onwin
Interviews

ABAC and the new tasks of the President*

(*reproduced from ABACA PROFILE of October-December 2002.)

For over 40 years, Reverend Brother Dr. Bancha Saenghiran has dedicated his physical strength and mental powers to fulfilling his duties as a Brother of the St. Gabriel's Foundation of Thailand. He has developed confidence in his knowledge, talent and vision, thanks to his vast experience working at various institutions operated by the Order. Today ABAC Alumni Association proudly welcomes his recent appointment as President of Assumption University and has requested and interview with him. Here is what he has to say about his visions and his responsibilities. 

The establishment of AU as a world-class university: 

" The duty before me is mainly to continue the work begun by the former Rector, Reverend Brother Dr.Prathip Martin Komolmas, who has, at this moment, been appointed President Emeritus by the University Council. Our mission is to continue to develop our university into a global institution. If anyone should ask at this point when this will be achieved, the answer is that it will take time to effect changes for the better. We must move forward, step by step, in accordance with the university’s vision and mission, working methodically and patiently to realize the philosophy of the Brothers of St. Gavriel. At present we have students coming from within the country and overseas to pursue studies here, and their numbers have been growing steadily. But most of all, We can regard the successes of our graduates as proof of the quality and high standards of our university. In the last five to six years, Assumption University graduates have enrolled in leading universities around the year 2002, two graduates have been admitted to the MBA program at Harvard University, and one student at MIT. Besides this, many of our graduates were able to obtain jobs at multinational corporations. "

" AU attaches great importance to the quality of its teachers, the methodology of teaching, learning and research. These go hand in hand. But in addition to attracting qualified teachers, and to providing a good teaching and learning environment, we must improve facilities for our students. It is not possible to continue in the crowded conditions we have at Hua Mak Campus, where more than 18,000 students were crowded within a 16-rai plot. Therefore, we must continue the work of the former Rector to develop the Bang Na Campus. Forty percent of this has now been completed. With more space and better surroundings, our students can achieve quality, knowledge and develop their potential. " 

The education of graduates who possess knowledge and integrity: 

" One special characteristic is that we use English as the language of instruction Our courses are also unique because business management is at the base of every program we teach, and our graduates are trained as managers, with solid theoretical knowledge as well as a practical background. Moreover, professional ethics and community service will ensure that they are graduates with integrity. This may not sound so different from other institutions, but we regard these as unique features of a Catholic university. It means that, in the context of the Catholic university, the administrators must pay attention to morality, ethics and good behavior, all important elements of our education. Other universities are know to have international programs, large facilities and students from overseas, but our values are defined by the Christian concepts of love, kindness, and sacrifice which we, endeavour to instill in our students. The continuous interaction between administrators, faculty, personnel and students, not only in the classroom but in all aspects of university life are significant. "

Teaching students how to learn about new things throughout their lives: 

" Students often say it’s hard to study at AU, therefore they don’t have time for other activities. It may be true that studying here is difficult because English is the medium of instruction, but this is only in the beginning when students need to adjust to a new language. However, I often see that students are free and don’t know what to do so they simply do nothing or use the telephone a lot. It’s not that they don’t have free time. But they don’t know how to manage their time and use it to their advantage. They forget that “Time is Money,” or simply that “Time and Tide Wait for No Man.” If they learn the importance of time management, they will always acquire new ideas. Unity, for example, is not the result of activity alone, it is the result of many things. Attending classes, and going home, is a basic activity of students and they have known this since high school. But at university level, they have to adjust to life and their ways of thinking, and change from students who learn from teachers, to students who know how to look for knowledge and learn how to learn by themselves. There are different methods of learning how to depend on oneself. The teacher becomes the manager who encourages students to study and look for solutions to problems, because in the future there will be no teacher to stand by them. Students must learn to teach themselves, and adjust their behavior to their surroundings. All these things cannot be learned through specific programs, however carefully they may be chosen. On the contrary, activities often lead to fights and quarrels, and the effect can be adverse to its real aim. But if we acquire knowledge, and apply this to our lives, we have really learned and gained something. Simply think of how much we had to adjust when we were young. Nobody wants to brush their teeth because it hurts, but knowing that it is necessary as well as important we keep it up, we adjust, and it becomes a regular habit and a part of our lives. "

 The creation of an international teaching learning environment: 

" Many people keep asking why AU does not have a faculty entirely of foreigners. In order to answer this question, let us first look at what it means to study at an international level. Faculty at this university is selected according to their expertise in their fields; their educational qualifications and the universities where they have studied; as well as their ability to teach in English and use English efficiently. It is not necessary to look for foreign teachers only, because in the world arena, graduates will meet with people of various nations and cultures. We have a truly international atmosphere here with both teachers and students from some 58 countries. At one time in Thailand we went crazy about foreigners, who were understood to be from Europe, and considered as good as their products. But in this global society, when we buy goods from Europe, they are likely to be made in China, or Korea, or Thailand, but we don’t know it, and believe that everything foreign is good. On December fourth, His Majesty the King suggested that Thai people should breed Thai dogs and train them. Before that nobody ever thought about it. His Majesty also praises Thai wisdom, but the word “local wisdom” should be more appropriately translated as “local knowledge.” Americans and Europeans are competent in their own languages, but Thai people can acquire the skill and the pronunciation of native speaker by practicing outside class, by watching news such as CNN, CNBC and BBC. One thing required of our teachers is international intelligibility. If we watch CNN or BBC we see many Asian newscasters who speak perfect English. Therefore, let us not create false values, but let us look toward to creating a world-class standard of education and to fulfilling the need for knowledge to serve our international community. "

