน ทุนละ 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ซึ่งนักศึกษาที่ได้รับทุนจะเรียนฟรีตลอดจนจบปริญญาตรี

     นอกจากนี้ ACC School of Commerce ยังมีโครงการสหกิจศึกษา คือให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เทอมแรกทุกคนจะต้องไปทำงานกับบริษัทต่างๆ และจะมีหน่วยกิต 9 หน่วยกิต โดยในวันแถลงข่าวมีบริษัทชั้นนำของศิษย์เก่า 12 บริษัทฯ ได้แสดงเจตจำนงเข้าร่วมโครงการแล้ว (ภาพบน)

     นายเจริญ อุษณาจิตต์ ศิษย์เก่า ACC ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ ACC กล่าวว่า เมื่อ ACC เป็นศูนย์การศึกษาที่มีชื่อว่า ACC School of Commerce ภายใต้การจัดการศึกษาเอกสถานที่ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญแล้ว ศิษย์เก่าตระหนักดีว่า การที่จะให้ ACC School of Commerce ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีนั้น

     “เราจะต้องมีหลักสูตรที่ดี เหมาะสมกับสภาวะตลาดปัจจุบัน สามารถเอื้อให้นักศึกษาหางานทำได้ในธุรกิจต่างๆ หลังจากที่สำเร็จการศึกษา จะต้องมีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิและเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพสูง ซึ่ง ACC School of Commerce เตรียมพร้อมเสมอเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย” นายเจริญกล่าว

     นายเจริญ อุษณาจิตต์ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการ บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า 12 กลุ่ม นักธุรกิจซึ่งเป็นเจ้าของกิจการระดับแนวหน้าในเมืองไทยในปัจจุบัน ทั้งหมดเป็นศิษย์เก่าของ ACC มาก่อน มาถึงวันนี้ได้ร่วมผนึกกำลังกัน เพื่อผลักดันให้ ACC มีหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นระดับปริญญาตรี      ทุกคนในฐานะที่เป็นศิษย์เก่ามองว่า การศึกษาในปัจจุบันอย่างน้อยต้องจบปริญญาตรีจึงจะสามารถหางานทำได้ ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่จบสายอาชีพเพียงปวช. หรือ ปวส. ก็หางานทำได้ง่ายแล้ว     ด้วยเหตุนี้ จึงได้ร่วมกันผลักดัน โดยใช้เวลาทั้งหมด 11 ปี โดยเริ่มจากสถิติ มีนักศึกษามาเข้าเรียนที่นี่ลดลงกว่าเดิมถึง 40 เปอร์เซ็นต์ จึงได้มีการประชุมกันระหว่างคณะจารย์ในโรงเรียน ภราดา และ คณะศิษย์เก่า เพื่อหาข้อสรุป และได้คำตอบว่า ต้องยกระดับการศึกษาขั้นต่ำถึงระดับสำเร็จปริญญาตรีจึงจะมีงานทำ     หลังจากนั้น คณะศิษย์เก่าได้ว่าจ้าง บริษัททำรีเสิร์ท สำรวจข้อมูล โดยสัมภาษณ์นักเรียนที่จะมาเรียนที่ ACC และ ผู้ปกครอง แล้วสำรวจโรงเรียนที่เคยเปิดเป็นพาณิชยการแต่ปิดตัวไปแล้ว และข้อมูลสถิติทางโรงเรียน ย้อนหลังไปอีก 5 ปี

    ได้ข้อสรุปว่า ความต้องการนักเรียนที่จบปวช. ในวงการพาณิชย์ไม่มีอีกแล้ว อย่างน้อยต้องจบปริญญาตรี เท่านั้น กลุ่มศิษย์เก่า ACC จึงได้เกิดแนวคิดที่ร่วมกันผลักดันเพื่อให้ ACC ได้สอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาหรือ มหาวิทยาลัย ซึ่งกว่าจะผ่านกระบวนการต่างๆ มาได้ก็ต้องใช้เวลานานถึง 11 ปี มีทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมเป็นผู้ร่างหลักสูตร คณะศิษย์เก่าร่วมกันออกแบบหลักสูตรให้มีความแตกต่างในหลักสูตรที่เน้นเรื่องจริยธรรม โลจิสติกส์ สอนภาษาจีน การโต้ตอบทางจดหมายทางธุรกิจ     ACC School of Commerce มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดสอนหลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ โดยเน้นหนักสหกิจศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าทำงานจริงกับองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เพื่อสัมผัสประสบการณ์สำหรับการทำงานในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีศักยภาพอย่างรอบด้าน ที่จะได้งานทำจนประสบความสำเร็จในอาชีพ หรือมีความสามารถที่จะริเริ่มธุรกิจของตนเอง อันส่งผลถึงพัฒนาการอย่างยั่งยืนของประเทศชาติโดยรวม

