onwin
Interviews

Brother Bancha Saenghirun Headmaster of the School

To commemorate the 70th anniversary St. Gabriel is preparing to construct a new building but this does not mean we just want to accommodate the rising number of students alone. But the first and foremost objective is to increase the quality of tutorials and expand facilities to the students.

If we look towards the 21st century and ask ourselves what are we doing now to prepare these young boys to face such future. The answer is that we must teach them to teach themselves. This means that even when they leave school they will have the skills to learn and make initiatives by themselves. 

We want to see that our boys become mature citizens which means that their thoughts and expressions are rational and constructive as well as forward looking and not near sighted.

Nevertheless, for education to succeed in moulding these youngster to become a responsible member of society the school must also teach them the practical skills which are appropriate. Every effort is being made to ensure that:-

1. Education now must utilize scientific methodology as well as technological data as heuristic aids in order to keep up with the pace of changes.

2. The school as an establishment must know how to react to the negative impact arising from external changes and pass down these skills to their students. 

Apart from the above guiding principles the school is aware of the tutor-students ratio. We want to give as much individual attention to each student as possible.

However, we cannot succeed in this goal on ourselves alone. The school is having to rely a great deal on parental support and the kind assistance of our old boys network. I, therefore, would like to express my sincere appreciation to them all.

St. Gabriel’s College has come a long way. We have struggled through past difficulties and rejoice in the successes of our students. No doubts, the future will bring more obstacles and we must be vigil and courageously face whatever new and unforeseen difficulties that come our way. But remember the saying Labour Omnia Vincit. These words and the principles that they imply will see to it that we succeed in our strive for the betterment of mankind.

แหล่งที่มา : The Made in Thailand [Vol.4 No.23, 1991] 

ภราดาบัญชา แสงหิรัญ  นัก (บวช) บริหารการศึกษาแห่งเซนต์คาเบรียล

ภราดาบัญชา แสงหิรัญ 

จะมีเด็กอายุแปดเก้าขวบสักกี่คน ที่จะสนใจศาสนาอย่างจริงจังและเริ่มเลื่อมใสมากขึ้นเป็นลำดับถึงขั้นอยากเป็นนักบวชนั้นคงจะเป็นจุดเริ่มต้นของเด็กชายบัญชา แสงหิรัญ ลูกคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 9 คนชาวแปดริ้ว ที่ต่อมาได้อุทิศกายและใจให้กับคริสตศาสนาด้วยการเป็น “นักบวช” ตลอดชีวิตและเป็น “ภราดา” มาครบ 25 ปีแล้วเมื่อปี 2533 ที่ผ่านมา

ณ วันนี้ บราเดอร์บัญชา แสงหิรัญ นอกจากจะเป็นนักบวชแล้วยังเป็นนักบริหารการศึกษาอีกด้วย ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล--โรงเรียนชื่อดังที่มีลูกศิษย์ลูกหาคนดัง ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตหน้าที่การงานอยู่ในหลายวงการ ทั้งแวดวงการเมืองและธุรกิจ 

นัก (บวช) บริหารการศึกษาแห่งเซนต์คาเบรียล

“จริงๆ แล้วเมื่อตอนเด็กๆ ก็ยังไม่ได้คิดจะเป็นนักบวชมากนัก เพียงแต่ว่าทางด้านบราเดอร์ที่สอนอยู่อัสสัมฯ ศรีราชา ที่ดูแลเณรที่จะไปเป็นบราเดอร์นี่ มาพูดอธิบายให้ฟังในทำนองชักชวนว่าใครอยากเป็น บราเดอร์บ้าง แล้วเล่าชีวิตของพวกบราเดอร์ให้ฟัง ซึ่งตอนนั้นก็ยังเป็นเด็กอยู่... เรียนอยู่ในระดับประถมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ เพียงแต่ว่า โอ.เค.ในช่วงเป็นนักเรียนก็ชอบเรียนหนังสืออยู่แล้ว พอเขาชักชวนให้ไปเรียนอยู่ที่ศรีราชา ซึ่งเป็นสถานที่อบรมคนที่จะไปเป็นบราเดอร์ด้วย ก็เลยไปเข้าเรียนในชั้นม.1

เรื่อง : น้ำมนต์ อยู่สกุล ภาพ : สืบพงษ์ สิงหสุต 

ช่วงนั้นก็ปฏิบัติตนเหมือนคนที่จะเตรียมเป็นบราเดอร์ทั่วๆ ไปด้วย แต่การตัดสินใจที่จะบวชเป็นบราเดอร์ยังไม่มี เพียงแต่ได้เห็นพวกบราเดอร์เขาสอนหนังสือ ก็อยาก...คล้ายๆ กับว่าอุปนิสัยนี่ชอบสอน ก็มานั่งคิดดู เอ๊...เราเรียนจบไป ก็ต้องไปสอนใช่มั้ย ก็เลยลองดู เพราะเราถือว่าการเป็นครูเป็นปูชนียบุคคล ก็เลยคิดว่า เราคงจะต้องไปทางด้านการเรียนการสอนแน่นอน”

นั่นเป็นประกายไฟที่ส่องทางชีวิตของบราเดอร์บัญชา แสงหิรัญ กระทั่งมาเข้าเรียนต่อที่เซนต์คาเบรียลชั้นม.7-ม.8 ในสถานะของเณร เรียนหนังสือและกินนอนอยู่ที่โรงเรียน พอถึงวันหยุดบราเดอร์วินเซนต์ซึ่งเป็นผู้ดูแลได้พาไปที่สลัมดินแดง เพื่อสอนหนังสือเด็กที่ยากจน พร้อมกับนำอาหารที่มีอยู่ไปเลี้ยง

“เราก็เลยรู้สึกชอบการกระทำอันนี้ ตั้งแต่นั้นมาก็เลยคิด... ช่วงนั้นพี่ชายก็ส่งเสริมว่า อยากไปเรียนนายร้อยจปร. มั้ย อยากให้ไปเป็นนายร้อย แต่ใจชอบทางนี้มากกว่า ก็เลยเรียนต่อจนจบม.8 จากนั้นทางคณะเซนต์คาเบรียลก็ส่งไปศึกษาความเป็นอยู่และพระวินัยของคณะฯ ที่นวกสถานประเทศอินเดียอยู่ 2 ปี เพื่อดูว่าตัวเองจะมีความสามารถถือกฎระเบียบของคณะได้มั้ย หลังจากนั้นเราเห็นว่าสามารถจะทำได้ จึงปฏิญาณตนเป็นบราเดอร์”

แต่การปฏิญาณตนครั้งนั้นถือเป็นเพียงขั้นแรกแห่งการเป็นบราเดอร์เท่านั้นยังไม่ถาวร เป็นเพียงขั้นทดลองฝึกหัดตนกระทั่งอีก 6 ปีต่อมาจึงได้ปฏิญาณตนตลอดชีวิต นับเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตก็ว่าได้

“การตัดสินใจนี่ต้องใช้เวลา ต้องใช้พลัง ต้องใช้อะไรต่างๆ มาก เพราะว่าชีวิตของเราไม่ได้อยู่กับการเรียนการสอนอยู่กับงานอย่างเดียว มันมีส่วนอื่นที่คล้ายๆ กับเป็นเครื่องให้เราคิดว่า เอ๊... เรามาเป็นบราเดอร์นี่ เรามาเพื่ออะไร คือเหมือนกับเป็นการคิดที่หนักมาก แล้วก็เป็นการตัดสินในด้วยความเป็นผู้ใหญ่แล้วมองโลกแบบผู้ใหญ่

จึงมาตัดสินใจได้ว่า ชีวิตของเราจะต้องเป็นในลักษณะนี้ คือเราจะต้องอยู่กับนักเรียน อุทิศตนให้กับนักเรียน เข้าไปพาตัวของเราเอง และพาเยาวชนไปหาองค์สัจธรรมในชีวิตของตนเองให้ได้”