The development of technology to facilitate the teaching-learning process: 

" Our first faculty was Business Administration, and then when we look at the foundation of all our studies, we discern that it is Liberal Arts, an essential part of education if we aim to develop human beings, because we are not born just to work. Some may think that studying means the acquisition of skills to be able to work, but we also need people in society who are able to build a happy and harmonious life. This is what people need, what the nation needs and what the world needs. What Business Administration and Arts had developed to a certain point, the university saw the need for teaching computer management, which was the first course of its kind in Thailand. Since then, the university has concentrated on building technology resources because the mew IT Building at Bang Na campus is proof of the progress we have made with information technology, in particular since we are the founders of the Internet Society, the only one in the Asia Pacific region. Whether IT is beneficial or harmful depends on the user, of course. " 

" Language is important at the university, because in an international world we cannot use Thai. For this reason, English, French, Chinese and Japanese are major language courses so that our students can communicate efficiently in the business world. With their background in business, management and information technology, the students can enter the current of globalization without fear. " 

Helping to create a network of friends, societies and business: 

" A good network is important, such as a network of organizations and a network of students. It works horizontally and vertically. Just like the Internet, which we can hook up if we are looking for information. Students should form a network to consult with each other. There is the story of an ailing person who had been looking for a cure for a long time. Then one day he posted his symptoms on the Internet, and a doctor who read it was able to suggest a successful cure. There may be many such important matters, whether it is a problem at work, or a problem with a relationship. In this age networking is important. It can open up the world for both business and a happy way of life. Both students and parents share the opinion that studying at Assumption University has enormous benefits, for here they will meet friends and create opportunities for future networking. "

The development of ethics to maintain happiness and success: 

" In order to sustain continuous happiness, three things are very important. 

First, keep learning all the time. The completion of your studies at a certain level is not an ending. Many stop learning after they nave obtained their degrees, but in reality, we must keep learning after they nave obtained their degrees, but in reality, we must keep learning all of the time. We should continue reading and solving problems. 

Second, learn to adjust. The world keeps changing all the time, so we must keep up with events and adjust ourselves to new circumstances. If we do not change we will be like elephants. The dinosaur is already dead, and now the elephants are in danger of becoming extinct because they are being driven from their habitats. If we cannot adjust we will lose. Also, with technology, if we do not know how to use it, we cannot keep abreast of progress. 

Third, we must have morality and ethics, otherwise the world will be in trouble. These three things are important, in particular ethics, otherwise religion will be eliminated and life will become meaningless. As men live together they must know what is right and wrong, they must make ethical decisions and be able to sacrifice. In society we depend on each other and must love one another. Then we will be clever and good and happy: clever to survive in this changing world, good at heart and with integrity, so that we will always be happy. "

ABAC 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทย

  
  

งานเสวนา Right Attitude Towards Work

เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมใหญ่ วิทยาเขตหัวหมาก สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABACA) ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์จริยธรรมวิชาชีพฯ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดโครงการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “Right Attitude towards Work” ให้แก่นักศึกษาปี 4 ที่จะเรียนจบในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2547 เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนด้านอาชีพเสริมสร้างจิตสำนึกทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานในอนาคต

  
 
  

โครงการประกวดธุรกิจ Think Big 

ศูนย์สนเทศและแนะอาชีพ ฝ่ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดอบรมพิเศษในหัวข้อเรื่อง “Think Big เถ้าแก่รุ่นใหม่ คิดใหญ่ๆ ไม่คิดเล็ก” โดยได้รับเกียรติจากคุณทวี จงควินิต กรรมการสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมาเป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องเทวานิเวศน์ วิทยาเขตบางนา เมื่อวันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2547

 
 
 
 

U-Mate Super Convenience Store    

เมื่อวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2547 ณ ห้องวิมานบางพลี มหาวิทยาลัยอัส-สัมชัญวิทยาเขตบางนา ศูนย์สนเทศและแนะแนวอาชีพ ฝ่ายกิจการนักศึกษามหา-วิทยาลัยอัสสัมชัญเปิดโครงการร้านสะดวกซื้อ U-Mate Super Convenience Store พร้อมจัดบรรยาย “การแข่งขันและแนวทางการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน” โดยมี ฯพณฯ วัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติมาเป็นผู้บรรยาย

   
 
 
 
 

ABAC 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทย

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม ภราดา ดร.ประทีป ม.โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ, ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี, ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาจารย์ชลิต ลิมปนะเวช (ศิษย์เก่ารุ่นที่ 3) คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จัดงานแถลงข่าว “ABAC 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทย”

   
 

เอแบค 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทยนอกจากจะเป็นสถาบันการศึกษาที่ต่างชาติแห่เข้าเรียนปีละ 3,000 คน สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละ 700 ล้านบาท แล้ว ณ วันนี้ทีมผู้บริหารภายใต้การนำของ ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีคนปัจจุบัน ยังวาดฝันก้าวไปสู่การจัดตั้ง “วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต” อีกด้วย

เอแบค 35 ปี กับการช่วยเศรษฐกิจไทยนอกจากจะเป็นสถาบันการศึกษาที่ต่างชาติแห่เข้าเรียนปีละ 3,000 คน สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละ 700 ล้านบาท แล้ว ณ วันนี้ทีมผู้บริหารภายใต้การนำของ ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีคนปัจจุบัน ยังวาดฝันก้าวไปสู่การจัดตั้ง “วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต” อีกด้วย

ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) กล่าวว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมี 3 วิทยาเขต คือ หัวหมาก บางนา และเอแบค ซิตี้ แคมปัส เปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งสิ้น 24 คณะ และมี 81 หลักสูตร มีอาจารย์ชาวต่างประเทศ 389 คน ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ มีอาจารย์ทั้งชาวไทย และต่างชาติรวม 1,229 คน และมีนักศึกษาไทย และต่างประเทศรวม 20,000 คน ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาต่างชาติจาก 60 ประเทศอยู่ 2,200 คน 

“ชาวจีนเข้ามาเรียนมากที่สุด รองลงมาเป็นไต้หวันและอินเดีย ที่นิยมเข้ามาเรียนปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 10.5 และโดยเฉลี่ยมีชาวต่างชาติเข้ามาเรียนปีละ 3,000 คน ทำให้เงินรายได้ ภาพรวมปีละกว่า 700 ล้านบาท และจากการสำรวจพบว่า เด็กที่จบออกไปร้อยละ 60 เป็นผู้ประกอบการและมีธุรกิจเป็นของตัวเอง” ภราดา ดร.บัญชา กล่าว

ด้วยจุดเด่นของเอแบค คือ การเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษทุกวิชายกเว้นกฎหมายไทยใช้ตำราภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหลักสูตรเทียบเท่ากับนานาชาติ เมื่อเรียนจบสามารถไปทำงานหรือเรียนต่อมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เป็นต้น

ว่ากันว่า หลังทุ่มทุนกว่า 6,000 ล้านบาท เนรมิตวิทยาเขตบางนา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เพียบพร้อมเทียบฟอร์มนานาชาติด้วยระบบอำนวยความสะดวกกับผู้เรียนนานาประการได้แล้ว นัยว่าเวลานี้ “เอแบคบางนา” ได้กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาติ แวะมาเยี่ยมชมมากที่สุดในจำนวนมหาวิทยาลัยด้วยกัน และในอนาคตจะจัดโครงการท่องเที่ยวในลำคลองโดยจัดเรือล่องไปตามคลองรอบๆ เอแบคบางนา เพื่อให้นักท่องเที่ยวชื่นชมวิถีชาวบ้านริมคลอง 

 

“ส่วนก้าวต่อไปมหาวิทยาลัยจะเปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาที่เป็นจุดแข็งคือ บริหารธุรกิจ ไอที ภาษาต่างประเทศและขยายการจัดการศึกษาสาขาดนตรี นิเทศศาสตร์ กฎหมายมหาชน” ภราดา ดร.บัญชา กล่าว

ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน รองอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เอแบค เสริมว่าขณะนี้เอแบคได้เปิดสอนหลักสูตรด้านไอที และคอมพิวเตอร์ 26 หลักสูตร แต่ละปีผลิตบัณฑิตปริญญาโทด้านไอทีกว่า 250 คน อีกทั้งจะจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตเปิดสอนระดับปริญญาโทและเอก โดยตั้งเป้าว่าภายใน 4 ปี จะมีผู้เรียน 100,000 คน คาดว่าจะเปิดได้ในปี 2548 ขณะนี้รอเรื่องอยู่ในระหว่างการขออนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ

“เอแบคได้ใช้งบกว่า 185 ล้านบาท จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น (อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยี) ภายในมีคอมพิวเตอร์กว่า 2,000 เครื่อง และมีห้องอบรมเกรดเอ ที่มีคอมพิวเตอร์ 408 เครื่องที่ติดตั้งอินเทอร์เน็ตฟรีตลอด 24 ชั่วโมง” ดร.ศรีศักดิ์ กล่าว

กระนั้น นายกมล กิตสวัสดิ์ ผอ.ฝ่ายทะเบียน และประมวลผลมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยังเสริมว่า เอแบคมีทุนการศึกษาให้แก่เด็กยากจน แยกเป็นทุนเรียนดีจะส่งจดหมายไปยังโรงเรียนรัฐ และเอกชนทั่วประเทศให้คัดเด็กที่ได้เกรดเฉลี่ย 3.50 เข้ามาเรียน โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนปีละ 300 – 400 คน ซึ่งในปีนี้ได้จัดสรรทุนเพิ่มอีก 200 ทุน เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปัจจุบันมีเด็กกลุ่มนี้ถึง 1,000 คน

“ส่วนทุนเรียนดีแต่ได้เกรดเฉลี่ย 3.85 ให้เทอมละ 50 ทุน และทุนเด็กยากจนหรือพ่อแม่ประสบภาวะวิกฤติ เช่น ป่วย เจอปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเอแบคจะไม่ให้เด็กกลุ่มนี้ออกกลางคัน แต่จะให้ทุนเรียน ส่วนทุนเรียนปริญญาโทและเอก มีปีละ 6 ทุน และทุนอบรมความรู้ภาษาอังกฤษโดยร่วมกับรายการ “สำรวจโลก” ให้ปีละ 50 ทุน” นายกมล กล่าว

 

Gabrielite in Bangkok 

Brother Bancha Saenghiran, a member of the Catholic Brotherhood of Saint Gabriel religious order, is dedicated to upholding the quality of the Assumption University educational experience and infusing it with compassion 

By : JEN HAU YANG 

Brother Bancha: Education should be aimed at forming the total person, and not just filling them with knowledge. 

