การประกันคุณภาพจากประสบการณ์ 
บัญชา แสงหิรัญ 

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ และมาตรา 49 กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถาบันศึกษานั้น

ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา

จากการที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (กพอ.) และได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดสร้างเครื่องมือการประเมิน การจัดหาผู้ประเมิน และการเข้าร่วมสังเกตการณ์การประเมิน ทำให้มองเห็นภาพของการประเมินชัดเจนขึ้น ขณะนี้เครื่องมือสำหรับใช้ในการประเมินได้ทำเสร็จและนำไปใช้ประเมินสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ แล้ว ถึงแม้จะไม่ใช้เครื่องมือที่ดีที่สุดแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการประเมินคุณภาพการศึกษาตามหลักการแห่งพระราชบัญญติการศึกษาแห่งชาติ ขณะที่ดำเนินการประเมินสถาบันต่างๆ คณะกรรมการฯ พยายามที่จะรับฟังข้อมูลย้อนกลับจากผู้ประเมินและผู้ประถูกประเมิน เพื่อจะนำไปพัฒนาเครื่องมือการประเมินให้มีความเหมาะสมกับสังคมไทยและได้มาตรฐานสากลในท้ายที่สุด

การประเมินในรอบแรก (ช่วง 6 ปีแรก) ปรากฏว่าสถาบันต่างๆ ตื่นตัวที่จะจัดสร้างรูปแบบของการประกันคุณภาพภายในสถาบันขึ้นถึงแม้จะรู้สึกว่าการประกันคุณภาพเป็นสิ่งใหม่เป็นภาระ และการถูกตรวจสอบคุณภาพก็ยังไม่คุ้นกับวัฒนธรรมไทยเท่าไร แต่เท่าที่ดำเนินการมาและได้รับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์แล้ว พอจะบอกได้ว่า ราบรื่นพอสมควรแต่จะบังเกิดผลมากน้อยเพียงใดนั้น คงต้องรอดูรายงานสำรวจผลการประกันคุณภาพต่อไป การสร้างคุณภาพมิได้สร้างกันในกระดาษ แต่ต้องปฏิบัติจริงและจะไม่ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาอันสั้น ต้องอาศัยความอดทนความพยายามจากจิตสำนึกของบุคลากรทุกคนในแต่ละสถาบัน ตลอดจนการทำงานร่วมกันในอันที่จะพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ภายใต้สมมติฐานที่ว่าคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาขีดความสามารถของตน การบูรณาการกิจกรรมทุกอย่างในสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็น Total and Complete Man จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

ขณะนี้ทุกสถาบันมักจะมุ่งจุดสนใจไปที่ตัวชี้วัดที่ สมศ. กำหนดและพยายามจะทำให้ได้ตามที่ สมศ. คาดหวังในประเด็นนี้ผู้เขียนมีความเห็นเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ทางสถาบันน่าจะให้ความสนใจเป็นพิเศษควรเป็นเรื่องรายละเอียดต่างๆ ภายในสถาบัน โดยเฉพาะสิ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจและเป็นภารกิจหลักของสถาบัน กรณีเช่นนี้อุปมาอุปไมยเปรียบสุขภาพของคนกับคุณภาพการศึกษาแล้ว การวัดชีพจรการเต้นของหัวใจ การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะเป็นเสมือนกับการดูแลสุขภาพโดยทั่วๆ ไปของตน แต่การดูแลสุขภาพนั้น แต่ละคนจะต้องมุ่งไปที่ความเป็นอยู่ของชีวิต ต้องเอาใจใส่การกินอาหารครบตามหมวดหมู่อย่างสมดุล มีการออกกำลังกายที่พอเหมาะสม่ำเสมอ มีการทำงานมีการพักผ่อนเพียงพอ และพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ ต้องทำอยู่จนเป็นวิถีชีวิตประจำวันฉันใด การดูแลคุณภาพของก็ฉันนั้น สถาบันต้องดูจากกิจวัตรที่ทำเป็นประจำของสถาบันว่ามีอะไรบ้างที่มีส่วนทำให้คุณภาพดีขึ้นหรือไม่ สมศ. จึงเปรียบเหมือนกับแพทย์ที่มาตรวจร่างกาย ถ้ามีโรคก็ให้ยาและทำการรักษา แต่ถ้าทุกอย่างปกติดีก็จะเสนอแนะให้ดูแลสุขภาพพลานามัย ดูแลเรื่องอาหารหรือแนะนำวิตามิน ที่ส่งเสริมบำรุงกำลังให้ร่างกายเข้มแข็งยิ่งขึ้น

สถาบันจึงควรให้ความสนใจกิจกรรมต่างๆ ภายในสถาบันเป็นสำคัญกิจกรรมในที่นี้ หมายถึง กิจกรรมทุกเรื่องที่สถาบันการศึกษาต้องทำเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ได้วางเอาไว้อย่างมีบูรณาการ โดยจุดเน้นในแต่ละปีความมุ่งไปที่องค์ประกอบสำคัญ (Critical Factors) ที่มีนัยต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องพัฒนาจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งของสถาบัน

กระบวนการพัฒนาคุณภาพจึงเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ต้องได้รับความสนใจจากทุกคนที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ทุกคนในสถาบันต้องมีจิตสำนึกและมองเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ กระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการที่ยาวนานต้องใช้เวลาอย่างไม่มีวันจบสิ้น การพัฒนาให้ดีขึ้นมีคุณภาพสูงต้องทำอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในท่ามกลางการแข่งขันและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีพลวัต เพื่อให้องค์การนั้นเข้มแข็งมีสมรรถนะที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันกับชาวโลกได้