บราเดอร์บัญชาจบปริญญาตรีเอกคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์จากฟิลิปปินส์ ปริญญาโททางด้านบริหารการศึกษา จากวิทยาลัยเซนต์แมรี่ แคลิฟอร์เนีย ก่อนจะมาเป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และรองอธิการมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (ABAC) กระทั้งปี 2528 ก็มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จนถึงปัจจุบันนับเป็นปีที่ 6 แล้ว “ตอนมาอยู่เซนต์ฯ ใหม่ๆ สิ่งแรกที่คิดก็คือว่า เราต้องศึกษาสถานการณ์ก่อนในเรื่องของการทำงานซึ่งเวลานานพอสมควร เพื่อศึกษาโครงสร้างและระบบของโรงเรียน แล้วดูส่วนที่เป็นหลักขององค์กรก็คือบุคคลซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากที่สุด”

สิ่งที่บราเดอร์บัญชาเริ่มต้นก็คือการวางโครงสร้างของโรงเรียน เพื่อสามารถบังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมๆ กับการจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่

 
 

 “ระบบของโรงเรียนทั้งหมดที่เราจะต้องดูแลก็คือ หนึ่ง...การบริหารบุคลากร สอง... การบริหารหลักสูตร สาม...การบริหารกิจกรรมเสริมหลักสูตร สี่... การบริหารธุรการ การเงิน และการบริหารอาคารสถานที่ซึ่งเป็นหลักๆ ที่เราจะทำอยู่...
ที่สำคัญคือบุคลากร หลักสูตร กิจกรรม แล้วถ้าถามว่าการเงินสำคัญมั้ย... สำคัญ แต่จะสำคัญย่อย เนื่องจากว่าการเงินของทางโรงเรียนนั้น ค่าเทอมต่างๆ ค่าเล่าเรียนต่างๆ ถูกควบคุมโดยกระทรวงศึกษาฯ เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ จะฟิกซ์ตายตัวทุกปี เพียงแต่ว่าเราจะใช้ซอร์สต่างๆ ที่เราได้คือหมายความว่า ทั้งตัวเงินทั้งบุคลากรทั้งอาคาร สถานที่ๆ เรามีอยู่ทั้งหมด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร”

บราเดอร์บัญชาย้ำว่า ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีบทบาทในด้านการเรียนการสอนก้าวหน้าไปได้ ถ้าผู้บริหารไม่เป็นผู้นำทางด้านการเรียนการสอนแล้ว จะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

>“ถ้าถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ผู้ปกครองอยากจะนำบุตรหลานมาเข้าโรงเรียนเซนต์ฯ กันมาก...ประการแรกภาพของโรงเรียนที่ปรากฏในสายตาประชาชนทั่วๆ ไปเป็นภาพที่ดี เนื่องจากผลิตผลที่สำเร็จออกไป ตามสายตาประชาชนจะเห็นว่า โรงเรียนเซนต์ฯ นั้นประสบความสำเร็จ ถึงแม้จะเป็นภาพที่เรียกว่ากว้างๆ เพราะว่านักเรียนเซนต์ฯที่จบออกไปนั้น ในเรื่องของนักการเมืองก็เห็นชัดอย่างในคณะรัฐมนตรีปัจจุบันก็มีรัฐมนตรีถึง 6 ท่าน...”

รัฐมนตรี 6 ท่านที่เป็นศิษย์เก่าก็มี พล.อ.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ โกศล ไกรฤกษ์ รองนายกรัฐมนตรี, กร ทัพพะรังสี รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี และอีก 3 ท่านที่คุมกระทรวงคมนาคมอยู่ตอนนี้ก็มี สมัคร สุนทรเวช ในฐานะเจ้ากระทรวง และรมช.อีก 2 ท่าน ก็คือประทวน รมยานนท์ และสุวัจน์ ลิปตพัลลภ...แถมโฆษกรัฐบาลอีกคนก็ยังไหว--ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล 

“นอกจากนักการเมืองแล้ว นักเรียนโรงเรียนเซนต์ฯที่ประสบความสำเร็จนี่ในแง่ของนักธุรกิจ เป็นอาจารย์ หรือ ในแง่ของการทำงานส่วนตัวล้วนแต่ประสบความสำเร็จเป็นส่วนมาก แต่ถ้ามองภาพให้แคบลงมา เขาต้องมองนักเรียนของเราขณะที่เดินออกไปนอกโรงเรียนมีความประพฤติอย่างไร พูดจากันอย่างไร...

ทีนี้มองแคบเข้ามาในโรงเรียนถ้าเราจะดูวิชาการกันแล้ว ทางด้านหลักสูตรนี่ เราก็บอกแล้วว่า หลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ว่าจะอยู่ที่โรงเรียนเซนต์ฯหรืออยู่ที่โรงเรียนใดก็ตามแต่ ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหลวงหรือชนบทก็ใช้หลักสูตรเดียวกัน ไม่ได้มีการแตกต่างกันเท่าไหร่

ทีนี้...ความต่างมันอยู่ตรงไหน เนื่องจากโรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนของคณะนักบวชเพราะฉะนั้นจุดอันดับแรกก็คือผู้ปกครองก็เห็นว่า ทางคณะนักบวชนี่ไม่ว่าจะเป็นคณะซิสเตอร์หรือคณะบราเดอร์นี่ ทำงานอย่างอุทิศกายและใจ เงินต่างๆ ที่เราด้ากผู้ปกครอง เราก็นำมาใช้ให้กับนักเรียนของเราเพราะฉะนั้น ในส่วนนี้เองที่ทำให้ผู้ปกครองมองเห็นในจุดนี้ เพราะผู้ปกครองจะมีความเชื่อมั่นแน่ว่า เมื่อส่งลูกเข้ามาแล้วทางคณะผู้บริหารหรือคณะครูของโรงเรียนเรานี่ จะต้องดูแลลูกของเขาอย่างเต็มที่ แล้วก็อบรมลูกของเขาให้ได้ดีขึ้นมาให้ได้ เพราะเราทุ่มเทเวลาทั้งหมดของเราที่มีอยู่

และอีกเหตุผลหนึ่งที่อาจถือเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนเซนต์คาเบรียลก็ว่าได้ก็คือ

 

“โรงเรียนของเรามุ่งทางด้านการศึกษามาตั้งแต่เริ่มต้น เพราะในอนาคต...การรู้จักภาษาไทยอย่างเดียวมันไม่พอ ถ้าเราพูดภาษาอังกฤษได้ ภาษาต่างประเทศได้ อ่านหนังสือได้กว้างขึ้น เราจะสามารถติดต่อกับคนได้มากขึ้น โอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตก็จะมีมากขึ้น เมื่อผู้ปกครองมองในจุดนี้แล้ว ก็อยากให้ลูกของตนเองเข้ามาอยู่ในโรงเรียนของ “เรา”

สิ่งสำคัญในวันข้างหน้าอีกประการที่บราเดอร์บัญชาเน้นก็คือ การเข้าเรียนตั้งแต่ชั้นป.1 จนถึง ม.3 เป็นอย่างน้อย จะสร้างความแน่นแฟ้นได้มาก เพราะเด็กเรียนร่วมกันมานาน เมื่อออกสู่สังคมก็จะสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกัน“ชีวิตที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้เป็นชีวิตที่เรียบง่าย

แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดในชีวิตก็คือ การรู้จักตน
และรู้ว่าจุดมุ่งหมายในชีวิตคืออะไร”


 

“กับคำถามว่าเป้าหมายของโรงเรียนคืออะไรนั้น...คือหลักปรัชญาของโรงเรียนเราจะบ่งไว้เลยว่า ส่วนแรกเราเชื่อมั่นว่าคนเราเกิดมาทุกคนต้องมีหลักศาสนาที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว คนไหนที่ไม่มีศาสนายึดเหนี่ยว แสดงว่าเขาไม่มีเป้าหมายในชีวิตของตัวเองเลย เพราะบราเดอร์เชื่อว่าคนเราที่เกิดมาจะต้องแสวงหาองค์สัจธรรมเราต้องรู้ว่า เราเกิดมานี่เกิดมาทำไม แล้วเกิดมาแล้วเรามาทำอะไรกัน แล้วตายแล้วเราจะไปไหนกัน ฉะนั้นเป้าหมายในชีวิต ถ้ามันจบอยู่แค่การดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้แล้วก็มันคงจะไม่มีที่ไปต่อไป เพราะฉะนั้นเราต้องมาศึกษากันดูว่า เป้าหมายของชีวิตคืออะไร เราต้องสอนให้เด็กทุกคนที่เกิดมาแล้ว ค้นพบเป้าหมายของชีวิตให้ได้

