วิกฤตการณ์อาหารโลก 

มนุษยชาติมีแหล่งอาหารมากมายมหาศาลบนโลกใบนี้ ทำไมประชากรกว่า 850 ล้านคนถึงยังหิวโหย
และประสบภาวะทุพโภชนาการ ทำให้เด็กกว่า 18,000 คน ต้องอดตายในทุกๆ วัน ? 

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาราคาน้ำมันที่แพงขึ้นและทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารสำหรับคนและสัตว์มีราคาพุ่งสูงขึ้นโดยมิได้คาดการณ์มาก่อนและนำไปสู่การเกิด “วิกฤตการณ์อาหารโลก” ( World Food Crisis ) ขึ้น ก่อให้เกิดกระแสความตึงเครียดไปทั่วโลก เนื่องจากประชาคมโลกล้มตายด้วยความอดอยากและหิวโหย จะเห็นว่า ไม่มีสงครามใดในโลกนี้จะทำให้ประชาชนต้องเสียชีวิตทุกๆ นาที และทุกๆ วันได้มากเท่า

จากราคาอาหารที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ทำให้บางประเทศเริ่มขาดแคลนอาหารหลัก (Food-deficit) ต้องนำเข้าอาหารและโภคภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันหลายๆ ประเทศถึงกับต้องวางมาตรการห้ามส่งออก และมีการเรียกเก็บภาษีส่งออกทั้งข้าวและอาหาร เช่น ประเทศ อินเดีย ยูเครน รัสเซีย คาซัคสถาน รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านของเรา ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และ เขมร เป็นต้น แม้แต่ประเทศฟิลิปปินส์เอง ยังประสบปัญหาภาวะขาดแคลนข้าวอย่างหนัก ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้องค์กรระหว่างประเทศ ต่างหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว โดยต่างเห็นพ้องต้องกันว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องเร่งหามาตรการที่เหมาะสม มาแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ปัญหาวิกฤตการณ์อาหารโลกครั้งนี้ นับเป็นปัญหาระดับโลกที่คุกคามทั้ง ทางสังคม และ การเมืองไปทั่ว จนเป็นเหตุให้ผู้นำของโลกถกเถียงกันในเวทีการประชุมสุดยอด “เรื่องความปลอดภัยด้านอาหารของโลก” ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ถึงวิธีจัดการกับเรื่องที่ราคาอาหารแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อหาวิธีปรับปรุงด้านการจัดหาอาหารให้ประชากรโลกผู้อดอยากและหิวโหยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ขณะนี้มีถึง 37 ประเทศ ที่กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์อาหารโลกอย่างแท้จริง ซึ่ง ปัญหาราคาอาหารแพงขึ้นทั่วโลกนี้ ทางสหประชาชาติเรียกว่าเป็น “Perfect storm of conditions”

ตามรายงานขององค์การอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สรุปภาพรวมของวิกฤตการณ์อาหารโลกว่า ราคาอาหารได้เพิ่มขึ้นจากปี 2006 ถึงสิ้นปี 2007 แล้ว 23% เมล็ดพันธุ์ต่างๆ ราคาเพิ่มขึ้น 42% น้ำมันประกอบอาหาร ราคาเพิ่มขึ้น 50% และผลิตภัณฑ์จากนม 80% จากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารดังกล่าว คงต้องใช้ระยะเวลาอีกยาวนานกว่าจะปรับสู่สภาพที่สมดุลได้ ปัจจัยเหล่านี้กระตุ้นให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประกาศจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิกฤติอาหารโลก เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์โดยเร่งด่วน

ราคาอาหารที่แพงสูงขึ้นและคาดว่าจะยังคงอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง เกิดจากปัจจัยสำคัญที่ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง สวนทางกับความต้องการบริโภคที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และเกิดจากปัจจัยแทรกซ้อนหลายๆ ปัจจัยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ คือ

  1. การเก็งกำไรและสภาวะเงินดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกาที่ตกต่ำ 

  2. นโยบายเรื่องการส่งเสริมพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

  3. สภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน

  4. ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นและดูจะต่อเนื่องยาวนาน จนต้องหันไปใช้ไบโอดีเซลทดแทน

  5. การบริโภคสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากของบรรดากลุ่มประเทศตลาดใหม่ 