Heading a prestigious university is a monumental and a daunting task for anyone, but Brother Bancha Saenghiran, f.s.g., PhD, seems to have been born for such a fate. The present rector of Assumption University spent his early years in the province of Chachoengsao, just outside Bangkok. Born into a family with a large number of siblings, when he was young he was quite attached to his parents, especially his father, who encouraged him to dedicate his life to a religious cause. 

Brother Bancha was a novitiate in the Catholic Church of India, and did his pre-degree studies at Loyola College in Chennai, in South India. 

In his high school years Brother Bancha was a classmate of Mr Korn Dabbarangsi, a former deputy prime minister in the Thaksin cabinet, and also of Dr Supachai Panitchpakdi, the former WTO chief and present secretary-general of the United Nations Commission on Trade and Development (UNCTAD). 

Later he obtained a Bachelor's degree from St Louis University in the Philippines, and then got a Master of Arts degree in School Administration at St Mary's California College in California.

After completing his doctorate in Education Administration from Illinois State University in the USA, Brother Bancha returned to Thailand and taught at several schools, including Assumption College in Rayong, Thon Buri and Samrong.  

Chosen as successor to Reverend Brother Pratheep Martin Komolmas, Brother Bancha was appointed by the Assumption University Council as president of Assumption University on November 1, 2002. 

Assumption University was the brainchild of Brothers Phillip Amnuay and Bernard, both Brothers of Saint Gabriel, and was one of the private institutions of higher education pioneering the international curriculum in Thailand. The university has been in existence since 1969, name and location changes notwithstanding. Assumption University currently has an enrolment of about 20,000 students. 

DRIVEN BY QUALITY 

Brother Bancha sees himself first and foremost in the context of his Roman Catholic religion. His decision to join the Brotherhood of St Gabriel was based on the brotherhood's dedication to the improvement of education. There is a phrase he is particularly fond of which goes a long way toward explaining his philosophy in life and in teaching: "Do extraordinary things in simple everyday, ordinary ways." 

In his job as an education administrator, Brother Bancha has always been driven by quality. He believes that education is best and most effective when it is student-centred, and feels it should be aimed at forming the total person, and not just filling them with knowledge. 

A testament to the success of his philosophy that quality is at the core of education service is the award for achievement in quality education during Brother Bancha's tenure as principal at St Gabriel School from 1985-1990.

At Assumption University he has set in place a programme of service for students. He explained that he sees caring for less fortunate, marginalised people in society as an essential learning experience for students, which enriches their lives in many ways. As they compete academically and choose their pathways for success in business, the arts, etc, it gives them a sense of balance to simultaneously experience compassion and purpose in caring for others. 

"Life, at every stage, is a process of education," said Brother Bancha. 

In addition to his role as President of Assumption University, Brother Bancha is concurrently the adviser of the College Council in Hatyai City University in southern Thailand. He is a member of the College Councils of the North Bangkok and Mission College. He is on the board of trustees of Assumption College, Darasamutr School, St Mary's Sathorn School and St Gabriel's College. 

Brother Bancha has been on the Council of Assumption University since 1983. Currently he is the president of the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand (APHEIT), and adviser of Phi Delta Kappa (PDK) Thailand Chapter of which he was president in 2000-2002. Brother Bancha also serves on committees with the Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAHIL) and the Office for National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA). 

One positive impact of the economic crisis, Brother Bancha has observed, is a wiser set of attitudes towards spending and consumerism in the general public. Students and their parents increasingly demand a stronger correlation between cost, course, and outcome. They also recognise the need for better structuring of operations across the board. They are becoming greater stakeholders in the educational enterprise than in the past. 

On the national level, a greater stress upon quality assurance and good governance comes not only from reflection on failed practices, but also from the new national constitution in effect since 1997. Its stress upon the timely values of transparency, accountability, and participation is leading to a shift in models in society that will also affect every aspect of education.

Brother Bancha says that Thai education has improved a lot but it could be more structured in such a way as to maintain quality while allowing more freedom and decentralisation. He would like to see Thailand rise up the ladder of UNESCO's global educational qualification rankings.  

Brother Bancha has big plans for Assumption University in the future. Firstly, he wishes to complete the Bang Na campus so that it is a closed, independent system. While the main buildings are completed, some buildings that cater to the leisure and recreation of students are not. Brother Bancha says the latter are crucial for interaction among students, and also for building and enriching the characters of the students. The campus is expected to be completed in five to ten years. 

Secondly, he wants to see more student organisations, which are important as vehicles for students to prepare for managerial roles in the future. 

Thirdly, he wishes to further develop the university's departments, and in some cases create new ones, especially research departments, to better prepare the university's students for globalisation. 

As a Gabrielite, Brother Bancha is dedicated to education, to obedience, to chastity and to poverty, living a simple and hardworking life. He doesn't place value in material wealth, but rather in spiritual and educational wealth. He enjoys playing badminton in his leisure time for exercise.