12 บริษัท ร่วมโครงการสหกิจศึกษา
คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาจัดการศึกษา
ระดับปริญยาตรีที่ ACC (Advisory Board)
1. โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ
    คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหาร
1. ภราดาศิริชัย ฟอนซีกา
11. นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์
2. กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์
    คุณประสิทธิ์ ดำรงชิตานนท์ ประธานคณะผู้บริหาร
2. ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย
12. นายกิตติ อิสริยะประชา
3. บริษัท คอม-ลิงค์ จำกัด
    คุณศิริธัช โรจนพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
3. นายสนั่น อังอุบลกุล 
    (ประธาน)
13. นายเจริญ อุษณาจิตต์
4. บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด
    คุณเอก สยามวาลา
4. นายเอก สยามวาลา
14. นายโยธิน เนื่องจำนง
5. บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย)
    จำกัด คุณสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล ประธานกรรมการ
5. นายนิสสัย เวชชาชีวะ
15. ดร.แสงชัย อภิชาตธนพัฒน์
6. บริษัท เอเวอร์กรีน ชิปปิ้ง เอเยนซี่ (ไทยแลนด์)
    จำกัด คุณนิวัฒน์ แจ้งอริยวงศ์ ประธานกรรมการ
6. นายอมเรศ ศิลาอ่อน
16. คุณหญิงวิภา มณีไพโรจน์
7. บริษัท ฟาติมา บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
    ดร.แสงชัย อภิชาตธนพัฒน์ ประธานกรรมการ
7. มาสเตอร์สุชาติ คริสธานินทร์
17. นายวีระพล โชควิทยารัตน์
8. บริษัท โมเดอร์ฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
    คุณทักษะ บุษยโกคะ ประธานกรรมการบริหาร
8. นายวิรุฬห์ ปริวุฒิพงศ์
18. นายปรีชา สนั่นวัฒนานนท์
9. บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
    คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานกรรมการ
9. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
19. นายทรงพล ชัญมาตรกิจ
10. บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด
      คุณนิชาภา ยศวีร์ กรรมการผู้จัดการ
10. นายนิวัฒน์ แจ้งอริยวงศ์
20. นายชลิต ลิมปนะเวช
11. บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
     คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ
 
 
12. บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด
      คุณทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
 
 

 

12 องค์กรรวมแสดงเจตน์จำนงโครงการสหกิจศึกษา (ฝึกงาน)

     ACC School of Commerce มีเป้าหมายสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่พร้อมด้วยคุณภาพและศักยภาพ มุ่งปลูกฝังจิตวิญญาณของการเป็นนักธุรกิจและนักบริหารผู้เชี่ยวชาญ ประกอบขึ้นด้วยภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ทำการสอนโดยความร่วมมือระหว่างคณาจารย์และผู้ประกอบการจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำ เพื่อเป็นการตอบแทนต่อสถาบันการศึกษา ACC ที่ให้ความรู้ความสามารถ คุณธรรมและจริยธรรมจนประสบความสำเร็จในชีวิต     ขณะนี้ หลักสูตรใหม่นี้ พร้อมเปิดตัวและมีความพร้อมเปิดการเรียนการสอน ในรุ่นแรกเปิดรับนักศึกษาจำนวน 120 คน มีทุนการศึกษาให้นักศึกษาเป็นทุนเรียนฟรี 40 คน ผู้ที่ได้รับทุนเรียนฟรีนี้ ต้องเป็นเด็กที่เรียนดี เก่งภาษาอังกฤษ มีความตั้งใจที่จะศึกษาในคณะบริหารธุรกิจนี้อย่างจริงจัง    คณะกรรมการฯ จะพิจารณาคุณสมบัติของนักศึกษาที่เข้ามาขอรับทุน โดยคณะศิษย์เก่า ACC จะร่วมพิจารณา และให้ความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน ก็ได้พร้อมใจกันทำ

     หน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษเพื่อนำประสบการณ์จริงๆ ของผู้บริหาร มาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาโดยตรง   พร้อมกันนั้นทุกบริษัทฯ ก็พร้อมที่จะรับนักศึกษาที่เรียนที่นี่ไปฝึกงานเพื่อหาประสบการณ์จริงในบริษัทต่างๆ ด้วย โดยไม่มีข้อแม้ และถ้านักศึกษาฝึกงานแล้วมีผลงานดี หลังจากเรียนจบแล้ว บริษัทก็พร้อมที่จะรับเข้าทำงานด้วย ถ้ามีตำแหน่งงานว่างและต้องการรับสมัครในขณะนั้น     นักศึกษาที่เรียนที่ ACC School of Commerce นี้ จะได้รับความแตกต่างจากหลักสูตรในมหาวิทยาลัยอื่น ทั้งเรื่องของทุนที่ไม่มีข้อผูกมัดเพียงแต่เรียนดี และตั้งใจเรียนก็จะได้เรียนฟรีไปจนจบปริญญาตรีไม่ต้องมาชดใช้ทุน นอกจากนั้น ก็ยังได้ฝึกงานบริษัทชั้นนำ และ มีอาจารย์พิเศษที่เป็นเจ้าของธุรกิจมาสอนโดยตรง