วิกฤตการณ์อาหารในวันนี้ มาจากปัญหาภาคการเกษตรที่ถูกปรับเปลี่ยนจากการเพาะปลูกเพื่อการส่งออก มาแทนการเพาะปลูกเพื่อการบริโภคภายในประเทศ การเปลี่ยนมาเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่ที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ต้องสิ้นเปลืองปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และแหล่งน้ำ เบียดเบียนวิถีเกษตรเพื่อชุมชน สู่ภาค “ธุรกิจการเกษตร” อย่างไร้เหตุผล นอกจากจะไม่บรรเทาความอดอยากแล้ว ยังทำให้ประชาชนหลายล้านคนในประเทศที่ส่งออกอาหาร เช่น ประเทศอินเดีย ประชากร 1 ใน 5 ต้องอดมื้อกินมื้อ แม้แต่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อีก 48% ยังต้องประสบภาวะทุพโภชนาการ และในประเทศโคลัมเบีย ประชากรถึง 13% ก็ประสบภาวะนี้ เช่นกัน

แนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วนอีกทางหนึ่งก็คือ การประชุมสุดยอดของสหประชาชาติว่าด้วย “วิกฤตอาหาร” ที่จัดขึ้น ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้นำของโลกได้ให้คำมั่นว่า จะลดอุปสรรคทางการค้าและจะส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตรให้มากขึ้น เพื่อสู้กับวิกฤตการณ์อาหารที่ทำให้เกิดภาวะอดอยากและนำไปสู่การก่อความไม่สงบรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก ที่ประชุมได้ผ่านความเห็นชอบในปฏิญญาร่วมกันที่จะแก้ปัญหาวิกฤตอาหารแพงและส่งเสริมการลงทุนในภาคการเกษตรให้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างความสมดุลในประเด็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันในเรื่องของเชื้อเพลิงชีวภาพ และการเรียกร้องให้ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยในประเทศยากจนที่มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และอาหารสัตว์ในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาวิกฤตอาหารที่โลกกำลังเผชิญอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม องค์การสหประชาชาติเคยจัดการประชุมสุดยอดอาหารโลกมาแล้วเมื่อปี ค.ศ. 1996 เพื่อสร้างอธิปไตยทางอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เน้นการบริโภคภายในประเทศ การคุ้มครองปกป้องสิทธิมนุษยชน และสร้างหลักประกันให้ประชาคมโลกเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยมีคุณค่าและเหมาะสมทางวัฒนธรรม

วิกฤตการณ์อาหารโลกไม่ใช่ ปัญหาระยะสั้นๆ เพราะประชาคมโลกต่างให้ความสนใจและตระหนักถึงประเด็นปัญหาเหล่านี้ด้วยความวิตกกังวล บ้างก็วิเคราะห์ว่าเกิดจากการนำเอาพลังงานทดแทน (Biofuel) มาใช้ ทำให้ธัญพืช (Grains) ลดปริมาณลงและเกิดการขาดแคลนอยู่ตลอดเวลา เช่น บรรดาประเทศในแถบทะเลทรายซาฮารา เป็นต้น

ปัญหานี้ คือ ปัญหาฉุกเฉินที่ต้องการการแก้ไข แต่อุปสรรคสำคัญอยู่ที่ เงินทุนช่วยเหลือด้านการวิจัย ที่มีงบประมาณน้อยมาก การพัฒนาด้านการเกษตรดูเหมือนจะถูกละเลย การบริหารจัดการก็เป็นไปภายใต้กรอบของกระบวนการ โลกาภิวัตน์ เนื่องจากนานาประเทศหันมาพึ่งการค้า มากกว่าการพึ่งพาตนเอง ผลกระทบจากการใช้พลังงานทดแทนที่เห็นได้ชัดก็คือ กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้พื้นที่เพื่อพลังงานทดแทนมากขึ้น ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารคน และ สัตว์กว่า 30% ถูกแปรเปลี่ยนไป จากกรณีดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบกับแหล่งผลิตอาหารแน่นอน เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก      

แม้แต่ในยุโรปเองก็ยังสนับสนุนนโยบายด้านการผลิต เอทานอล โดยกำหนดให้มีส่วนผสมของเอทานอล อย่างน้อย 10% ดังนั้นพื้นที่เพาะปลูกอาหารเพื่อบริโภค จึงกลายมาเป็นการปลูกปาล์มน้ำมัน อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง เพื่อเป็นพลังงานทดแทน เช่นกัน