Bro.บัญชา แสงหิรัญ หัวเรือใหญ่ของเอแบค

บราเธอร์ บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีผู้ดำรงตำแหน่งหัวเรือใหญ่ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือที่รู้จักกันดีในนามของ เอแบค สถาบันที่ผลิตผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติที่มีคุณภาพมายาวนาน วันนี้ บราเธอร์บัญชา ได้ให้โอกาส Media Thai Post มาสัมภาษณ์ถึงแนวทางของมหาวิทยาลัยในอนาคต และมุมมองในด้านการศึกษาของไทยภาพรวมของสถาบันในปัจจุบันปัจจุบัน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบค ได้มีโครงการโอนนักศึกษาจาก "วิทยาเขตหัวหมาก มายัง วิทยาเขตบางนา ได้ 13,000 กว่าคนแล้ว จากทั้งหมด 20,000 คน แบ่งเป็นปริญญาตรี 17,000 คน บัณฑิตวิทยาลัย ประมาณ 2,500 คน ในอนาคตคิดว่านักศึกษาจะย้ายจากที่หัวหมากมาที่ บางนา ซึ่งถือเป็น แคมปัสหลัก ที่นี่ใกล้สนามบิน และเรามีพร้อมทุกอย่างให้ บรรยากาศดีกว่า รวมทั้งเทคโนโลยี การศึกษามหาวิทยาลัยของเราเปรียบเสมือน “เหมืองทอง”ซึ่งได้แก่แหล่งความรู้ ผู้ที่ผ่านเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกจะสังเกตเห็นว่าอักษรย่อที่เราใช้จงใจให้เป็น Au ไม่ใช้ตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด ซึ่งอ้างอิงกับศัพท์ทางเคมีว่า Aurium แปลว่า แร่ทอง ดังนั้นคอนเซปการตกแต่งของมหาวิทยาลัยจึงออกมาโดยใช้สีทองเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งคือมหาวิทยาลัยจะมีป่าล้อมรอบ เหมือนกับสถาบันการศึกษาในวนอุทยาน ให้ธรรมชาติรักษาไม่ให้นักศึกษาหลงระเริง จึงต่างกับวิทยาเขตที่หัวหมากซึ่งมีแต่อบายมุขอยู่รอบมหาวิทยาลัยปรัชญาของบราเธอร์เปลี่ยนแปลงไปจากอธิการบดีรุ่นอื่นๆ หรือไม่ ปรัชญาคือความเชื่อถือ แต่สิ่งที่เราทำคือวิสัยทัศน์ที่มีความคงเส้นคงวา ตั้งแต่ปี 2000 เราได้วางปรัชญาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเอาไว้ใหม่ ในอดีต ถึงแม้เราวางไว้ตั้งแต่ต้นแต่ความเป็นนานาชาติยังไม่เกิด ปัจจุบันเราจึงวางวิสัยทัศน์ไว้ว่า เราต้องการทำให้ชุมชนนี้เป็นอินเตอร์เนชั่นแนลคอมมูนิตี้ ชุมชนของคนนานาชาติที่เป็น “ชุมชนนักวิชาการ” เป็นที่อยู่ขององค์ความรู้ทั้งของเก่าและของใหม่ เพื่อสืบทอดแก้ปัญหาของสังคม และต้องหาความรู้ใหม่อยู่ต่อเนื่อง โดยการทำวิจัยทั้งอาจารย์และนักศึกษา และเมื่อทำแล้วก็ต้องกระจายความรู้สู่สังคมให้เค้าได้นำไปใช้ เช่น เอแบคโพลล์ ที่มีมากว่า 10 ปีแล้ว โดยมีเป้าหมายคือการเผยแพร่ความรู้ให้แก่สังคม ตอนนั้นเราจ่ายสตางค์มากทุ่มเงินไปหลายล้าน ทุ่มที่จะสร้างกันเอง ขณะนี้สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง และก็ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

มองว่ารูปแบบการศึกษากับเศรษฐกิจบ้านเราไปด้วยกันอย่างไร

การศึกษากับเศรษฐกิจมันเป็นของคู่กัน การศึกษาดี เศรษฐกิจจะดี เพราะว่าถ้าคนมีการศึกษาดีก็จะมาช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันเศรษฐกิจต้องดีเพื่อจะทำการศึกษาให้ดีขึ้น เพราะถ้าไม่มีเงินการพัฒนาด้านการศึกษาก็จะยากมาก ถามว่าถ้าเอแบคไม่มีเงิน จะสร้างตึกได้มั๊ย? จะจ้างอาจารย์ดีๆ ก็ไม่ได้ ถามว่าอาจารย์ในประเทศไทยนี่ดีมั๊ย? อาจารย์เราดี แต่มีหลายคนถามว่าทำไมไม่จ้างอาจารย์จาก ฮาร์วาร์ด สแตนฟอร์ด มาเลยแบบนี้ ใครเค้าจะมาประเทศไทย สมมุติอาจารย์ที่นั่นได้เงินเดือน 3 แสน เราให้ได้มั๊ย? ที่นี่มันไม่ใช่ธุรกิจ มันเป็นการศึกษา ที่นี่ประเทศไทยใครจะให้ได้ขนาดนั้น การศึกษาไทยกับเศรษฐกิจจะไปด้วยกันถ้าการศึกษาโตขึ้น คุณภาพของบุคลากรของชาติจะถูกยกสูงขึ้นมาเศรษฐกิจของชาติจะดีขึ้น เพราะว่าในการสร้างบรรยากาศสิ่งใหม่ๆ การที่มีแนวความคิด อย่างเช่น คนในระดับรากหญ้าควรจะมีความคิดในการจัดการธุรกิจของตัวเอง สมมุติว่า ถ้าชาวสวนไม่มีความรู้ก็จะทำอยู่อย่างเดิมๆ แต่หากมีองค์ความรู้ รู้จักนำไปประยุกต์ใช้ก็สามารถพัฒนาเป็นสตางค์ต่อไปได้ มันมีหลายส่วนในการสร้างสรรค์ ต้องให้ความรู้ของเราสูงขึ้น ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศชาติก็จะต้องดีขึ้นเพื่อมาขยายการศึกษาด้วย หลังๆ มานี่การศึกษาเราไม่พัฒนาเพราะอะไร? ส่วนมากเงินเดือนจะเอาไปให้เงินเดือนของครูอาจารย์สูงมาก แต่การพัฒนา การเอาไปวิจัยมันน้อยมาก แต่อีกส่วนหนึ่งที่คนเราไม่ค่อยมองก็คือ ลักษณะนิสัยของคนไทยเอง เรายึดอยู่แต่รูปแบบเดิมๆ การเปลี่ยนแปลงมันทำแบบรวดเร็วไม่ได้ ต้องค่อยเป็นค่อยไป เราอยู่ดีกินดีมามาก เราไม่เดือดร้อน เลยดูเหมือนว่าการอยู่เฉยๆ มันสบายอยู่แล้ว มันไม่มีการแข่งขัน แต่ทีนี้การแข่งขันมากเกินไปมันก็ไม่ดี มันต้องพอดีๆ ถ้ามันมากเกินไปก็ไม่มีความสุข อย่างประเทศสิงคโปร์ที่บ้านเค้าเจริญ แต่ผลวิจัยออกมาแล้วว่าคนบ้านเค้าไม่ค่อยมีความสุข มันจึงต้องดูหลายๆ ด้าน ถ้าถามว่าประเทศไทยตอนนี้จะพัฒนาแบบไม่รีบเร่งได้หรือไม่ ส่วนตัวบราเธอร์ก็ยังคิดว่าทฤษฏีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้นยังใช้ได้เสมอ 