บราเดอร์บัญชาเน้นว่า หลักของศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นหลักของศาสนาใดแต่ขณะเดียวกัน 
“จะยึดศาสนาเป็นหลักอย่างเดียวก็ไม่ได้ คนเราจะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องอยู่ที่สติปัญญาด้วย จะต้องพยายามเสริมสติปัญญาเขาให้เป็นคนฉลาด เพื่อที่จะได้ใช้เป็นทางทำมาหากิน และจุดนี้เองที่ได้มีการสอนวิชาความรู้ให้กับเขา แต่ทั้งสองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน จะทิ้งอันใดอันหนึ่งนั้นไม่ได้ เพราะทั้งสองเป็นสิ่งสำคัญ...การอบรมในลักษณะอย่างนี้ทำได้ยากมาก ในขณะที่มันเป็นสิ่งสำคัญมากด้วย”

6 ปีที่เซนต์คาเบรียลโดยการบริหารของบราเดอร์บัญชา ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนนั้น บราเดอร์บัญชาบอกว่า 

“ที่ทำมากที่สุดก็คือการจัดองค์กรให้เข้าสู่ระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน เรื่องของการประสานงาน หรือเรื่องของการบังคับบัญชา เรื่องการวางโครงการวางแผนของโรงเรียนทั้งหมด และทำงานตามแผน ซึ่งมีการเขียนโครงการล่วงหน้า ส่วนนี้ได้พยายามทำอย่างมากที่สุดเลย แล้วคิดว่ามันอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควร พร้อมกับที่เราพยายามสร้างเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนเองว่า ขั้นต่ำจะต้องอยู่ขีดไหนเมื่อเรารู้ว่า ขั้นต่ำจะต้องทำขนาดไหนแล้ว เราก็ทำงานพัฒนาให้มันสูงขึ้นไป

เกณฑ์ของเรามีอยู่สองอย่างคือ เกณฑ์ทางด้านบริหาร กับเกณฑ์ทางด้านวิชาการ แล้วคิดว่ากำลังเดินอยู่ในเส้นทางที่วางไว้นั้น อีกอย่างที่บราเดอร์ทำมากที่สุดก็คือว่า พยายามทำให้บุคลากรเข้ามามีส่วนในการบริหาร โดยที่เราไม่ได้ทำงานคนเดียว และในส่วนนี้คิดว่าประสบความสำเร็จ เนื่องจากว่าการทำงานนั้นได้ให้บุคลากรเข้ามามีส่วนในการบริหาร เพราะฉะนั้นการตัดสินใจหลาย ๆ อย่างใช้คณะกรรมการตลอด ให้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ”

แต่อะไรที่จะเป็นสิ่งบ่งชี้ความสำเร็จทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนนั้นก็ได้รับคำตอบว่า

“สำหรับโรงเรียนเซนต์ฯ ถ้าจะมองความสำเร็จ เราก็ดูที่หลาย ๆ อย่าง หนึ่ง..เราก็ดูจากความสำเร็จทางด้านวิชาการเราเอาอะไรเป็นเครื่องวัด การวัดนั้นจะดูที่เด็กเก่งอย่างเดียวไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันก็วัดได้พอสมควรมั้ย เราดูเด็กของเราเมื่อออกไปแล้ว ถ้าจะดูทางด้านผลของการสอบเข้าเราก็มีผลพอที่จะคุยกับชาวบ้านเขาได้ แล้วก็ไปเช็คดูได้ เด็กที่สำเร็จจากโรงเรียนของเรานั้น สอบเข้าแพทย์ สอบเข้าวิศวะ อะไรต่าง ๆ เด็กของเราก็ประสบความสำเร็จพอสมควร

จะดูทางด้านเด็กของเราที่จบและเข้าสังคมไปแล้ว เราก็ดูผลผลิตของตัวเราเองคนที่ประสบความสำเร็จ เห็นชัดๆ ที่เป็นนักการเมืองก็มี ที่เป็นนักธุรกิจก็มี ที่เป็นนักวิชาการก็มี แต่จะถามว่าอัตราส่วนสักเท่าไหร่นั้น ก็ต้องดูจากที่ใจของเรา สิ่งที่เรามองเห็นที่มันวัดไม่ได้ก็คือ ทางด้านการอบรมสั่งสอนเด็ก ทางด้านการดัดแปลงนิสัยความประพฤติของตัวนักเรียน ตัวสิ่งนี้นี่แหละที่ทำให้เห็นว่า ถ้านักเรียนคนใดคนหนึ่งเข้ามาเรียนในโรงเรียนแล้ว ถึงแม้ว่าเขาจะมีความรู้ไม่ค่อยดีเท่าไหร แต่เขาสามาถรเอาความรู้เท่าที่ได้ไปดำรงตนอย่างมีความสุขในสังคมได้แล้ว เราก็ถือว่านั่นคือความสำเร็จของเขา”
ปัญหาของโรงเรียนเอกชนที่มีเสียงเรียกร้องกันอยู่มากในขณะนี้เห็นจะเป็นเรื่องค่าเทอม ที่กระทรวงศึกษาฯ ควบคุมอยู่ไม่ให้มีการเก็บเพิ่ม ก็ไม่เว้นแม้แต่เซนต์คาเบรียล

“คือไม่ใช่เฉพาะตัวของบราเดอร์เองที่เป็นคนพูดว่า ค่าเทอมไม่พอ แม้กระทั่งทางคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติยังได้ทำการวิจัยออกมาแล้ว และได้มองเห็นว่าส่วนใหญ่นั้นไม่พอ... เมื่อมองค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนรัฐบาลก็จะเห็นแล้วว่า ค่าใช้จ่ายต่อหัวนั้นมันสูงกว่าค่าเทอมที่เราได้มา เมื่อของโรงเรียนรัฐบาลได้สูงกว่าแต่โรงเรียนเอกชนได้น้อยกว่า ในการบริหารงานทางด้านของประสิทธิภาพย่อมได้น้อยกว่า การที่จะมาส่งเสริมให้เด็กเรียนได้ดีย่อมไม่มี การบริหารงานย่อมเป็นไปได้ยาก ถ้าเทียบกับโรงเรียนของรัฐบาลนั้น ค่าใช้จ่ายในเรื่องของที่ดินในเรื่องของการลงทุนนั้น...ไม่มี เนื่องจากที่ดินมีอยู่แล้ว และงบประมาณก็แยกต่างหากอยู่แล้ว”

ส่วนความเห็นที่ว่ารัฐบาลควรมีนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาของโรงเรียนเอกชนอย่างไรนั้นบราเดอร์บัญชาบอกว่า

“นโยบายของรัฐบาลต้องชัดเจนเพื่อที่ว่าคนที่ลงทุนนั้นควรจะลงต่อไปมั้ย หรือว่า...ควรจะต้องหยุดการลงทุนดีมั้ย ตรงจุดนี้สำคัญมาก... เพราะการลงทุนการด้านการศึกษานั้น เป็นการลงทุนที่การตอบแทนไม่ค่อยมีมากเท่าไหร่ไม่เหมือนกับวงการธุรกิจ ดังนั้นจึงควรจะต้องมีการส่งเสริมกันพอสมควร”

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เด็กที่จะสอบเข้าเซนต์คาเบรียลนั้นต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างมาก เพราะจำนวนผู้สมัครนับพันนับหมื่นคน ขณะที่โรงเรียนรับได้เพียง 400 คนในแต่ละปี จึงเกิดคำว่า ‘แป๊ะเจี๊ยะ’ หรือเงินกินเปล่า 