องค์การอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (WFP) ได้ตั้งชื่อวิกฤตการณ์นี้ว่า เป็น “Silent Tsunami” หรือ “สึนามิเงียบ” ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้เตรียมการรับมือไว้ก่อน นับว่าท้าทายความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องในการวางนโยบายเพื่อความอยู่รอดของประชาคมโลกเป็นอย่างยิ่ง

จากนี้ไป ประชาคมโลกคงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดว่า องค์กรต่างๆ ระดับโลก จะใช้มาตรการและยุทธศาสตร์ใดเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์นี้

สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รับรู้ของประชาคมโลกว่า อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพราะเราเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าภาคเกษตรรายใหญ่ของโลก ย่อมหนีไม่พ้นกับผลกระทบด้านราคาอาหารแพง ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงไม่พ้นประชาชนผู้ยากจน รวมไปถึงชนชั้นกลาง ซึ่งถือว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลต้องกำหนดมาตรการเพื่อวางนโยบายและดำเนินการอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันความเดือดร้อนจากราคาอาหารที่แพงสูงขึ้น แต่ไม่สอดรับกับรายได้ของประชาชน โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ขณะนี้ คงต้องเน้นที่ความสำคัญของการบริหารจัดการ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ของประเทศ เพื่อส่งเสริมผู้ที่เป็นเกษตรกรและผู้ผลิต ให้คงได้รับผลประโยชน์จากภาคการตลาด ส่วนประชาชน ผู้บริโภคทั้งหลาย ก็ต้องเข้าถึงอาหารทั้งโอกาสและการกระจายรายได้ที่เพิ่มขึ้น เช่นกัน

แต่ถึงอย่างไรก็ตามน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยมากกว่า ที่ได้เกิด “วิกฤตการณ์อาหารโลก” ขึ้น เนื่องจากเราเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารส่งออกที่สำคัญของโลก มีปริมาณอาหารเพียงพอทั้งการบริโภคภายในประเทศ และส่งออกได้พร้อมๆ กัน อีกทั้งเรายังมีพื้นที่นิเวศน์อันอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์เลี้ยงที่เป็นอาหารมากมายนานาชนิด “ข้าว” ซึ่งนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้และแปรวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ ภายใต้แผนพัฒนาด้านศักยภาพของความเป็นแหล่งอาหารโลกเพื่อรองรับแนวโน้มทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพราะอาหารก็คือทรัพยากรที่มีความสำคัญมากขึ้นทุกๆวัน

รัฐบาล ควรกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศที่เป็นระบบ ทำให้เรากลายเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีเอกภาพ เน้นการเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขยายพื้นที่ภาคการเกษตรควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำ และร่วมกันส่งเสริมทุกภาคส่วน โดยเน้นการจัดแบ่งพื้นที่เพาะปลูก พืช ธัญญาหารให้มากกว่าพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทน แม้ไทยเราจะเป็นผู้นำเข้าด้านพลังงานสุทธิ แต่ก็ควรให้ความสำคัญกับการปลูกพืชพลังงานทดแทนเสมอกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุปัจจัยจากความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันทั่วโลกที่ยังไม่หยุดนิ่ง

       การปลูกพืชพลังงานทดแทน เช่น อ้อยและมันสำปะหลังสามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอล ได้อย่างพอเพียง เนื่องจากพื้นที่สำหรับการเกษตรของเรามีเป็นจำนวนมาก

เมื่อวิกฤตการณ์พลังงานแผ่ขยายไปทั่วโลก นโยบายด้านการผลิตเอทานอลจึงเป็นนโยบายในระยะยาวที่ต้องจัดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเตรียมการแก้ไขและป้องกันไปพร้อมๆ กับการแก้ไขวิกฤตการณ์พลังงานและวิกฤตการณ์อาหาร ประเทศไทยมีพื้นที่ภาคการเกษตรถึง 7 ล้านไร่เศษ ดังนั้น นับเป็นความจำเป็นที่ต้องจัดสรรงบประมาณ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภาครัฐควรส่งเสริมและมีมาตรการให้กู้ยืม ในอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ เพิ่มศักยภาพด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ วางแผนจัดการทรัพยากรน้ำ จำกัดและควบคุมราคาปุ๋ย ตลอดจนช่วยลดรายจ่ายให้พี่น้องเกษตรกรในทุกๆ ด้าน อันจะเป็นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ ภายใต้นโยบายที่เข้มแข็ง อาทิ