พูดถึงเด็กนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอแบค เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง บราเธอร์มองเด็กเราอย่างไรบ้าง คำว่า “พอเพียง” หมายความว่า มีเท่าไรก็ใช้เท่านั้นไม่ใช่หมายความว่าใช้น้อยๆ ถ้าเค้ามีก็ให้เค้าใช้ แต่ก็ยังต้องพอมีเก็บไม่เกินตัว แต่ทีนี้บางคนไม่ใช่อย่างนั้น เห็นเพื่อนมีมือถือ มีกระเป๋าหลุยส์ ก็นำไปสู่การลักขโมย ซึ่งเป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาที่ต้องสอนให้เค้ารู้ หลักสูตรของเอแบคแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนที่หนึ่งคือองค์ความรู้ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธ แต่ความรู้อย่างเดียวไม่สามารถทำให้คนเป็นคนดีได้ เราจึงต้องเพิ่มส่วนที่สองเข้ามานั่นคือการพัฒนาคนให้เป็นคนที่สังคมพึงประสงค์ เราถือเป็นส่วนหนึ่งของวิชาซึ่งวิชานี้ห้ามนักศึกษาขาดเรียนเลย ไม่อย่างนั้นเราไม่ให้จบ

นอกจากนี้ เรายังมีวิชาที่สอนข้างนอกห้องอีก มีการจัด Service Learning คือเราจัดให้เด็กของเราออกไปสอนคนที่อยู่ในคุก ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ แฟชั่น มาร์เก็ตติ้ง เพราะว่าพวกเขาจะออกจากคุกแล้วเค้าจะมาทำอะไรกิน เราก็จะส่งเด็กไปสอนเค้า เวลานี้เราก็กำลังสร้างศูนย์การเรียนรู้ให้ชาวมอแกนที่ประสบภัยสึนามิในภาคใต้ด้วย โครงการพัฒนาสังคมของนักศึกษาเอแบคเราได้มีการส่งโครงงานเข้าประกวดแล้วก็ได้รางวัลกลับมามากมาย ตรงนี้ล่ะที่เขาเรียกว่า Service Learning นักศึกษาปีสุดท้ายเราจะต้องผ่านวิชานี้ทุกคน เพื่อการสร้างความเป็นคนที่สมบูรณ์แบบไม่ใช่เห็นแก่ตัวอย่างเดียว

พูดถึงเด็กที่จบไปแล้วมีภาพสะท้อนกลับมาอย่างไรบ้าง

มีอยู่หลายเสียงเหมือนกันจากผู้ปกครองหรือจากผู้ประกอบการ เค้าจะบอกว่าเด็กเอแบคเนี่ยเก่ง ดูสมาร์ท แต่... “ออกจากงานเร็ว” เราจึงพยายามสอนเด็กเราเสมอว่า การถีบตัวเองให้ขึ้นไปสูงนั้นทำได้ แต่ต้องให้เป็นที่รักของที่ทำงานจากไปให้เค้าคิดถึง การถีบตัวเองหรือย้ายงานเป็นสิทธิ์ของเขา แต่อย่าทำแบบไม่มีจริยธรรม เช่นกำลังทำงานตัวนี้ อยู่ๆ ก็ทิ้งไปเฉยๆ โดยที่ไม่แจ้งล่วงหน้ากับบริษัท หรือทำให้บริษัทเสียหาย ดังนั้นจะทำอะไรควรต้องคิดก่อน เมื่อสถาบันได้ทราบดังนี้ เอามาคิดแล้วก็ปรับปรุงแก้ไขอบรมสอนเค้า