ก้าวแรกของการประเมินคุณภาพการศึกษาในทัศนะของผู้เขียนเป็นก้าวที่เร่งรีบเพื่อทำงานให้ทันกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คำถามที่เราต้องถามตัวเองว่า ก้าวต่อไปควรจะเป็นเช่นไร? การประเมินรอบแรก (2543-2548) คงจะช่วยสร้างจิตสำนึกในตัวบุคลากรของสถาบันการศึกษาถึงความจำเป็นในการประเมินคุณภาพเรียนรู้ถึงวิธีในการประเมินตนเองของสถาบันไม่มากกก็น้อย พร้อมกันนี้ได้มีการนำเครื่องมือการประกันคุณภาพพร้อมกับกระบวนการในการประเมินมาใช้ งานที่ยิ่งใหญ่ของชาติจะต้องมีการดำเนินต่อไปหลายๆ เรื่องและที่สำคัญ ดังนี้:

  1. บุคลากร (Peopleware) ต้องมีการเตรียมบุคลากรให้พร้อม บุคลาการในที่นี้ หมายถึง ประเมินและผู้ถูกประเมิน ผู้ประเมินจะต้องเข้าใจวิธีการประเมิน และประเมินให้ได้ผลตามที่เป็นจริง ขณะเดียวกันที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ ต้องเตรียมผู้ถูกประเมิน บุคลากรภายในสถาบันให้พร้อมที่จะทำงานอย่างมีคุณภาพ ทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพ

  2. เครื่องมือ (Software) มีการทบทวนเครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณภาพภายนอกว่ามีความเหมาะสมเพียงใด จะต้องมีการปรับตัวบ่งชี้ตัวใดหรือไม่โดยดูที่เนื้อหาสาระ ขณะเดียวกันต้องดูเครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณภาพภายในว่าเหมาะสมกับสถาบันเพียงใดด้วย

  3. กระบวนการ (Processware) การนำเครื่องมือใดๆ มาใช้ต้องมีการพิจารณาถึงกระบวนการในการประเมินด้วยว่ามีความเหมาะสมและสามารถใช้เครื่องมือได้อย่างเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหน กระบวนการสลับซับซ้อนและยาวเกินความจำเป็นหรือไม่

  4. การเก็บข้อมูล (Dataware) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาควรต้องเริ่มสร้างฐานข้อมูลที่ช่วยในการประเมิน เช่น รายชื่อของผู้ประเมิน ประธานคณะกรรมการประเมิน ประเภทของสถาบันการศึกษาที่ต้องได้รับการประเมิน และข้อมูลอื่นๆ ที่มีความจำเป็นในการประเมิน รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันและผลของการประเมินเพื่อนำไปใช้ในการเปรียบเทียบ เพื่อการพัฒนาของสถาบันเอง นอกจากนี้ฐานข้อมูลที่สถาบันการศึกษาต้องเตรียมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์การประเมินจะต้องรีบจัดทำขึ้น

  5. การสร้างเครือข่าย (Networking) สร้างเครือข่ายภายในประเทศ เพื่อจะได้นำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่นๆ มาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา

การสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศก็มีความจำเป็น เพื่อจะได้มีการเทียบเคียง (Benchmark) การประเมินคุณภาพของประเทศไทยกับสถาบันอื่นๆ ในต่างประเทศจะได้มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันจะช่วยทำให้เราสามารถที่จะก้าวกระโดไปได้อย่างรวดเร็ว

อีกประเด็นหนึ่งที่สถาบันการศึกษาควรตระหนัก คือ ถ้าเราพิจารณาดูระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา หรือระบบการรับรองมาตรฐานการศึกษา (Accreditation) จะเห็นได้ว่า การประเมินคุณภาพภายในของสถาบันการศึกษาในต่างประเทศนั้น จะเน้นหนักไปที่ระดับโปรแกรม หรือสาขาวิชา (Discipline) และถ้าจะมีการเทียบเคียง ก็จะเทียบเคียงกันในสาขาวิชาเดียวกัน

  • https://aceh.lan.go.id/wp-content/giga/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/file/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/files/
  • https://figmmg.unmsm.edu.pe/mail/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/pay/
  • https://ppid.lamongankab.go.id/wp-content/giga/
  • https://rsudngimbang.lamongankab.go.id/
  • https://dasboard.lamongankab.go.id/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/plugins/
  • https://dpmd.bengkaliskab.go.id/storage/
  • https://islamedia.web.id/
  • https://fai.unuha.ac.id/disk/
  • https://fai.unuha.ac.id/post/
  • https://fai.unuha.ac.id/plugins/
  • https://fai.unuha.ac.id/draft/
  • https://fai.unuha.ac.id/giga/
  • slot gacor hari ini
  • slot pulsa
  • slot pulsa
  • nuri77
  • gemilang77
  • slot deposit pulsa
  • slot gacor hari ini
  • slot luar negeri
  • slot pulsa
  • situs toto
  • situs toto
  • toto slot
  • slot pulsa tanpa potongan
  • situs toto
  • situs toto
  • slot pulsa
  • situs toto slot
  • slot deposit pulsa
  • Situs toto macau