“เราจะไม่เรียกว่าเป็นเงินแป๊ะเจี๊ยะเพราะคำว่าเงินแป๊ะเจี๊ยะก็หมายความว่า เราเอาเงินนั้นเป็นการบีบบังคับผู้ปกครองให้ชำระกับทางโรงเรียน แต่ของโรงเรียนเรา เราจะไม่มีการบังคับผู้ปกครอง แต่เราขอให้ผู้ปกครองนั้นช่วยเพราะถือว่าผู้ปกครองที่นำลูกเข้ามาในโรงเรียนนี้ มีส่วนที่จะต้องรับผิดชอบในการศึกษาของบุตรของตัวเอง ถ้าผู้ปกครองอยากให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดีแล้ว สมควรที่จะต้องช่วยโรงเรียน เพื่อที่โรงเรียนจะได้นำเงินนั้นไปพัฒนาการศึกษาของลูก เพราะเงินที่เราได้มานั้นผู้ปกครองก็ให้ด้วยความเต็มใจ...และลูกจะต้องอยู่ในโรงเรียนก่อนแล้ว ถึงจะให้เงินกับทางโรงเรียนด้วยความเต็มใจและยินดี”

สำหรับ “โรงเรียนที่ดีที่สุด” ในสายตาของบราเดอร์บัญชานั้น...

“จะต้องดูเป้าหมายของโรงเรียนของเขาว่า ทำไปเพื่ออะไร แล้วเขาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้น ถ้าเขาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่เขาวางไว้ แสดงว่าใช้ได้...

ภราดาบัญชา แสงหิรัญ
(ต่อจากหน้า 116) 

นอกจากนี้ผู้บริหารและครูต้องมีคอมมิทเมนท์ไปสู่ความเป็นเลิศในด้านวิชาการ โรงเรียนต้องจัดทำโครงการต่างๆ สนองต่อความต้องการของนักเรียน เพราะเราถือว่าเป้าหมายหลักคือ...ตัวนักเรียนและจบออกไปแล้วเขาได้อะไร...ทางโรงเรียนจะต้องมีความสามารถสอนเด็กของตนเองให้เป็นคนที่อยากรู้อยากเห็นให้เป็นคนที่อยากค้นพบอะไรใหม่ๆ ด้วยตัวของเขาเอง ถ้าเขาไม่มีเลยในส่วนนี้...จะไม่ดี
ที่สำคัญโรงเรียนจะทิ้งในส่วนของระเบียบวินัย ความมีจริยธรรม ศีลธรรมในตัวของเด็กไม่ได้เลย เด็กบางคนเก่ง... แต่ไม่มีความเป็นระเบียบวินัย ไม่มีคุณธรรมสังคมจะเกิดปัญหา เพราะเขาจะใช้ความเก่งของเขา ความฉลาดของเขาไปโกงชาวบ้าน เพราะฉะนั้น... เราต้องสร้างความมีระเบียบวินัย ถ้าโรงเรียนสามารถทำในส่วนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้ นับว่าเป็นโรงเรียนที่เลิศ”
คราวนี้มามองดูโลกส่วนตัวของนักบริหารที่เป็นนักบวช ซึ่งต้องสละตัวเองให้แก่พระเป็นเจ้า ไม่มีครอบครัวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ...และไม่มีทรัพย์สมบัติเป็นของส่วนตัว ไม่ยึดมั่นถือมั่น สิ่งที่เป็นของตัวเองจะมีก็แต่เพียงเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่เท่านั้น.

“ถ้าถามว่านึกเสียดายมั๊ยที่ไม่มีชีวิตครอบครัวเหมือนคนทั่ว ๆ ไป ไม่นึกเสียดาย แต่อาจจะเป็น...บางช่วงของชีวิตที่มองเห็นเพื่อนฝูงหรือคนที่อยู่รอบข้างเรา เขามีความสุขดี เราอยู่อย่างนี้ทำแต่งาน เพื่อนฝูงเราก็ไม่ค่อยจะมี ก็มาคิดๆ เหมือนกัน...มีอยู่บ้าง ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ว่า ใครๆ ก็ต้องมีลักษณะอย่างนั้น เพราะคนในโลกปกติก็อาจจะมองว่า...เอ๊ะ เขาแต่งงานกันแล้วนะ เราทำไมยังไม่ได้แต่ง

แต่เมื่อเราคิดว่า เรามาบวชแล้วมีเป้าหมายอย่างนี้แล้ว เราก็ต้องสละสิ่งนี้ไป คนเรานั้นจะเอาทุกอย่างในโลกนี้เป็นไปไม่ได้ ได้อะไรมาอย่างก็ต้องเสียอะไรบางอย่าง มันขึ้นอยู่กับตัวเราว่า เราจะเลือกอย่างไร” ในแต่ละวันบราเดอร์บัญชาจะตื่นนอนราวตี 5 เพื่อสวดภาวนาซึ่งเป็นการทำกิจวัตรทางด้านของการเป็นนักบวชจนถึง 6.30 น. จึงทานอาหารเช้าแล้วจะเข้าที่ทำงานราว 7 โมง ซึ่งนอกจากจะต้องทำหน้าที่บริหารงานแล้ว ยังสอนนักเรียนชั้นมัธยมปลายอีกด้วย วิชาที่สอนก็คือภาษาอังกฤษ
“ช่วงเย็นก็ออกกำลังกายวิ่งนิดๆ หน่อยๆ บ้าง หรือไม่ก็เล่นเทนนิส พอว่างก็อ่านหนังสือทางด้านโซซิโอโลจี้ หรือบุคคลสำคัญอย่างมหาตมคานธี หรือไอน์สไตน์”
ส่วนปรัชญาการดำเนินชีวิตของบราเดอร์บัญชาก็คือ
“จะทำอะไรก็แล้วแต่ ทำให้ดีที่สุดแล้วพยายามดูเป้าหมายอยู่เสมอ... ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายของการเป็นนักบวช เป้าหมายของการบริหารงาน หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งถ้าเผื่อเราดูอยู่เสมออย่างนี้ เราจะไม่ผิดพลาด ต้องมองดูตัวเองอยู่เสมอ”
“ชีวิตที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้เป็นชีวิตที่เรียบง่าย แต่ส่วนสำคัญที่สุดในชีวิตก็คือ การรู้จักตน และรู้ว่าจุดมุ่งหมายในชีวิตมีอะไร ความสุขที่ได้รับก็ต่อเมื่อสามารถทำให้ผู้อื่นมีความสุข และจะรู้สึกไม่สบายใจเมื่อทำให้ผู้อื่นเกิดทุกข์ ความภูมิใจของตนเองมิใช่อยู่ที่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่อยู่ที่สามารถเอาชนะตนเองได้”
และนี่คือบางแง่มุมของนักบริหารการศึกษาผู้ดำรงตนเป็นนักบวช –ภารดาบัญชา แสงหิรัญ แห่งเซนต์คาเบรียล.

กว่าจะถึงวันนี้... ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ : ABAC and the new tasks of the President

กว่า 4 ทศวรรษ ที่ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญได้ทุ่มเทอุทิศแรงกาย แรงใจอย่างเต็มสติปัญญาและความสามารถในการปฏิบัติภารกิจในฐานะนักบวชของคณะเซนต์คาเบรียล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของการเป็นนักศึกษาและนักพัฒนาของท่าน ทำให้เราประจักษ์ในความรู้ความสามารถ ตลอดจนวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านการพัฒนาระบบการศึกษาของสถาบันต่างๆ ในเครือคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยในส่วนที่ท่านรับผิดชอบอยู่ และวันนี้สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีความยินดีและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับภาระหน้าที่ใหม่ที่สำคัญยิ่งของท่าน ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ...