อย่างเด็กสมัยนี้ ซึ่งไม่ใช่แค่เอแบคเท่านั้น เราต้องยอมรับว่า คนยุคนี้เกิดมาจากพ่อแม่ที่ร่ำรวย มีฐานะมีอะไรก็ช่วยลูกเพราะตัวเองเคยลำบากมาแล้ว อีกทั้งความรู้ของเด็กไม่ค่อยแน่น เวลาไปทำงานแล้วแทนที่จะคิดแล้วทำไม่ค่อยมี เราเลยต้องแก้โดยการสอนให้เค้ารู้จักคิดด้วยตัวเอง อยากเรียนรู้ พอเค้าออกไปข้างนอกจะได้พัฒนาต่อได้ ในทุกๆ วิชาไปเรียกเค้ามาสั่งไม่ได้ ให้เค้ารู้จักใช้กับชีวิตจริง ถ้าถามกันตรงๆ ว่าการเรียนต้องเรียนในห้องเรียนหรือไม่? ไม่จำเป็นเลย อ่านหนังสือที่บ้านก็ได้ แต่ทำไมต้องเข้าระบบล่ะ? เพราะการจัดการนิสัยบางอย่างนี่ละที่เป็นหลัก บางครั้งเรามองข้ามกันไปหมด ตัวอย่างเช่นการเรียงคิวเข้าแถวขึ้นลิฟท์ การขับรถให้มีมารยาท เราต้องสอนคนให้มีระเบียบวินัย สังเกตเรื่องการเมืองไทยในขณะนี้อ่อนไหวมาก สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะ ประชาชนอ่อนไหวตามกระแส ไม่ทำไปตามระบบ แล้วแต่ว่าใครจะเสนอสื่อได้ดีกว่า คนไทยก็เอนไปทางนั้นเพราะสังคมยังไม่มีความรู้พอที่ตนเองจะตัดสินใจได้

เรื่องอุปสรรคตั้งแต่ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของเอแบค

อุปสรรคที่เคยผ่านๆ มาบราเธอร์ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรค ถือเป็นเรื่องปรกติ แต่อาจจะไปไม่ได้ดั่งใจที่คิด เพราะฉะนั้นก็ตามที่เค้าบอกว่านิ้วมือ 5 นิ้วยังไม่เท่ากัน ผลไม้ต้นเดียวกันยังมีลูกขนาดไม่เท่ากัน เราต้องทำความเข้าใจกับมันแล้วก็จะผ่านไปได้เอง ตามกาลเวลาของมันเอง อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมันเยอะเหลือเกิน อย่างคอมพิวเตอร์นี่สามปีต้องเปลี่ยนแล้วเปลืองเงินมาก แต่เราก็เอาไปบริจาคโรงเรียนตามหัวเมืองต่างๆ ให้เค้าใช้กัน

พูดถึงเรื่องไอทีในปัจจุบัน ในฐานะที่บราเธอร์เป็นคนยุคแรกๆ ต้องปรับตัวมากหรือไม่กับสื่ออินเตอร์เน็ตหรือวงการไอทีขณะนี้ บราเธอร์เรียนคอมพิวเตอร์มา (ยิ้ม) ที่จริงบราเธอร์เป็นโปรแกรมเมอร์นะ แต่ไม่ค่อยได้ใช้แล้ว เพราะเมื่อก่อนตอนบราเธอร์เรียนที่ฟิลิปปินส์เนี่ยจะเรียนด้านนี้ ชอบคอมพิวเตอร์มาก สมัยนั้นยังไม่มีเครื่องพีซีเลย มีแต่เมนเฟรมใหญ่ๆ (หัวเราะ) จะทำอะไรทีหนึ่งมันยุ่งยากไปหมด

ด้วยการที่มีความรู้ทางด้านนี้โดยเฉพาะทำให้เราเป็นนักพัฒนาที่ได้เปรียบในโลกยุคปัจจุบัน?

ใช่เราได้เปรียบในแง่ของการมอง เพราะบราเธอร์เป็น System Analyst ได้ สามารถที่จะมองระบบมองอะไรต่างๆ ได้ บราเธอร์ก็เริ่มกับดร.ศรีศักดิ์ (จามรมาน) ในด้านไอทียุคแรกๆ แต่สมัยนี้อะไรๆ ก็สบายขึ้นเยอะ อุปสรรคของเราจริงๆ คือเรื่องอาจารย์ เราต้องหาคนที่เหมาะสมมาสอนโดยเฉพาะคณะบริหารธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด ของเรา ซึ่งเป็นคณะแรกๆ เลย คนที่จบด้านธุรกิจมาแล้วถ้าคิดว่าจะหาเงินก็อย่ามาเป็นอาจารย์เลย เวลาสัมภาษณ์ผมจะถามเสมอว่ามาหาเงินหรือเปล่า ถ้ามาหาเงินก็อย่าเป็นอาจารย์เลยไปทำธุรกิจดีกว่า แต่มาเป็นอาจารย์เนี่ย มันเป็นเกียรติ ถามว่าจนมั๊ย? ไม่จน ถ้านำคำสอนของในหลวงมาใช้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ใช้อย่างพอเพียง ตัวเค้าเองก็ต้องรู้

สำหรับอาจารย์ภาษาต่างประเทศเราก็ต้องพยายามหาอาจารย์ที่อยู่ในประเทศเรา เลือกคนที่อยู่ในสายอาจารย์ที่อยู่ในไทยมาก่อนแล้ว ไม่ใช่เป็นพวกท่องเที่ยวมาแล้วมาทำงาน แต่ก็ยังดีกว่ายุคก่อนเพราะคนต่างชาติในไทยน้อย คนไทยก็จบภาษาต่างชาติน้อย สมัยนี้เยอะขึ้นเพราะเรามีหลักสูตรอินเตอร์รองรับ

อาจารย์ต่างชาติที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เป็นคนชาติไหน?