อ้อยที่เรานำมาผลิตเป็นน้ำตาล ใช้บริโภคภายในประเทศ นอกจากนั้นยังสามารถส่งออกได้เป็นส่วนใหญ่ เพราะเรามีพื้นที่ปลูกอ้อยที่ไม่กระทบต่อพื้นที่นา ในภาคอีสานเราก็ปลูกพืชพลังงานได้มากกว่าภาคอื่นๆ อาศัยบรรดาผู้ประกอบการเป็นผู้ส่งเสริม โดยแบ่งแยกสัดส่วนให้ชัดเจน ผู้ผลิตน้ำตาลจะไม่เกี่ยวข้องกับโรงงานผลิตเอทานอล การอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนนั้น ต้องจัดสัมมนาขึ้น เพื่อระดมสมองและสรรพกำลังต่างๆ ทำการวิเคราะห์ค้นคว้า วิจัย อันจะนำไปสู่ผลทางการแก้ไขที่มีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล

จะเห็นได้ว่า เราต้องใช้ทุนจากกระทรวงการคลังจำนวนถึง 25,000 ล้าน เพื่อลดต้นทุนด้านผลผลิตอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางภาคเกษตร สร้างความมั่นใจให้แก่ประเทศที่เป็นพันธมิตรทางการค้า โดยยึดหลักความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้ที่รับผลประโยชน์และผู้ที่เสียผลประโยชน์

แม้ในหลายประเทศทั่วโลกจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก โดยไม่สามารถจะคาดเดาได้ว่าอนาคตข้างหน้านั้นจะเป็นอย่างไร แต่สำหรับประเทศไทย คงต้องเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เช่น ไม่ควรจำกัดการส่งออก ไม่บิดเบือนราคาตลาด แสวงหาพันธมิตรที่เป็นประเทศผู้ผลิตภาคการเกษตรเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และการตลาดซึ่งกันและกัน แม้ว่าวิกฤตการณ์อาหารทำให้เกษตรกรไทยได้รับผลประโยชน์มากขึ้นก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันผลกระทบยังคงตกอยู่กับคนจนในเมือง เพราะยังคงต้องจ่ายค่าอาหารในราคาที่สูงขึ้นถึง 43% และในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ที่กรุงอักกรา สาธารณรัฐกานา ยังแสดงความเห็นเช่นเดียวกันว่า ในระยะยาวนั้น การเจรจาเปิดตลาดการค้านับเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ส่งผลให้บรรดาเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะราคาพืชผลทางการเกษตรจะได้ราคาดีตามผลผลิตที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น อันนับว่าเป็นผลประโยชน์ที่ดี แก่ประเทศไทยทั้งสิ้น

นับว่าเป็นความโชคดีของเราที่เป็นประเทศส่งออกอาหารสุทธิที่สำคัญของโลก จึงได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์อาหารน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกหลายๆ ประเทศ การบริโภคภายในประเทศจึงไม่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลน และยังได้รับอานิสงส์จากราคาสินค้าภาคเกษตรที่สูงขึ้นด้วย

เพราะอาหารไม่ใช่เพียงโภคภัณฑ์ แต่อาหารเป็นหัวใจของการอยู่รอดของประชากรโลก ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้น ณ ที่หนึ่งที่ใด หากแต่กลายเป็นปัญหาใหญ่ทางสังคม และ การเมือง ที่แผ่ขยายไปทั่วโลก     

  • https://aceh.lan.go.id/wp-content/giga/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/file/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/files/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/mail/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/pay/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/wp-content/giga/
  • https://rsudngimbang.lamongankab.go.id/
  • https://dasboard.lamongankab.go.id/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/plugins/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/storage/
  • https://islamedia.web.id/
  • https://fai.unuha.ac.id/disk/
  • https://fai.unuha.ac.id/post/
  • https://fai.unuha.ac.id/plugins/
  • https://fai.unuha.ac.id/draft/
  • https://fai.unuha.ac.id/giga/
  • slot gacor hari ini
  • slot pulsa
  • slot pulsa
  • nuri77
  • gemilang77
  • slot deposit pulsa
  • slot gacor hari ini
  • slot luar negeri
  • slot pulsa
  • situs toto
  • situs toto
  • toto slot
  • slot pulsa tanpa potongan
  • situs toto
  • situs toto
  • slot pulsa
  • situs toto slot
  • slot deposit pulsa
  • Situs toto macau