สืบสาน ABAC สู่ความเป็นสากล World Class University…

“งานโดยส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานที่ต่อเนื่องจากท่านอธิการบดีคนเก่าคือ ภราดา ดร.ประทีป ม.โกมลมาศ ซึ่งตอนนี้สภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งอธิการบดีกิตติคุณ คือเราต้องพยายามทำให้มหาวิทยาลัยของเราไปสู่ระดับมาตรฐานสากล หากถามว่าตรงนี้สำเร็จครบถ้วนเมื่อไหร่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งในการปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยจะค่อยเป็นค่อยไปตามวิถีทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย รวมถึงหลักปรัชญาของคระเซนต์คาเบรียลด้วย ปัจจุบันมีนักศึกษาทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศเข้ามาศึกษาต่อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการเป็น World Class University จึงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม และในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยก็สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในสาขาวิชาต่างๆ ได้ทุกปี โดยเฉพาะในปี 2002 นี้ สามารถเข้าศึกษาต่อ MBA ที่ HARVARD University ได้ถึง 2 คน และ MBA ที่ MIT ได้อีก 1 คน นั่นย่อมเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยว่าได้เข้าสู่ระดับ World Class แล้วนอกจากนี้บัณฑิตของเรายังสามารถเข้าทำงานในบริษัทข้ามชาติ (multinational corporations) ได้เป็นจำนวนมาก สิ่งที่เราให้ความสำคัญคือการมีอาจารย์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอนและการวิจัย สองอย่างนี้เป็นของคู่กันต้องไปด้วยกัน ในเมื่อเรามีอาจารย์ที่มีมาตรฐาน มีการเรียนการสอนที่ดีแล้วก็ต้องมีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยด้วย เราจะอยู่อย่างแออัดเหมือนสมัยก่อนไม่ได้ เราจึงต้องสานต่องานของท่านอธิการบดีคนเก่า โดยมุ่งมั่นให้วิทยาเขตบางนานี้เสร็จสมบูรณ์ให้ได้ ขณะนี้ได้ก่อสร้างไปแล้วประมาณ 40 % ต้องทำส่วนที่เหลือให้เสร็จสมบูรณ์ แต่ก่อนนักศึกษาอยู่ที่วิทยาเขตหัวหมากประมาณ 18,000 กว่าคนในที่ 16 ไร่ มันแออัด ถ้าเรามีพื้นที่บริเวณและสิ่งแวดล้อมที่ดี มีบรรยากาศดี นักศึกษาของเราจะเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ”

สร้างสรรค์บัณฑิต...ให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม

“เรามีจุดเด่นตรงที่เราใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารและภาษาธุรกิจ หลักสูตรของเรามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น มีเนื้อหาของการบริหารจัดการเป็นพื้นฐานในทุกโปรแกรม พูดง่ายๆว่าเด็กของเราที่จบไปเราจะต้องให้เขาไปเป็นผู้ประกอบการไม่ใช่ให้แต่ทฤษฎีอย่างเดียว ต้องมีภาคปฏิบัติให้กับเด็กด้วย เรามีการจัดการเรียนการสอนด้านจริยธรรมวิชาชีพ (Professional Ethics and Service Learning) เพื่อสร้างนักศึกษาให้เป็นคนที่มีคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ หากถามว่าที่อื่นมีหลักสูตรอย่างนี้หรือเปล่า ตอบได้ว่ามี แต่สิ่งที่คนอื่นไม่มีคือ เราเป็นมหาวิทยาลัยคาทอลิก คำว่า คาทอลิก ไม่ได้อยู่ทีชื่ออย่างเดียว เรามีผู้บริหารเป็นนักบวช ดังนั้นในบริบทของมหาวิทยาลัยคาทอลิกที่มีผู้บริหารเป็นนักบวชจึงต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในด้านศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการให้การศึกษาอบรมแกนักศึกษา และในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในภาพรวมด้วย มหาวิทยาลัยอื่นก็มีหลักสูตรนานาชาติ ตึกอาคารเรียนใหญ่ มีนักศึกษาต่างชาติเหมือนกัน แต่คุณค่า (Value) ทางด้านการเรียนการสอน การสื่อสาร ความสัมพันธ์ต่อกัน มันเป็นคุณค่าทางศาสนาที่เรายึดถือปฏิบัติติดต่อกัน นั่นคือ ศาสนาคริสต์สอนเรื่องความรัก ความเมตตา การรู้จักเสียสละ การรู้จักรับใช้เพื่อนคนอื่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราต้องพยายามปลูกฝังตัวของนักศึกษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนการสอนอย่างเดียว แต่จะเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรทุกคน ไม่เกิดเฉพาะในห้องเรียนอย่างเดียว แต่เกิดในทุกขณะและเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในมหาวิทยาลัย”

ABAC สอนให้นักศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดชีวิต...

“เด็กจะบอกว่า ABAC เรียนยาก เรียนหนัก ทำให้ไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยเลยอาจจะยากอยู่ตรงที่ภาษา เพราะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง แต่เฉพาะในช่วงแรกเท่านั้นเองที่จะต้องปรับตัว สิ่งที่บราเดอร์เห็นคือ นักศึกษาส่วนใหญ่มีเวลาว่างค่อนข้างมากแต่ไม่รู้จะทำอะไร บางทีเห็นนักศึกษาบางคนนั่งว่างอยู่ไม่ได้ทำอะไร บางคนก็คุยโทรศัพท์บ้าง ซึ่งไม่ได้อยู่ที่เขาไม่มีเวลา แต่ไม่รู้จักจะบริหารเวลาของตัวเองมากกว่า ไม่รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เขาลืมไปว่า “time is money” หรือเขายังไม่ซาบซึ้งในคำกล่าวที่ว่า “time and tide wait for no man” ตรงนี้เป็นจุดที่สำคัญ ถ้าเขาตระหนักในสิ่งเหล่านี้ เขาจะต้องศึกษาและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาตนเอง ความสามัคคีไม่ได้เกิดจากการทำกิจกรรมอย่างเดียว เกิดจากหลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกปลูกฝังในตัวของนักศึกษา แน่นอนกิจกรรมเป็นสิ่งหนึ่งที่มาช่วยสอน ต้องถามตัวเองก่อนว่าเรามาทำอะไรในแต่ละวัน ถ้าเพื่อนั่งฟังอาจารย์สอนแล้วก็กลับบ้าน มันก็ไม่เกิดประโยชน์เหมือนกับการเรียนของเขายังอยู่ในระดับมัธยม ตรงนี้