ศิษย์เก่า - (คนที่ 1 จากทางซ้าย) คุณนิสสัย เวชชาชีวะ

- (คนที่ 2) คุณเอก สยามวาลา

- (คนที่ 3) คุณบำรุง จินดาผล

     จากวัตถุประสงค์และประโยชน์ของสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยจึงได้นำสหกิจศึกษาเข้ามาผนวกเป็นกลุ่มวิชาเอกเลือกของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2515 และเป็น 1 ใน 4 สาขาวิชาแรกของมหาวิทยาลัย หลักสูตรได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมาตลอดเพื่อให้ทันสมัย ทันต่อความก้าวหน้าด้านวิชาการและตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน โดยปรับปรุงทั้งในด้านความรู้และทักษะที่พัฒนาให้กับนักศึกษาและวิธีการสอนที่หลากหลายโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จุดเด่นของหลักสูตรการจัดการ คือ เป็นหลักสูตรที่เน้นพัฒนาให้นักศึกษามีความรู้ ความชำนาญที่หลากหลาย ครอบคลุมด้านต่างๆ โดยหลักสูตรได้บูรณาการความรู้และทฤษฎีที่เป็นหลักสำคัญในการบริหารธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย การบริหารจัดการด้านการเงิน การตลาด เทคโนโลยีสารสนเทศ และที่สำคัญคือ การบริหารการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ไว้ในหลักสูตร    สำหรับการปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ซึ่งจัดให้มีสหกิจศึกษานี้ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2552 และจะเริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ภาคการศึกษา ที่ 1 ปีการศึกษา 2553 คือ มิถุนายน 2553 หลักสูตรนี้ได้เพิ่มกลุ่มวิชาเลือก 1 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์ นักศึกษาที่เลือกกลุ่มวิชานี้จะมีการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการในภาคการศึกษา ที่ 1 ปีการศึกษาที่ 4 มีจำนวนหน่วยกิต รวม 142 หน่วยกิต การฝึกงานของสหกิจศึกษาจะต้องเป็นการปฏิบัติงานเต็มเวลาเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาหรือ 15 สัปดาห์ โดยในขณะที่ฝึกงานนี้ นักศึกษาจะไม่มีการเรียนวิชาอื่นใดๆ จะต้องใช้เวลาปฏิบัติงานเท่านั้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานตามหลัก Learning by Doing   เป้าหมายสูงสุดของสหกิจศึกษาไม่ใช่เพียงการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการและกลับไปมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่คือการเข้าสู่ระบบการทำงานของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา (Employability) หมายความว่าเมื่อปฏิบัติงานและผ่านการประเมินแล้ว นักศึกษาจะได้เข้าทำงานในสถานประกอบการนั้นๆ ทันทีที่สำเร็จการศึกษา ซึ่งจะเป็นการประกันการได้งานทำของบัณฑิต

 

     ในวันนี้ปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือการที่ ACC School of Commerce จะต้องมีนักศึกษารุ่นแรก หรือรุ่นบุกเบิกที่มีคุณภาพจากทั่วประเทศพร้อมที่จะเข้ามาสู่รั้วสถาบัน ด้วยความมุ่งมั่น เต็มไปด้วยความหวังและความไว้วางใจต่อคุณภาพและอนาคตเมื่อจบออกจาก ACC School of Commerce แต่การค้นหานักศึกษาที่มีคุณภาพเข้ามาศึกษาที่ ACC School of Commerce รุ่นแรกเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ง่ายเลย เครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยได้ดีคือ การมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษารุ่นแรก ให้ได้เรียนฟรีตลอดหลักสูตร 4 ปี

       เพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้ ศิษย์เก่าจึงมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดมทุนพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ ACC (Fundraising Committee) ขึ้น เพื่อช่วยดำเนินการรณรงค์ระดมทุนไว้สำหรับการมอบทุนการศึกษา (Scholarship) แก่นักศึกษาเรียนดีและมีความประพฤติดี ตลอดจนการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอน การจัดสถานที่เพิ่มเติมรวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

     สำหรับจำนวนทุนที่ตั้งเป้าหมายไว้ คิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 70 ทุน โดยแบ่งเป็น นักศึกษารุ่นที่ 1 จำนวน 40 ทุน นักศึกษารุ่นที่ 2 จำนวน 20 ทุน และนักศึกษารุ่นที่ 3 จำนวน 10 ทุน มูลค่าทุนละ 500,00 บาทสำหรับนักศึกษา 1 คน ตลอดระยะเวลาการศึกษา 4 ปี     “อนาคตของ ACC School of Commerce ขึ้นอยู่กับศิษย์เก่า ACC ทุกๆ รุ่น ผมหวังว่าท่านจะให้การสนับสนุนทุนการศึกษาตามกำลังและศรัทธาของท่าน และขอวานท่านช่วยบอกต่อเรื่องราวนี้ถึงเพื่อนศิษย์เก่าทุกคนด้วย ให้ได้รับรู้ถึงกุศลครั้งสำคัญที่เราจะได้ทำร่วมกันครั้งนี้” นายธนาชัยกล่าว

 

  แหล่งที่มา : Study Tour Education (11-24 กุมภาพันธ์ 2553) หน้า 12-15 

 

เปิดสถานี ABAC CHANNEL

เปิดสถานี ABAC CHANNEL

     ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดตัวสถานีโทรทัศน์ “ABAC CHANNEL” สถานีเพื่อการศึกษาและเยาวชนโดยมี อมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ กรรมการบริหาร บริษัท เวิลด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เน็ทเวิร์ค จำกัด และ บิลลี่ โอแกน ผู้อำนวยการสถานี ABAC Channel ร่วมเป็นเกียรติ รวมถึงศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) อาทิ พอล ภัทรพล ศิลปาจารย์, เบเบ้ ธันย์ชนก ฤทธินาคา มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ณ บริเวณลาน อีเดน ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล (Central World) เมื่อเร็วๆ นี้

 