ส่วนใหญ่จะเป็นคนเอเชียเพราะว่าเราสามารถหาบุคคลากรได้ง่าย แต่ว่าความรู้หรือการพูดต้องเป็นระดับสากล ไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่ง เราจะมาดูถูกคนเชื้อชาติเอเชียไม่ได้ แม้ว่าสำเนียงแต่ละชาติจะแตกต่างกัน ถ้าเราฟังบ่อยๆ เข้ามันก็จะชินไปเอง เราต้องฝึกเองหัดดูหนังดูภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องไปยึดติดกับภาพลักษณ์ที่คนสอนจะต้องเป็นฝรั่งหรือมาจากอังกฤษแท้ๆ เสมอไป เราต้องสร้างและทำให้ได้ อย่านึกว่าอย่างคนไทยเองจะเก่งกว่าคนอเมริกาไม่ได้

คนภายนอกนั้นมองเอแบคว่าอย่างไร

เราเคยทำวิจัยมาก็จะสะท้อนภาพว่า เอแบคแพง ภาพลักษณ์นี้เรามีตั้งแต่ต้นๆ เพราะเราสอนเป็นภาษาอังกฤษ แต่สมัยนี้ถึงสอนภาษาไทยแต่เก็บค่าเทอมแพงกว่าเราก็มีนะ ภาพลักษณ์ตรงนี้มันเลยติดเรามาตั้งแต่แรก จนกระทั่งเราเก็บถูกเค้ายังมองว่าแพง

อย่างที่สองจุดอ่อนของเด็กเรา คือออกจากงานง่าย เราต้องมองที่โปรดักส์เราด้วย อย่างที่สามตัวอาจารย์ยังมีคนพม่าที่สอนอยู่เยอะ แต่ถ้ามองในความเป็นนานาชาติแล้วเรามีความหลากหลายที่สุด อาจารย์ทั้งหมดประมาณ 1,400 คน แบ่งเป็นชาวต่างชาติกว่า 40% ทั้งจากอเมริกา ยุโรป รัสเซีย แม้แต่ ภูฏานก็ยังมี ถ้าเทียบกับอัตราส่วนของนักศึกษาของเราประมาณ 20,000 คน ก็เทียบได้ในอัตราส่วน 1:20 ถือว่ายังดีอยู่ เรียนสบายๆ

วัฒนธรรมของเอแบคที่โดดเด่นคืออะไร?

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาเราเป็นสถาบันที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในองค์กร และทุกวิชาทุกหลักสูตรจะเป็น Entr epreneurship ในตัวของมันเอง นักศึกษาเมื่อจบออกไปแล้วจะต้องสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ด้วยตัวเค้าเอง มีหลายๆ คนจบไปแล้วสามารถสร้างกิจการของตัวเอง หรือสามารถทำงานในระดับกลางขึ้นไปในบริษัทของเขาได้ ไม่ใช่ไปเริ่มต้นที่ระดับรากหญ้าใหม่ และอีกอย่างที่เราเน้นมากคือเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมซึ่งจะขาดไม่ได้

คณะที่ยังคงโดดเด่น เน้นมากที่สุดยังคงเป็นคณะบริหารธุรกิจอยู่หรือไม่?

ไม่ใช่แค่บริหารธุรกิจอย่างเดียวแล้ว ขณะนี้เราได้เน้นอยู่ 3 จุดใหญ่ๆ คือ Business Management Education, IT ซึ่งรองรับโลกยุคปัจจุบัน และ Arts ภาษาศาสตร์ ซึ่งวิชาเหล่านี้จะเป็นรากฐานหลัก นอกจากนี้เรายังได้สร้าง College of Internet and Distance Education คือไม่ว่าใครจะอยู่ที่ไหนก็ยังสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โปรแกรมนี้รองรับบุคคลที่ไม่สะดวกจะมาเข้าเรียนในห้องเรียน นักศึกษาสามารถถามปัญหากับอาจารย์ทางอีเมล์ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ทางเรากำลังพัฒนาการสอนแบบข้ามประเทศ Tele-conference กรณีมีอาจารย์จากต่างประเทศซึ่งจะสอนแบบผ่านดาวเทียมได้ และยังมีระบบต่างๆ อีกมากที่เรากำลังสร้างเป็นตึกไอที คงอีกประมาณ 3 ปีกว่าจะสมบูรณ์ เราลงทุนตึกนี้ และซอฟท์แวร์ต่างๆไปแพงมาก ไม่ต่ำกว่า 8 ร้อยล้านบาท แพงมากเราไม่กลัว เรากลัวเรื่องคนเราไม่พร้อมมากกว่า หลังจากทีมบรรณาธิการข่าวMedia Thai Postได้มาสัมภาษณ์ท่านอธิการบดีของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ บราเธอร์บัญชา แสงหิรัญ จึงได้รับทราบว่าท่านเป็นหนึ่งในนักบริหารการศึกษาที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลเพื่อการรองรับสังคมแห่งอนาคตมากขึ้น และมุ่งหวังจะขยายองค์ความรู้ของคนไทยให้เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการปลูกฝังการเป็นคนดีในสังคมให้กับนักศึกษา เพื่อให้คนรุ่นใหม่ช่วยกันพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติได้อย่างแท้จริง...