เคยมีใครคิดที่จะทำ เวลานี้ท่านให้หันมาดูภูมิปัญญาชาวบ้าน ท่านยังบอกเลยว่าแปลเป็นภาษาอังกฤษผิดไม่ใช่คำว่า local wisdom ใช้คำสูงไป อาจจะใช้คำว่า local knowledge มากกว่า ทำไมเราต้องนึกว่าชาวอเมริกัน ชาวยุโรปต้องมาสอน ในแง่ของการใช้ภาษา คนไทยอาจจะมีความรู้พอๆ กับคนอเมริกันหรืออาจจะดีกว่า เพราะในแง่ของความรู้ความสามารถนั้นสอนกันได้ แต่ถ้าพูดถึงสำเนียงเราสามารถเรียนรู้จากนอกห้องได้ด้วยการดูข่าวต่างประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CNN, CNBC, BBC แน่นอนว่าในการที่จะมาเป็นอาจารย์ได้ต้องมีการคัดเลือกว่าสำเนียงเขามาจากระดับนานาชาติหรือเปล่า ไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่งเท่านั้น อย่างตอนนี้ถ้าเราเปิดดู CNN หรือ BBC เราก็จะเห็นนักข่าวหลายคนเป็นชาวเอเชีย ซึ่งเขาสามารถสื่อสารออกมาได้ดี เพราะฉะนั้น ตรงนี้เราอย่าไปทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แต่เราต้องหันไปสร้างมาตรฐานในเรื่องระดับการศึกษาของมหาวิทยาลัยเราให้ได้ และธำรงความเป็นชุมชนนานาชาติเพื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตลอดไป”เขาต้องปรับเปลี่ยนวิถีของเขาให้ได้ เปลี่ยนจากระดับที่เป็นนักเรียน ซึ่งเรียนรู้จากอาจารย์อย่างเดียวมาเป็นนักศึกษาชื่อก็บอกอยู่แล้วต้องเป็นคนที่รู้จักศึกษาค้นคว้าแล้วรู้จักเรียนรู้ตัวเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การเรียนมีหลายแบบ ครูที่ดีต้องสอนให้เด็กยืนบนขาตัวเองให้ได้ ครูเป็นเพียงผู้บริหารจัดการ บั้นปลายแล้วนักเรียน นักศึกษาต้องสามารถเรียนรู้ ค้นคว้าหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เมื่อเขาต้องประสบ เพราะชีวิตในอนาคตไม่มีอาจารย์อยู่ด้วย ตัวเขาเองต้องเป็นคนสอนตัวเอง ต้องขัดเกลานิสัยตัวเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวของกิจกรรมโดยเฉพาะ หลายคนเข้าไปทำกิจกรรมอาจจะทะเลาะกันก็ได้ ความหมายของกิจกรรมในตัวของมันเองนั้นไม่ได้ขัดเกลาคนเสมอไป แต่มันอาจจะทำไหในทางไม่ดีก็ได้ แต่ถ้าเรามีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลานำความรู้มารวมเข้ากับการปฏิบัติ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เรียนรู้มากขึ้น นำสิ่งที่เรียนรู้มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพยายามปฏิบัติเหมือนอย่างสมัยก่อน เมื่อเราเป็นเด็กเรามักจะไม่อยากแปรงฟัน แปรงฟันแล้วมันเจ็บ แปรงแล้วถูกับเหงือก แต่อีกหน่อยพอรู้ว่าการแปรงฟันเป็นสิ่งสำคัญต้องทำให้ได้ ต้องฝึกหัดจนกระทั่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เราต้องทำให้ติดเป็นนิสัย”

ABAC…สอนให้รู้ถึงการเรียนการสอนแบบนานาชาติ

“หลายคนมีคำถามว่า ทำไม ABAC ถึงไม่ใช้อาจารย์เป็นฝรั่งหมด เราต้องมองก่อนว่าการสอนแบบนานาชาติหมายความว่าอย่างไร อาจารย์ที่เข้ามาสอนต้องมีการคัดเลือก โดยเน้นว่าต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่จะสอนจริงๆ ด้วยพิจารณาจากวุฒิปริญญา หลักฐาน หลักฐานการศึกษา และสถาบันที่สำเร็จการศึกษา และมีความสามารถในการใช้ภาษอังกฤษสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นฝรั่งเสมอไป เพราะในชีวิตจริงเมื่อสำเร็จการศึกษาไปเราจะต้องสัมผัสและมีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายชาติหลายภาษาและวัฒนธรรม ดังนั้น เราจึงเลือกอาจารย์จากหลายชาติมาทำงานร่วมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติสิ่งนี้จึงทำให้ ABAC เป็นบรรยากาศของสังคมนานาชาติ (International Society) ที่มีนักศึกษา อาจารย์กว่า 57 ประเทศมาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เราอย่าไปแบ่งแยกว่าอาจารย์มาจากชาติไหน เคยมีสมัยหนึ่งที่คนไทยเรียกว่าบ้าฝรั่ง เราเรียกคนผิวขาวว่าฝรั่ง แล้วเราพยายามพูดถึงฝรั่งว่าเป็นคนยุโรปและยึดมั่นว่า อะไรก็ตามที่เป็นฝรั่งดี แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ของยุโรป แต่ในยุคใหม่เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ถามว่าของที่เราไปซื้อที่ยุโรปเป็นของอะไร ส่วนใหญ่ก็จะ made In China อย่างคอมพิวเตอร์เมื่อเปิดดูชิ้นส่วนข้างในหลายๆ ชิ้นบางชิ้นทำในเกาหลีหรือทำในไทยบ้าง เราไม่สามารถรู้ได้ ทัศนคติเกี่ยวกับฝรั่งว่าดีนั้นฝังอยู่ในตัวของเรา อย่างเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา ในหลวงท่านทรงตรัสว่าหมากลางถนนของเราทำไมไม่เอามาเลี้ยง พาไปฝึกให้เก่งทั้งๆ ที่น่าจะทำได้ แต่ไม่

ABAC…มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีที่เอื้อต่อระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

“คณะแรกที่เราเปิดคือ คณะบริหารธุรกิจ ต่อมาเราก็พยายามดูที่พื้นฐานของทุกอย่างว่ามาจากศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทุกสาขาวิชา มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการที่จะทำให้คนเป็นคนต้องอาศัยวิชาเหล่านี้ไปช่วย ไม่ใช่คนเราเกิดมาเพื่อมีอาชีพอย่างเดียว หลายคนคิดว่าเรียนหนังสือเพื่อไปใช้หากิน ทำไมถึงต้องมาเรียนวิชาเหล่านี้ เราต้องสามารถสร้างคนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เราต้องดูประเทศชาติว่าประเทศชาติต้องการอะไร โลกนี้ต้องการอะไร แล้วประชาชนของเราต้องการอะไร เราได้จัดการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจมาระยะหนึ่ง และได้เห็นแนวโน้มความต้องการของประเทศในด้านเทคโนโลยีมากขึ้นมหาวิทยาลัยจึงได้เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจขึ้นในปี 2522 ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย นับแต่นั้นเป็นต้นมา มหาวิทยาลัยก็ได้ทุมเททรัพยากรในการพัฒนาเทคโนโลยีมาก เพราะฉะนั้นเราจึงได้เตรียมความพร้อมทางด้านการสร้างเทคโนโลยี เรากำลังสร้างตึก IT ที่วิทยาเขตบางนา เราสร้างเพราะเราต้องการส่งเสริมทางด้าน IT มหาวิทยาลัยของเราเป็นสมาชิก (founding member) ของ Internet society แห่งเดียวในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เราพยายามสร้างทางด้านนี้เพราะมันเป็นหนทางไปสู่ชีวิตที่มีความสุขในการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางไม่มีวันสิ้นสุด อย่างเช่น Internet เพื่อให้นักศึกษาหาองค์ความรู้ประกอบการเรียนและบันเทิง อันเป็นการสันทนาการ แต่ต้องใช้ให้ถูกทางเพราะประโยชน์และโทษของ Internet อยู่ที่ผู้ใช้

ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยดูพื้นฐานของเรา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพื้นฐานทางธุรกิจ เพราะในโลกโลกาภิวัฒน์ เราใช้ภาษาไทยอย่างเดียวคนอื่นที่เป็นชาวต่างชาติก็จะไม่เข้าใจ เราต้องมีการเรียนรู้ภาษาอื่นเพื่อมาใช้เป็นตัวสื่อสารทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน หรือภาษาฝรั่งเศส เพราะฉะนั้นนักศึกษาที่มาเรียนกับเราสามารถอยู่ในโลกธุรกิจได้ ในขณะเดียวกันความรู้ทางด้านธุรกิจ ด้านการจัดการ และความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เพื่อนักศึกษาหรือบัณฑิตของเราจะได้อยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีความสุข”

ABAC… สร้างเพื่อน สร้างสังคม สร้างธุรกิจ     

“การมี network ที่ดีสำคัญอย่างยิ่ง พูดถึงคำว่า network หมายถึง องค์กรต่อองค์กร นักศึกษาต่อนักศึกษา network ทั้งระดับแนวนอนและแนวตั้ง ดูอย่าง Internet ก็เป็น network อย่างหนึ่ง เราขาดองค์ความรู้เราก็เปิดหาความรู้จาก Internet ดึงมาใช้ประโยชน์ได้ มีเรื่องเล่าว่ามีคนอยู่คนหนึ่งเป็นโรคหนึ่งรักษามาเป็นสิบปีก็ไม่หาย เขาก็ Post ขึ้น Internet แล้วมีหมอท่านหนึ่งอ่านเจอจึงแนะนำวิธีรักษา ปรากฏว่าสามารถรักษาโรคหายได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา เรื่องของการทำงานหรือ relationship ต่างๆ ยุคใหม่นี้ต้องอาศัย networking ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการที่เรารู้จักคนหลายๆ คน จะช่วยเปิดโลกทัศน์เปิดมุมมองในการติดต่อสื่อสารในการทำธุรกิจ ไปจนถึงการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งมีศิษย์เก่าและผู้ปกครองจำนวนมากเห็นว่าการที่ได้มา

ศึกษาเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญนั้นเป็นโอกาสให้เขาหรือบุตรหลานของเขาได้มีโอกาสพบเพื่อนอันจะเป็น network ในทางธุรกิจต่อไปในอนาคต”

ต้องเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ต้องก้าวหน้าอย่างมีจริยธรรม สิ่งเหล่านี้จะนำพาเราสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน...