แหล่งที่มา : ABACA Profile (March 2010 Issue 01/2010) หน้า 37

 

Christmas 2009 & New Year Celebrations

Christmas 2009 & New Year Celebrations 

     ในโอกาสครอบรอบ 40 ปี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้มีการมอบรางวัล Conferral Ceremony of AU Awards of Excellence 2009 เพื่อเป็นกำลังใจให้กับอาจารย์ และบุคลากรที่ทำประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยฯ และสังคม ณ Chapel of St. Louis วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ซึ่งภายในงานได้มีการมอบรางวัลสำหรับ ดร. วินธัย โกกระกูล, รองศาสตราจารย์ ดร. สนธยา วนิชวัฒนะ, Mr. Glen และอาจารย์นรนุช ไผ่แก้ว และ ในโอกาสเดียวกัน AUAA นำโดยท่านนายกสมาคม ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ได้นำคณะกรรมการเข้าร่วมอวยพรวันคล้ายวันเกิดของ ภราดา ดร.ประทีป ม.โกมลมาศ  

แหล่งที่มา : ABACA Profile (March 2010 Issue 01/2010) หน้า 6

 

The Coronation of the Virgin Mary Assumption University

Rev. Bro. Buncha Saenghiran, rector of Assumption University, 
is crowning Mother Mary on the feast of Assumption

 According to the calendar of the Church, the 15th of August is marked for the Feast of the Assumption of the Virgin Mary. As the university bears the name of this august phenomenon, it is but pr5oper that it should be celebrated with great devotion every year.

To solemnize the occasion, in 2001, the President of the University has created a special ceremony to crown the statue on the eve of the Feast of the Assumption and to honour the Virgin Mary as Mother and Queen of the university.

According to the taught by St. Louis Marie de Montfort, Christ is the wisdom seated on the throne. This implies, on the one hand, that the Mother of Christ is the dwelling place of the supreme wisdom of all science.

 

A goldsmith was commissioned to craft a crown of pure gold for the statue of the Virgin Mary. On 15th August 2001 this gold crown was blessed by His Grace Bishop Lawrence Thienchai Samanchit.

 

When the Bang Na campus was under construction a statue“The Seat of Wisdom” was ordered to be sculptured in bronze and gold-plated and to take the pride of place in front of the Cathedral of Learning, overlooking the panoramic scene, facing the rising sun at dawn. The Virgin Mary wears a crown of pure gold of 2.2 kilos studded with precious stones of different colours. The statue was blessed by H.E. Michael Cardinal Michai Kitbunchu on the 8th December 2000. On this same occasion the Cardinal also blessed other university buildings. 


Rev. Bro. Martin, Pratip Komolmas, rector emeritus, who initiated this solemn ceremony. 

N.B. The artistically crafted crown of pure gold is normally kept in the safe deposit vault of a Bank and is brought out for devotion and dedication every year on August 15.

On the other hand, the university is the Alma Mater, or our mother who is also the “Dwelling Place of Knowledge”. In this context, “Assumption” which besides its religious connotation in glorification of the Mother of Christ, has yet another meaning in Thai language “The Abode of Abiding Knowledge”. Rightly, “Assumption University” is the Seat of Wisdom.

       My it be known to all in the years to come that this ceremony of the crowning of the Virgin Mary is observed with solemnity among the university community to bring blessing and protection to all.

By Bro. Martin 

แหล่งที่มา : 'NOK' Brothers of St. Gabriel Province of Thailand (Vol.28 No.3/2009 November-March 2010) p.16-17 

 

iTouch & Learn on iMBA เอแบค

โลกที่แบนราบลงเปรียบเสมือนการพังทลายของกำแพงหรืออาณาเขตเดิมที่เคยอยู่ ปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ ประสบการณ์ และมุมมองทางความคิดไม่ให้ถูกจำกัดอยู่แต่ในกรอบ หากมองออกไปข้างนอกจะพบว่าสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวล้วนเป็นองค์ความรู้แขนงหนึ่งที่มนุษย์สามารถเรียนรู้และใช้ประโยชน์สร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ 

และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีนี่เองที่ทำให้ผู้บริโภคมีโทรศัพท์มือถือใช้มากถึง 4,000 ล้านคน อีกทั้งอนาคตอันใกล้จะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตราว 2,000 ล้านคนทั่วโลก กิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกภาคส่วนล้วนมีหัวรถจักรที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและผนวกรวมเข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแทบแยกไม่ออก ใครหยิบฉวยและนำประโยชน์มาประยุกต์ได้มากเท่าไหร่ย่อมเห็นเม็ดเงินในกระเป๋าได้มากเท่านั้น

iMBA (Master of Business Administration) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (AU) กำลังปฏิวัติรูปแบบการเรียนการสอนในระบบการศึกษาขึ้นใหม่ด้วยการนำเทคโนโลยีมาเชื่อมต่อการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา mobile technology ผสมผสานเทคโนโลยี Live Broadcast เป็นอุปกรณ์ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น โดยความร่วมมือกับบริษัท G Softbiz จำกัด ควบคู่กับสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายจากทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดโอกาสให้ห้องเรียนที่เคยคับแคบอยู่แต่ในกรอบสี่เหลี่ยมมาว้างขึ้นทันที เพราะนวัตกรรมใหม่จะเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่การเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และไม่จำกัดโอกาส