“การที่เราจะประสบความสำเร็จในชีวิตต้องมี 3 สิ่งนี้คือ 1. ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าอาจารย์สอนจบในห้องก็เลิก เราเรียนจบปริญญาตรีเราก็เลิกที่จะเรียนรู้ แต่จริงๆ ไม่ใช่ คนเราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา แม้กระทั่งจบไปแล้วก็ต้องเรียนรู้ตลอด ต้องหาหนังสืออ่านเพราะว่า เราจะต้องแก้ไขปัญหาตลอด 2. ต้องรู้จักปรับเปลี่ยน ต้องทันต่อเหตุการณ์ของโลก โลกมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่เปลี่ยนเราก็จะเหมือนกับช้าง ตอนนี้ไดโนเสาร์มันตายไปแล้ว ช้างกำลังจะเริ่มตายแล้ว เพราะมันเริ่มหาที่อยู่ไม่ได้ ไม่มีอะไรให้กิน จึงต้องมาเดินตามถนนอย่างนี้ ทุกคนต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้ทันต่อเหตุการณ์ของโลกให้ได้ถ้าไม่ทันก็จะกลายเป็นผู้แพ้ส่วนใหญ่ถ้าเรามีเทคโนโลยี แล้วเราไม่รู้เราก็จะไปไมทัน 3.จะต้องเป็นคนที่มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมในตัวเอง ไม่งั้นโลกจะยุ่งเหยิงไปหมด 3 สิ่งนี้เป็นส่วนที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีคุณธรรม ไม่อย่างนั้นแล้วศาสนาต่างๆ ก็ไม่มีประโยชน์ มนุษย์เราอยู่ด้วยกันต้องรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด ต้องรู้จักเลือก ต้องรู้จักเสียสละ เราอยู่ในสังคมต้องพึ่งพากัน รักกัน เราต้องเป็นคนเก่งด้วย ดีด้วยและต้องมีสุขด้วย เก่งเพื่ออยู่ให้รอดทันโลกทันเหตุการณ์ ดีด้วยคุณธรรมประจำใจ ความสุขก็จะสถิตอยู่กับเราชั่วนิรันดร์” 

ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ
อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ประวัติการศึกษา :

พ.ศ. 2540

  • Post Doctoral Studies in Higher Education Management Programme ณ Universities of Warwick and Oxford ประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2538

  •  ปริญญาเอก (การบริหารการศึกษา) ณ Linois University ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2524 

  • ปริญญาโท (การบริหารโรงเรียน) ณ St.Mary’s College of California ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2514 - 2517

  • ปริญญาตรี (Malthematics) ณ Saint Louis University ประเทศฟิลิปปินส์

ประสบการณ์การทำงาน :

1 พ.ย. 2545          

  • ปัจจุบัน อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

พ.ศ. 2537

  • ปัจจุบันรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

พ.ศ. 2544

  • ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

  • ปัจจุบันที่ปรึกษาสภาวิทยาลัยเมืองหาดใหญ่

พ.ศ. 2543

  • ปัจจุบัน อุปนายกสภาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

พ.ศ. 2541

  • ปัจจุบัน รักษาการคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

พ.ศ. 2517

  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

พ.ศ. 2534 - 2537

  • รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

พ.ศ. 2528 - 2533

  • ผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล

พ.ศ. 2522 - 2526

  • ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญสำโรง

พ.ศ. 2521 - 2527

  • รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ

พ.ศ.2517 - 2520

  • อธิการโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

พ.ศ. 2510 - 2513

  • ครูสอนประจำ โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง

สมาชิกสมาคมวิชาชีพ :

พ.ศ.2543 - ปัจจุบัน

  •  นายกสมาคมเกียรตินิยมการศึกษาแห่งประเทศไทย (PDK)

พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน

  •  กรรมการคณะกรรมการบริหารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2544

  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการฝ่ายวิชาการของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

  • รองประธานคณะกรรมการฝ่ายมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษาของสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

  • กรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)

  • คณะทำงานเตรียมการจัดการประชุมทางวิชาการของสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำประเทศไทย (สออ.ประเทศไทย)

 

พ.ศ.2540 - 2544

  • ประธานคณะกรรมการฝ่ายวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

  • ผู้แทนสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในคณะทำงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย

  • ผู้แทนสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะทำงานแนวทางความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำประเทศไทย (สออ.ประเทศไทย)

พ.ศ. 2527 - 2542

  • ผู้แทนสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ทบวงมหาวิทยาลัย)

  • กรรมการคณะกรรมการบริหารสมาคมเกียรตินิยมการศึกษาแห่งประเทศไทย (PDK)

For over 40 years, Reverend Brother Dr. Bancha Saenghiran has dedicated his physical strength and mental powers to fulfilling his duties as a Brother of the St. Gabriel’s Foundation of Thailand. He has developed confidence in his knowledge, talent and vision, thanks to his vast experience working at various institutions operated by the Order. Today ABAC Alumni Association proudly welcomes his recent appointment as President of Assumption University and has requested an interview with him. Here is what he has to say about his visions and his responsibilities.

The establishment of AU as world - class university:

“The duty before me is mainly to continue the work begun by the former Rector, Reverend Brother Dr. Prathip Martin Komolmas, who has, at this moment, been appointed President Emeritus by the University Council. Our mission is to continue to develop our university into a global institution. If anyone should ask at this point when this will be achieved, the answer is that it will take time to effect changes for the better. We must move forward, step by step, in accordance with the university’s vision and mission, working methodically and patiently to realize the philosophy of the Brothers of St. Gabriel. At present we have students coming from within the country and overseas to pursue studies here, and their numbers have been growing steadily. But most of all, we can regard the successes of our graduates as proof of the quality and high standard of our university. In the last five to six years, Assumption University graduates have enrolled in leading universities around the world to study in different fields. In particular, in the year 2002, two graduates have been admitted to the MBA program at Harvard University, and one student at MIT. Besides this, many of our graduates were able to obtain jobs at multinational corporations.”

“AU attaches great importance to the quality of its teachers, the methodology of teaching, learning and research. These go hand in hand. But in addition to attracting qualified teachers, and to providing a good teaching and learning environment, we must improve facilities for our students. It is not possible to continue in the crowded conditions we have at Hua Mak Campus. Where more than 18,000 students were crowded within a 16 –rai plot, we must continue the work of the former Rector to develop the Bang Na Campus. Forty percent of this has now been completed. With more space and better surroundings, our students can achieve quality, knowledge and develop their potential.”

 The education of graduates who possess knowledge and integrity:

“One special characteristic is that we use English as the language of instruction. Our courses are also unique because business management is at the base of every program we teach, and our graduates are trained as managers, with solid theoretical knowledge as well as a practical background. Moreover, professional ethics and community service will ensure that they are graduates with integrity. This may not sound so different from other institutions, but we regard these as unique features of a Catholic university. It means that, in the context of the Catholic university, the administrators must pay attention to morality, ethics and good behavior, all important elements of our education. Other universities are known to have international programs, large facilities and students from overseas, but our values are defined by the Christian concepts of love, kindness, and sacrifice which we, endeavour to instill in our students. The continuous interaction between administrators, faculty, personnel and students, not only in the classroom but in all aspects of university life are significant.”