“เอแบคพยายามใช้เทคโนโลยีใหม่สนับสนุนการเรียนการสอน อุปกรณ์ทางการสื่อสารถูกใช้ไปในเรื่องเอ็นเตอร์เทนเมนท์อย่างเดียว ทำอย่างไรที่จะใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ iMBA จึงเป็นโปรแกรมของประเทศไทยที่ช่วยสนับสนุนการศึกษาไทย” ดร.กิตติ โพธิกิตติคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าว

Take the room out of the classroom คอนเซ็ปต์ทางการศึกษาของหลักสูตร iMBA มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กางตำราเรียนออกนอกห้องเรียน เพราะไม่ว่านักศึกษาจะอยู่มุมไหนของโลก แค่คลิกเปิดหน้าจอก็จะเห็น App Store ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดความรู้เคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา เทคโนโลยีช่วยให้การศึกษาเป็นเรื่องง่ายและเกิดประโยชน์กับผู้เรียนโดยตรง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากขึ้น

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศที่นำเทคโนโลยีใส่เข้าไปในสื่อการเรียนการสอน สร้างบุคลากรชั้นนำของโลกมากมาย ทั้ง UC Berkley, Standford University, MIT ต่างลงทุนไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ขยายความรู้ออกสู่ภายนอกกันแบบถึงแก่น เปิดโอกาสให้ทั้งผู้เรียนและผู้ที่สนใจศึกษา เข้าสู่บทเรียนออนไลน์ได้อย่างสะดวก และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาบนเว็บไซต์ไปอ่านกันได้ฟรีๆ โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียน

Mobile learning ของเอแบคจึงเป็นการพัฒนาระบบ ABAC Application สำหรับ iPhone และ iPod บน App Store นำมาใช้กับหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ซึ่งเป็นก้าวแรกแห่งการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีพัฒนาระบบฐานข้อมูลข่าวสาร การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยบน App Store ทั้งรายละเอียดของแต่ละหลักสูตร ตารางเปิดรับสมัคร ข่าวสารของคณะและภาควิชา แผนที่ของมหาวิทยาลัย รองรับระบบ My Course ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกรับข้อมูลวิชาที่ลงทะเบียนเรียน ตารางการ make up และ cancel การเรียน

การมี App Store ของมหาวิทยาลัยไปปรากฎบนหน้าจอโทรศัพท็จึงเรียกได้ว่าเป็นการต่อยอดนวัตกรรมที่เคยเป็นรากฐานเดิมอยู่แล้วให้เกิดนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ไม่ใช่เพื่อการบันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่การมี App Store ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบ Real Time Broadcasting โดยเห็นเนื้อหาและ content อย่างเต็มรูปแบบ

ไม่เพียงเท่านั้น ระบบ On-Demand Learning จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียกเนื้อหาการเรียนการสอนในแต่ละวิชาที่ไหนก็ได้ ระบบ On-the-Go Learning ก็เป็นตัวช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทบทวนบทเรียนระบบสามารถชิงค์ (Synchronization) ข้อมูลการเรียนแบบ Dual Source ผ่านโปรแกรม iTunes ในคอมพิวเตอร์ซึ่งรอบรับระบบ Macintosh และ Windows เข้าสู่ iPhone หรือ iPod เรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา

ทว่า หลายคนอาจยังไม่มั่นใจว่าการนำอุปกรณ์นี้มาใช้จะเป็นเพียงแค่การสื่อสารแบบ one way communication อย่างเดียว ความอัจฉริยะของเทคโนโลยีทำให้ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้สอนโดยตรงผ่านระบบ Wiki และ Blog ผู้สอนกับผู้เรียนนั่งสนทนากันแบบ real time เพิ่มพื้นที่ในการสื่อสารเสมือนมี webboard เคลื่อนที่ทุกเวลา

“ระบบนี้จะเอื้อต่อนักศึกษารุ่นใหม่สามารถเรียนแบบสัมผัสหน้าจอ เรียกว่า iTouch และ iLearn อาจารย์และนักศึกษาจะมาเรียนด้วยกัน เรียกว่าเป็น we learn บนพื้นฐานของ virtual ระบบเสมือนจริง” ดร.กิตติ โพธิกิตติ กล่าว

iMBA เอแบค เปิดประตูสู่การเรียนแบบใหม่ด้วยความแตกต่างบนโลกออนไลน์สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนได้มากขึ้น พัฒนาการศึกษาโดยอิงกับการใช้เทคโนโลยีทำให้นักศึกษามีโอกาสกลับมาทบทวนบทเรียนกับผู้สอนได้อีกครั้ง ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อกับการศึกษาจึงทำให้พรมแดนความรู้ไม่จำกัดสถานที่และไม่มีที่สิ้นสุด

แหล่งที่มา : MBA (No.137 August 2010) หน้า 158-159

 

Dr. Bancha Seanghiran : Develop Global Business-Talented People Is What This Era Need

แหล่งที่มา : ASEAN COMMERCE (Issue 01 September 2010) หน้า 42-43 

ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ : "อัสสัมชัญ" สร้างนักธุรกิจป้อนสู่ตลาดสากล

  

ด้วยวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์เริ่มแรกของ มหาวิทยาลัย ที่ต้องการที่จะมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมออกสู่ตลาดแรงงานที่ไม่ใช่เพียงภาพในประเทศนั้น ทำให้ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติที่ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ต่างชาติให้การยอมรับเป็นอย่างดี

ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยา-ลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย นักบุญหลุยส์ มารี เดอร์มงฟอร์ต ในปัจจุบัน และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีการปรับตัวและมุ่งเน้นผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพออกไปสู่ตลาดได้อย่างไร รวมทั้งได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการแข่งขันในภาคธุรกิจที่นับวันยิ่งจะเข้มข้นมากยิ่งขึ้นนั้น เป็นคำตอบและวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจทีเดียว

หลักสูตรสำคัญการเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นสำคัญที่สุด ต้องเป็นหลักสูตรของระบบนานาชาติ เด็กของเราที่จบจากที่นี่ต้องไปต่อที่ต่างประเทศได้ ซึ่งเด็กของเราก็เข้าไปอยู่ในมหาวิทยาลัยระดับท็อปเท็นของโลก เช่น มหาวิทยาลัยฮาว์เวิร์ด แสตนด์ฟอร์ด เคมบริดจ์ หรืออีกหลายๆ ที่ ทุกปีต้องมีนักศึกษาเข้าไปเรียนที่นั่นได้ทุกปี ตรงนี้ก็เป็นตัวพิสูจน์ให้เห็น หรือในเรื่องของการทำงานด้วย ส่วนมากนักศึกษาที่จบออกไปของเราก็ทำงานอยู่ในบริษัทข้ามชาติอย่างเช่น ในประเทศสิงคโปร์ เด็กของเราก็ไปอยู่ที่นั่นเยอะทีเดียวหรือแม้แต่อเมริกา ก็เป็นเรื่องของคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเป็นต้น

แล้ววิธีการสอนของเราสอนล่ะอย่างไร? หนึ่ง คือเราพยายามเอ็กโพสเค้า ให้เขาได้รับมากที่สุด เราสอนเรื่องวัฒนธรรมต่างๆ ให้เขาเข้าใจว่าวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร และมันต่างกันอย่างไร ให้เขารู้เขารู้เรา รู้เราแต่ไม่รู้เขาเราก็ไปไหนไม่ได้ สองต้องรู้จักเปิดหูเปิดตา เปิดอย่างไร? จะเห็นได้ว่าทุกอย่างในมหาวิทยาลัยของเราเป็นอินเตอร์เนชั่นแนลทั้งหมด เวลานี้เรามีอาจารย์ 40 กว่าชาติ นักศึกษามีทั้งหมด 85 ชาติ 2 หมื่นคน หรือไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่เราต้องสามารถเทียบกับต่างชาติได้ เราต้องไม่อายใคร ตัวอย่างเช่น เรามีอินเตอร์เนชั่นแนล อินเฟอร์เร้น อยู่บ่อยๆ เอาเขาเข้ามาทำในนี้ ของเราเราก็ส่งเด็กออกไปเพียงแต่ตรงนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่เราจะพยายามส่งเด็กออกไปในทุกครั้งที่มีโอกาส 

เราใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารทั้งในการเรียนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนและอีกอย่างหลักสูตรของเราไม่เหมือนกับใครถึงแม้จะเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษเหมือนกันก็ตามทีแต่ของเราไม่เหมือนที่อื่นทุกโปรแกรมจะต้องเป็น Management Base หมายความว่า มีการบริหารจัดการ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของทุกหลักสูตรในเอแบค ตัวอย่างเช่น เรียนพยาบาล คุณต้องเรียนบริหารจัดการไปด้วยไม่ใช่แค่เรียนพยาบาล ถามว่าทำไมเราถึงทำแบบนี้? ก็เพื่อว่า เมื่อนักศึกษาจบออกไป เขาจะไปเป็นลูกจ้างก็ได้ หรือจะไปประกอบธุรกิจเป็นของตัวเองก็ได้ ตามแต่สาขาวิชานั้นๆ ที่ได้เรียนมา ไม่ชอบก็ต้องเรียนเพราะเราบังคับ ทุกอย่างที่เราทำ เราไม่ได้ทำให้เกิดขึ้นเพราะว่ามันเป็นเทรนด์ แต่มันเกิดขึ้นโดยการดีไซน์ ของเรามาตั้งแต่ต้น

ที่นี้ในแง่ของการแข่งขันการเรียนวิชาการจัดการอย่างเดียวมันไม่พอ มันต้องรู้จักความเป็น “ผู้นำ” การรู้จัก อินโนเวชั่น นี่สำคัญ ซึ่งสำหรับเรา อินโนเวชั่นอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการ รีอินโนเวชั่น ด้วย เพราะอะไร? นวัตกรรมอะไรก็ตามที่ออกมาใหม่ๆ เวลาผ่านไปสักพักก็เก่าแล้ว ฉะนั้น ก็ต้องรีโนเวตใหม่ ไม่อย่างนั้นเราก็จะไม่สามารถต่อสู้กับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาได้ อย่าลืมว่าในโลกเรามีอะไรใหม่ๆ เกิดขั้นมาอยู่ตลอดเวลา

ปัจจุบันนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีนักศึกษาจากประเทศจีนมากที่สุด ถามว่าเพราะอะไร เหตุผลแรกเลย ต่างชาติที่เข้ามาในไทยที่ต้องการเข้าเรียนในสถาบัน ที่สอนภาษาอังกฤษ เขาจะไปที่ไหน? เขาก็ต้องมองหาสถาบันที่สอนด้วยภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งไทยประเทศไทยก็มีอยู่ไม่กี่แห่ง อันที่สอง ทูตจากประเทศจีน เขาจะเป็นคนไปบอก อย่าลืมว่าเวลาเราเดินทางไปประเทศหนึ่งๆ สถานที่แรกที่เราจะขอความช่วยเหลือหรือขอข้อมูลก็คือสถานทูต

อันที่สองจีนเป็นประเทศใหญ่ และเราก็ไม่ต้องการให้เด็กมาจากที่เดียว เราต้องการ ให้มาจากทุกๆ มณฑล เราจึงต้องส่งคนของเราออกไปเพื่อทำความรู้จักและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยของเรา ก่อนหน้านี้เราก็เคยให้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ กับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ของประเทศจีน เพราะฉะนั้นเขาจะรู้จักและสามารถบอกคนอื่นได้ว่าของเราเป็นอย่างไร เพราะเขาเคยมาดูของเราแล้ว และพ่อแม่เด็กของบางคนไม่มั่นใจ อย่าลืมว่าเดี๋ยวนี้โลกมันเปิด ประเทศจีนกับไทยอยู่ใกล้กัน เขาก็มาเที่ยวและเขาก็มาดู และบริษัทท่องเที่ยวเขาไม่รู้จะพาลูกทัวร์ไปไหนก่อนขึ้นเครื่อง เขาก็พาลูกทัวร์มาดูเอแบค เพราะสถานที่เราสวยงาม เขาเห็นเขาก็ทึ่งเขาบอกไม่นึกเลยว่าจะมีมหาวิทยาลัยอย่างนี้ในประเทศไทย

และเหตุผลอีกอย่างคือ เรื่องของค่าใช้จ่ายและความเป็นอยู่ ที่ถ้าหากนักศึกษาต่างชาติต้องการที่จะเรียนภาษาอังกฤษ ค่าใช้จ่ายเมื่อมาเรียนกับไทยนั้น มีราคาถูกกว่าที่จะไปเรียนประเทศอื่น รวมถึงประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ สงบ สะดวกสบาย นักศึกษาจีนและนักศึกษาต่างชาติจากประเทศต่างๆ จึงเลือกมาเรียนที่นี่ และที่สำคัญสิ่งที่จะได้กลับไปคือ เน็ตเวิร์คหรือคอนเน็คชั่นต่างๆ ที่ดีและเยอะเพราะอย่าลืมว่านักศึกษาของเอแบคนั้นมีพ่อค้าเยอะมาก เยอะกว่าที่อื่น 

ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งแรกที่ตั้งใจออกแบบสร้างขึ้นมาตั้งแต่ต้น เรามีหลักสูตรที่ไม่ใช่หลักสูตรธรรมดาเราไม่เหมือนของคนอื่นแต่เป็นหลักสูตรที่ฝังอยู่ในตัวของตัวเองซึ่งเด็กที่จบออกไปนั้นสามารถเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการได้เลยเพราะเราได้สอนวิชาการบริการจัดการให้เขาไปแล้วในตัวโดยธรรมชาติของหลักสูตรของเรา     ขณะนี้โลกของเรามันเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก เขาเรียกว่า โกลเบอลไร้ท์ เซชั่น ซึ่งแปลได้หลายอย่าง อาจจะแปลว่าครอบครัวเดียวกันก็ได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว อาจจะหมายถึงการเชื่องโยงไปในทุกๆ พื้นที่ในโลกนี้ โดยโลกของเราทุกวันนี้การเคลื่อนตัวก็ไว การติดต่อก็เร็ว หรือการเดินทางก็สะดวกมาก หรือถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรสักอย่างที่อีกซีกโลกหนึ่ง มันจะส่งผลกระทบไปที่อีกซีกโลกหนึ่งเสมอ     เพราะฉะนั้นกาลเวลาและการเปลี่ยนแปลงของโลกมันไวมากกับคำถามที่ว่าเราจะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปยังไงเราก็ตอบได้ว่าเราจะทำให้บัณฑิตของเราออกไปเป็น “พลเมืองโลก” อยู่ที่ไหนเราต้องไปได้หมดไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนของโลกก็ตาม

 

แหล่งที่มา : ASEAN COMMERCE (Issue 01 September 2010) หน้า 17-19

สัมมนา 40 ปี เอแบค ว่าด้วยเรื่อง 'change'

ครั้งหนึ่ง ภราดา ดร.ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เคยกล่าวไว้ว่า “ต้นไม้ที่ดี ต้องมีผลที่ดี ผลิตผลที่ดีแน่นอนก็จะกลับมาซึ่งชื่อเสียงของสถาบัน” บุคลากรทางการศึกษากว่า 60,000 คน ซึ่งเป็นผลผลิตจากต้นไม้ใหญ่แทรกซึมอยู่ทุกภาคส่วนธุรกิจ เป็นข้อพิสูจน์ที่ประจักษ์ให้เห็นถึงการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา 