Teaching students how to learn about new things throughout their lives:

“Students often say it’s hard to study at AU, therefore they don’t have time for other activities, It may be true that studying here is difficult because English is the medium of instruction. But this is only in the beginning when students need to adjust to a new language. However, I often that students are free and don’t know what to do so they simply do nothing or use the telephone a lot. It’s not that they don’t have free time. But they don’t know how to mange their time and use it to their advantage. They forget that “Time is Money,” or simply that “Time and Tide Wait for No Man.” If they learn the importance of time management, they will always acquire new ideas. Unity, for example, is not the result of activity alone, it is the result of many things. Attending classes, and going home, is a basic activity of students and they have known this since high school. But at university level, they have to adjust to life and their ways of thinking, and change from students who learn from teachers, to students who know how to look for knowledge and learn how to learn by themselves. There are different methods of learning how to depend on oneself. The teacher becomes the manager who encourages students to study and look for solutions to problems, because in the future there will be no teacher to stand by them. Students must learn to teach themselves, and adjust their behavior to their surroundings. All these things cannot be learned through specific programs, however carefully they may be chosen. On the contrary, activities often lead to lights and quarrels, and the effect can be adverse to its real aim. But if we acquire knowledge, and apply this to our lives, we have learned and gained something. Simply think of how much we had to adjust when we were young. Nobody wants to brush their teeth because it hurts, but knowing that it is necessary as well as important we keep it up, we adjust, and it becomes a regular habit and a part of our lives.”



The creation of an international teaching learning environment:

“Many people keep asking why AU does not have a faculty entirely of foreigners. In order to answer this question, let us first look at what it means to study at an international level. Faculty at this university is selected according to their expertise in their fields; their educational qualifications and the universities where they have studied; as their ability to teach in English and use English efficiently. It is not necessary to look for foreign teachers only, because in the world arena, graduates will meet with people of various nations and cultures. Therefore, we choose teachers without discrimination. We have a truly international atmosphere here with both teachers and students form some 58 countries. At one time in Thailand we went crazy about foreigners, who were understood to be from Europe, and considered as good as their products. But in this global society, when we buy goods from Europe, they are likely to be made in China, or Korea, or Thailand, but we don’t know it, and believe that everything foreign is good. On December fourth, His Majesty the King suggested that Thai people should breed Thai dogs and train them. Before that nobody ever thought about it. His Majesty also praises Thai wisdom, but the word “local wisdom” should be more appropriately translated as “local knowledge.” Americans and Europeans are competent in their own languages, but Thai people can acquire the skill and the pronunciation of native speakers by practicing outside class, by watching news such as CNN, CNBC and BBC. One thing required of our teachers is international intelligibility. If we watch CNN or BBC we see many Asian newscasters who speak perfect English. Therefore, let us not create false values, but let us look toward to creating a world-class standard of education and to fulfilling the need for knowledge to serve our international community.”

     The development of technology to facilitate the teaching-learning process:

“Our first faculty was Business Administration, and then when we look at the foundation of all our studies, we discern that it is Liberal, an essential part of education if we aim to develop human beings, because we are not born just to work. Some may think that studying means the acquisition of skills to be able to work, but we also need people in society who are able to build a happy and harmonious life. This is what people need, what the nation needs and what the world needs. When Business Administration and Arts had developed to a certain point, the university saw the need for teaching computer management, which was the first course of its kind in Thailand, Since then, the university has concentrated on building technology resources because the world gives so much attention to technology. The construction of the new IT Building at Bang Na campus is proof of the progress we have made with information technology, in particular since we are the founders of the Internet Society, the only one in the Asia Pacific region. Whether IT is beneficial or harmful depends on the user, of course.”

“Language is important at the university, because in an international world we cannot use Thai, For this reason, English, French, Chinese and Japanese are major language courses so that our students can communicate efficiently in the business world. With their background in business, management and information technology, the students can enter the current of globalization without fear.”

Helping to create a network of friends, societies and business:

“A good network is important, such as a network of organizations and a network of students. It works horizontally and vertically. Just like the Internet, which we can hook up if we are looking for information. Students should form a network to consult with each other. There is the story of an ailing person who had been looking for a cure for a long time. Then one day he posted his symptoms on the Internet, and a doctor who read it was able to suggest a successful cure. There may be may such important matters, whether it is a problem at work, or a problem with a relationship. In this age networking is important. It can open up the world for both business and a happy way of life. Both students and parents share the opinion that studying at Assumption University has enormous benefits, for here they will meet friends and create opportunities for future networking.”

 The development of ethics to maintain happiness and success:

“In order to sustain continuous happiness, three things are very important, First, keep learning all the time. The completion of your studies at a certain level is not an ending. Many stop learning after they have obtained their degrees, but in reality, we must keep learning all of the time. We should continue reading and solving problems. Second, learn to adjust. The world keeps changing all the time, so we must keep up with events and adjust ourselves to new circumstances. If we do not change we will be like elephants. The dinosaur is already dead, and now the elephants are in danger of becoming extinct because they are being driven from their habitats. If we cannot adjust we will lose. Also, with technology, if we do not know how to use it , we cannot keep abreast of progress.Third, we must have morality and ethics, otherwise the world will be in trouble. These three things are important, in particular ethics, otherwise religion will be eliminated and life will become meaningless. As men live together they must know what is right and wrong, they must make ethical decisions and be able to sacrifice. In society we depend on each other and must love one another. Then we will be clever and good and happy: clever to survive in this changing world, good at heart and with integrity, so that we will always be happy.” 

Rev. Bancha Saenghiran, f.s.g., Ph.D.
President, Assumption University

 
Education Background:

 1997 

  •  Post doctoral studies in the Higher Education Management Programme, Universities of Warwick and Oxford, England

 1995 

  •  Ph.D.(Educational Administration), Illinois State University, U.S.A.

 1981 

  •  M.A.(School Administration), Saint Mary’s College of California, U.S.A.

 1971 - 1974

  •  B.S.(Mathematics), Saint Louis University, Philippines

Professional Background:

Nov.1, 2002 – present

  • President, Assumption University

1994 - present

  • Vice President for Academic Affairs, Assumption University

2001

  • Director, Center for Excellence, Assumption University

  • Advisor to the College Council, Hadyai City College

2000 - present

  • Member of College Council, North Bangkok College

1998 - present

  • Acting Dean, Faculty of Communication Arts, Assumption University

1974 - present

  • Member of University’s Council, Assumption University

1991 - 1993

  • Vice President for Student Affairs, Assumption University

1985 - 1990

  • Principal, Saint Gabriel’s College

1979 - 1983

  • Principal, Assumption College Samrong

1978 - 1984

  • Vice President for Student Affairs, Assumption Business Administration College

1974 - 1977

  • Principal, Assumption college Thonburi

1967 - 1970

  • Teacher, Assumption College Rayong

Professional Membership:

2000 - present   

  • The President of Phi Delta Kappa, Thailand Chapter (PDK)

1997 - present

  • Member of the Executive Committee, the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand (ZAPHEIT)

2001

  • Advisor to Academic Committee, the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand (APHEIT)

  • Deputy Chairman, Education Quality Assurance, the Association of Private Higher Education Institution of Thailand (APHEIT)

  • Member of a Committee for Department of Evaluation Systems of Higher Education. The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization)

1997 - 2001

  • The Committee for State and Private University Cooperation, the Association of Southeast Asian Institution of Higher Learning (ASAIHL)

  • Chief for Academic Affairs, Executive Committee, the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand (APHEIT)

  • Member of the Committee for Higher Education Standards and Quality Assurance under the Ministry of University Affairs

  • Member of the Committee for State and Private University Cooperation, the Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL)

1984 - 1999

  • Member of Academic Development Committee of the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand under the Ministry of University Affairs 

  • Member of Phi Delta Kappa, Thailand Chapter (PDK)

 

แหล่งที่มา : ABACA PROFILE (October-December 2002)