ในวาระครบรอบ 40 ปีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดงานใหญ่ รวมพลศิษย์เก่า (get together) ปลุกพลังความคิด ระดมสมองร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัย Standfort สัมมนาหัวข้อ “Strategic Rapid Transformation in Public and Private Institutions” โดยมี Prof. Dr. Behnam N.Tabrizi กูรูแนวคิดด้าน “change” ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้กับประธานาธิบดีบารัค โอบามาในการทำ change campaign ร่วมแสดงทัศนะในงานครั้งนี้ด้วย 

จุดหมายของการสัมมนาหยิบยกประเด็นเรื่อง change ขึ้นมาพูดคุย เพื่อจุดประกายและสะท้อนภาพให้เห็นสถานการณ์ความเป็นไปของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องเล็กสุดที่เกิดขึ้นในระดับบุคคล องค์กร หรือภาครัฐและเอกชน เท่านั้น แต่เป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ เห็นชัดได้จากสถานการณ์ความเคลื่อนไหวและวิกฤตความเปลี่ยนแปลงของประเทศใดประเทศหนึ่ง ส่งผลกระทบกับประเทศที่อยู่อีกฟากของโลกให้ร่วมประสบชะตากรรมเดียวกัน ทุกอย่างถูกร้อยเรียงและเชื่อมเข้าหากันหมด ทั้งการค้า การขนส่ง พรมแดนความรู้ที่ไม่ปิดกั้นด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

สาระสำคัญของ “change” จึงต้องมองลึกไปที่เรื่อง การสร้างการรับรู้ระดับบุคคลให้เกิดขึ้นเป็นลำดับแรก เพื่อทำความเข้าใจถึงสิ่งเปลี่ยนแปลงที่ไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมให้กับ “คน” ขององค์กรให้ก้าวไปสู่ “คน” ของประเทศเพื่อแข่งขันได้ 

ไม่อาจปฏิเสธว่า อดีตใครเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ก่อนย่อมได้เปรียบ แต่ปัจจุบันทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้พร้อมกันหมดด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แต่โลกนับจากนี้ไปจะไม่ได้แข่งขันกันด้วยการเข้าถึง “information” แต่จะถูกแทนที่ด้วยการให้ความสำคัญในเรื่อง “ความคิด”การใช้สมอง โดยเฉพาะเรื่องจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์เพิ่ม value-added ให้กับบุคลากร ในยุคที่ “information age” กำลังจะหมดไป “ageing society” เคลื่อนเข้ามา ทรัพยากรวัยแรงงานเป็นตัวจักรสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศในยุค “knowledge society” การมีทุนมนุษย์ที่มีหัวสร้างสรรค์ย่อมสร้างความแตกต่าง และความแข็งแกร่งให้กับองค์กรเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรทุกประเภท 

และเครื่องมือหนึ่งที่นำมาต่อกรสู้กับความเปลี่ยนแปลงได้คือ หลักการบริหารและพัฒนาองค์กร Organization development เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัว เท่าทัน และก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง “ศาสตร์เรื่อง OD มันคือเรื่องการทำความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลง เราพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เราสามารถมองเห็นโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ ซึ่งจะสามารถทำให้เราแข่งขันได้และอยู่ได้ในตลาดโลก” ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้อำนวยการโครงการ Organization Development Institute มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าว 

การเรียนรู้เรื่อง organization development จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคลากรในองค์กรปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงสถานการณ์ปัจจุบันภายใต้บริบทการแข่งขันทั่วโลก บุคลากรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมืออาชีพตามแนวทางธุรกิจ และที่สำคัญคือความท้าทายก้าวไปสู่การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงเสียเอง 

“องค์กรเอกชน ภาครัฐ หากทำความเข้าใจเรื่อง organization development แล้วจะสามารถเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นเหตุของที่มาทำไมเราถึงให้ความสำคัญกับศาสตร์เรื่อง OD แล้วเราเชื่อว่า ศาสตร์นี้จะเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไป” ดร. อุดม หงส์ชาติกุล กล่าว 

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญกำลังก้าวสู่ปีที่ 41 สถาบันการศึกษาที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดโดยเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรทั้งการเปลี่ยนแปลงในแง่วิชาการ การปรับเปลี่ยนหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การเป็นผู้นำแถวหน้าด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนการมองเห็นและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาทำให้วันนี้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญสามารถยืนอยู่บนเวทีการศึกษาระดับชาติและนานาชาติได้อย่างองอาจ

 

แหล่งที่มา : วารสาร MBA (No. 140 November 2010) หน้า 103-104

 

  • https://aceh.lan.go.id/wp-content/giga/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/file/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/files/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/mail/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/pay/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/wp-content/giga/
  • https://rsudngimbang.lamongankab.go.id/
  • https://dasboard.lamongankab.go.id/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/plugins/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/storage/
  • https://islamedia.web.id/
  • https://fai.unuha.ac.id/disk/
  • https://fai.unuha.ac.id/post/
  • https://fai.unuha.ac.id/plugins/
  • https://fai.unuha.ac.id/draft/
  • https://fai.unuha.ac.id/giga/
  • slot gacor hari ini
  • slot pulsa
  • slot pulsa
  • nuri77
  • gemilang77
  • slot deposit pulsa
  • slot gacor hari ini
  • slot luar negeri
  • slot pulsa
  • situs toto
  • situs toto
  • toto slot
  • slot pulsa tanpa potongan
  • situs toto
  • situs toto
  • slot pulsa
  • situs toto slot
  • slot deposit pulsa
  • Situs toto macau